Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550
ที่มาของเรือ “รักษ์น้ำพอง”             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์, บมจ.
Pulp and Paper




เรือ "รักษ์น้ำพอง" ดูเหมือนเป็นงานเดียวที่เครือซิเมนต์ไทยสามารถอาศัยความชำนาญในงานด้านวิศวกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการกอบกู้ภาพลักษณ์ของโรงงานฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ กลับคืนมา

นอกเหนือจากการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิตซึ่งถือเป็นงานหลักของเครืออยู่แล้ว

เรือรักษ์น้ำพองเกิดขึ้นภายหลังจากโครงการรักษ์บึงโจดระยะแรกเสร็จสิ้นลงและมีการจัดพิธีเปิดโครงการ โดยมอบสวนสาธารณะบึงโจดให้เป็นสาธารณสมบัติของจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548

ภารกิจหลักประการหนึ่งของโครงการรักษ์บึงโจด คือการลอกผักตบชวา ที่เคยลอยเต็มแน่นผิวน้ำบึงโจดขึ้นมา เพื่อให้น้ำในบึงใส แสงแดดส่องลงไปได้ถึง ให้น้ำคืนสภาพ เพื่อที่ชาวบ้านจะสามารถใช้น้ำจากบึงมาอุปโภค บริโภค และสัตว์น้ำสามารถมาอาศัยอยู่ได้

ในการลอกผักตบชวาช่วงแรก เป็นการใช้แรงงานคน โดยฟินิคซฯ เป็นเจ้าภาพ เกณฑ์ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านห้วยโจด ร่วมกับพนักงานของบริษัทมาเป็นแรงงาน

แต่ปรากฏว่าหลังจากลอกผักตบชวาขึ้นมาได้หมดแล้ว เมื่อน้ำเริ่มใสสะอาดขึ้น แสงแดดสามารถส่องลงไปใต้น้ำได้ และน้ำมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นแล้วกลับมีวัชพืชน้ำประเภทอื่น โดยเฉพาะสาหร่ายหางกระรอก แหน สันตะวา ได้เจริญงอกงามขึ้นมาจนแน่นบึงอีกครั้ง

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ฟินิคซฯ จึงจำเป็นต้องนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการดูแลสภาพบึงแห่งนี้ไม่ให้กลับไปสู่สภาพเดิมอีก

ฟินิคซฯ ส่งทีมงานวิศวกรจากแผนกซ่อมเครื่องกลและงานส่งเสริมคุณภาพและโครงการพิเศษ เดินทางไปดูงานเรือกำจัดวัชพืชน้ำแบบต่างๆ ของกรมชลประทาน จนกระทั่งเดือนมกราคม 2529 ทีมงานได้คัดเลือกแบบเรือกำจัดผักตบชวาของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ต.ลาดตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มาเป็นต้นแบบในการจัดสร้าง

โดยได้เขียนแบบและดำเนินการก่อสร้างเองที่อาคารปฏิบัติงานของฟินิคซฯ

วันที่ 10 มกราคม 2549 เรือรักษ์น้ำพองได้ลงสู่บึงโจดเป็นครั้งแรก เพื่อทดสอบการทำงาน หลังจากนั้นในวันที่ 26 พฤษภาคม จึงได้มีพิธีมอบเรือลำนี้ให้กับจังหวัด

กานต์ ตระกูลฮุน ในฐานะตัวแทนของเครือซิเมนต์ไทย เป็นผู้ส่งมอบให้ด้วยตนเอง

ประสิทธิภาพของเรือรักษ์น้ำพองสามารถลดแรงงานคนในการทำความสะอาดวัชพืชน้ำได้มากกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน และทำงานได้รวดเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการทำงานต่อ 1 ชั่วโมง ต้องใช้แรงงานคนถึง 30 คน ในการทำงานที่ปริมาณงานเท่ากัน

"บึงโจดนี่เป็นเรื่องยาวนานเหลือเกิน คือทำเรือเสร็จก็ไม่ใช่ว่าเสร็จ เพราะเรือนี้ต้องเอาไปลอกผักตบในลำน้ำ แล้วสาหร่ายที่มันขึ้นนี่ พอใช้เรือตักมาก น้ำก็ขุ่นอีก ชาวบ้านเดือดร้อนอีก เผลอๆ ต่อไปต้องลอกตะกอนข้างล่าง ต้องขุดออกให้หมด ตามที่อาจารย์มหาวิทยาลัยเขาแนะนำ ต้องเอาออกให้หมด ถ้าไม่งั้นคุณก็ต้องตักอย่างนี้สัก 2-3 ปี มันถึงจะหมด แต่เราดูแล้ว เอาเรือลงไปมันก็ยังขึ้นอยู่เยอะ ต้องขุดรากถอนโคนกันเลย คือเล่นเอาตะกอนออกเลย" ธีระศักดิ์ จามิกรณ์ แสดงความรู้สึก

ปัจจุบันนอกจากภารกิจในการดูแลบึงโจดแล้ว เรือรักษ์น้ำพองยังถูกขอไปใช้ในการลอกผักตบชวาและวัชพืชน้ำในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของลำน้ำพองอีกหลายครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us