Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537
เทคโนฯ มหานคร โรงเรียนวิศวะแห่งทุ่งหนองจอก             
 

   
related stories

ที่นี่ไม่มีเอ็มบีเอ

   
search resources

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
Education




เมื่อ 5 ปี ที่แล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นเพียงวิทยาลัยยาลัยเอกชนเปิดใหม่แห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยพื้นฐานความคิดของผู้บริการที่เน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตรตามความต้องการของตลาดแรงงานเป็นหลัก จนทำให้กลายเป็นจุดขายที่โดดเด่นในสถาบัน สิทธิชัยโภไคยอุดม คือผู้นำอย่าวงแท้จริงทั้งทางด้านวิชาการและการบริหารมหาวิทยาลัย ผู้ซึ่งมีแนวคิดในการบริหาร ที่ว่าการบริหารไม่จำเป็นต้องเรียน แต่ต้องมีพรสวรรค์และให้คอมมอนเซนซ์ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง แม้เป็นความเห็นที่แตกต่าง แต่ห้าปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า เขาได้ทำเรื่องราวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และตัวเขาเองเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวถึง

ท่ามกลางความใฝ่ฝันและความคาดหวังที่จะยกระดับขึ้น สู่ความเป็นชาติอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ความเป็นจริงที่เป็นมานาน และกำลังเป็นอยู่คื อประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก

ข่าวบริษัทฮานา ไมรโครอิเล็กทรอนิกส์ วางแผนเคลื่อนย้ายการลงทุนไปสู่จีนและเวียดนาม เพระไม่สามารถหาแรงงานที่มีฝีมือในเมืองไทยได้อย่างเพียงพอ ซึ่งปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ดิ เอเลี่ยน วอลล์สตรีท
เจอร์นัล เมื่อไม่นานมานี้ คือรูปธรรมของปัญหาที่สำคัญที่ส่งสัญญานเตือนถึงผลเสียหายที่จะตามมาในอนาคต

มาซายูกิ คูซูมิ ผู้อำนวยการขององค์การเจโทร ประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า บริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาหนักในเรื่องนี้ เนื่องจกานักศึกาาที่จบทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของไทยมีเพียงปีละไม่กี่พันคน ในขณะที่ความต้องการมีมากกว่านี้ 3-4 เท่า

ปัญหานี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงการปล่อยปละละเลยระบบการศ฿กษาของรัฐ ซึ่งใช้งบประมาณไปได้ในด้านอื่นมากกว่าการศึกษา ประกอบกับระบบราชการมที่มากด้วยขั้นตอนเข้าครอบครองการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ การบริหารที่ไม่ยืดหยุ่น การบริหารที่ไม่ได้เงยหน้ามองถึงการพัฒนาของเทคโนดลยี จนกระทั่งไม่สามารถผลิตบุคลากรที่จำเป็นต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

เรื่องมันเริ่มต้นที่การมีงบประมาณน้อย เงินเดือนไม่มากพอจะชักชวนให้วิศวกรมาเป็นอาจารย์ ช่วงว่างเงินดือนระหว่างภาครัฐกับเอกชนที่ต่างกันราวฟ้ากับเหว อาจารย์ที่จบปริญญาตรีจะได้เงินเดือนประมาณ 5,000
บาท

หรือแม้กระทั่งวิศวกรทั่กวิชาชีพอาจารย์จริง ๆ ก็ยังอึดอัดกับระบบราชการ ต่างหลีกเลี่ยงการสอนในสถาบันของรัฐและไปสอนให้กับสถาบันเอกชน ตัวอย่างเช่น หากสอนในสสถาบันของรัฐอาจารย์ต้องเสียเวลากับขั้นตอนมากมายในการเบิกเงินเพียง 2,000 - 3,000 บาท ในขณะที่ถ้าสอนในสถาบันเอกชนเสร็จในแต่ละครั้ง จะมีคนนำค่าตอบแทนไปให้ทันที

" แค่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว กว่าจะซื้อได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน ระบบไม่ยืดหยุ่น กว่าจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ เครื่องนั้นก็จะล้าสมัยไปแล้ว" อาจารย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐบาลท่านหนึ่ง กล่าวกับผู้จัดการ

แม้กระทั่ง นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธการบดี มหาวิทยาลัย ยังเคยกล่าวว่า มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเหมือนต้นไม้ที่ถูกตอนจนทำให้แคระเกร็น เพระาระบบการบริหารที่ไม่คล่องตัว

เป็นที่น่าดีใจที่รัฐบาลก็ทราบถังความขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่บ้าน แต่ก็น่าเสียใจเมื่อรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณและความพยายามในการเปลียนแปลงการบริหารที่มากพอ อันจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นความพยายามยังคงอยู่ในกรอบการบริหารของระบบราชการ ซึ่งมีความพยายามที่ผิดทาง

จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งก็เตรียมดครงการที่พยายามหลุดพ้นออกมาจากระบบที่เรื้อรังมานานอย่างระบบราชการ

โครงการทุกอย่างของมหาวิทยาลัยของรัฐ จะต้องอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐจและสังคมแห่งชาติ งานที่นอกเหนือจากนั้นเป็นที่รู้กันว่าผู้บริหารจะทำไมได้

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่เป็นความต้องการของตลาด

แต่ก็เปิดโครงการนี้ไม่ได้ เพราะ ไม่ได้บรรจุอยู่ในแผนฯ 7 ต้องรอไปถึงแผนฯ 8 ซึ่งจะเริ่มอีก 2-3 ปีข้างหน้า

" เทคโนโลยีไปไวกว่าขั้นตอนของรัฐ ใครจะไปรู้ถึงความต้องการของตลาดได้อย่าถูกต้อง เราต้องยืดหยุ่นมากว่านี้ ถ้าเราจะเขียนในแผนเผื่อ ๆ ไว้หลายโครงการ ก็จะถูกบังคับให้ทำตามแผนที่เขียนไว้ทุกอย่าง ซึ่งก็กลัวว่าการคาดการณ์ของเราผิดพลาด เราะอยากทำแบบโครงการศึกษาพิเศษที่ไม่ได้พึ่งรัฐบาล แต่ให้ค่าตอบแทนอาจารย์เท่ากับเอกชน ก็กลัวว่า จะไม่ผ่านการพิจารณา" ประกิจ ตังติสานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กล่าว

ท่ามกลางปัญหาแห่งความขาดแคลนวิศวกรและเงื่อนไขการบริหารระบบราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอชน จึงน่าจะเป็นที่พึ่งของรัฐบาล ไม่ว่าคุณจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ถ้ามีตัวเลขของจำนวนวิศวกรที่เพิ่มมากขึ้น ก็น่าจะแก้หน้าของรัฐบาลได้อยู่บ้าง

ทันทีที่รัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยเริ่มมีนโยบายเร่งรัดการผลิตวิศวกร มหาวิทยาลัย เอกชน หลายแห่ง ก็ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีประทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีสกลนคร วิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

การตอบรับการสร้างวิศวกรบัณฑิตจากภาคเอกชน พร้อมกับการลงทุน ก้อนโตของแต่ละสถาบัน รวมทั้งค่าหน่วยกิตและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องจ่ายประมาณ แล้วแต่ละครอบครัว ที่ต้องการให้ลูกเป็นวิศวกรจากสถาบันศึกษาเอกชน จำเป็นต้องลงทุนประมาณ 2,000,000 บาท ตลอดเวลาสี่ปีของการศึกษา

ในบรรดาสถาบันที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร เป็นหนึ่งเดียวที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อน ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มุ่งเน้นบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นแห่งแรก

มหาวิทยาลัยเอน แห่งนี้ มีผู้ริเริ่มโครงการเป็นอาจารย์ที่มีประสสบการร์จากเทคดนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ส่วนหนึ่ง ร่วมกับยงศักดิ์ คณาธนวนิช ผู้เป็นเจ้าของในเครือแหลมทองอุตสาหกรรม และครอบครัวของอนันต์ อนันตกูล อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งสามส่วนถือหุ้นในจำนวนที่เท่ากัน

กลุ่มอาจารย์สามคนแรกที่ร่วมก่อตั้ง คือสิทธิชัย โภไคยอุดม, เลอเกียรติ วงศ์สารพิกูล,และเดเนียล บนริน ทั้งสามคนมีวุฒิการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอก สองคนนั้นลาออกจาการเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง อีกคนนั้นเป็นอดีตอาจารย์พิเศษของสถาบันเดียวกัน

" ผมทำงานกับอาจารย์สิทธิชัยมาตลอด ตั้งแต่ที่ผมมาสอนที่ลาดกระบังแล้วพออาจารย์มาตั้งที่นี่ ผมก็ออกมาร่วมงานด้วย " เลอเกียรติ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงการเข้ามาร่วมงานในมหาวิทยาลัยมหานคร

" คนที่เป็นหมอก็อยากมีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง เราเป็นวิศวกร อยากมีบริษัท ในขณะที่ เราเป็นวิศวกร และเป็นนักการศึกษาด้วย เราก็อยากมีมหาวิยาลัยเป็นของเราเอง " สิทธิชัยพูดถึงในการลงทุนกับธุรกิจการศึกษาด้วยเงินลงทุน 200 ล้านบาท

สำหรับส่วนร่วมทุนอีกสองรายนั้น ชักชวนเข้ามาตามความสัมพันธ์ส่วนตัวที่สืบเนื่องตั้งแต่รุ่นพ่อ

สิทธิชัยจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมื่อปี 2516 โดยสอบได้เป็นที่หนึ่งของคณะซึ่งทำให้ได้รับข้อเสนอให้รับทุนจากมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียมากว่า 10 แห่ง แต่เขาเลือกรับทุนพิเศษของมหาวิทยาลัยเดิม เพี่อศึกษาปริญญาเอก ที่เรียกว่า Dean's Scholarship ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ได้ยากที่สุดของมหาวิทยาลัย

หลังจากปริญญาเอกในสาขาวิชา solid state eletronics เมื่อปี 2519 สิทธิชัยกลับบ้าน มาเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง

กว่า 12 ปี ที่เขามีประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยของรัฐ จนกระทั่งเขาดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เขาย่อมรู้ดีถึงข้อจำกัด และข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยของรัฐมากพอที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขและเป็นแนวทางในการบริหารมหาวิทบาลัยของตนเอง

ปี 2512 คือปีที่สิทธิชัย ก้าวออกมาจาการเป็นข้าราชการ โดยการตั้งวิทยาลัยเป็นของตนเอง

ตอนที่ตั้งมหาวิทยาลัยครั้งแรก เมื่อปี 2532 ซึ่งในตอนนั้นยังมีฐานะเป็นวิทยาลัยอยู่ เพิ่ง
จะได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐให้เป้นมาหวิทยาลัยในปีนี้เอง มีเพียงคณะเดียวคือคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ในปี 2535 จึงเปิดสอนคณะสัตวแพทย์อีกคณะหนึ่ง จนถึงปัจจุบันคงมีการเรียนการสอนเพียงสองคณะนี้เท่านั้น และไม่มีนโยบายที่จะเปิดคณะใหม่เพิ่มขึ้นอีก ต่างมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งของรัฐและของเอกชน โดยทั่วไป ที่พยายามขยายสาขาวิชาออกไปให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา

ในหลักการแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีคณะที่ขอเปิดไว้กับทางทบวงมหาวิทยาลัยครบตามเงื่อนไขของการที่จะมีสถานะเป็นมาหวิทยาลัยได้ แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ กก็มีเพียงสองคณะที่ว่านี้ ที่มีการเรียนการสอนจริง ๆ

สิทธิชัย บอกว่า เขาต้องการให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ดำเนินงานในลักษณะ " แคบแต่ลึก"

" เราจะเปิดแค่สองคณะนี้เท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกัน คนอื่นปกติจะพยายามหาเหตุผลแต่เราไม่ปกติ" อธิการบดีหนุ่มใหญ่ที่จะมีอายุครบ 46 ปีเต็มในเดือนหน้านี้กล่าว

เหตุผลในการเปิดคณะสัตวแพทย์นั้น เดเนียล บรีน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่มีแต่ชื่อบอกว่า ประเทศไทยยังขาดแคลนสัตว์แพทย์อีกมากทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครจึงเป้นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวและแห่งแรกในขณะทีเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์

แต่ทิศทางหลักของมหานครมีอยู่เพียงเดียวคือ การเป็นมหาวิทยาลัยทางวิศวกรรมศาสตร์ ตามความชำนาญของสิทธิชัย เขาบอกว่า " เราไม่เพียงแต่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งทางด้านวิศวะด้วย"

คนที่รู้จักสิทธิชัย พูดถึงตัวตนของเขาว่า เป็นคนเก่ง กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็น มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก มากจนภาพลักษณ์ในสายตาของคนที่มีโอกาสสัมผัสด้วยหลายคน เห็นว่าเขาคือคนที่มี " เงาใหญ่กว่าตัว"

ด้วยบุคลิกเช่นนี้เอง จึงไม่น่าแปลกที่การบริหารงานทุกอย่างรวมศูนย์การตัดสินใจอยู่ที่เขาคนเดียว ซึ่งอยู่ในสภาพมีเพียงคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นแกนหลักเพียงคณะเดียว ขอบเขตของการบริหารงานจึงไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน กล่าวไว้ว่ารากฐานที่วางไว้ และทิศทางในอนาคตของมหาวิทยาลัยอยู่ที่สิทธิชัยคนเดียว

ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของมหานครก็อยู่ที่เขาคนเดียว

การพิจารณาคุณภาพของวิศวกรที่สถาบันการศึกษาผลิตออกมานั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะการจะหวังพึ่งทบวงหมาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ ก็อาจจะยาก เพระาทั้งสององค์กรพิจารณามาตรฐานจากหลักสูตรที่เปิดสอนและจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษาของแต่ละสถาบัน

ในความเป็นจริงแล้ว หลักสูตรเหล่านี้แทบจะลอกเลียนจากต้นฉบับเดียวกัน หรือแม้กระทั่งจำนวนอาจารย์เองก็ไม่ง่ายนักที่จะตรวจสอบว่า ชื่อที่ปรากกฎในสถาบันต่าง ๆ ว่าเป็นอาจารย์ประจำ จะมาสอยเต็มเวลาจริง ๆ หรือเปล่า

" มันไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก ถ้าหากจะมีนายทุนที่จะสร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะแค่หาอาจารย์ทีมีประสบการณ์ทางการศึกษา มาร่างหลักสูตร จากนั้นจึงตามล่ารายชื่อลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นวิศวกร เข้าเป็นอาจารย์ประจำแต่เวลาสอนก็จ้างอาจารย์พิเศษที่ไม่มีเวลามาใส่ใจมากนักกับนักศึกษาให้มาสอน" แหล่งข่าวในวงการการศึกษาท่าหนึ่งกล่าวกับ " ผู้จัดการ"

องค์กรที่จะสามารถชี้ชัดได้ว่าสถาบันใดที่ผลิตบุคลากรที่ดีได้ก็คือ บริษัทที่รับวิศวกรเหล่านั้ทำงาน

ปัจจุบันมหานครผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ออกไปแล้ว 2 รุ่น ประมาณ 1,000 คน ซึ่งในภาวการณ์ขาดแคลนวิศวกร แน่นอว่า ส่วนใหญ่จะมีงานทำ แต่การประเมินว่า ส่วนใหญ่จะมีงานทำ แต่การประเมินคุณภาพของผลผลิตจากมหานครนั้น ระยะเวลาช่วงสั้น ๆ เพียง 1-2 ปียังไม่อาจบอกได้ว่า คุณภาพเป็นอย่างไร

สิทธิชัย เคยกล่าวว่า " ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนที่จบเราจะต้องการันตรีได้ว่า จะต้องสามารถทำงานได้ดี

ด้วยเหตุนี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร จึงใช้ระบบการวัดผลที่เรียกว่า " เอฟ ตัดทิ้ง" หรือ การที่นักศึกษาสามารถรีเกรดด้วยการลงวิชาที่สอบตกใหม่แล้ว วิชานั้นจะไม่ถูกนำมาคิดเกรดในใบทรานสคริปของนักศึกษาที่จบจะไม่ปรากฏเกรดเอฟเลย

" เด้กที่ผ่านวิชาใด ๆ ได้ก็คือ ผ่านจริง ๆ ผ่านไม่ได้ก็สอบตก ติดเอฟไป แต่เราก็ให้โอกาสแก้ตัวใหม่ลงใหม่จนมีความสามารถที่จะผ่านได้ เรารับประกันว่าเด็กผ่านวิชานั้นเราะว่าเขาเข้าใจวิชานั้นดีพอ เป็นผลดีกับอาจารย์ส่วนหนึ่ง ก็คือ ไม่มีการปล่อยให้เด็กผ่านด้วยเช่นกัน" สิทธิชัย กล่าวถึงเหตุผลการใช้ระบบรีเกรดในมหาวิทยาลัย

ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรที่ผู้ปกครองจะสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่า จำนวนเงินร่วมสองแสนบาทที่ลงทุนส่งลูกหลานเข้ามาเรียน จะเป็นการลงทุนที่คุ้มคา

สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นเครื่องวัดคุณภาพของการเรียนการสอนในมหานครก็คือ การลงทุนทางด้านอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ เปรียบได้เช่นวัตถุในการผลิตวิศวกรออกสู่ตลาดแรงงาน

" ตอนนี้เรามีอาจารย์ประจำเกือบ 200 คน เราเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เรามีปัญหาเรื่องอาจารย์น้อยมาก เพราะทุกอรทิยืจะมีอาจารยืมาสมัคร 3-4 คน " สิทธิชัย กล่าว

เหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้มหานคร ไม่มีปัญหาเรื่องอาจารย์คือ อัตราเงินเดือนนของอาจารย์ที่มาสอนให้มหานครนั้น อยู่ในระดับสามารถแข่งขันได้กับภาคเอกชนอื่น ๆ โดยอาจารย์ทีมีวุฒิปริญญาตรีเงินเดือนระดับ 12,000-18,000 บาท ปริญญาโท 18,000-25,000 บาท และปริญญาเอก 30,000-40,000 บาท

คนที่กำหนดอัตราเงินเดือนคือสิทธิชัย

" ผมเชื่อว่า สำหรับปริญญาตรี เงินเดือนเราดีกว่าอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ เพราะโดยเฉลี่ยอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่หนึ่งหมื่นห้าร้อยถึงหมื่นสองพันห้าร้อยบาท อัตราเงินเดือนในระดับปริญญาโทเรา ก็ดีกว่า ปริญญาเอกเราอาจจะสุ้อุตสาหกรรมไม่ได้ แต่คนที่มาอยู่กับเราก็เป็นนักวิชาการอยู่แล้ว คนที่ต้องการหาเงินเยอะๆ ก็ไปทำงานกับอุตสาหกรรม" อธิการบดี มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าว

การจัดการเรื่องเงินเดือน นับเป็นความโดดเด่นประการหนึ่งของการบริหารบุคคลของสิทธิชัย นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่น่าสนใจก็คือ การสร้างอาจารย์ในระดับปริญญาโทขึ้นเอง โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท และส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ปีละ 12 คน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

แม้ว่าปริญญาโท มหานคร เริ่มมาได้เป็นปีที่สองแล้ว มีนักศึกษาประมาณ 20-30 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการศึกษาฟรี แต่ก็ไม่ได้มีการเซ็นสัญญาผูกมัดให้กับอาจารย์สอนที่มหาวิทนยาลัยหลังจบการศึกษา

" การเรียนปริญญาโทของเราหนักมาก ถ้าคิดให้ได้กำไรต้องคิดหลายแสนบาทเลย ซึ่งคงไม่มีใครมาเรียน ผมเชื่อในความภักดีของคน คนไหนที่ดูแล้วไม่ภักดี เราก็ไม่ส่งไป เราก็เลือกเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าไม่เลือก ผมดูหน้าก่อน ถ้าไม่ชอบหน้าผมก็ไม่รับเป็นอาจารย์ ผมดูว่าน่าไว้ใจมั๊ย ผมว่าคนเราใช้เวลาดูกันสักสองสามนาทีก็พอ เราส่งเขาไปเรียนต่อค่าใช่จ่ายประมาณ 350,000 ต่อปีต่อคน ในระหว่างที่เรียนก็ยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ เราพยายามทำให้เขาสบายใจที่จะอยู่กับเรา เรื่องอะไร เขาจะไปทำงานกับริษัทอื่น " อธิการบดี หมาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร กล่าวถึงวิธีบริหาร

บุคลากรหลักในมหาวิทยาลัย แห่งนี้ประกอบด้วย นักศึกษา 4,000 คน อาจารย์ 200 คน จบการศึกษาระดับปริญญาโท 25-26 คน ปริญญาเอก 40-50 คน ที่เหลือเป็นระดับปริญญาตรีที่มีหน้าที่ในการคุมห้องปฏิบัติการเท่านั้น อาจารย์ที่มีหน้าที่สอนจะสอนเพียงสัปดาห์ละประมาณ 5 ชั่วโมง เท่านั้น เพื่อว่าจะได้มีเวลาเหลือพอในการทำวิจัย

" ด้วยการพัฒนาอาจารย์ของเรา เราเชื่อว่าในสิบปี คุณภาพอาจารย์ของเราจะไม่ด้อยไปกว่าใครไม่ว่าสถาบันใดก็ตาม เป็นมหาวิทยาลัย ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาอาจารย์ก็เป็นโรงเรียนประชาบาลนั่นเอง"

เนื่องจากสิทธิชัย สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย จึงเป้นการง่ายขึ้นที่จะมีการร่วมมือทางด้านวิชาการ และมีโครงการเปิดการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเป็นภาษาอังกฤษในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกับอิมพิเรียล คอลลเลจ อันเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ

"ภาษาอังกฤษ มันเป็นแฟชั่น เดี๋ยวไม่มีจะหาว่าห่วย เฮงซวย ก็เลยเปิดซะหน่อย เราคิดว่า จะเปิดให้ดีเปิดให้ถูกต้อง แต่คงไม่ได้กำไรอะไร อาจจะขาดทุนด้วย แต่คงจะมีเพราะเดี๋ยวนี้คนเห่อเรื่องการเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล" สิทธิชัย กล่าวถึงโครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาษาอังกฤษที่จะเปิดสอนเร็ว ๆ นี้ โดยมีรนักเรียนประมาณ 50 คน

การเติบโตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นั้นมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก แม้กระทั่ง นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีโอกาสมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยกล่าวชมถึงการเติบโตอย่างมาก และเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีเกินหน้ามหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง

การเติบโตของมหาวิทยาลัยนี้อาจเนื่องมาจากวาผู้บริหารไม่สามารถนำกำไรออกไปใช้กิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยได้เกิน 15% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ตามที่พระราชบัญญัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดไว้

ดังนั้นในช่วงเพียงครึ่งทศวรรษเท่านั้น พื้นที่ 20 ไร่ก็เริ่มคับแคบ เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับโครงการสร้างอาคารเก้าชั้นสองหลังเท่านั้น

" เรามาตั้งตรงนี้ เราะว่าที่ราคาถูกและบรรยากาศของหนองจอกสงบ ตอนตั้งตอนแรกใคร ๆ บอกว่าเจ๊งทั้งนั้น เพราะว่ามันอยู่ไกล แต่ถึงขั้นนี้แล้ว ห้าปีที่แล้วตรงนี้ไม่มีอะไรเลย ทุ่งนาหมาดรถเมล์ก็นาน ๆ มาที แต่เราก็อยู่ได้มา 5 ปี แล้ว และยังมีโครงการขยายต่อไปเรื่อย ๆ " สิทธิชัย กล่าว

40% ของค่าใช้จ่ายมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร คือเงินที่จ่ายให้อาจารย์ 40%-50% เป็นการใช้จ่ายในเรื่องการวิจัย ที่เหลืออีก 5% - 10% เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่เรียน

ด้วยอัตราส่วนการใช้จ่ายที่ให้กับอาจารย์ที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังให้ความสำคัญในเรื่องของงานวิจัย จึงทำให้จำนวนอาจารย์ประจำที่หมาวิทยาลัย แห่งนี้มีมากว่ามหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งอื่น

" ทุกมหาวิทยาลัยก็ทำอย่างเราได้ อาจารย์ก็หาสิจ่ายมากขึ้น ทำบรรยากาศดี ๆ อาจารย์ก็มาเองเขาจะยอมไหมที่จะกันเงินค่าหน่วยกิตที่รับมาจากนักศึกษา เป็นเงินสำหรับอาจารย์เกือบหมด อาจารย์ระดับปริญญาโทของเรามีเงินเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 28,000 บาท ผมกลัวแต่ว่า มหาวิทยาลัยอื่น เขาทำได้ แต่เขาไม่ทำ เขาคุ้นกับการที่จ่ายให้อาจารย์ 5% สร้างตึก 10%

สิทธิชัย เป็นผู้บริหารและเจ้าของมหาวิทยาลัย เอกชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันการศึกษาเข้าเป็นสมาชิในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย เหตุผลที่ว่า อาจจะทำให้ผู้บิรหารมหาวิทยาลัยเน้นที่การพยายามทำกำไรให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นพอใจ อันจะส่งผลกระทบถึงนักศึกษา

" ผมไม่เห็นด้วยเลย กับความคิดนี้ สถาบันการศึกษาไม่น่าที่จะมาเน้นการทำกำไรกันมากมาย เราอยุ่ได้โดยไม่เอาเปรียบสังคม " เขากล่าว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพิ่งจะมีอายุได้ 5 ปีเท่านั้น เป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินไป สำหรับการเมินคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหาขาดแคลนวิศวกรทำให้ผู้จ้างงานไม่มีทางเลือก แต่การลงทุนในเรื่องอาจารย์ผู้สอน ทั้งในแง่การสร้าง การให้โอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถ การให้ผลตอบแทนของมหานคร นับได้ว่า เป็นการสร้างฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา ที่จะส่งผลให้เห็นกันได้ในระยะยาว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us