|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ไทยออยล์เตรียมกู้เงิน 100-150 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังเดินหน้าลุยโครงการต่างๆ ในปี 2550 คาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอมรับผลการดำเนินงานปีหน้าทรุด เหตุหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น 2 เดือน และค่าการกลั่นลดลงอยู่ที่ 5-6 เหรียญสหรัฐ แต่ปีถัดไปเชื่อว่าผลการดำเนินงานดีขึ้น เพราะกำลังการกลั่นน้ำมันและพาราไซลีนเพิ่มขึ้น
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2550 ในกลุ่มบริษัท ไทยออยล์ จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการส่วนขยายดังนี้ คือโครงการขยายกำลังการผลิตอีก 5 หมื่นบาร์เรล/วัน ของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 (CDU-3) ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2.75 แสนบาร์เรล/วัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างไปแล้ว 48% คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2550
โครงการขยายกำลังการผลิตพาราไซลีนของบริษัท ไทยพาราไซลีนจำกัด (TPX) ใช้เงินลงทุนประมาณ 282 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้โครงการฯ ดังกล่าว มีความคืบหน้าโดยรวม 34% คาดว่าโครงการขยายกำลังผลิตของ TPX จะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปี 2550 โครงการติดตั้งทุ่นผูกเรือเดี่ยว SBM-2 และท่อรับน้ำมันดิบใต้ทะเลขนาด 52 นิ้ว ใช้เงินลงทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี 2550 เพื่อรองรับเรือบรรทุกน้ำมันดิบที่มีขนาดระวางบรรทุก 2 ล้านบาร์เรล และโครงการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันก๊าซตัวใหม่ กำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 43 ล้านเหรียญสหรัฐ จะแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2550
สำหรับแหล่งเงินทุนนั้น จะมาจากผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยคาดว่าปีหน้าค่าการกลั่นจะอยู่ที่ 4-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องกู้เงินหรือออกหุ้นกู้ประมาณ 100-150 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากค่าการกลั่นเฉลี่ยต่ำกว่า 4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ก็คงต้องกู้เงินมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะไม่เกิน 1 ต่อ 1 เท่า จากปัจจุบันที่มีอัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.7 เท่า
นายวิโรจน์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2550 คาดว่าค่าการกลั่นน้ำมันจะลดลงเล็กน้อยจากปีนี้เหลือเพียง 5-6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวลดลง รวมทั้งมีปริมาณน้ำมันสำรองถูกเทขายออกมา คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ที่ 50-60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกจะโต 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะมาจากจีน อินเดีย สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง เนื่องจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงบ้างในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากมาจากประเทศนอกกลุ่มโอเปกกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากแท่นขุดเจาะน้ำมันใหม่ที่จะแล้วเสร็จ ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม ประมาณ 3.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศโอเปกลดลง
ทั้งนี้ ในปีหน้าบริษัทฯ จะหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นเพื่อเข้าระบบส่วนต่อขยายโรงกลั่นเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนในช่วงปลายปี 2550 ทำให้รายได้ในปีหน้าจะลดลงจากการหยุดโรงกลั่น และค่าการกลั่นที่ลดลงเล็กน้อย แต่ในปีถัดไป ประเมินว่าไทยออยล์จะมีรายได้ดีขึ้น เนื่องจากมีส่วนขยายกำลังการผลิตโครงการต่างๆ แล้วเสร็จ
ในปี 2550 ธุรกิจการกลั่นจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะที่อุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปของจีนน่าจะเติบโตขึ้น 5-6% หรือประมาณ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้ปีหน้าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวในระดับสูง เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบสำรอง และกำลังการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวต่อไปในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไทยคาดว่าจะขยายตัวเพียง 2-3% ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเตาจะลดลง 20% เนื่องจากท่อก๊าซฯ เส้น 3 แล้วเสร็จ
"ปีนี้ไทยออยล์เริ่มบริหารงานเป็นกรุ๊ป โดยมีกิจการหลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการดีกว่าที่คาดการณ์ไว้จากเมื่อกลางปีนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันจะอ่อนตัวลงในช่วงไตรมาส 3-4 ก็ตาม แต่ภาพรวมไทยออยล์มีผลประกอบการดี ทำให้เรามั่นใจว่าการบริหารงานเป็นกรุ๊ปน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องทั้งการบริหารงานและการขยายงานในอนาคต รวมทั้งมีการร่วมมือกับไออาร์ซีพี และโรงกลั่นน้ำมันระยอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วย"
นายวิโรจน์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทลูกของไทยออยล์สนใจเข้าร่วมประมูลในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) รอบใหม่ช่วงเมษายน 2550 โดยจะยื่นประมูลโรงไฟฟ้าขนาด 700-1400 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยมีพื้นที่จำนวนกว่า 90 ไร่ เตรียมพร้อมอยู่แล้ว รวมทั้งบริษัทยังมีความได้เปรียบในด้านระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ ได้แก่ ท่อส่งน้ำมันดิบ ท่อก๊าซธรรมชาติ และระบบเชื้อเพลิงสำรอง เพราะตั้งอยู่ใกล้โรงกลั่นซึ่งมีการสำรองน้ำมันดีเซลไว้ ทำให้มีต้นทุนถูกกว่า รวมทั้งโครงการฯ นี้ได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว
ส่วนโครงการผลิตผลิตภัณฑ์พิเศษของ บมจ.ไทยลู้บเบสนั้น ในปีหน้ามีแผนจะเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ Extract เดิม ให้เป็น TDAE (Treated Distillate Aromatic Extract) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งประเทศในแถบยุโรปมีแผนที่จะบังคับใช้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ และศึกษารายละเอียดในการสร้างหน่วยผลิตใหม่สำหรับการผลิต TDAE ด้วย
|
|
 |
|
|