Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537
การ์ตูน ธุรกิจหมื่นล้าน " พูดเป็นหนังการ์ตูนไปได้"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เดอะ วอลท์ ดีสนีย์(ประเทศไทย)
Entertainment and Leisure




อุตสาหกรรมการ์ตูน ที่ผนึกกระแสการตลาด กับธุรกิจข้ามโลกในรูปของ Financise และ License เป็นเครื่องทิศทางใหม่ของกระแสธุรกิจและวัฒนธรรมของสังคมไทย ในอนาคตต่อการอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์จาก" ตัวการ์ตูน" มิกกี้เม้าส์ ไลอ้อนคิงส์ ฟลิ้นท์สโตน เฮลโลคิดตี้ กบเคโรปี้ ดรากอลบอลล์ ฯลฯ ที่นักการตลาดไทยใช้กลยุทธ์ผสมผสานระหว่างความฝันอันสวยงามกับความเป็นจริง ล่อเงินนับหมื่นล้านออกจากกระเป๋า ครอบครัวของคนรุ่น "X " อย่างน่าจับตา

" ปิดเทอม" เป็นห้วงเวลาอันหรรษาสำหรับเด็กและนักการตลาดต้องสร้า

กลยุทธผสมผสานระหว่างจิตนาการของการ์ตูนอันแสนสวยกับศาสตร์แห่งการโฆษณาชวนเชื่อค่อย ๆ ดึงเงินออกจากกระเป๋าของพ่อแม่ลูกให้มากที่สุด ทุก ๆ พื้นที่การขาย ทำให้กระแสการจตลาดสินค้าเด็กในยุคโลการ
นุวัตรเป็นไปอย่างรุนแรงต่อเนื่อง

" เดอะ ไลอ้อน คิงส์ " เรื่องราวการผจญภัยของ " ซิมบ้า" เจ้าสิงห์น้อยผู้ต่อสู้ตัวแทนความชั่วร้ายจนพิชิตชัยชนะ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการช่วงชิงโอกาสฉายหนังและจัดโปรโมรชั่น นำตัวการ์สูนสวย ๆ และเพลงไพเราะ can you feel the love tonight ของเอลตัน จอห์นมากวาดเงินไปอักโข ช่วงโรงเรียนปิดเทอม เดือนตุลาคมปีนี้

เฉกเช่นเดียวกับงาน " sanrio circus " ที่ห้างเซ้นทรัลทุ่มงบ 15 ล้านบาท ตแกต่งเวทีสวยงามพร้อมทั้งนำการประกวดแข่งขันสนุกกับ playhouse ระบายสี ทำสติกเกอร์และร่วมมวาน sanrio collction contest ใครสะสมเจ้าแมวติดโบว์ชมพู คิดตี้ กบตัวเขียว " เคโรบี้" หรือลิงหน้าตาซุกซน Monkichi หรือ เด็กหญิงน่าทะเล้นอย่าง "ลูลู่" ได้มากที่สุด ก็ชนะไป

ช่วงโอกาสทองเช่นนี้ บริษัทโกดัก ประเทศไทย ย่อมไม่พลาดได้หยิบเอาตัวการ์ตูนใน " เดอะไลด้อรคิงส์" ของวอลต์ดสินีย์ในไปผลิตแก้วน้ำแจกปรีแก่ผู้ซ้ฟิลืมโกดักหนึ่งม้วน ปรากกฏว่าได้เพิ่มยอดขายในช่วงเดอืนตุลาคมอีกเช่นเดียวกัน

การปกรจิตนาการตัวการ์ตูน ในโลกเซลลูลอยด์ สู่อาณาจักรแข่งขันธุรกิจการค้าที่ครอบคลุมสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ติดสัญญชักษณ์ตัวการ์ตูนมูลค่าหมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งของรายรับนี้ต้องปันเงินเปอร์เซนต์ราว 6-25 % จ่ายให้เขจ้าของลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์ต่างประเทศรายใหญ่ ๆ ทีกุมสภาพการตลาดมุลค่มหาศาลในไทยขณะนี้ ได้แก่บริษัท
เดอะ วอลท์ดิสนีย์ และบริษัท วอร์เนอร์บราเธอร์ ส่วนค่ายญี่ปุ่นมี Sanrio เจ้าแห่งกิฟท์ชอบที่จับตลาดระดับบน และเจ้าสำนักพิมพ์การตูนญี่ปุ่น อย่าง Kodansha และ Shoelsha ซึ่งสามสำนักพิมพ์วิบูลย์และธนาชัยได้รับลิขสิทธิ์

ความหลากหลายของการ์ตูน นับร้อย ๆ ตัวที่พาเหรดเข้าล่อเงินจากเด็กไทยอย่างหนาตาได้แก่ มิกกี้เม้าส์ มินนี่เม้าท์ โดนัลดักส์ อลาดิน ไลอ้อนคิงสื ลูนนี่ทูนส์ ซันริโอ ฟิโดีโด้ ฟลิ้นทท์สโตน russ ฟิลิกซ์เดอะแคท การ์ฟิลด์ ทอมแอนด์เจอร์รี่ ดรากอนบอนส์ โดราเอมอนส์ สแลมดังค์ โจโจ้ เจ้าป่าทาร์จัง ลักกี้แมน อุตราแมน อื่น ๆ มากมาย ที่ ทำให้นักการรตลาดจำเป็นต้องรู้จักเลือการ์ ตูนที่มีอุปนิสัยและสัญญลักษณ์เหมาะสมกับแบรนด์สินค้าแต่ละตัวอย่างดี

ดังนั้น บริษัทหนึ่งจึงมีลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนจากหลายค่าย โดยมิได้ผูกพันเพียงหนึ่งเดียว เช่นบริษัทยัลสปาลแอนด์ซันส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่อง นอน หมอนอิง จะเลือกลายการ์ตูนเด่น ๆ อย่างมิกกี้เม้าส์ มินมี่เม้าส์ ฟิลกซืเดอะแคท บีกบันนี่ สนูปปี้

บรรดาเจ้าของลิขสิทธ์ทั้งหมดนี้ " มิกกี้เม้าส์" ของวอลย์ดิสนีย์ จัดได้ว่า " ยอดนิยม" เพราะมีบริษัทชั้นำของไทยเป็นผู้ใช้ลิขสิทธิ์มากที่สุด

ค่าลิขสิทธ์มิกกี้เม้าส์ จะแพงกว่าคู่แข่ง 2-3% เนื่องจากภาพพจน์แห่งความสำเร็จของวอลดิสนีย์ ในฐานะราชาการ์ตูน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยตัวการ์ตูนยอดนิยม บวกกับระบบการจัดการแบบ " ครบวงจร" ด้านลิขสิทธิ์ในฐานะ ยักษ์ในไทย ทำให้คู่ค้า ชาวไทยมั่นใจ และชัดเจนในการที่นักการตลาดสามารถนำตัวการ์ตูนที่เหมาะสมไปพัฒนาผลิตภัรฑืของเขาได้

เป็นควมจริงที่ต้องไม่ลืมว่าความสำเร็จของอาณาจักรวอลดิสนีย์22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐวันนี้ เกิดขึ้นจาก "หนู" ตัวเดียวแท้ ๆ

" มิกกี้เม้าส์ " คือตัวการ์ตูนหนูตัวเล็ก ๆ ในภาพยนต์การ์ตูนเรื่อง " สตรีมโบท วิลลี่" ที่ออกฉายครัง
แรกเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2471 อันเป็นห้วงวิกฤตของเศรษฐกิจโลกตกต่ำ โลกแห่งความเป็นจริงโหดเหี้ยมเกินไป มิกกี้เม้าท์จึงเป็นจินตนาการแห่งความสุข เสียงหัวเราะ และความฝันแสนสวยอันยิ่งใหญ่ของสไตล์อเมริกัน

66 ปีของอานุมิกกี้เม้าท์ ได้กลายเป็นสินทรัพย์อันมีค่าที่ถูกนักการตลาดผนึกกลยุทธ์การตล
าดกับธุรกิจข้ามโลก สร้างสรรค์ให้กลายเป็นแบรนด์เนมสินค้าที่มีต้นทุนและมูลค่าตอบแทนมหาศาลในรูปของ " ลิขสิทธิ์" ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้า อุปโภคบริโภคช่วงชิงโอกาสไปพัฒนาแบ่งซอยส่วนแบ่งการตลาด ( Age Segmentatopm) กันละเอียดละออ เจาะกลุ่มเป้าหมายกันตั้งแต่อยู่ในครรถ์มารดาจนถึงวัยรุ่น

การจัดระเบียบการได้ลิขสิทธ์มิกกี้เม้าส์ มีระบบการบริหารกลยุทธิ์ผลิตภัณฑ์ โดยกำหนด positoning ของสินค้าตามความหมายของโลโก้ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดเป็นสามประเภทได้แก่

หนึ่ง-แบรนด์ " disney babies " โลโก้รูปมิกกี้เม้าส์กับมินนี่เม้าส์ ถือตัวอักษร Babies ให้ความหมายการันตรีคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นนักการตลาดของเล่นสำหรับเด็กทารกจนถึงเด็ก 3 ขวบรวมถึงสินค้า ของขวัญสำหรับคุณแม่ ขณะตั้งครรภ์ด้วย

สอง-แบรนด์ " mickey's stuff for kid " เป็นโลโก้รูปมิกกี้เม้าส์ในสีสันสดใสร่าเริง จับกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ ตั้งแต่ 4-14 ปี

สาม- แบรนด์ mickey &co ที่โลโก้เป็นมิกกี้แบบฉบัคลาสสิค จะเจาะตลาดเด็กโตตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปถึงวัยรุ่น สินค้าที่ติดแบรนด์นี้จะเน้นคุณภาพของดีไซน์และวัตถุดิบ

จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อสูงของกลุ่มสองและสาม เป็นกลุ่มเห้าหมายที่ licensee ส่วนใหญ่มุ่งเจาะมากกว่าส่วนแรก ยิ่งสินค้าราคาแพงทีมีมาร์จิ้นสูงสุดอย่างเช่น กรอบแว่นตามิกกี้เม้าส์มูลค่า 1,200 บาท ซึ่งบริษัท เอ็ม เอส ออพทิค ภายใต้การบริหารของสุรกิต เยราชกุล ยอมควักจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 20% ของยอดขายสำหรับแบรนด์มิกกี้สตัฟและมิกกี้ แอนด์โค ย่อมมองเห็นศักยภาพเติบโตของธุรกิจ

" ตามสัญยาดีสนีย์เขาจะไม่ให้มีคู่แข่ง ส่วนดีไซน์เราต้อให้เขาปรู๊ฟตลอด แว่นตามิกกี้เม้าส์นี้เราสั่งทำจากฝรั่งเศส ที่ฮ่องกงไม่มีขาย ถ้ามีก็โนจับและแว่นตาเราจะมีโมเดลนัมเบอร์และโลโก้พิมพ์ลงไป ปีหนึ่งยอดขายของเราร่วมร้อยล้าน แต่อนาคตคิดว่าถ้ามีสินค้าดัสนีย์เพิ่มขึ้นมาอีก ยอดขายจะเพิ่มอีก 10% สุรกิตประธานบริษัทคาดหวังยอดขายเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้ยังมีแบรนด์ mickey limited ซึ่งเป็นโลโก้รูปหัวมิกกี้เม้ส์ ใช้กับสินค้ามวลชนที่ไม่เน้นคุณภาพสินค้ามากนัก จับตลาดล่างและตลาดระดับกลาง เช่นครั้งหนึ่งที่เสื้อยืดของแตงโมเคยผลิตขาย

อีกแบรนด์หนึ่งที่นิยมใช้กันมากก็คือ " 101 dalmatains" ซึ่งเป็นโลโก้รูปสุนัขพันธนี้ มีลายจุดๆ สีโลโก้จะมีสีดำ สีแดง ขาวและน้ำเงินฟ้า

ในปี 2536 ที่ผ่านมา บริษัทเดอะ วอลท์ ดีสนีย์ ( ประเทศไทย) ได้เงินเป็นกอบเป็นกำไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท จาก Licensee 42 รายไม่รวมรายใหม่อีก25 รายที่เพิ่งเริ่มการผลิตปีนี้ ที่นำตัวการ์ตูน บทประพันธ์ สิ่งตีพิมพ์ที่นำเอาการ์ตูนบทประพันธ์สิ่งพิมพ์ตลอดจนดนตรีและเพลงที่เป็นกรรมสิทธ์ของดิสนีย์ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า หีบห่อ หนังสือหรือสื่อโฆษณา

ค่าลิขสิทธิ์ของวอล์ดิสนีย์ จะจ่ายในอัตราต่างกันตามขนาดตลาด ปริมาณธุรกิจหรือมูลค่ายอดขายสินค้า ค่าลิขสิทธิ์จะเรียกเก็บตั้งแต่ 6-25% โดยแยกเป็นการ์ตูน 2 ชุด

หนึ่ง-การ์ตูนที่เรียกว่า " standard charcater ซึ่งได้แก่ มิกกี้เม้าส์ มินนี่เม้าส์ โดนัลดักส์ กุ๊ฟฟี่ พูดต และชิพแอนด์เดิล ( กระรอกสองตัว)

ขณะเดียวกัน ถ้าหากเป็นตัวการ์ตูน เรื่องยาวซึ่งเรียกว่า classic เช่นสโนไวท์ กับคนแคระ ทั้งเจ็ด , พินน็อคคิโอ หรือ ปิเตอร์แพน ฯลฯ ค่าลิขสิทธิ์ก็จะจ่ายเป็นตัว ๆ ไป แต่บริษัทวอลดีสนีย์ จะเป็นผู้เลือกให้ เพราะจะต้องเป็นตัวการ์ตูนที่ดิสนีย์ประเทศไทยสามารถส่งเสริมการขายได้จากภาพยนต์วิดีโอเข้ามาขาย หรือมีพื้นฐานด้านการ์ตูนไป เพื่อแจ้งเกิดในตลาดได้

ดังเช่นกรณี บริษัทโอซีซี ในเครือสหพัฒน์ ที่ต้องจ่ายเป็นหลักล้านกับลิขสิทธ์การ์ตูนคลาคสิค คือเจ้าหมีน่ารัก " วินนี่แอนด์เดอะพูล" เพื่อเจาะตลาดวัยรุ่นและผู้ใหญ่

ความรับผิดชอบด้านการตลาดและการให้ลิขสิทธิ์แก่ผู้ผลิตในไทยนั้น อยู่ในความดูแลของผู้จัดการใหญ่ ( country manager) ที่ชื่อว่า " มาลาทิพย์ คุณวัฒนา" ซึ่งเข้าร่วมงานกับดิสนีย์ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 ที่บริษัทยังแค่สำนักงานสาขาของ disney consumer products international INC ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น " บริษัทเดอะ วอลท์ดิสนีย์ ( ประเทศไทย ) เมื่อมีนาคม ปีนี้เอง มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่หนึ่งแสนบาท

การ์ตูนดีสนีย์ ก้าวเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ยุคเบบี้บูม เมื่อสามสิบปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะจดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทตัวเมื่อปีนี้เอง

หากถามว่าช้าเกินไปหรือไม่? นักการตลาดบางคนกล่าวช้าไป 4 ปี น่าจะเริ่มตั้งแต่เศรษฐกิจโชติช่วงปี 2530

แต่ผู้บริหารดิสนีย์ที่สิงคโปร์ ที่ยึดแนวนโยบายอนุรักษ์นิยมก่อนตัดสินใจตั้งสำนักงานสาขาที่กรุงเทพ ในปี 2534 นี่คือเวลาที่ดีที่สุด เพราะพ่อแม่ในยุคเบบี้บูม มีกำลังซื้อให้กับลูกรุ่นใหม่นี้มหาศาล

ก่อหน้านี้เมื่อเก็บสถิติตัวเลขประชากรเด็กปี 2533 ดีสนีย์พบว่ามีเด็กไทยที่ผลผลิตของพ่อแม่ยุคเบบี้บูมเมื่อ30 ปีที่แล้ว จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 ล้านคน อายุ 0-4 ปีมีจำนวน 4.5 ล้านคน อายุ 5-9 ปี 5.8 ล้านคน และอายุ 10-14 ปี จำนวน 5.7 ล้านคน

จากการวิจัยพฤติกรรม อำนาจซื้อของเด็กอายุ 0-4 ขวบจะอยุ่ที่พ่อแม่เป็นหลัก ดังนั้นถ้าพ่อแม่เชื่อใจสินค้ายี่ห้อใด ก็จะมี Brand Loyalty สูง ขณะที่เด็กอายุ 5-9 ขวบ จะเลือกอาหารเครื่องดื่มเองได้บ้าง แต่พ่อแม่ก็ยังเลือกให้อยู่ดี ส่วนเด็กโต 10-14 ปี จะมีอำนาจตัดสินใจซื้อสูงที่สุด

ดังนั้นอำนาจซื้อของเด็กไทย ที่เพิ่มขึ้น มหาศาลในระยะ 5 ปี ที่เศรษฐกิจไทยเติบโต เป็นปัจจัยสำคัญที่จูงใจยักษ์ใหญ่ในอาณาจักรการ์ตูนระดับโลกอย่างวอล์ดิสีย์ วอร์เนอร์บารเธอร์ เริ่มปักหลักกิจการสาขาที่จะพัฒนาตลาดสินค้าการ์ตูนหมื่นล้านสำหรับเด็กไทยที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน

เป็นหน้าที่ของนักการตลาดจะต้องใช้จินตนาการของการ์ตูนผสมผสานกับการผลิตสินค้าแสนสวยสีล่อใจเด็กให้ซื้อ

ช่วงเวลาที่ดิสนีย์ประเทศไทย เริ่มตั้งแต่แผนกดูแลลิขสิทธิ์ และการตลาด " disney consumer products" มาลาทิพย์ต้องบินไปกลับระหว่างไทยและสิงคโปร์ เพื่อทำรายงานโดยตรงกับสำนักงานดิสนีย์ ภาคพื้นอาเซียนในสิงคโปร์อย่างใกล้ชิด จากจุดเริ่มต้นที่มาลาทิพย์พยายามขยายการให้ลิขสิทธิ์สินค้าอุปโภคบริโภคครอบคลุม 10 ประเภท ธุรกิจ ได้แก่ เสื้อผ่า และอุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ของเล่น อาหารเครื่องดื่ม ของขวัญที่ระลึก อนามัยภัณฑ์ เครื่องเขียน หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ เทปเพลง คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์

ในบรรดาธุรกิจทั้งหมด ตลาดเสื้อผ้าเด็กถือว่าเป็น " ตลาดแห่งอนาคต" ที่กว้างใหญ่มีมูลค่าสูงมากถึง 4,000 ล้านบาท และเติบโตอยุ่อย่างสม่ำเสมอ แต่น่าแปลกที่บริษัทชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ประาสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ขณะที่ตลาดเต็มไปด้วยสินค้าไม่ต่ำกว่า 70-80 ยี่ห้อ

" เราเริ่มปูตลาดด้วยสินค้าเด็กก่อน เพราะมิกกี้เม้าส์จะเป็นสินค้าเด็กอ่อน แต่เมื่อผู้ใหญ่สนใจเราก็เพิ่งเริ่มผลิตสินค้าผุ้ใหญ่ในปีนี้ เข่น บริษัทสิงห์ทองเริ่มผลิตเนคไท จับตลาดหนุ่มน้อยที่เพิ่งเริ่มทำงาน และบริษัทแตงโมเช่นกัน ในปีหน้านี้เราตั้งไว้ว่าสินค้าทุกตัวโดยเฉลี่ยจะโตโดยเฉลี่ยจะโต 40% ผู้จัดการใหญ่ดีสนีย์ประจำประเทศไทยเล่าให้ฟัง

เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัทผู้รับลิขสิทธิ์ ประมาณ 70% เป็นผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทย ที่เหลือเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ มาจัดจำหน่ายในไทย ซึ่งจะเสียค่า ไลเซนท์ เท่า ๆ กัน แต่การคิดค่าลิขสิทธ์ ทางด้านดิสนีย์คิดในราคาเอฟโอบี สำหรับสินค้านำเข้า ขณะที่สินค้าผลิตหรือจำหน่ายในไทยคิดจากราคาดรงาน หรือหน้าร้านค้า ส่วนสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก อย่างสินค้าของศรีไทยซุปเปอร์แวร์ ก็ต้องเสียค่าไลเซนส์ให้กับประเทศผู้สั่ง แทนที่จะเสียให้ที่นี่

ฉะนั้น ระบบการจัดสรรผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ แบบดีสนีย์เช่นนี้จึงไม่ก่อให้เกิดความสบสนขึ้นต่อลูกค้า

ขั้นตอนกว่าจะได้รับลิขสิทธิ์ของวอล์ดิสนีย์ ถึงมิใช่เรื่องธรรมดา ต้องฝ่าด่านอรหันต์ ตั้งแต่ลงนาม เซ็นสัญญาตกลงกับเสร็จแล้ว Lisensee จะต้องคุยกับดิสนีย์ ในเรื่องคอนเซปต์ สินค้า ที่ผลิตขึ้นขั้นแรกนี้

ทางดิสนีย์จะซัพพอร์ท ข้อมุลเบื้องต้นในหนังสือ Licensees' Guide จากนั้นขั้นที่สองเมื่อทำอาร์ตเวิร์ค เสร็จต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบว่าถูกต้องทุกประการทั้งสีสัน หน้าตา รูปร่างหรือไม่ เช่นมิกกี้เม้าส์ ของสินค้าทุกแบบจะต้องมีสีและรูปร่างหน้าตาเหมือนกันทั่วโลก ขั้นที่สาม เมื่อผลิตของเสร็จก็ต้องส่งสินค้าตัวแบ่งส่วนมาตรวจ จนแก้ไขเรียบร้อยถึงส่งไปโรงงาน ผลิตออกมามาก ๆ

ขั้นที่สี่- ก่อนจะขาย ก็ต้องเอาสินค้ามาให้ตรวจตราความเรียบร้อยก่อนจะวางตลาด " ตอนนี้ประเภทธุรกิจอาหาร เรายังต้องการขยายไลเซ่นส์ไปอีกเยอะ เพราะมันเป็นสายธุรกิจที่ทำได้ยากและมาร์จิ้นต่ำ " มาลาทิพย์เล่าให้ฟัง

บริษัทอาหารที่ได้รับสิทธิ์จากดิสนีย์ประเทศไทยมีเพียงสามรายได้แก่ บริษัท อิมพิเรียล เยนเนอรัล ฟูดส์ อินดีสทรี บริษัทเอสแอนด์พี ซินดิเคท ซึ่งทำเค็กการ์ตูน และบริษัทอาหรยอดคุณ ซึ่งทำอาหารเช้าซีริลชอคฅโกเล็ต ยี่ห้อ " โดเน่ cereal"

" สินค้าตัวนี้ผมเป็นคนแรกที่ติดต่อ โดยผมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับดิสนีย์ประมาณ 6% ของยอดขาย ปีที่แล้วขายได้ 3-4 ล้านบาท ยังไม่มาก เพิ่งเริ่มต้นสินค้า ยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะคู่แข่งต่างประเทศเข้ามาเยอะ แต่เราได้เปรียบที่วัตถุดิบเราสดกว่าและอาศัยเรามีการ์ตูนวอล์ดิสนีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักของเด็ก ๆ เพรียว ปุษยไพบูลย์ เจ้าของบริษัทอาหารยอดคุณ เล่าให้ฟังถึงค่าลิขสิทธิ์ซึ่งดิสนีย์จัดเก็บในราคาต่ำเพื่อจูงใจให้ตลาดอาหารแจ้งเกิดได้

ในระยะสองปีที่ผ่านมา การก้าวเข้ามาของธนาชัย แอนด์ เอ็นพีจี กรุ๊ป เริ่มบุกตลาดหนังสือการ์ตูนให้กลุ่มหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น โดยได้รับลิขสิทธิ์จากวอล์ทดิสนีย์ ในปีนี้ธนาชัยได้เเร่มเปิดตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคด้วยการซื้อลิขสิทธิ์ Lio King ผลิตเครื่องเขียน แก้วน้ำ เหยือก ตุ๊กตา เทปเพลงและเสื้อยืดออกขายตามห้าง ร้านค้าปลีก โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ 30 ล้านบาท และได้วางแผงลงทุนอีก 50 ล้านบาท ในการผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนหลากหลาย เช่นมนุษย์ค้างคาว ( Bat,man) ซุปเปอร์แมน ป๊อปอาย ทอมแอนด์เจอรี่ และการ์ตูนญี่ปุ่น ได้แก่ ดารกาอนบอลล์ โดรมอน โดยวาดผันจะทำรายได้เข้าไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

นอกจากงานด้านสิขสิทธิ์แล้ว งานส่งเสริมการตลาดก็เป็นงานใหญ่ที่ดิสนีย์ร่วมกับ Licensee เมื่อปีที่แล้ว ดิสนีย์ประเทสไทยได้ทุ่มเทสิบกว่าล้านบาท ทำโปรโมชั่นนำเอา Dismey live Show จากสวนสนุกดิสนีย์แลนดื มาแสดงให้ชมฟรีที่ศูนย์การค้า

ส่วนในปีนี้ การจัดงานโปรโมชั่น นับล้านบาท ชื่องาน Dismey Showcase 1994 เป็นครั้งแรกทิ่สนีย์ รวบรวมสินค้าลิขสิทธิ์ วอลดิสนีย์ ทั้งจากผู้บริโภคและนำเข้า และเปิดโอกาสให้ผุ้ผลิตพบผู้บริโภคและตัวแทนจัดจำหน่ายเช่น ร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าBrandt a Handley ผู้บริหารตำแหน่ง vice president-asian ก็มาร่วมพิธีเปิดด้วย

การรวมพลัง License นี้ทำให้มาลาทิพย์ เริ่มปรับแผนสู่กองทุนรวมโปรโมชั่น ในนามว่า " central Marketing Fund" เพื่อรวบรวมส่วนหนึ่งของงบโปรโชั่น ที่ Licensee ทั้ง 67 รายต้องทำเองเล็ก ๅ น้อย ๅ ตามห้างสรรพสินค้า มาเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อสร้างแรงกระตุ้นทั้งตลาดได้

" กองทุนนี้จะเริ่มเสนอออกมาเร็วๆ นี้ ตอนนี้รอฝ่ายกฎหมายจากเมืองนอกส่งต้นฉบับมาดู คอนเซ้ปท์มันยังใหม่มาก แต่ประเทศฟิลิปปินส์ใช้ได้ผลประเทศแรก ส่วนประเทศอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิคเพิ่งเริ่ม เรากำลังทำแผนเชิงปฏิบัติการอยู่ให้เห็นว่า ภายใน 1-3 ปีจะทำอะไรให้ licensee บ้าง" ผู้จัดการใหญ่ดิสนีย์ประจำประเทศไทยเล่าให้ฟัง

ความสำเร็จของแผนกแรก ทำให้ต่อมามีสองแผนกใหม่เกิด ขึ้นตามมา นั่นคือแผนก disney trading ซึ่งทำหน้าที่ หาแหล่งผลิตและควบคุมการผลิตสินค้าของสวนสนุกดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์สโตว์ ซึ่งวางขายสินค้าที่แตกต่างจากสินค้าดิสนีย์ทั่วไป แผนกนี้ต้องรายงานโดย ตรงกับสำนักงานใหญ่ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคที่อ่องกง

" สินค้าวอล์ดิสนีย์เวิร์ล ซึ่งที่แผนกนี้หาแหล่งผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นพวกเรซินเซรามิค เพราะคนไทยมีผีมือและคุณภาพตลอดจนราคาถูก จะเห็นว่าคอลเลคชั่น ที่แพง ๆ บางชนิดราคา2-3 พันดอลลาร์ ผลิตในไทยนี้เอง ตอนนี้ก็เริ่มมีสินค้าหัตกรรมบ้างแล้ว" มาลาทิพย์เล่าให้ฟัง

กรณีของศรีไทยซุปเปอร์ เป็น Licensee เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตสินค้าคุณภาพที่ดิสนีย์ยอมรับให้ผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ และนำไปขายที่สวนสนุกดิสนีย์ทั้ง 4 แห่ง ยอดขายไม่ต่ำกว่า 16 ล้านบาท ในปี 2536 นั้นเป็นความสำเร็จอย่างงดงาม สนั่น อังอุบลกุล ประธานศรีไทยซุปเปอร์แวร์ได้เคยกล่าวไว้ว่า

" แต่เดิมนั้น ดิสนีย์ ไม่มีนโยบายเปิดดิสนีย์สโตร์ นอกจากสวนสนุก แต่เมื่อปี 2534 เขาเริ่มโครงการนี้โดยวางแผนจะเปิดในสหรัฐให้ได้ 200 สาขาใน 2-3 ปีที่ผ่านมา และเปิดที่แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดิสนีย์สโตร์แห่งแรกในเอเชียแปซิฟิค ผมคิดว่าถ้าหากฐานการผลิตสินค้าลิขสิทธ์ดิสนีย์ในไทยมีมากพอ เขาอาจจะเริ่มวางแผนเปิดอีกในไม่ช้า ซึ่งปกติดิสนีย์จะถือหุ้นเต็ม 100% แต่ถ้ามาเมืองไทย อาจต้องทำตามกฎหมายไทยคือ ต้องถือ51:49 %

อีกแผนกหนึ่ง คือ " Disney character coices " ภายใต้สังกัดของ buena vista international รับผิดชอบเสียงพากษ์ของการ์ตูนที่มีฉายทางโรงหนัง วีดีโอ และฅโทรทัศน์ ให้ได้ตามมาตรฐานต้นฉบับซึ่งต้องรายงานโดยตรง ยังสำนักงานใหญ่ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ในญี่ปุ่น

ดังเช่นบริษัทบีเอ็มจี ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับลิขสิทธิ์และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แถบเสียง ( AUDIO) เทปเพลง และแผ่นซีดี เพลงของวอลท์ดีสนีย์ ภาคภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะทำภาษาไทย เช่นเพลงในการ์ตูนไลออนคิงส์ ก็ต้องได้รับการอนุมัติเสียงพากษ์ไทยจากแผนก Disney Character Voice นี้ ที่ดิสนีย์ญี่ปุ่นก่อน ราคาแผ่นซีดีของบีเอ็มจี ที่ขายเมืองไทยส่วนใหญ่แผ่นละ 332 บาท เทปม้วนละ 70 บาท ยกเว้นเพลงในชุดการ์ตูนเรื่อง Fantasia ซึ่งจะแพงเป็นสองเท่าคือ 664 บาท และ 140 บาทตามลำดับ

" การที่เราเลือกดีสนีย์เพราะเป็นเพลงเพื่อครอบครัวที่เมืองไทยยังไม่มี เท่าที่ผ่านมายอดขายตรงนี้เพิ่มขึ้นเยอะ เพราะเทปผีน้อยลง โดยเฉพาะชุดไลอ้อนคิงส์ขายดีกว่า Beauty &The Beast เราจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 25% ต่อม้วน เทปเพลงจะผลิตในนี้แต่ซีดียังต้องนำเข้าซึ่งภาษีนำเข้าก็ลดจาก 60% เหลือ 45-50% " อัญชนา ปันยารชุน A & R แมวมองหาสินค้ามาขายของบีเอ็มจี กล่าว

" แม้ว่าโครงสร้าง และระบบการบริหารลิขสิทธิ์ของดิสนีย์ จะดูเสมือนหนึ่งแข็งแรงเป็นปึกแผ่น และสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทผู้รับลิขสิทธิ์ แต่ในสงครามการตลาดสินค้าเด็กมูลค่าหมื่นล้านนี้ การ์ตูนญี่ปุ่นกลับรุกก้าวเข้าบุกยึดความเป็นผู้นำพื้นที่ธุรกิจใน Segment ของกิฟชอฟ หนังสือการ์ตูนและภาพยนต์การ์ตูนทางโทรทัศน์ ได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้เพราะช่องทางเข้าถึงไทยด้วยภาพยนต์ทางโทรทัศน์ และความสดใหม่อันแปลกแตกต่างของตัวการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น ดรากอนบอล ถึงใจเด็กไทยได้มากว่ามิกกี้เม้าส์ หรือ ฟลิ้นสโตน อันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมอเมริกันที่ไม่เร้าใจเท่าเทียม

sanrio ยักษ์ใหญ่ธุรกิจกิฟท์ชอป แห่งญี่ปุ่น จัดได้ว่าเป็นคู่แข่ง ที่มีจุดแข็งสู้กับดีสนีย์ประเทศไทย ได้อย่างสบาย จากรากฐานที่ปักหลักทำการค้ามานานได้อย่างสบาย จากรากฐานที่ปักหลักทำการค้ามานานซึ่งมี " หจก. ปริญญ์" ในเครือห้างเซ้นทรัลดีพาร์ทเม้นสโตร์ เป็นผู้นำเข้าไม่ต่ำกว่า 15 ปี ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายในสิบห้าปี ที่ผ่านมาอย่างน่าทึ่ง

จากจุดเริ่มต้นที่สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เล็งเห็นศักยภาพสินค้ากิ๊ฟชอบ ทีมีโอกาสเติบโตในอนาคตได้ จึงได้เข้าเทคโอเวอร์ " หจก. ปริญญ์ " จากเสรี เอื้อวัฒนะสกุล ทายาทเจ้าสัวอื้อจือเหลียง เมื่อปี 2521 แล้วมอบหมายให้ลูกสาวคนโปรด " นิตย์สินี จิราธิวัฒน์" ทีเพิ่งกลับจากเมืองนอก พัฒนาตลาดสินค้า sanrio ตัวนี้ตั้งแต่ต้น โดยมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน ที่ยอมจ่ายแพงเพื่อคุณภาพการ์ตูนยอดนิยมของแท้

" แรก ๆ คนแทบไม่รู้จัก sanrio เลย รู้จักแต่ hello kitty ต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี นานมากว่า จะทำสำเร็จให้คนรู้จักชื่อ sanrio และตัวการ์ตูนขึ้นมาได้ ยอดขายจากปีแรกแค่หนึ่งล้านพุ่งขึ้นมาเป็นปีละเกือบร้อยล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 20% สินค้าที่ขายดีก็คือเครื่องเขียน แม้จะมีมาร์จิน น้อยแต่สินค้าก็วิ่งได้เร็ว " นิตย์สินี โฮ ( เครือจิราธิวัฒน์ ) รองประธานบริหารธุรกิจขายปลีก บริษัทในเครือเซ็นทรัล ฝ่ายจัดซื้อเล่าให้ฟัง

ผลประกอบการโดยรวมของ หจก.ปริญญ์ ที่แจ้งต่อกรมทะเบียนการค้า พบว่าในปี 2536 ยอดรายได้รวม 354.5 ล้านบาท ซึ่งแสดงว่ารายได้จากสินค้า sanrio ตัวเดียวก็เกือบหนึ่งในสามของทั้งหมดเพราะที่เหลือเป็นการนำเข้าสินค้าตัวอื่น ๆ

แต่ละปี sanrio จะออกตัวการคืตูนใหม่ ๆ แปลก ๆ ออกมาปีละ 5-6 ตัว และทำการคัดตัวที่ขายได้ช้าออกไป ปัจจุบันที่ร้าน sanrio shop แต่ละร้านจะมีพื้นที่ขายประมาณ 40 ตารางเมตร ตัวการ์ตูน ลวดลายสีสันล่อใจมากถึง 30 ตัว โดยดาราการ์ตูน ยอดนิยมของ Sanrio ที่ขายดีมีอยู่ 5 ตัวเอก ได้แก่ เจ้าแมว ติดโบว์สีชมพู kitty กบสีเขียน kerokeropi นกฮูกสีม่วงน้ำเงิน patapa peppy ลิงสีน้ำตาล ชื่อ momkichi และเด็กผู้หญิงหน้าตาทะเล้นสามคน ruru, gak,uen

เส้นทางการเป็นตัวแทนของ sanrio แม้จะไม่ขยายไปแนวลึกสู่ฐานะผู้ผลิต แต่ก็ขยายไปแนวกว้าง เช่นการเปิดสวนสนุกเล็ก ๆ " sanrio frien-dly land " ขึ้นปีที่แล้ว ที่ชั้น 6 ของห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลม เก็บค่าเข้าคนละ 20 บาท สำหรับผู้ใหญ่และสิบบาทสำหรับเด็ก

" จุดหมายเราไม่คิดจะทำเงินจากตัวนี้ แต่ จะเป็นตัวเสริมให้สินค้า sanrio และห้างเซ็นทรัลเ พราะพอคุณพ่อคุณแม่มาก็ฝากลูกหลานเล่นสนุกที่นี่กได้ นอกจากนี้ หากใครจะจัดวันเกิดที่นี่ก็ได้ เราจะมีส่วนลดให้ 10% สำหรับสมาชิกเซ็นทรัลบัณฑิตน้อยด้วย" นิตย์สินี เล่าให้ฟัง

สิ่งที่นิตย์สินี ยืนยันจุดแข็งตลอดมาก็คือ การนำเข้าสินค้ากิฟท์ชอบ sanrio เป็นข้อได้เปรียบด้านคุณภาพสินค้าเชื่อถือและสามารถสรรหาสินค้าแปลกใหม่มาเสนอให้ทันสภาวการณ์

" เรายังไม่กล้าทำกิฟท์ช้อบเอง ยกเว้นบางอย่างที่ทำได้ดีเทียบเท่าเขา เราถึงจะทำได้ เพราะเท่าที่สังเกต sanrio ทีผลิตในอินโดนีเซีย ไตัหวัน และฮ่องกง ลูกค้าเราจะไม่ชอบ เขาจะดูออกและยอมจ่ายแพงกว่า เพื่อซื้อของคุณภาพญี่ปุ่น และที่ติดอีกเรื่องคือเราจะเอาคุณภาพและราคาสินค้าที่เราผลิตเองมาวางปะปนกับของนอกได้ยังไง และการทำไลเซนส์หรือไม่นี่ก็ต้องดูว่าปริฒาณผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนไหม" นี่ก็คือสิ่งที่นิตย์สินีกริ่งเกรง

อย่างไรก็ตาม ห้างเซ้นทรัลได้ซื้อลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนของ Sanrio มาผลิตสินค้าเองก็
มี ได้แก่สินค้าประเภทเสื้อผ้าเด็ก ภาชนะเมลามีน ผ้าขนหนูประเภท SANRIO LOCAL MADE ที่แยกพื้นที่ขายออกต่างหากกิฟท์ชอบ สินค้า sanrio เหล่านี้ ก็ยังวางตำแหน่งสินค้าจับลูกค้าระดับทายาทเศรษฐีใหม่ ซึ่งเป็นตลาดระดับบน เรื่องจาก มีราคาแพง มากๆ แต่เมื่อเทียบกับสินค้าเสื้อผ้าที่นำเข้าจากญี่ปุ่น แทบจับไม่ติด
เพราะยิ่งแพงขึ้นอีก สองหรือสามเท่าตัว

ยกตัวอย่างรองท้าเด็ก sanrio ขนาดอายุ 7 ขวบ ราคานำขายที่ห้างเซ้นทรัลขายคู่ละ 980 บาท แต่รองเท้าที่ผลิตในประเทสไทยขายเพียงคู่ละ 300 บาทเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ห้างเซ็นทรัลก็ทำหน้าที่คนกลาง ดูแลประสานงานระหว่าง sanrio ที่ญี่ปุ่น กับผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในไทย ที่ต้องการนำตัวการ์ตูนไปใช้ เช่นกรณี อาหารและขนม ของบริษัทอดัมที่ผลิตขนมเด็ก บับเบิ้ลกัมส์ ทำของแถมที่เป็นตัวการ์ตูนของ sanrio สอดใส่ซองให้ ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์การใช้ให้เซ็นทรัลครึ่งหนึ่ง และ sanrio ครึ่งหนึ่ง

โปรโมชั่น เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ ปีนี้จึงมีงาน sanrio circus และในส่วนหนึ่ง งานจะมี sanrio collection contest ที่จัดแข่งขันการสะสมของกิฟท์ชอบ sanrio จุดนี้เป็น การกระตุ้นยอดขายได้ทางอ้อม และเป็นการสร้างธุรกรรมสัมพันธ์กับลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง

หากเปรียบเทียบการบริหารตัวการ์ตูน ระหว่างยักษ์ใหญ่ระดับโลกของวอล์ดิสนีย์ กับห้างเซ็นทรัลที่นำตัวการ์ตูนของ sanrio ระหว่างทุนระดับโลก กับทุกท้องถิ่น จะพบว่า ว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจากบริษัทแม่มาสู่ดีสนีย์ประเทศไทยเป็นไปอย่างมีระบบการจัดการตัวการ์ตูนที่ดีมาก ๆ ขณะที่การจัดการของห้างเซ็นทรัลจำกัดในวงแคบกว่า แต่สามารถกุมสภาพพื้นที่ช่องทางจัดจำหน่ายได้เหมาะสมกว่า

" สินค้าวอล์ดีสนีย์จะเป็นสินค้าผลิตในไทย เราจะเสียเปรียบเขาด้านราคา แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือ ตัวการ์ตูนของเราเยอะกว่า และมีสินค้าใหม่ ๆ ตลอดเวลา แต่ sanrio เสียเปรียบตรงที่ไม่มีหนังการ์ตุนฉายทางทีวี แต่ตอนนี้เราเริ่มทำแล้ว โดยจะออกวิดีโอเทป การ์ตูน sanrio มา 10 ม้วน ๆ ละ 195 บาท ซึ่งหนึ่งม้วนจะมีสองเรื่อง เกี่ยวกับเจ้าแมวคิดตี้และทักซิโด้ มาจากญี่ปุน " นิตยสินี เล่าให้ฟังถึงสินค้าใหม่ของ sanrio ในที่สุด

เซกเม้นท์แห่งลิขสิทธิ์ที่กำลังมาแรงก็คือธุรกิจมูลค่า 500 ล้านบาทของหนังสือการ์ตูนซึ่งเป็นสะพานชักนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อเนื่องเช่น จาก หนังสือการ์ตูน ซุปเปอร์แมน จินตนาการ ของมนุษย์เหาะเหินเดินอากาศ ถูกบริษัทวอร์เนอร์บราเธอร์นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่อาศัยศิลปะบวกกับเทคโนดลยี และศาสตร์แห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ประสานสอดร้อยกันอย่างดีในโลกเซลลูลอยด์ ทำให้ดาราชายอย่างคริสโตเฟอร์ รีฟ แสดงเป็นซุปเปอร์แมนได้อย่างมหัศจรรย์

ตลาดหนังสือการ์ตูนในไทยยุคลิขสิทธิ์ครองเมือง มีสำนักพิมพ์ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ทั้งการ์ตูนฝรั่งและการ์ตูนญี่ปุ่น อยู่เพียงสี่แห่งที่ประสบความสำเร็จ มียอดพิมพ์ขายหลีกหมื่นต่อสัปดาห์ ได้แก่ สำนักงานพิมพ์ วิบูลย์กิจของตระกูลพรพิบูลย์ บริษัทสยามอินเตอร์คอสมิกส์ในเครือสยามสปอร์ต บริษัทธนาชัย แอนด์ เอ็นพีจี กรุ๊ป และบริษัทโพสต์ คอมิกส์ พัลลิชชิ่ง ซึ่งนำเข้าลิขสิทธิ์การ์ตูนของวอร์นเนอร์บราเธอร์อย่างถูกกฏหมาย

กลุ่มเด็กเป้าหมายหลักที่สี่สำนักพิมพ์จับคือ ตลาดล่างและกลาง ที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก แต่มีฐานของปริมาณที่ใหญ่มาก ทำให้ลิขสิทธิ์ที่สี่สำนักพิมพ์จ่ายให้ 10% ของยอดพิมพ์คุ้มที่จะลงทุน

ลิขสิทธิ์ใหญ่ๆ ที่บรรดาสำนักพิมพ์ช่วงชิงกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่อยู่ในสังกัด 10 บริษัทดังนี้ หนึ่ง -kodansha ltd สอง- shoeisha สาม- akita shoten publishing สี่- shogakukan ห้า-tokuma shoten publishing หก- ascii corp เจ็ด-scholar publishing inc. แปด-hakusensha เก้า-futabasha สิบ-tezuka productions

ตัวการ์ตูนที่ฮิตทั้งจอแก้วและหนังสือการ์ตูนก็คือ ดรากอนบอลล์ slum drunk ยูยูอากูโซ คนเก่งฟ้าประทาน จ้าวป่าทาร์จัง ผีไม่ใช่ผี และการ์ตูนสวยแปลกๆ ที่เด็กผู้หญิงชื่นชอบ คือ เซลเลอร์มูน

" ผมอ่านแต่การ์ตูนญี่ปุ่น ตอนนี้เรื่องคนเก่งฟ้าประทานซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของสองบริษัท animate กับ nova ทำการ์ตูนขายแพงขึ้นและมีแค่เรื่องเดียว ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนมีการ์ตูนรวมหลายเครื่อง" เป็นเสียงบ่นจากเด็กชายวัยสิบขวบคนหนึ่ง

จากความแพร่หลายที่ขายหนังสือการ์ตูน สู่วีดีโอเทป เกม กิฟท์ชอบ พวงกุญแจ กระเป๋า ดินสอ เข็มกลัด ตุ๊กตา หุ่นที่ต้องเอาประกอบเองได้ ได้ยั่วใจ ให้เด็กยอมควักกระเป๋าจ่ายราคาของเล่นพวกนี้จะมีตั้งแต่ 80 บาทขึ้นไป

การแข่งขันในตลาดขยายตัวจาการ์ตูนรายเดือนเป็นรายสัปดาห์ รวมทั้งขยายทำร้านหนังสือการ์ตูนซึ่ง สยามสปอร์ต ได้ก่อตั้งยริาท บ้านการ์ตูน และหนังสือ ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อจัดจำหน่ายการ์ตุนในเครือและเปิดสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ มีการเตรียมจัดโปรโมชั่นนำนักเขียนการตูน ญี่ปุ่น " ไวโต จิโฮ" มาด้วย

ท่ามกลางสงครามระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ลิขสิทธ์ตะวันตกชนกับยักษ์ลิขสิทธิ์ญี่ปุ่นที่รุนแรงโดยอาศัยช่องว่างทางการตลาด ก็ทำให้ การอุบัติขึ้น ของ" เจ้าขุนทอง" ซึ่งมีบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าการ์ตูนไทยประสบความสำเร็จอย่างเงียบ ๆ ใช้เวลาสะสมฐานกลุ่มเป้าหมายเด็กที่เป็นแผนรายการ " เจ้าขุนทอง" นานหลายปี จนสามารถมัดใจเด็ก ๆ เผ้าจดจ่อหน้าจอทีวีช่อง 7 ทุกเย็นหลังกลับจากโรง
เรียน รายการเจ้าขุนทอง สนุกสนานด้วยละครตุ๊กตาสัตว์ ที่ให้สาระบันเทิงจากฝีมือการเขียนบทอันน่าติดตาม

" บริษัทเตรียมแผนโปรโมชั่น โดยนำตัวการ์ตูนในเรื่องเจ้าขุนทอง ไปพบปะกับเด็ก ๆ ในห้างสรรพสินค้า และออกบูธแสดงด้วย และบริษัทมีแผนขยายโดยจะขายลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนเจ้าขุนทองให้กับผู้สนใจนำไปผลิตสินค้าต่าง ๆ ด้วย" บุญเต็ม ธเนศวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาที่ดิน ที่ต้องดูแลการตลาดของสินค้าลิขสิทธิ์ " เจ้าขุนทอง " กล่าว

การที่ช่อง 7 สีก้างเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์ " เจ้าขุนทอง" ถือดเป็นกิจการแห่งแรกของไทยที่นำเอาลิขสิทธิ์ตัวตุ๊กตาสัตว์ไทยออกจำหน่ายในตลาดสินค้าเด็ก สินค้าที่ดีไซน์ออกมามีอยู่ 200 แบบ ประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องเขียน เครื่องเขียน แก้วน้ำ กระปุกออมสิน ตุ๊กตา กระเป๋า เสื้อยืด และวีดีโอเทปเรื่องเจ้าขุนทอง อีก 10 ชุด โดยวางตำแหน่งสินค้าไว้ตลาดระดับกลาง ๆ กระจายจุดขายอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซีคอนสแควร์ ชั้น 2 และห้างอิเซตัน ชั้น 2

ยอดขายที่คาดหวังกับลิขสิทธิ์นี้ " เจ้าขุนทอง" ปีนี้จะทำให้ได้ 5-6 ล้านบาท เป็นเรื่องไม่ไกลเกินฝัน เพราะพลังแห่งจินตนาการ ในโลกการ์ตูนได้สร้างเรื่อง ไม่น่าเชื่อให้เกิดขึ้นได้เสมอ เฉกเช่นเดียวกับอภิมาอาณาจักรดีสนีย์แสนล้าน ที่เกิดขึ้นจาก " หนู" ตัวเดียวแท้ ๆ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us