Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537
วิกฤตบุคลากรโทรคมนาคม มีเงิน มีงาน แต่ไม่มีคน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
ทีทีแอนด์ที, บมจ.
Telecommunications




เมื่อปัญหาเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน สวัสดิการ ผลตอบแทน กลับมาเป็นประเด็นหลักของการไหลของบรรดาบุคลากรโทรคมนาคม จากรัฐสู่เอกชนและจากเอกชนบริษัทหนึ่งสู่อีกบริษัทหนึ่ง โดยเฉพาะกับบริษัทที่ทำธุกริจด้านโทรคมนาคมในปัจจุบัน ความต้องการบุคลากรที่อยู่เหนือความสามารถที่รัฐพึงจะสนองให้ได้นำมาสู่ความวิบัติของบุคลากรโทรคมนาคมหรือไม่ เมื่ออัตราเงินเดือนคือปรากฏการณ์ที่ชี้ชัดว่าบุคลากรด้านโทรคมนาคมขาดแคลน การแก้ปัญหาบุคลากรโทรคมนาคมขาดแคลน กลยุทธ์ในการรักษาคนที่มีอยู่แล้วให้อยุ่กับองค์กรต่อไป และวิธีการส่งเสริมพัฒนา บุคลากร ที่มีอยู่ได้ได้มาแทนที่ ซึ่งผลกำไรนั้นรัฐหรือบริษัทยักษ์ใหญ่ ต่าง ๆ เขาดำเนินการอย่างไร

นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2530-2534) เกิดขึ้นจนปัจจุบันเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2535-2539) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้เกิดขึ้นอย่างรวเดร็วและเห็นได้ชัด เป็นโลกของการแข่งขันที่รุนแรงทั้งภายในและนอกประเทศ ปัญหาความไม่พอเพียงของบุคลากรทีมารองรับการเรียนรู้ควบคุม การใช้เทคโลยีเหล่านี้เริ่มเข้าขั้นรุนแรง

บุคลากรด้านโทรคมนาคมตั้งแต่โปรแกรมเมอร์ นักคอมพิวเตอร์ และวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสื่อสารโทรคมนาคม และก็หลายสาขา เริ่มขาดแคลนมากขึ้น ซึ่งหลายสิบปีที่แล้ว มีการหยิบนี้มาพิจารณากันครั้งหนึ่ง แต่จนจนถึงตอนนี้ ก้าวที่สองก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะก้าวไปได้ยาวสักเท่าไหร่

วิกฤตการณ์ขณะนี้ ได้เกิดกับบริษัทเอกชนที่เริ่มเข้ามามีบทบาทและเป็นตัวผลักดันให้รัฐได้พิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง ไม่เช่นนั้นทั้งรัฐและเอกชนนั่นแหละ จะเป็นคนพังทั้งคู่ เพราะมีงานแต่ไม่มีคนทำ

ก่อนอื่น ย้อนไปที่แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 ( พ.ศ.2530-2534๗ ที่มีแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเร่งผลิตกำลังคนในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังขาดแคลน โดยเฉพาะวิศวกร ช่างเทคนิค และช่างฝีมือที่มีประสบการณ์ส่วนหนึ่งได้มารองรับกิจการโทรคมนาคมแล้วนั้น ปรากฏว่าสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้เพียงปีละ 1,306 คน เท่านั้น อีกทั้งสถาบันเทคโนโลยีมงคลก็ได้ผลิตบุคลากรในระดับวิศวกรเสริมเข้ามาเพียง 478 คน เท่านั้น เป็นระดับช่างอุตสาหกรรมอีกจำนวน 3,600 คนซึ่งทั้งหมดก็ยังไม่สามารถรองรับตลาดที่มีอยู่จริงได้

จนเข้าสู่แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2535-2539) ได้กำหนดชัดเจนมากขึ้น สำหรับการผลิตบัณทิตสูงกว่าปริญญาตรีในด้านวิทยาศาสตร์แลชะเทคโนโลยี เป็นปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ทั้งกำหนดให้มีการพัฒนาครูอาจารย์ด้วยการให้ทุนศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ และเพิ่มการฝึกอบรมอีกปีละไม่ต่ำกว่า100,000 คน

เมื่อไม่นานมานี้ มีการคำนวณจากหน่ายงานราชการของรัฐคือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( เนคเทค) ประเมินไว้ว่า ในส่วนของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในช่วงโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย จะมีขึ้นมากมาย ให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมือไว้ด้วยการสรรหาบุคลากรที่จะมรองรับในเชิงการผลิตอุปกรณ์เรียนรู้ ซึ่งอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ มีการใช้คนระดับปริญญาตรีไปทำงานในระดับ ปวส. ซึ่งถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนูษย์อย่างมาก เป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลแบบผิด ๆ ซึ่งหากพิจารณาถึงเหตุผลก็น่าจะมาจากแรงงานระดับปวส.ที่รับผิดชอบอยู่ ไม่สามารถปฏิบัติงานในระดับของตนเองได้ดีตามมาตรฐานหรือไม่ งานนั้นก็เป็นงานที่ต้องการความเร่งด่วน อาทิ โครงการ 1 และ 2 ล้านเลขหมาย ของ ทีทีแอนด์ที และทีเอ จะผิดพลาดแม้เพียงน้อยนิดไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำคนในระดับวิศวกรมาทำหน้าที่แทนเพื่อหนีปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา

เนคเทค ยังได้คาดการณ์อีกว่าเมือ่สิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540-2541) ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการขยายตัวด้านดทรคมนาคมอย่างมาก ประมาณว่าบุคลากรดทรคมนาคมจะขาดแคลนถึง 1 แสนคน ขณะที่กรมอารชีวะศึกษามีขีดความสามารถในสาขาอาชีพต่ง ๆ รวมแล้วได้ 60,000 กว่า คนเท่านั้น ( รวมด้านโทรคมนาคมด้วย ) ตลาดจึงขาดแคลนมากขึ้นอีก เมื่อดูตัวเลข

ยิ่งเมือได้พิจารณาดูโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการวาง
เครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วใต้น้ำ โทรศัพท์เคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ, บริการรับ-ส่ง ข้อมูลเพื่อธุกริจผ่านด้าวเทียม, ระบบโทรคมนาคมภายในประเทศด้วยดาวเทียม, บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร, โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ nmt 900 mhz, บริการสื่อสารข้อมูล ( Datanet) บริการโทรศัพท์ติดตามตัว ( Paging) บริการดทรศัพท์พาพาโทรออกอย่างเดียว ( โฟนพ้อยต์) โครงการ 2 ล้านเลขหมาย โครงการ 1 ล้านเลขหมาย , บริการวิดิสาร ( วีดีโอเท็กซ์) , โครงการปรับปรุงพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470, โทรศัพท์เคลื่อนที่ AMP MHz, วิทยุติดตามตัวระบบ Paging, วิทยุติดตามตัวข้อมูลข่าวสารระบบ Digital Display และ alpha numeric paging ระบบขายและให้เช่า, วิทยุ เฉพาะกิจ Trunk moblie บริการเครือข่ายส่วนบุคคล, บริการสื่อสารข้อมูลผ่านด้าวเทียม( VSAT), บริการส่งสัญญานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม, โครงการดาวเทียมวงจรต่ำหรืออีรีเดียม, โทรศัพท์เคลื่อนที่ AMP 800 MHZ แบนด์เอ, โครงการปรับปรุงวิทยุบริการ ( Radio telephone), การวางข่ายโทรคมนาคมสำรอง, ระบบเคเบิลใยแก้วตรามรางรถไฟ, โครงการเทเลพอร์ต, โทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM , โทรศัพท์เคลื่อนที่ PCN, โครงการเคเบิลทีวี 30 ช่องของไอบีซี, โครงการเคเบิลทีวีของเทเลคอมเอเชีย, โครงการดาวเทียมสื่อสาร( ไทยคม) และอีกหลายโครงการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีอยู่ ยังไม่นับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้อีกมากมายที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรด้านโทรคมนาคมเข้ามาทำงาน แต่ละโครงการล้วนเป็นการลงทุนหลายหมื่นล้านบาท การลงทุนในเรื่องบุคลากรที่เข้ามาทำงานจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ยิ่งไปกว่านั้น โครงการต่าง ๆ ล้วนเป็นโครงการที่ได้มาจากรัฐที่มีกำหนดเวลาตายตัวในการส่งมอบ ความเร่งรีบของการดำเนินการเพื่อร่นระยะเวลาการลงทุนขยายเวลาการสร้างกำไรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันมาก บุคลากรเป็นสิ่งที่ต้องมาสนับสนุนทุกเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดแต่เมื่อมีจำกัดในเรื่องจำนวนเสียแล้ว กลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลจึงต้องเกิดขึ้น

บริษัทเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอเรชั่น ( มหาชน) จำกัด( ทีเอ), บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอม มิวนิเคชั่น จำกัด ( มหาชน) หรือทีทีแอนด์ที, บริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมูนิเกชั่น จำกัด ( มหาชน) หรือยูคอม , บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด และอีกหลายบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมอยู่ ขณะนี้ต่างประสบปัญหาในเรื่องบุคลากรโทรคมนาคมทั้งสิ้น

ทีทีแอนด์ที ซึ่งกำลังดำเนินโครงการโทรศัพท์ในเขตภูมิภาคจำนวน 1 ล้านหมาย ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ประสบปัญหานี้เหมือนกัน จากสถิติพนักงานประมาณ 2,000 คน เป็นระดับช่างประถม 1,000 กว่าคน ระดับวิศวกร4-500 คน นับว่าเป็นตัวเลขที่สวยงามพอสมควร

แต่สำหรับปัญหาบุคลากรโทรคมนาคมในองค์กรอย่างทีทีแอนด์ทีพบว่า เกิดขึ้นมากกว่าบริษัทที่ดำเนินโครงการในเขตนครหลวง ตรงที่งานต้องรับผิดชอบเกือบ 100% ต้องออกต่างจังหวัด ฉะนั้นไม่เพียงวิศวกรเท่านั้นแม้กระทั่งสายงานอื่นก็ล้วนกระพือปีกหนีไปก็ไม่น้อย แม้ว่าจะให้สวัสดิการหรือเงินดีสักเท่าไหร่ก็ตาม เพราะปัญหาในเรื่องความยากลำบาก การตรากตรำ ในการที่ต้องออกไปทำงานต่างจังหวัดนั่นเอง

ฉะนั้นใครก็ตามที่คิดถึงเรื่องของเงินเดือนดีอย่างเดียวคงไม่ได้ จะต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยว่าเหมาะสมกับสภาพงานของบริษัทนั้น ๆ หรือไม่

" ผมจำได้ว่า เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เราก็เคยพูดถึงเรื่องบุคลากรกันมาครั้งหนึ่ง มาครั้งนี้เป็นการเน้นที่บุคลากรด้านโทรคมนาคมเท่านั้นเอง เพราะเป็นกระแสของเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ดูไปแล้วก็ไม่ต่างกันนัก" ประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเชิงกลยุทธ์ของทีที แอนด์ ที กล่าว

การนับหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วกับการนับสองครั้งนี้แทบจะไม่มีอะไรผิดแผกไปเลย แต่ดูเหมือนว่าครั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่จะป้อนเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม จะรุนแรงมากกว่า เพราะ เพราะควงามขาดแคลนไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผุ้ที่เป็นเป้าแต่หมายของการพัฒนา คือนักเรียน นักศึกษา เท่านั้น แต่บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็น ผู้ " ปั้น" ครู อาจารย์ ในแขนงนี้ก็ลดน้อยลงไปเรื่อย

แน่อนหากพูดถึงปริมาณก็คงจะเพียงพอแต่หากพูดถึงคุณถึงคุณภาพต้องนับว่ามีปัญหา เนื่องจากครูอาจารย์ที่มีผีไม้ลายมือ ความสามารถดี ๆ ได้ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน เพื่อรับค่าตอบแทนที่ดีกว่าหลายเท่าตัว สถาบันการศึกษาจึงไม่มีทางเลือก นอกจากจะรับคนที่อยู่ในระดับปานกลางมาเป็นผู้สอยนและส่วนใหญ่กระจุกอยู่แต่ในกรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น

ในเมื่อไม่สามารถแสวงหาบุคลากรที่มีคุณภาพจากระบบการศึกษาได้เพียงพอ ต่อความต้องการธุรกิจโทรคมนาคม ก็จำต้องช่วยตัวเอง วิธีการพื้นฐานที่สุดคือ การซื้อตัวด้วยการเสนอเงินเดือนแพง ๆ ค่าตอบแทนสูงๆ

"การแย่งบุคลากรด้วยการซื้อตัวหรือให้เงินเดือนที่สูบงกว่า ผมว่าจะเป็นการทำให้แย่ลงไปเรื่อย ๆ เพราะในระยะยาวแล้ว เราจะได้แต่เด็กที่เอาที่เอาตัวรอดหมด ยิ่งไปกว่านั้นคือ สร้างให้เด็กมีความสามารถในการต่อรองราคาเป็นนิสัยติดตัวไปโดยไม่ตั้งใจ อันนี้อันตราย ทั้งตัวเด็กและอนาคตของชาติ" ประยูร ให้ความเห็นถึงการแก้ปัญหาแบบนี้

แนวความคิดในการจัดตั้งสถาบันแรงงานที่มีทักษะด้านโทรคมนาคมโดยตรง เป็นวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งทุกบริษัทที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมต่างเห็นพ้องกันว่า น่าจะมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี หรือมหาวิทยาลัยโทรคมนาคม ขึ้นมารองรับความต้องการของบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะไปเลย

แต่ท้ายที่สุดก็ยังไม่สามารถหาผลสรุปชัดเจนได้ว่า มหาวิทยาลัยที่ว่านี้ใครจะเป็นคนเริ่ม หรือ รับผิดชอบ รัฐจะเป็นคนรับผิดชอบได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะลำพังสถาบันต่าง ๆ ของรัฐที่กำลังดำเนินการผลิตบุคลากรโทรคมนาคมอยู่ ขณะนี้ก็แทบจะรับผิดชอบไม่ไหวอยู่แล้ว ส่วนการจะให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการก็จะเป็นเรื่องไม่ชอบมาพากลอีก และเรื่องผลประโยชน์จะเป็นปัญหาตามมา หากให้เอกชนรายใดรายหนึ่งรับผิดชอบ

" ผมคิดว่า เป็นหน้าที่จองรัฐโดยตรงในเรื่องผลิตบุคลากรโทรคมนาคมให้เพียงพอ สิ่งแรกที่รัฐจะต้องคำนึงคือการผลิตคนให้เพียงพอเสียก่อน อย่างอื่นค่อยว่ากัน ผมอยู่ภาคเอกชนก็คิดว่าเราควรร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งรัฐและเอกชนในการผลิตบุคลากรด้านดทรคมนาคม อย่างไรก็ตามภาระหลักก็คงเป็นรัฐ เอกชนเราเป็นเพียงผู้เสริม ผู้สนับสนุนเท่านั้นเอง ภาคเอกชนตะหนักอยู่เสมอว่า หากรัฐอยู่ไม่ได้เแล้ว เอกชนอย่างเราก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน" สิทธิชัย เอกอรมัยผล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานทรัพยากรบุคคล บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิกเกชั่น จำกัด 9 ( มหาชน) กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ถึงเรื่องที่มหาวิทยาลัยโทรคมนาคม ทั้งที่ทางทีทีแอนด์ที ได้ให้ความเห็นตรงกันว่า ผู้ที่น่าจะเข้ามาดำเนินการควรเป็นคนกลาง มิใช่องค์กรเอกชนรายใดรายหนึ่ง อาทิ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย, เนคเทค, เป็นต้น แลรัฐก็ควรที่จะสนับสนุนในเรื่องสถานที่, ที่ดิน , ทุนการดำเนินงาน และช่วยเหลือ ในความสะดวกที่จะขออนุมัติต่าง ๆ จากทบวงมหา
วิทยาลัย เพระลำพังเอกชนคงทำได้ยาก ซึ่งแน่นอนเรื่องวิทยากรเครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน หรือทุนดำเนินการขั้นต้นเอกชน พร้อมที่จะสนับสนุนทุกเวลา

แต่ธีรวุฒิ คงปรีชา ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล บริษัทเทเลคอมเอเชียคอร์เปอเรชั่น ( มหาชน) จำกัด ได้มองต่างมุมออกไปว่า เป็นการเกาไม่ถูกที่คันมากกว่า ทางที่ดีน่าจะไปพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ บรรดาคณะวิศวศาสตร์ของสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ พระจอมเกล้าฯ หรือที่ต่าง ๆ เพราะอาจารย์มีอยู่แล้ว ทำกันได้เลย แต่เงื่อนไขก็คือ ต้องมีตัวประสานงานอยุ่ด้วย และจะเป็นการดีที่สุดถ้าสถาบันจะมีหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ

ในช่วงที่ผ่านมา ทีเอ ได้เปิดการฝึกอบรม และดูงานให้แก่คณาจารย์นักศึกษาจากกรมอาชีวศึกษา ภายใต้โครงการร่วมมือระหว่างทีเอและกรมอาชีวะศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรดเทคโนดลยีสื่อสาร ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร

สำหรับระบบการเรียนการสอนที่เป็นอยุ่ปัจจุบัน ประยูร ได้เสนอว่า หากเป็นวิชาที่เกี่ยว
กับทฤษฏีน่าจะให้อาจารย์ที่เก่งทฤษฏีมาสอน แต่หากเป็นในเชิงปฏิบัติ เช่นเรื่องของ PABX, ISDN, GSM, PCN,DIGITAL หรือเทคโนดลยีอะไรก็แล้วแต่ที่ทันสมียซึ่งหลักสูตรของมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถพิมพ์ตำราพอในแง่รูปธรรม ก็น่าจะเอาคนของรัฐที่รับผิดชอบเรื่องนี้หรือคนจากองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องมาเสนอเป็นพิเสษไป

อีกอย่างหนึ่งก็คือ นักเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ นักเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคม โปรแกรมเมอร์ นักกฎหมายทางโทรคมนาคม ต่อไปจะเป็นสิ่งที่ต้องมี เมื่อนั้นจะเกิดเป็นปัญหาที่ใหญ่เช่นรายการสตาร์ทีวีที่ยิงมาขากฮ่องกงมายังไทยแล้วมีการโฆษณาตรงนี้จะคิดอย่างไรในเรื่องภาษี เพราะหากเป็นสถานีในประเทศไทยก็จะมีการเสียภาษีให้รัฐ แต่ของสตาร์ทีวียังไม่มีใครพูดได้ในแง่กฎหมาย เรื่องเหล่านี้ต่อไปจะเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมถึงธุรกิจที่อยู่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเบียดบังผลประโยชน์รัฐก็จะเกิดขึ้นมามากมาย อาทิ การให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า คอลล์แบ็ค ซึ่งเรื่องนี้ควรสอนในระดับปริญญาโทเพราะทฤษฎีเข้าเน้นมาแล้ว วิชาเหล่านี้โดยรวมจะเรียกว่า ภาควิชาสารสนเทศ ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่น, อเมริกา เริ่มมีสอนกันแล้ว

จาการที่ประเทศไทยได้ลงนามความร่วมมือกับเขตการค้าเสรีอาเซียน( AFTA) และข้อตกลงว่า ด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ( AFTA) และการค้า ( GATT) มีผลทำให้ประเทศไทยต้องเปิดเสรีโทรคมนาคมคือเงื่อนไขหนึ่งที่จะต้องเปิดกยว้างต่อประเทศสมาชิกที่จะเข้ามาลงทุน ดำเนินการในประเทศไทย

เมื่อประเทศผู้เป็นบริษัทแม่ส่วนใหญ่เข้ามาเปิดดำเนินการในประเทศไทย ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานภายในประเทศนั้น วิศวกรก็เป็นความต้องการอย่างมากอย่างหนึ่งตามมา ขณะที่ภายในประเทศกำลังประสบปัญหาเรื่องบุคลากรที่จะมารองรับความเติบโตของเทคดนดลยี อีกทางหนึ่งก็ต้องเปิดกว้างสำหรับการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ในประเทศไทย อนาคตอันใกล้นี้จึงเปรียบเสมือน หัวเลี้ยวหัวต่อ ในการแก้ปัญหาบุคลากรโทรคมนาคมให้เพียงพอทั้งรับและเอกชน

พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์ ผู้อำนวยการสำรนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคดนดลยีสารสนเทศแห่งชาติของเนคเทค เปิดเผยถึงผลการสำรวจปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในวงการโทรคมนาคม จาการสำรวจในปีนี้พบว่า ตัวเลขความขาดแคลนสะสมระดับปริญญตรีมี ประมาณ 4,000 คน แม้ว่าภาคเอกชนจะมีการการผลิตเสริมเข้ามาด้วยก็ยังขาดอีกประมาณ 1,900 คน

ทั้งนี้ยังมีการประมาณการถึงความต้องการบุคคลการด้านเทคโนดลยีในปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 8 จนถึงต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คาดว่าความขาดแคลนจะเพิ่มถึงประมาณ 5,000-7,000 คน

ส่วนในระดับปวส. ของปีนี้ ความขาดแคลนมีประมาณ 1,500 คน แต่เมื่อคำนวณถึงปลายแผนพัฒนาฉบับที่ 8 และ 9 แล้ว จะมีความขาดแคลนสะสมเพิ่มขึ้นถึง 3,600 คน-5,700 ตามลำดับ ซึ่งกล่าวโดยสรุปความต้องการของบุคลากร ทางด้านโทรคมนาคมระดับปริญญาจะมีประมาณ 7,000 คน ขณะที่ปวส ยังขาดอยู่ประมาณ 11,000 คน ซึ่งปัจจุบันบุคลากรด้านโทรคมนาคมในองค์กรเอกชนมีอยู่ประมาณ 10,000-12,000 คน

ในอดีตสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทยสามารถผลิตวิศวกรได้ต่อปีประมาณ 2,500 คน มาถึงปัจจุบันผลผลิตโดยรวมมีประมาณ 3,000 คน เท่านั้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้บุคลากรที่มีอยู่จึงเป็นสิ่งที่แต่ละองค์กรจะต้องพยายามหากลวิธีรักษาให้อยู่ในองค์กรได้นานที่สุดด้วยวิธีการต่าง ๆ

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ( ทศท) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ( กสท) เป็นองค์กรของรัฐที่มีบุคลากรโทรคมนาคมมากที่สุด วิธีการต่าง ๆ เพื่อการรักษาบุคลากรเพื่อการพัฒนาบุคลากรถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

แต่หลังจากที่ ทศท. มีโครงการสัมปทานต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นเหตุให้พนักงานกว่า 3,000 คน อยู่ในภาวะว่างงาน โดยเฉพาะฝ่ายวิศวกรรมและโครงการกับฝ่ายปฏิบัติการที่ปกติจะมีหน้าที่สร้างข่ายสายโทรศัพท์ แต่เมื่อ ทศท มอบให้ทีเอและทีทีแอนด์ที ไปแล้ว ทำให้พนักงานส่วนหนึ่งเหล่านี้ ไปรับจ้างพิเศษนอกเวลางาน ทำงานรับเหมากับบริษัททั้งสอง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรคือทศท บางคนถึงขนาด ทำในเวลาราชการก็มี จนเป็นเหตุให้สมาคมพนักงานของ ทศท ลุกขึ้น เพื่อต้อสู้เพื่อให้ผู้บริหารทศท.ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้ผู้บริหารทศท.แก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่า ทศท.จะดำเนินการในลักษณะที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนสักเท่าไร

เกียรติ ศิริภาพ รองผู้อำนวยการทศท. กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคในการรักษาคนไว้ว่า คือระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ซึ่งไม่สามารถเอื้ออำนวยให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาอย่างดียิ่ง สามารถจะทนอยู่ได้ ความแตกต่างเรื่องเงินเดือนที่ภาคเอกชนจ่ายให้สูงกว่าราว ๆ 10 ปี ลาออกไปทำงานภาคเอกชน " ส่วนคนที่ไปทำงานให้กับเอกชน ที่รับสัมปทานจากเราไปส่วนใหญ่ ก็ทำหลังจากเลิกงานแล้ว เราเอาผิดกับเขาเหล่านั้นไม่ได้เพราะเป็นสิทธิของเขาที่จะไปทำอะไรก้ได้หลังเลิกงานปกติ" เกียรติ กล่าว

แนวทางการแก้ปัญหาของ ทศท. ขณะนี้ก็คือเร่งจัดตั้งบริษัทลูกหรือปรับโครงสร้างบริหารงานหน่วยใหม่ให้มีลักษณะการดำเนินงานใกล้เคียงกับภาคเอกชนมากที่สุด อีกทั้งสร้างสวัสดิการที่ดีขึ้น เพื่อดึงดูดบุคลากรด้านต่าง ๆ ไว้

ทศท.มีการฝึกอบรมแยกเป็น 2 หลักสูตร คือ ฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับผู้จบมหาวิทยาลัยมาแล้วสามารถทำงานในหน้าที่ที่ฝึกมาได้เลย หรือจะก้าวขึ้นไปได้ดียิ่งขึ้น ก็มีการฝึกในระดับโปรเฟสชั่นแนล เทรนนิ่ง คือฝึกวิชาชีพ เพื่อใช้ในการใช้คน รวมถึงการส่งไปเรียนมินิเอ็มบีเอด้วย โดยททศท. มีศูนย์ฝึกของตัวเองอยู่แล้ว สามารถรับได้ 1,500 คน โดยประมาณ มีหลักสูตรกว่า 200 หลักสูตร หลักสูตรปกติประมาณ 220 หลักสูตร ในรอบปี มีหอพักไว้ด้วย ซึ่งศูนย์นี้ตั้งมากว่า 30 ปี โดยริเริ่มจากสหประชาชาติให้ทุนเริ่มต้นมาทำ

สำหรับ กสท. อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรโทรคมนาคมมากที่สุด อธิบายถึงแผนการพัฒนาบุคลากรสื่อสารโทรคมนาคม โดยตั้งงบรายจ่ายไว้ 85 ล้านบาท หรือประมาณ 3% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ของ กสท. ในการส่งพนักงานไปศึกษาต่อด้านการสื่อสาร, คอมพิวเตอร์. และวิศวกรรม เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนวิศวการสื่อสาร และกสท.ยังได้ประสานงานกับสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีแห่งเอเชียและสถาบันจีบ้า เพี่อให้ทุนการศึกษาแก่พนักงาน โดยใช้งบประมาณจากแผนพัฒนาบุคลากรจอง กสท. ระหว่างปี 2537-2542

ทุนต่าง ๆ เหล่านี้ แบ่งได้เป็นระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจจากสถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้า จำนวน 4 ทุน ทุนการศึกษาด้านเทเลคอมจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอชีย 3 ทุน ทุนทางด้านคอมพิวเตอร์ 3 ทุน ทุนการจัดการ 3 ทุน ที่เหลือเป็นทุนการศึกษาต่อในสถาบันจีบ้าและทุนการศึกษา ต่อต่างประเทศ โดยพนักงานที่ได้รับทุนต้องทำงานให้กับกสท. เป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว

และล่าสุด ได้เพิ่มเงินเดือนในอัตราเริ่มต้นระดับวิศวกรอีก 4,000 บาท จากเงินเดือนขั้นแรก ระดับวิศวกรคือ 6,160 บาท ทั้งนี้เพื่อดึงคนให้อยู่กับ กสท ให้มากที่สุด ชึ่งถือว่า กสท.ประสบความสำเร็จ พอสมควร เพราะหลังจากขึ้นเงินเดือนนี้แล้ว อัตราการลาออกของวิศวกรลดน้อยลงอย่างมาก

" เครื่องมือเครื่องไม้คือปัญหาอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้คนของรัฐหนีออกไปสู่เอกชน เพราะว่ากว่าจะอนุมัติซื้อได้ก็ช้า ปัจจุบันกสท.มีอัตรากำลังประมาณ 25,600 คน ด้านโทรคมนาคมประมาณ 5,500 คน เรามีโควต้าให้ทุน 20 คน ปี 2536 ให้ทุนไปต่างประเทศ 47 คน ตอนนี้เหลือ12 คน โดยแบ่งเป็น 2526 จำนวน 7 คน ปี 2528 จำนวน 6 คน เฉพาะด้านวิศวกรให้ไปเมื่อปี 2530 7 คน ปี 2531 8 คน ปี 2533 ให้ไปอีก 7 คน 2537 ให้ไปอีก12 คน ซึ่งมีลาออกไป 8 คน ยุคแรก ๆ ของการขาดแคลน กสท. มีการนำเอาวุฒิใกล้เคียงเข้ามาทำงาน แต่ปัจจุบันเริ่มดีขึ้นมากแล้ว" สมพร กิมยงค์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กสท. กล่าวกับผู้จัดการ

ด้านศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( เนคเทค) อีกหน่วยงานหนึ่งของรัฐ ได้ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วยเหมือนกันในด้านซอฟท์แวร์ออกแบบวงจร มูลค่ารวม 5 ล้านบาท และเงินสนับสนุนการทดลองอีก 1 ล้านบาทแก่สถาบันต่าง ๆ 9 ภาควิชา และคิดจะขยายต่อปีไม่ต่ำกว่า 15 สถาบัน และคาดว่าสถาบันส่วนหนึ่งจะเติบโตขึ้นเป็นห้องปฏิบัติการวิจัย และพัฒนาวงจรรวมขนาดใหญ่มาก ในระบบเครือข่ายที่จะสนับสนุนภาคเอกชนในการผลิตสินค้าเป็นอุตสาหกรรมต่อไป

ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการแนทเทค กล่าวว่าโครงการนี้เป็นโครงการให้ทุนในระยะเริ่มแรก มีระยะเวลา 3 ปี ( 2537-2539) โดยมีเป้าหมายจะผลิตนักออกแบบวงจรรวมไม่ต่ำกว่า 200 คน และมีผลงานต้นแบบวงจรรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้นต่อปี จากนั้นจะขยายความร่วมมือไปยังภาคเอกชน ในการพัฒนาออกแบบวงจรรวมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นโทรศัพท์, ตู้ชุมสายโทรศัพท์, เครื่องควบคุมระยะไกล( รีโมทคอนโทล) สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนครั้งนี้ส่วนใหญ่คือภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ส่วนภาคเอกชนอย่างทีเอ ในเรื่องการรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรนั้น ธีราวุฒิ คงปรีชา อธิบายถึงการพัฒนาคนว่า เป็นเรื่องของการลงทุนที่สูงมาก ใช้ระยะยาวนาน และกว่าจะได้มาค่อนข้างช้า ขณะเดียวกันตลาดก็ยังมีการแย่งชิงตลอดเวลา มีการใช้เงินค่อนข้างสูง จะทำอย่างไรให้เกิดคุณค่ามากที่สุด สำหรับทีเอคือ การประสานงานในสายงานนั้น ดูว่าเขาเหล่านี้น่าจะได้รับการเพิ่มเติมทักษะในเรื่องใดบ้าง ซึ่งตรงนี้ทีเอมีการลงทุนเป็นร้อย ๆ ล้าน สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ที่ทีเอในปัจจุบัน และเมื่อซื้ออุปกรณ์จากบริษัทนั้นมาแล้ว ก็จะให้พนักงานเจ้าของสินค้ามาเทรนคนของทีเออีกที นอกจากนี้ยังมีการประสานงานติดต่อกับสถาบันการศึกษา มีโครงการสนับสนุน มีการให้ทุนโครงการศึกษาต่อเนื่อง

โดยในการลงทุนด้านบุคลากรการโทรนาคม ทีเอใช้งบทั้งสิ้นประมาณ หนึ่งล้านบาทต่อคอร์ส ต่อคน ปีนี้ทีเอ ตั้งงบประมาณไว้ 9 ล้านบาท ซึ่งถือว่า เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง และคาดว่าตัวเลขเท่านี้ได้ผลแน่นอน

ส่วนในเรื่องเงินเดือนแม้ว้า กสท. จะขึ้นมาให้วิศวกรอีกคนละ 4,000 บาท จากที่เคยได้อยู่ในขั้นเริ่มงานคือ 6160บาท รวมแล้วก็ไม่ต่างจากภาคเอกชนเท่าไรนัก โดยบริษัทอย่าง ทีเอ, ทีที แอนด์ที, ชินวัตร หรือยูคอม จะอยู่ประมาณเดือนละ 13,000 -14,000 บาท ในระดับเริ่มต้น แต่ทว่าเอกชนก็มีข้อเสนอที่ดีคือ โอกาสก้าวหน้า,งานที่ท้าทาย, เทคโนโลยีใหม่กว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่วิศวกรต้องการทั้งสิ้น เพราะมันคือ ความเป็นมืออาชีพ ของเขาในอนาคต

สำหรับบริษัท ยูไนเต็มคอมมูนิกเกชั่น อินดัสตรี จำกัด( มหาชน) หรือ ยูคอม ที่ทำธุรกิจด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมมากว่า 34 ปี ได้ให้ความสำคัญในเรื่องบุคลากรเป็นอย่างมาก บริษัทหนึ่งจาการกระจายอำนาจเป็นส่วน ๆ ไม่ให้เป็นธุรกิจครอบครัวเหมือนก่อน

พัชราภรณ์ ปัตรวลี ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร และผุ้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ของยูคอม กล่าว่า ปัจจุบันยูคอมมีพนักงานประมาณ 2,500 คน นอกจากสนับสนุนให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังมีโครงการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางด้านโทรคมนาคมอยุ่เหมือนกัน เพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ไม่ว่า ยูคอม, ชินวัตร,ทีเอ, ทีทีแอนด์ที จะมีมาตรการในเรื่องบุคลากรโทรคมนาคมอย่างไรหรือองค์กรของรัฐอย่าง กสท. และ ทศท. จะใช้กลยุทธ์เงินเดือนเป็นสิ่งล่อใจดึงดูดพนักงานสักเท่าไหร่ มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนไม่สามารถยับยั้งได้นั่นคือ กระแสของความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม โลกจะเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนทั้งเรื่องเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ปัญหาความขาดแคลนบุคลากร โทรคมนาคม เป็นสิ่งที่รัฐจะต้องรีบเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน มิใช่ให้องค์กรอย่าง ทศท. กสท. หรือภาคเอกชนไม่กี่บริษัทเป็นผู้ดำเนินการ

การจะบรรจุไว้ในแผนแม่บท หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่รัฐได้เริ่มขึ้นแต่ปัญหานี้มิใช่เป็นปัญหาที่รัฐได้พูดถึงเป็นครั้งแรก มีการพูดมากว่าสิบปีแล้ว ตัวเลขบุคลากรด้านเทคโนโลยีประมาณ 30,000 คนในตอนนี้ ( คิดเป็นภาครัฐ 75% หน่วยงาน ราชการ 13% รัฐวิสาหกิจ 12% ) จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ในอนาคตอันใกล้และจะเพียงพอกับสภาพความต้องการในอนาคตได้สักเท่าไหร่ เป็นสิ่งที่รัฐต้องคิดให้รอบคอบ

โครงการอีกหลายโครงการ ด้านโทรคมนาคมที่กำลังจะเกิดขึ้น และบริษัทข้ามชาติที่กำลังจะเข้าลงทุนทำธุรกิจในเมืองไทยในอนาคตจะมีอีกสักเท่าไหร่

เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง จุดของการเริ่มให้บริการ การติดตั้งการดำเนินการในเรื่องอุปกรณ์จะเริ่มลดน้อยลง เป็นในเรื่องการบริหารเทคโนโลยีมากว่า ขณะเดียวกันบุคลากรโทรคมนาคมก็มีอยู่เท่าเดิมแต่งานน้อยลง ตรงนี้คือสิ่งที่แต่ละบริษัทจะต้องคาดการณ์ไว้ในอนาคต และเตรียมแผนการณ์รองรับไว้ เพราะไม่อย่างงั้นวิศวกรก็จะกลายเป็นเหมือนคนเรือพาข้ามฝั่ง เมื่อส่งถึงท่าแล้วก็เลิกกันไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us