|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไม่ว่าโค้งสุดท้ายของการขับเคี่ยวกันระหว่างปิกอัพอีซูซุ และโตโยต้า จะออกมาเป็นเช่นไร แต่ผลพวงการชิงแชม์ของทั้ง 2 แบรนด์ จะส่งผลให้ตลาดรถปิกอัพในปี 2550 นี้ ร้อนฉ่าแน่นอน ขณะที่ค่ายปิกอัพขนาดกลางตั้งแต่ นิสสัน มาสด้า ฟอร์ด และเชฟโรเลต นอจากจะเจอพายุแคมเปญของค่ายใหญ่ ยังต้องแข่งกันเอง ซึ่งก็ถือว่าหนักหนากันพอสมควร โดยเฉพาะนิสสัน ที่มีกำหนดเปิดตัวปิกอัพรุ่น นาวาร่า เครื่องยนต์คอมมอนเรล จากแรกที่ใส่แรงม้าเข้าไปมากถึง 174 แรงม้า
ทั้งนี้ฝันของโตโยต้า ที่รอคอยมานานหลายสิบปีมีแนวโน้มจะเป็นจริงเข้ามาเรื่อยๆ หลังสามาถทำยอดขายปิกอัพสะสมช่วง 11 เดือนของปี 2549 ขึ้นนำ อีซูซุได้ โดยตัวเลขยอดขายเมื่อสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2549 โตโยต้าทำยอดขายไฮลักษ์ วีโก้ได้ถึง 143,490 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 38.47% ส่วนอีซูซุตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยยอดขาย 142,227 คัน ส่วนแบ่งตลาด 38.13% แม้ว่ายอดขายห่างกันราวๆ 1,200 คัน แต่เมื่อเดือนตุลาคมโตโยต้าทำยอดขายสูงกว่าอีซูซุถึงกว่า 2,000 คัน ดังนั้นต้องยอมรับว่าเฉพาะเดือนธันวาคมเดือนเดียวอีซูซุ สามารถทำยอดขายได้มากขึ้น ทำให้ช่องว่างดังกล่าวลดลง
ความได้เปรียบของโตโยต้าในเวลานี้คือ เรื่องกำลังการผลิตที่สูงกว่าอีซูซุ หลังจากโครงการไอเอ็มวีของโตโยต้า เริ่มเดินหน้าได้เต็มศักยภาพ และด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่านี้เอง ทำให้โตโยต้ามีศักยภาพในเรื่องการจัดซื้ออุปกรณ์ชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ได้ดีกว่า มีการจัดซื้อในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า ส่งผลให้มีกำไรต่อหน่วยสูงกว่าคู่แข่ง ซึ่งกำไรต่อหน่วยนี้สามารถนำไปเป็นแรงจูงใจ หรือแรงผลักดันให้กับตัวแทนจำหน่ายได้อีกทอดหนึ่ง
ขณะที่อีซูซุ เองก็พยายามปรับตัวในด้านการผลิต โดยที่ผ่านมานอกจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่แล้ว ยังอาศัยศักยภาพของโรงงานผลิตจากกลุ่ม เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด หรือจีเอ็ม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของอีซูซุ อีกด้วย รวมถึงแผนการขยายตลาดส่งออกเนื่องจากจะทำให้มีการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การผลิตใช้ต้นทุนที่ต่ำลงได้นั้นเอง
ปนัดดา เจณณวาสิน กรรมการบริหาร บริษัท ตรีเพชรอีซูซุ เซลส์ จำกัด กล่าวว่า ยอดขายปิกอัพของปี 2549 ยังไม่อาจจะ สรุปได้ว่า ใครจะได้เป็นแชมป์ตลาดปิกอัพ แต่อยากให้ติดตามสถานการณ์ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีอย่างใกล้ชิด โดยหลังจากที่ตลาดหดตัวลงมา และคาดว่า จะเหลือเพียง 6.8 แสนคันในปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องออกมาแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้จะเป็นเครื่องตัดสินตัวเลขยอดขายในปีนี้อย่างเป็นทางการ
“ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่มีสถานการณ์ด้านลบเข้ามากระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาใหญ่อย่างปัญหาน้ำท่วมหลายจังหวัด ที่ทำให้ไม่สามารถ ส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าในจังหวัด ที่เจอปัญหาได้”
นอกจากนี้อีซูซุเองนั้นยังประสบปัญหาการสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดย เฉพาะในรุ่นไฮแลนเดอร์ที่มีความ ต้องการสูงมาก อย่างไรก็ตามในปี 2550 อีซูซุคาดว่าจะมีการส่งออกรถปิกอัพรุ่นใหม่ไปทำตลาดในต่างประเทศอย่างเป็นทางการ ทำให้ยอดการส่งออกทั้งแบบสำเร็จรูปหรือ CBU และชิ้นส่วนประกอบหรือ CKDไม่น้อยกว่า 1 แสนคัน ซึ่งไลน์การผลิตรถสำเร็จรูปที่เตรียมไว้ 2 แสนคันที่โรงงานสำโรง ยังเพียงพอต่อความต้องการทั้งในและต่างประเทศ จึงปล่อยโรงงานที่เกตเวย์สำหรับผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและใหญ่ต่อไปเหมือนที่ผ่านมา และคาดว่าตลาดในประเทศใน 2550 จะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ เริ่มสงบและเข้าที่มากขึ้น โดยมองว่าตลาดน่าจะกลับมาเติบโตสู่ระดับ 7 แสนคันได้อีกครั้งหนึ่ง
เรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย มั่นใจว่าปีนี้แชมป์ตลาดปิกอัพ1ตันคงไม่หนีไปไหน เพราะเหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งเดือน คาดว่าอีซูซุคงไม่สามารถตีตื้นขึ้นมาได้ หรือถ้าอีซูซุเร่งทำยอดขายขึ้นมาในเดือนสุดท้าย โตโยต้าก็สามารถทำได้เหมือนกัน
ขณะเดียวกันโตโยต้าต้องพยายามรักษาแชมป์เอาไว้ให้ได้ เพราะอีซูซูคงหาทางทวงบัลลังก์กลับอย่างแน่นอน และอนาคตน่าจะเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด และน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ถ้ามองในแง่ผู้บริโภคคงได้ประโยชน์สูงสุดอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตามการต่อสู่ของ 2 ยักษ์ใหญ่ปิกอัพ ในปี 2550 นอกจากจะรุ่นแรงกันตลอดทั้งปีแล้ว อาจมีผลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่เกิดขึ้น เนื่องจากทั้งโตโยต้า และอีซูซุ ต่างมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงกันใหม่ โดยอีซูซุ นั้น เปลี่ยนตัวเรียว ซาคาตะ กรรมการผู้จัดการ ตรีเพชรอีซูซุ ที่ทำหน้าที่คุมทัพมาแค่เพียง 20 เดือนเท่านั้น มาเป็นโมริคาซุ ชกกิ ซึ่งเชี่ยวชาญงานด้านฝ่ายขาย ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ โดยมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
ขณะที่โตโยต้า แต่งตั้งมิทซูฮิโระ โซโนดะ เป็นกรรมผู้จัดการใหญ่คนใหม่ แทนเรียวอิจิ ซาซากิ ที่อยู่ในตำแหน่งนี้มาถึง 6 ปีเต็ม โดยจะย้ายไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของบริษัทฯ และเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก ดูแลงานทั้งในประเทศไทย และสิงคโปร์ ซึ่ง โซโนดะ เป็นผู้รอบรู้ในการบริหารธุรกิจระดับสากล เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้บริหารระดับสูงสุดของทั้ง 2 แบรนด์ในเมืองไทย ว่าท้ายที่สุดใครจะสร้างผลงานได้ดีกว่า กัน
สำหรับค่ายขนาดกลางนั้น ปิกอัพใหม่ของค่าย สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากเป็นค่ายสุดท้านที่พึ่งปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ มาเป็นปิกอัพเครื่องยนต์คอมมอนเรล ซึ่งจะมีการเปิดตัว นิสสัน นาวาร่า ตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มกราคม 2550 ซึ่งเดิมนั้นนิสสัน ครองส่วนแบ่งการตลาดในอันดับ 3 มาตลอด แต่ช่วง 11 เดือนในปี 2549 ที่ผ่านยอดขายนิสสันกลับลดลง ตกไปอยู่ในอันดับ 4 ต่อจากมิตซูบิชิเนื่องจากอยู่ในช่วงปลายโมเดลของนิสสันฟรอนเทียร์
เพราะฉะนั้น ฟรอนเทียร์ นาวารา จะเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของนิสสันในเมืองไทยที่ต้องเร่งสร้างยอดขายทวงส่วนแบ่งการตลาดคืนจากค่ายมิตซูบิชิ ขณะที่มิตซูบิชิเองก็ยังคงมุ่งมั่นกับการเจาะตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ ไทรทัน โดยในปี 2550 นี้มิตซูบิชิ ทุ่มงบประมาณกว่า 40 ล้านบาทในการจัดกิจกรรมโรดโชว์ทั่วประเทศกว่า 17 จังหวัดหลักในชื่อ มิตซูบิชิ มอเตอร์เอ็กซ์โป ทำให้คาดว่าตลาดปิกอัพในปี 2550 นี้ จะยังคงร้อนระอุกว่าปีที่ผ่านมา ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร
|
|
|
|
|