" คอลล์แบ็ค " ( call back) หรือธุรกิจให้บริการติดต่อโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
ระบบ " เรียกกลับสลับต้นทางอัตโนมัติ " อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทางการสื่อสาร ผนวกกับต้นทุนที่ถูกกว่าของเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์ทางไกลข้ามชาติในตต่างประเทศ
ดำเนินการให้บริการแข่งกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) ซึ่งโดยอำนาจตามกฎหมาย
เป็นผู้ผูกขาดบริการนี้ไว้แต่เพียงผู้เดียว
ถาวร เยาวขันธ์ รองผู้ว่าการ กสท. พูดถึงความผิดจองเอกชนที่ให้บริการนี้ว่า
" การให้บริการคอลล์แบ็ค ในทางแพ่ง เป็นเรื่องของการละเมิด กสท. เสียหาย
ผุ้ที่กระทำผิดหรือละเมิดสิทธ์ ของ กสท. นี้จะต้องรับผิดชอบในค่าสินไหมทดแทน
ที่กสท.ได้รับความเสียหายนั้น ส่วนความผิดในทางอาญามีอยู่แล้วในพรบ. โทรเลขโทรศัพท์
พ.ศ. 2477 ในเรื่องของบุคคลใดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการโทรเลขโทรศัพท์ เมื่อทำไปโดยฝ่าฝืนกฏหมายก็มีโทษตาม
พ.ร.บ. อยู่แล้วตามมาตราที่ 22 และ 23
จะผิดจริงตามคำชี้แจงนี้ หรือไม่ ก็ยังไม่ใช่คำตัดสินเพราะอำนาจในหน้าที่รนี้
ในการชี้ขาดอยู่ที่ศาล ซึ่งทาง กสท. จะต้องให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความว่าผิดหรือไม่เสียก่อน
ที่จะไปถึงขั้นศาล
บริการคอลล์แบ็ก ในประเทศไทย เป็นเพียงบริษัทผู้หาสมาชิกให้กับบริษํทในต่างประเทศ
ไม่มีการติดตั้ง ไม่มีการใช้อุปกรณ์ใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย นอกจากเครื่องโทรศัทพ์ที่มีอยู่แล้วตามบ้านตามที่ทำงาน
ซึ่งไม่ถือเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย ฉนั้นความสามารถสรุปความได้ว่า กิจการบริการคอลแบ็คในเมืองไทย
เป็นไปในเรื่องของการใช้ช่องทางกฏหมายที่มีอยู่ และเป็นการให้คำแนะนำในเรื่องการติดต่อทางโทรศัทพ์ทมี่มีอยู่แล้ว
ด้วยวิธีที่ทำให้จ่ายค่าบริการถูกกว่าที่คเยใช้อยู่กับ กสท
วิธีการคอลแบ็ค คือผู้ที่ต้องการใช้บริการติดต่อขอเป็นสมาชิกกับริษํทตัวแทนในกรุงเทพก่อน
บริษัทตัวแทนจะให้เบอร์ประจำตัวและเบอร์สำหรับติดต่อชุมสายในอเมริกา เมื่อต้องการติดต่อธุรกิจ
ผู้โทรต้องโทรไปที่ชุมสายของผู้ให้บริการคอลล์แบ็ค ในอเมริกาแล้วทางชุมสายจะต่อสัญญานกลับมาที่ผู้โทรขณะยกหูอยู่
โดยผู้โทรรอฟังเสียงสัญญาน 1 กริ๊งเท่านั้น แล้ววางหู ( ไม่มีการสนทนาถือว่าการโทรไม่สมบูรณ์)
รอประมาณ 15 วินาที ชุมสายในอเมริกาจะต่อสายเข้ามายังผู้โทร เมื่อรับสายแล้วผู้โทรก็เพียงกดหมายเลขสมาชิก
และหมายเลขผ(ที่ต้องการติดต่อ ( ได้ทุกประเทศ) คอมพิวเตอร์ของชุมายในอเมริกาก็จะต่อไปที่ปลายทางให้เองโดยอัตโนมัติ
เป็นการสลับต้นทางเพื่อแลกเปลี่ยนอัตราการจ่ายค่าบริการเป็นการจ่ายในอัตราประเทศอเมริกาที่ถูกกว่าประเทศไทยประมาณ
10 บาทต่อนาที
ในการโทรศัทพ์ทางไกล ระหว่างประเทศ จะต้องผ่านชุมสายโทรศัพท์ ระหว่างประเทศ
( ItSC-iternational tedphone switching centre ) ของ กสท. ในกรณีของการโทรออก
กสท.ในกรณีของการโทร.ออก กสท. ก็จะเก็บค่าบริการในอัตราของประเทศไทย ถ้าโทรเข้ามา
ผู้โทร ก็จะต้องเสียค่าบริการให้กับเจ้าของเครือข่ายชุมสายในประเทศนั้น ๆ
ซึ่งจะต้องแบ่งให้กับ กสท. หรือเจ้าของชุมสายโทรศัพท์ระหว่าง
ประเทศปลายทาง ในอัตรา 50 % ตามข้อตกลงสากล แต่การโทรระบบคอลแบ็ก การติดต่อครั้งแรกระหว่างผู้ใช้ในประเทศไทยกับชุมสายที่อเมริกา
ซึ่งเป็นการโทรออก กสท. ไม่ได้คิดค่าบริการใด ๆ เพระถือว่าเป็นการโทรที่ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากไม่มีการพูดคุยกัน ส่วนการโทรครั้งที่สอง อีกประมาณ 15 วินาที ต่อมา
ถือว่าเป็นการโทรเข้ามา ซึ่งชุมสายที่อเมริกาจะเป็นผู้คิดค่าใช้จ่ายตลอดการใช้บริการทั้งหมดแล้ว
แล้วแบ่งให้ค่าใช้เกตเวย์ระหว่างประเทศให้ กสท. 50% ของอัตราค่าบริการในอเมริกาที่ถูกกว่า
ย่อมน้อยกว่า 50 % ของค่าโทรศัพท์จากประเทศไทย ที่แพงกว่าอย่างแน่นอน
กสท. จึงสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป แต่ประเด็นสำคัญนั้นอยู่ที่การสูญเสียฐานะการเป็นผู้ผูกขาดการให้บริการโทรศัทพ์ทางไกลระหว่างประเทศบางส่วน
ไปให้กับบริษัทเอกชน อย่างเช่น บริษัทคอลล์แบ็ค, โกลบอลเน็ท, เทเลกรุ๊ป,
เทเลพลาส, ซิเล็คท์ รวมทั้งบริษัท เอทีแอนด์ที และมาสเตอร์คอล ซึ่งไปเช่าวงจรดทรศัพทืข้ามชาติ
ในต่างเทศเอาไว้ เพื่อให้บริการทางไกลระหว่างประเทศแบบคอลล์แบ็ค แทน
แน่นอนว่า บริการแบบคอลล์แบ็ค นั้นอยู่ได้ และไปได้ดี เพราะสามารถแข่งขันกับ
กสท. ได้ในแง่ราคาที่ถูกกว่า
สมมุติจะโทรติดต่อธุรกิจไปที่อเมริกาในเวลาปกติ ( 07.00-21.00) เป็นเวลา
30 นาที หากใช้บริการ กสท. จะต้องเสียเงินประมาณ 1,300 บาท หากใช้คอลแบ็ค
จะเสียเงินประมาณ 960 บาท เท่านั้นเอง ถุ้าโทรไปที่ออสเตรเลีย เป็นเวลา 1
ชั่วโมง กสท. จะคิดประมาณ 2,700 บาท แต่คอลลแบ็คคิดประมาณ 2,300 บาท
เท่านั้นเอง นับเป็นความแตกต่างกัน พอสมควร ตรงนี้เองที่ทำให้ผู้ต้องติดต่อธุรกิจกับบริษัทต่างประเทสหรือผู้ที่ต้องโทรศัทพ์ทางไกลระหว่างประเทศเป็นหันมาใช้คอลล์แบ็ค
มากขึ้นเป็นอันดับ เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ได้เป็นจำนวนมาก
แต่เมื่อมองในฐานะรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทสโดยตรง
อย่าง กสท. แน่นอนบริการคอลล์แบ้ค ย่อมทำไม่ถูก เพราะส่งเสริมให้มีการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศมากขึ้น
ขณะที่กสท. ได้รับค่าบริการซึ่งเป็นส่วนแบ่งบกันระหว่างประเทศคู่สัญญานเพียง
50 % จากการใช้วงจรชุมสายโทรศัทพ์ระหส่างประเทศที่มีอยู่ 6,400 วงจรขณะนี้หนาแน่นขึ้น
เพราะเป็นการใช้วงจรชุมสายต่อเชื่อม2 ครั้ง และที่เลวร้ายก็คือ ในการต่อเชื่อมสัญญานครั้งแรก
กสท. ไม่สามารถเก็บค่าบริการจากผู้โทรในประเทศหรือผู้ให้บริการคอลล์แบ้คได้เลย
เพราะเป็น การโทรไม่สมบูรณ์2 ประเด็น นี้เองที่ กสท. ต้องออกโรงโต้ เนื่องจากชุมสายของกสท
ถูกใช้งานแต่ไม่ได้เงิน
การอ้างว่า เป็นการเบียดบังวงจร ทำให้หนาแน่นขึ้นไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอ
เพราะนั่นหมายถึงวงจรชุมสายระหว่างประเทศที่มีอยู่ไม่เพียงพอ กับปริมาณการบริโภคหรือปริมาณการใช้ของคนในชาติ
ซึ่งเป็นหน้าที่ของกสท ที่จะต้องจัดหามาให้เพียงพอ
สำหรับในเรื่องของค่าบริการที่กสท. คิดแพงกว่านั้นรองผู้ว่ายอมรับว่าจริง
แต่ก็มีนโยบายลดค่าบริการระหว่างประเทศลงทุก ๆ ปีอยู่แล้ว " ต้นทุนการดำเนินการบริการของแต่ละประเทศ
ทุนการซื้ออุปกรณ์สวิทชิ่ง ชุมสาย ล้วนต่างกันแทบทั้งสิ้น ฉะนั้นการจะให้ค่าบริการต่ำกว่าทุกประเทศเป็นไปไม่ได้
สถิตตอนนี้ ใน 25 ประเทศ ที่มีปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศมาก ๆ มี
10 ประเทศ ที่เราถูกกว่า " ถาวรให้เหตุผล
ในยุคที่วิทยาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม พัฒนาก้าวหน้าอย่างเต็มที่ และการแข่งขันในเชิงรุกเป็นไปอย่างดุเดือด
สถานะการเป็นผู้ให้แต่ผู้เดียว ตามอำนาจกฏหมาย เป็นเพียงกำแพงป้องกันตัวเองที่นับวันมีแต่จะพังทะลายลง
หากไม่สร้างความสามารถในการแข่งขันที่จริงขึ้นมาได้ กรณีคอลแบ็ค นี้ คู่แข่งที่แท้จริงของ
กสท. ไม่ใช่บริษัทตัวแทนที่เข้ามาสมาชิกผู้ใช้โทรศัพท์ทางไกลระหว่างชาติในประเทศไทย
หากแต่เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้ามชาติอย่างเอที แอนด์ ที, สปรินท์ หรือเอ็มซีไอ