Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537
สงครามปุ๋ย มากด้วยผลประโยชน์อิทธิพล             
 

   
related stories

ปุ๋ยแห่งชาติ:เกิดแน่แต่โตยาก

   
search resources

ปุ๋ยแห่งชาติ
Agriculture




การปุ๋ยเคมี ในเมืองไทยนั้น เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในช่วงนั้น มีบริษัทนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศเข้ามาขายได้แก่ บริษัทยิบอินซอย และบริษัทพาราวินเซอร์ ระยะแรกนำเข้ามาจากประเทศ เยอรมัน ต่อมาในปี 2500 เริ่มมีการนำเข้าปุ๋ยจากญี่ปุ่น อเมริกา อิตาลี โดยปุ๋ยที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด

ในช่วงนั้น เริ่มมีบริษัทนำเข้าในไทย เริ่มธุรกิจนำเข้าปุ๋ยบ้างแล้ว เช่นบริษัทศรีกรุงวัฒนา จำกัด บริษัทปุ๋ยเคมี จำกัด บริษัทกรุงเทพฯ ธนกิจ จำกัด

จนกระทั่งในปี 2509 ก็ได้เริ่มมีการตั้งบริษัท ปุ๋ยเคมี ขึ้นที่ทำการผลิตปุ๋ยเคมีจากถ่านลิกไนท์ โดยโรงงานตั้งอยู่ที่อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง ทำการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต และปุ๋ยยูเรีย แต่ก็ต้องประสบภาวะขาดทุนในที่สุด ทำให้ต้องโอนมาเป็นรัฐวิสาหกิจ และต่อมารัฐบาลได้ให้ความคุ้มครอง ต่อโรงงานผลิตปุ๋ยเป็นอันมาก ทั้งในแง่ของการผูกขาดการนำเข้าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต และปุ๋ยยูเรีย เพียงรายเดียว โดยในครั้งนั้น มีบริษัท เต็กเฮง หรือบริษัทศรีกรุงวัฒนาในปัจจุบัน เป็นตัวแทนในการจัดหาและจำหน่ายด้วย

ซึ่งเป็นเครื่องบอกได้เป้นอย่างดีว่า ความผิดพลาดในท่าทีของรัฐในนโยบายเรื่องปุ๋ยนั้นผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว

ซึ่งในที่สุด รัฐก็หนีสัจธรรมในระบบเสรีนิยมไปไม่พ้น หลังจากที่บริษัทปุ๋ยเคมี ได้ขออนุมัติก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยโดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัทศรีกรุงวัฒนา และบริษัทเซ็นทรัล กราสส์ และบริษัทนิโช อิวาย จำกัด ในปี 2515 แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็ได้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันทั่วโลก ทำให้เกิดปัญหาปุ๋ยขาดแคลน มีราคาสูง และมีการปลอมปนทั่วทุกหัวระแหงนั้น รัฐก็ย่อมยอมจำนน ด้วยการยกเลิก การผูกขาดนำเข้า และหลังจากนั้น จึงได้เข้าสู่ยุคการเปิดเสรี นำเข้าปุ๋ย และโครงการปุ๋ยแห่งชาติดังที่กล่าว

ความผิดพลาดที่รัฐปล่อยให้มีการนำเข้าอย่างเสรี และเริ่มมาฉุกคิดภายหลังว่าน่าจะจัดตั้งโรงงานปุ๋ยแห่งชาติ ขึ้นไม่สามารถก่อสร้างได้ทันกับสถานการณ์แข่งขันที่เขม็งเกลียวขึ้น ก็ถือเป็นความผิดคำรบสอง

สาเหตุที่สถานการณ์การแข่งขันปุ๋ยในไทยค่อนข้างเข้มข้นนั้น เนื่องจากระบบการจัดจำหน่ายปุ๋ยเคมีในไทย ซึ่งมีมูลค่าถึงปีละ หมื่นล้านบาทนั้น มีการผูกพันอยู่กับกลุ่มผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ที่มีอิทธิพลทาง
ด้านธุรกิจอย่างกว้างขวาง บวกกับช่องทางจำหน่ายผู้นำเข้าถึงเกษตรกรนั้นมีการกินหัวคิวอย่างละอียดซับซ้อน ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากทำให้ราคาปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายจริงเกษตรกรสูงกว่าราคานำเข้ากว่า 50% เช่นราคาปุ๋ยที่บริษัทนำเข้า จากท่าเรือคลองเตย จะมีราคานำเข้าประมาณตันละ 2,000 บาท แต่เมื่อถึงมือเกษตรกรนั้นมีการกินหัวคิวอย่างละเอียดซับซ้อน ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากที่ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายจริงแก่เกษตรกรสุงกว่าราคานำเข้ากว่า 50% เช่นราคาปุ๋ยที่บริษัทนำเข้า จากท่าเรือคลองเตย จะมีราคานำเข้าประมาณตันละ 2,000 บาท แต่เมื่อถึงมือเกษตรกร จะถูกบังคับซื้อด้วยราคาตันละ4,000 บาท

เหตุที่เป็นเช่นนี้ นอกจากระบบจำหน่ายปุ๋ยจะอยู่ในมือของกลุ่มผุ้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม ดังว่าแล้ว ระบบจำหน่ายบางส่วนยังอยู่ในมือนักการเมืองโดยเฉพาะบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของสภาผู้แทนราษฏร อีกด้วย

อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจปุ๋ย นอกจากจะมีบทบาทต่อช่องทางจัดจำหน่าย ถึงเกษตรกรในแต่ละช่องทางแล้ว ในการประมุลจัดซื้อปุ๋ยให้เกษตรกรในวงเงิน 2,500 ล้านบาท ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับเกษตรกรราคาถูก เป็นจำนวน 3.5 แสนตัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นั้นก็กลับล้มไม่เป็นท่าถึง 2 ครั้ง 2 ครา เนื่องจากราคาที่เอกชน 7 ราย ที่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ เสนอมาในราคาค่อนข้างสูงเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้เอกชนทั้ง 7 อ้างว่า การจัดซื้อปุ๋ยจากฟิลิปนส์ในราคา 140-150 เหรียญก่อนหน้าเพื่อมาช่วยเกษตรกรเช่นเดียวกันนั้น เป้นราคมมาตรฐานที่น่าจะนำมาเสนอในการประมูลครั้งนี้ได้

และเมื่อมีการประมูลเป็นครั้งที่สาม ก็กลับล้มไม่เป็นท่าอีกครั้ง โดยทั้ง 7 ราย ยังคงเสนอราคาค่อนข้างสูงเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรฯ จะยอมรับได้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเสนอราคาแต่ละครั้งรวมถึงครั้งที่สามด้วยนั้น มีราคาที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาก็ล้วนแต่เป็นหน้าเก่า จนมีการวิพากวิจารณ์ว่า ได้เกิดการ " ฮั้ว" ทางด้านราคาแล้วในการประมูลครั้งนี้

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจปุ๋ยที่จะชี้นกให้เป็นนก หรือชี้ไม้ให้เป็นไม้นั้น มีได้ในทุกสภาวะ และสงครามธุรกิจปุ๋ยก็จะยังคงรุนแรงต่อไป ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ยังมีโอกาสขัดแย้งได้อีกมากในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us