|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ซิป้า ยันไม่หยุด มหกรรมงาน TAM 2007 แค่ขอเลื่อนจัดไปปลายปีนี้ เหตุสะดุดการเมืองและงบสนับสนุน ผู้อำนวยการหวั่นคนในอุตสาหกรรมเข้าใจผิด อาจส่งผลขยายการเติบโตทุกระดับประกอบการลงทุน เผยจัด 3 ปี ดันตลาดขยายตัวเป็นไปตามเป้าหมาย ล่าสุดลงนามร่วมมือ กรมส่งเสริมส่งออก จุฬาลงกรณ์ ศรีปทุม สร้างคน สร้างงาน มุ่งขยายอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์ โตระดับสากล พร้อมเข้าหาแหล่งทุน
นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า การจัดมหกรรมไทยแลนด์แอนนิเมชั่นและมัลติมีเดีย หรือ TAM ที่ซิป้าเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้นทุกปี เพื่อให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมแอนนิเมชั่นและเกมของผู้พัฒนา ผู้ประกอบการไทย การจัดงาน TAM หรือ แทม 2007 มีความจำเป็นต้องเลื่อนระยะเวลาการจัดงานออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยคาดว่าไม่เกินปลายปี 2550 จากเดิมตามกำหนดจะต้องจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคม
“ซิป้า ยังคงสนับสนุนอุตสาหกรรมแอนนิเมชั่นอยู่ เหตุที่เลื่อนจัดงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและงบประมาณสนับสนุน โดยงานก็ได้มีการเตรียมการไว้แล้วส่วนหนึ่ง”
โดยที่ผ่านมาการจัดมหกรรมแทมทั้ง 3 ปี ได้มีการพัฒนาไปมากมีบริษัทเกิดขึ้นมากมาย และมีผลงานของคนไทยได้รับการยอมรับ มีบริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมทุน หรือว่าจ้างผลิตผลงานเพิ่มขึ้น ซึ่งได้เติบโตทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม อีกทั้งการเติบโตดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายของซิป้าที่ต้องการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมมีการเติบโตและขยายตัว ปีละไม่ต่ำกว่า 50% หรือการเพิ่มมูลค่าส่งออกให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีบริษัทรับจ้างผลิตส่งออกแล้วกว่า 30 บริษัท จากเดิมมีไม่ถึง10 บริษัท
ล่าสุดซิป้าได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อขยายผลและช่องทางในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแอนนิเมชั่นและเกม ตามเป้าหมายการผลักดันอุตสาหกรรม Digital Content อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการกำหนดแนวทางความร่วมมือให้สามารถส่งผลในกาพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือกันให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การให้คำแนะนำทางการตลาด ฯลฯ ซึ่งสามารถทำให้ผลงานออกสู่สากลได้อย่างรวดเร็วในอนาคต
โดยระหว่างซิป้ากับหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน มีรายละเอียดความร่วมมือกันคือ การลงนามความร่วมมือระหว่าง ซิป้ากับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรม Digital Content ของประเทศไทย ในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดและการส่งออกเป็นอย่างมาก การลงนามความร่วมมือระหว่าง ซิป้า กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมด้าน Software Engineering, Information Technologies และ ด้าน Digital Content โดยมหาวิทยาลัยมอบหมายให้ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการตามความร่วมมือที่เกิดขึ้น โดยเป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาของรัฐที่จะให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมและจะทำให้มีการเพิ่มของบุคลากรทางด้านนี้
การลงนามความร่วมมือระหว่างซิป้ากับมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อใช้สถานที่จัดตั้งศูนย์ Bangkok Digital Content Center เพื่อเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานดิจิทัล คอนเทนท์ ศูนย์กลางความรู้ และการเรียนรู้ทั้งด้าน Art และ Science ศูนย์กลางในการพัฒนาด้าน Research & Development (R&D) และศูนย์กลางในการสร้างและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์ ซึ่งศูนย์นี้ติดตั้งเครื่อง Motion Capture เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าใช้บริการได้ และมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพียงชั่วโมงละ 1,000 บาท ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นเวลา 1 ปี และยังสามารถสนับสนุนของการศึกษาทางด้านแอนนิเมชั่นและมัลติมีเดียให้กับนักศึกษาอีกด้วย
การลงนามความร่วมมือระหว่าง ซิป้า และ TGA เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทางด้านแอนิเมชั่น คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ซอฟต์แวร์เกม และมัลติมีเดีย เป็นหลัก และยังเป็นศูนย์กลางที่ให้มีความรู้ ความชำนาญ ซึ่งความสามารถคนไทยเทียบชั้นกับประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ได้ไม่เป็นสองรองใคร
นอกจากนี้จะได้เห็นความร่วมมือของภาคเอกชนอย่าง บริษัท Silptorn Comics&Animation จำกัด กับ สถาบันสยามคอมพิวเตอร์และภาษา เพื่อเพิ่มช่องการผลิตให้หลากหลายมากขึ้น ในส่วนของการเรียนการสอนด้านแอนิเมชั่น ซึ่งมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกของนักเรียนนักศึกษาที่สนใจในการเรียนเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิกต่างๆ
“การลงนามร่วมมือพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม Digital Content มาจากข้อมูลจากการได้ประชุมหารือร่วมกัน ที่ซิป้าได้รวบรวมทุกๆ ความเห็น แล้วนำไปประมวลผล เพื่อหาช่องทางการแก้ไขที่จะนำไปสู่การส่งเสริมที่ตรงกับความต้องการและส่งผลตรงถึงอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุด โดยพยายามเล็งให้เข้าเป้าหมายที่สุดและสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน”
สำหรับการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ซิป้าได้รับความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมว่าปัญหาที่สำคัญคือการขาดแหล่งเงินทุนและส่งเสริมการลงทุน รองลงมาเป็นเรื่องการตลาด การขาดบุคลากร ทัศนคติ ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า 2 ข้อแรกเป็นประเด็นที่ทางซิป้านำมาเสนอในการกำหนดหัวข้อของการเสาวนาข้างต้นให้อุตสาหกรรม Digital Content เข้าใจและมีแนวคิดในการปรับใช้ในธุรกิจในอนาคตต่อไป
|
|
 |
|
|