|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2550
|
|
ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ หลายคนเชื่อว่ามักจะผ่านไปอย่างเชื่องช้า ไม่เหมือนช่วงเวลาแห่งความสุขที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วคล้ายลมพัด
เวลาของคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัทธนายง ก็คงเดินไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่บริษัทธนายงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูในปี 2540 แต่จากนี้ไปเวลาของเขาก็คงจะเดินเร็วขึ้นเหมือนปกติ เพราะบริษัทธนายงกำลังจะออกมาโลดแล่นเหมือนเดิมแล้ว
สีหน้าของคีรี ในวันแถลงข่าวการคืนชีพของธนายง หรือ Rise of the Phoenix เมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว อาจจะเทียบเท่ากับสีหน้าเมื่อวันเปิดตัวโครงการธนาซิตี้ เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว
"ผมฝันไว้ว่าจะต้องแก้ปัญหาบริษัท ตอนนี้ฝันของผมเป็นจริงแล้ว และดีใจมากๆ ที่สามารถนำบริษัทกลับมาได้" คีรีบอกบนเวทีแถลงข่าว แม้จะขัดเขินไปบ้างเพราะไม่ได้มีการแถลงข่าวในนามธนายงมายาวนาน แต่อีกสักระยะคงคุ้นเคยกันมากขึ้น
การกลับมาของนกฟินิกซ์ที่มอดไหม้อย่างธนายง เจ้าตัวก็ยอมรับว่า การดิ้นรนครั้งนี้ก็เพื่อตัวเองส่วนหนึ่ง และเพื่อผู้ถือหุ้นธนายงอีกกว่า 3 หมื่นราย ที่ยังไม่ได้ทิ้งหุ้นธนายงไปไหน ทำให้เขาและบริษัทต้องกลับมาตอบแทนผู้ถือหุ้นที่สนับสนุนมาตลอด และบอกเป็นนัยด้วยว่า การกลับมาครั้งใหม่ต้องทำให้ราคาหุ้นของธนายงกลับคืนมาอยู่ในจุดที่เหมาะสมให้ได้
สิ่งที่กลับมาพร้อมกับธนายงก็คือ กลุ่มผู้ร่วมทุนรายใหม่ซึ่งมี 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่ม New world Development จากฮ่องกงของ Cheng Tu Tung นักพัฒนาที่ดินรายใหญ่ในฮ่องกง จีน และยุโรป กลุ่มนี้ไม่ได้เข้ามาลงทุนในบ้านเราเป็นครั้งแรก เข้ามาตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูในปี 2530 เป็นต้นมา โดยร่วมกับนักพัฒนาที่ดินของไทยหลายกลุ่ม แต่พอเศรษฐกิจล่มสลายก็ค่อยๆ เงียบหายไป
กลุ่ม New world Development กลับมาร่วมกับธนายงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะตัวคีรีเองก็เติบโตและทำธุรกิจในฮ่องกงมาไม่น้อย ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 กลุ่มจึงแนบแน่นตลอดมา และเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนรถไฟฟ้า BTS กับธนายงด้วย
คีรีบอกด้วยว่า กลุ่มนี้เข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าตั้งแต่ต้น จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับเงินปันผลจากการเข้ามาถือหุ้น
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ Dubai Investment Group (DIG) กลุ่มทุนตะวันออกกลางที่ร่ำรวยจากน้ำมัน มีสำนักงานอยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ มีการลงทุนหลายๆ ด้านในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ซึ่งการเข้ามาร่วมกับธนายงถือเป็นการลงทุนในไทยเป็นครั้งแรกด้วย
"กลุ่มดูไบใช้เวลาเจรจากว่า 6 เดือน เพราะไม่ใช่มีแค่ธนายงเพียงบริษัทเดียวที่กลุ่มนี้พิจารณามีหลายราย จึงต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด" คีรีอธิบายที่มาที่ไปของกลุ่มทุนจากตะวันออกกลาง
การเปิดตัวของกลุ่มทุนดูไบได้ส่งดาโต๊ะ อามัน ราฟี อัสมัน จากมาเลเซียมาร่วมด้วย เพื่อยืนยันว่ากลุ่ม DIG พร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว
นอกจากนี้กลุ่ม New world Development จะเข้ามาเป็นกรรมการในธนายง เพื่อคิดหาโครงการใหม่ๆ ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จออกมาขาย โดยจะนำประสบการณ์จากฮ่องกงมาประยุกต์ ส่วนกลุ่ม DIG ก็สามารถร่วมลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน
การเข้ามาของกลุ่มผู้ร่วมทุนรายใหม่ ทำให้โครงสร้างของธนายงเปลี่ยนแปลงไป โดยคีรีจะนั่งเป็นประธานกรรมการเท่านั้น ส่วนกรรมการผู้จัดการก็ให้กวิน กาญจนพาสน์ มาทำหน้าที่แทนพร้อมกับกรรมการคนอื่น
สำหรับกวิน คือคนในตระกูลกาญจนพาสน์ที่ทำงานร่วมกับคีรีมาตลอด และเป็นผู้บริหารบริษัท VGI Global media ทำหน้าที่บริหารพื้นที่ร้านค้า ป้ายโฆษณาต่างๆ บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งหมด
"ผมขอโอกาสให้กับกลุ่มใหม่ ทีมใหม่ของธนายง และเชื่อมั่นว่าจะทำให้บริษัทกลับมาอีกครั้ง ส่วนผู้ถือหุ้นที่สูญเสียไป ในฐานะประธานบริษัท เราจะทำให้ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกลับมาแน่นอน"
คีรีขอโอกาสและให้คำมั่นสัญญากับผู้ถือหุ้นเหมือนกับศิลปินนักร้องค่ายเทปที่กำลังออดอ้อนแฟนเพลง
การกลับมาของธนายงรอบนี้ เขาบอกว่าได้มีการวางแผนเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้วว่า ธนายงคือบริษัทพัฒนาที่ดิน ไม่ใช่การลงทุนอย่างไร้ทิศทางที่ทำอะไรหลากหลายไปหมด ธนายงยุคใหม่นี้จะทำงานกันเป็นทีมและเป็นมืออาชีพ มากขึ้น
ถ้าจะเรียกความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นให้กลับคืนมา ธนายงต้องมีโครงการใหม่ที่ดูแล้วน่าสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
ทีมบริหารใหม่ของธนายงตกลงเลือกโครงการประเดิมการกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ด้วยโครงการธนาซิตี้ เฟส 2 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.13 ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ โดยโครงการใหม่จะมีพื้นที่ 210 ไร่ และคอนโดมิเนียมจากเฟสแรกที่บริษัทให้เช่าอีก 27,000 ตารางเมตร นำกลับมาขายใหม่อีกครั้ง
ทำไมคีรีเลือกประเดิมโครงการใหม่ที่ธนาซิตี้ เพราะว่าโครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกของคีรีและธนายงที่กลับมาลงทุนพัฒนาที่ดินในเมืองไทย หลังจากอยู่ที่ฮ่องกงมาอย่างยาวนาน ธนาซิตี้ทำให้ชื่อเสียงของคีรีเป็นที่รู้จักในแวดวงพัฒนาที่ดิน และถือเป็นรากฐานสำคัญของธนายงด้วย
เมื่อรวมกับการเปิดใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของธนาซิตี้ก็ไม่น้อยหน้าคู่แข่งแต่อย่างใด และมีความได้เปรียบที่เริ่มโครงการไปก่อนแล้วหลายสิบปี
เกิดครั้งแรกกับธนาซิตี้ กลับมาเกิดใหม่ก็ต้องธนาซิตี้
ตามมาด้วยโครงการโรงแรมแบบบูติกที่ถนนสาทร แต่ที่น่าสนใจคือโครงการซิลเวอร์เลค ที่ถนนสาย 331 ชลบุรี ที่คีรีวาดฝันไว้ว่าจะเป็นสวนองุ่นและโรงงานผลิตไวน์ ที่พัก ศูนย์กีฬา เนื้อที่โครงการนี้กว่า 400 ไร่
แต่คีรีไม่ได้ระบุว่าโรงงานผลิตไวน์จะใช้ชื่อ ชาโต เดอ ธนายง หรือไม่
การกลับมาใหม่ครั้งนี้ คีรีวางบทบาทตัวเองชัดเจนขึ้น คือทำหน้าที่แค่ประธานกรรมการ ส่วนการบริหารงานมอบให้กับทีมงานใหม่ ส่วนตัวเขาเองคีรีบอกชัดเจนว่า จะดูแลโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นหลัก แม้ว่าธนายงจะมีสัดส่วนการถือหุ้นในบีทีเอสน้อยนิดก็ตาม
และในขณะนี้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน คงได้คำตอบแล้วว่า คีรีกับธนายงยุคใหม่สามารถทำได้ตามที่สัญญาไว้หรือไม่
|
|
|
|
|