|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2550
|
|
ปี 2007 เป็นปีที่ควรมองสังคมไทยในมุมมองทางประวัติศาสตร์ เพื่อมองไปข้างหน้าอย่างจริงจัง และนี่คือตัวอย่างของประวัติศาสตร์ในโครงสร้างความคิดของช่วงเวลาหนึ่งที่น่าสนใจ
ช่ ว ง ที่ 1
1855-1938 ยุคอิทธิพลยุโรปในเอเชีย
- 1869 คลองสุเอช : ยุโรป-เอเชีย เชื่อมกัน
การเปิดคลองสุเอซ (Suez Canal) การเดินเรือยุโรป-เอเชียเร็วขึ้น การเดินเรือเชื่อมระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียแต่เดิมต้องใช้การเดินเรืออ้อมข้ามทวีปแอฟริกา ประกอบกับมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีเรือขนส่งจากเรือใบกลายเป็นเรือกลไฟทำให้การค้าขยายตัวขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
- 1871 ระบบสื่อสารโทรเลขเชื่อมยุโรปกับเอเชีย
- 1914-สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ค่าเงินปอนด์กับอัตราแลกเปลี่ยนการเงินโลกผันผวน อังกฤษไม่สามารถรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินปอนด์กับมาตรฐานทองคำไว้ได้ อัตราแลกเปลี่ยนการเงินของโลกได้เกิดความผันผวนตามค่าเงินปอนด์ไปด้วย ผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้อังกฤษได้สูญเสียบทบาทศูนย์กลางการเงินโลกไป
- 1929 The Great Depression
วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งที่รุนแรง เนื่องจากเศรษฐกิจฟองสบู่ในสหรัฐอเมริกาแตก ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
- 1945 สงครามโลกครั้งที่สอง
1855-1933 ยุคแรกเศรษฐกิจไทยเชื่อมระดับโลก
- 1855 ไทยลงนามสัญญาบาวริ่ง
เป็นจุดเริ่มต้น เปิดการค้าเสรีกับยุโรปมากขึ้น บริษัทการค้าจากยุโรปทยอยเข้ามาค้าขายในไทย ส่งออกข้าว ไม้สัก และดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น The Borneo Company แห่งอังกฤษ (1856) The East Asiatic แห่งเดนมาร์ก (1897)
- 1888 ธนาคารยุโรปเข้าประเทศไทย
ธนาคารยุโรปเข้ามาควบคุมกลไกการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทยโดยเฉพาะ Hong Kong & Shanghai Banking Corp
- 1893 วิกฤตการณ์ รศ.112
ความขัดแย้งบริเวณพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ส่งเรือรบบุกเข้ามาในปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการปะทะ สุดท้ายมีการเจรจากัน โดยอังกฤษเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ไทยต้องจ่ายค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก และเป็นเหตุการณ์ที่ชาติตะวันตกคุกคามเอกราชและอธิปไตยไทยมากที่สุด
- 1910 สังคมสมัยใหม่
ในช่วงรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ สภาพเมืองไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก กลายเป็นใช้การคมนาคมทางบกเป็นหลักทั้งทางถนนและทางรถไฟ จำนวนนักเรียนไปศึกษาต่างประเทศเฉพาะในอังกฤษมีถึง 2,000 คน ในกรุงเทพฯ เริ่มต้นของชุมชนเมืองที่มีวิถีชีวิตสมัยใหม่แบบตะวันตก
- 1914 วิกฤตและโอกาสในช่วงสงครามโลก
ก่อนสงครามโลก ระบบเศรษฐกิจไทยถูกครอบงำจากยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร การค้าส่งออก และสัมปทานที่สำคัญๆ ป่าไม้ เหมืองแร่ พ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มต้นรายเล็กๆ อยู่ภายใต้การครอบงำของต่างชาติโดยตรงและโดยอ้อม และค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้นๆ เมื่ออิทธิพลของต่างชาติเริ่มสั่นคลอน ลดอิทธิพลไปในช่วงสั้นๆ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- 1929 ผลกระทบจาก The Great Depression
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท สหรัฐฯ ตกต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบกิจการค้าขาย ส่งออก และธนาคารของชาวจีน ที่ก่อตั้งก่อนสงครามโลกหลายแห่งล้มละลาย
ช่ ว ง ที่ 2
1929-1950 อิทธิพลยุโรปสั่นคลอน
- 1933 Hitler ขึ้นเป็นผู้นำเยอรมนี
กระแสนิยม Fascism ขยายตัว ความขัดแย้งในยุโรปทวีความรุนแรง
- 1941 สงครามโลกครั้งที่ 2
- 1947 โลกเริ่มสงครามเย็น
Truman Doctrine จุดเริ่มต้นสงครามเย็นในยุโรปและในโลก
- 1949 สงครามเย็นในเอเชีย
จีนคอมมิวนิสต์ยึดแผ่นดินใหญ่ประเทศจีนได้สำเร็จ เกิดความตึงเครียดในเอเชีย
1929-1950 ความผันแปรจากระบบศรษฐกิจชาตินิยมไทย
- 1929 วิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- 1932 เปลี่ยนแปลงการปกครอง
การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ มาพร้อมกับแนวคิดชาตินิยม สกัดกั้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจของชาวจีนและชาวตะวันตก โดยตั้งกิจการของรัฐควบคุมธุรกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศไทยช่วงยาวช่วงหนึ่ง
- 1941 ญี่ปุ่นบุกไทย
กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าดินแดนประเทศไทย โดยอ้างว่าขอเดินทัพผ่าน และรัฐบาลไทยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของกองทัพญี่ปุ่นทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเกิดกลุ่มเสรีไทยมาต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น
ช่ ว ง ที่ 3
1950-1974 สหรัฐฯ ขยายอิทธิพลสู่ภูมิภาคเอเชีย
- 1950-Korean War
จีนให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือทำสงครามยึดครองคาบสมุทร เกาหลี สหรัฐฯ ส่งกองทัพจากญี่ปุ่นเข้าสนับสนุนเกาหลีใต้ สงครามยุติลงโดยไม่มีฝ่ายใดชนะโดยเด็ดขาด จึงมีการเจรจาแบ่งเขตแดนเป็นเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ สงครามเย็นขยายตัวไปทั่วเอเชีย ถือเป็นจุดเริ่มที่สหรัฐฯ เข้ามาบทบาทในภูมิภาคนี้
- 1973 วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก
กลุ่มประเทศอาหรับรบแพ้อิสราเอล ทำให้ไม่พอใจประเทศตะวันตกที่ให้การสนับสนุนอิสราเอล จึงใช้องค์การโอเปกตอบโต้ด้วยการลดกำลังการผลิต ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
- 1975 สหรัฐฯ ถอนตัวจากสงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ ถอนฐานทัพออกจากภูมิภาค หลังจากนั้นการปกครองของลาวและกัมพูชาก็ตกอยู่กับฝ่ายคอมมิวนิสต์
1950-1974 ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเติบโต
- 1950 กิจการคนไทยเติบโต
ผลจากสงครามเกาหลี สินค้าโภคภัณฑ์ของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เศรษฐกิจขยายตัว กลุ่มชาวจีนในไทยกลุ่มใหม่ เริ่มก่อตั้งกิจการต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะกิจการธนาคาร ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการเติบโตยุคใหม่ของธุรกิจครอบครัวชาวจีนในไทย ในช่วงช่องว่างที่ธุรกิจตะวันตกประสบปัญหาจากสงครามถอนตัวจากประเทศไทย
- 1953 ผลิตข้าวเพื่อการส่งออก
เริ่มต้นสร้างเขื่อนเจ้าพระยา แล้วเสร็จในปี 2500 ซึ่งสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกข้าวภาคกลาง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก ในชื่อโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ในช่วงไทยกำลังเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออก
- 1959 วางแผนเศรษฐกิจสมัยใหม่
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นจากคำแนะนำและช่วยเหลือของธนาคารโลก พร้อมๆ กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของไทย อันเป็นช่วงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของธนาคารโลกในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ มีมากขึ้น
- 1961 กระแสการลงทุนของต่างชาติ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า กระแสการลงทุนจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนโดยตรงในเมืองไทย ทั้งกลุ่มที่เคยมาลงทุนก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ก็หวนกลับมาขยายการลงทุนมากขึ้น
- 1964 สงครามเวียดนาม กระตุ้นเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่ไทยเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนสหรัฐฯ มากที่สุด เศรษฐกิจไทยขยายตัว ความต้องการใช้เงินลงทุนมีมาก ขณะที่กลุ่มธนาคารไทยมุ่งสนับสนุนธุรกิจในเครือข่ายของตน รัฐบาลต้องผ่อนปรนให้มีการตั้งบริษัทเงินทุนและเครดิตฟองซิเอร์ขึ้น
- 1973 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม
เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นักศึกษาเป็นผู้นำเคลื่อนไหวขับไล่ถนอม-ประภาส บรรยากาศประชาธิปไตยเกิดขึ้น มีขบวนการแรงงาน การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และการเผยแพร่เอกสารวิจารณ์การผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย
- 1976 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม
ความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง
|
|
|
|
|