Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550
หลากสาเหตุที่ปลาในกระชังตาย             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์, บมจ.
Pulp and Paper
Environment




เป็นข้อเท็จจริงซึ่งต้องยอมรับว่าในอดีตโรงงานฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำในลำน้ำพองเน่าเสียจนส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชังของเกษตรกรตาย

แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว

ปัจจุบันในช่วง 2 ปีหลัง ผู้บริหารฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ มั่นใจว่าโรงงานของตนไม่ใช่ต้นเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว

แต่ชาวบ้านบางส่วนอาจยังไม่เชื่อ

ดังนั้น บทบาทของผู้บริหารฟินิคซฯ ยุคนี้จึงต้องอาศัยงานทางวิชาการเข้ามาช่วยยืนยัน โดยการส่งตัวแทนเข้าร่วมงานสัมมนาที่มีการจัดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ทุกครั้ง รวมถึงการเชิญวิทยากรเข้ามาให้ความรู้กับเกษตรกร การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมกับเกษตรกร และหน่วยงานราชการ ตลอดจนการเปิดโรงงานให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังเข้ามาดูกระบวนการผลิตและระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานในทุกจุด ฯลฯ

การเลี้ยงปลาในกระชังถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภายในและภายนอก

ตัวแปรภายนอก ก็คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำที่ใช้ตั้งกระชังเลี้ยงปลาดังกล่าวทุกๆ ฝ่าย

ในกรณีของลำน้ำพอง เริ่มต้นตั้งแต่เขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งหากช่วงไหนที่เขื่อนปล่อยน้ำออกมา น้ำที่เพิ่งไหลออกจากเขื่อนจะพาตะกอนติดมาด้วย ทำให้น้ำขุ่นและมีออกซิเจนน้อย เกิดความเสี่ยงกับปลาที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มออกซิเจนเข้ามาช่วย ซึ่งหากไม่ทันก็อาจมีผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ตายได้เช่นกัน

โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่ใกล้หรือริมน้ำ หากมีการปล่อยน้ำเสียออกมาลงในลำน้ำ ก็จะมีผลให้น้ำเน่าเสีย และปลาตาย

กรณีนี้หากเป็นเมื่อ 15-20 ปีก่อน อาจโทษโรงงานของฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ได้ เพราะเป็นโรงงานผลิตเยื่อกระดาษที่ต้องอาศัยน้ำจากลำน้ำพองเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต และอาศัยลำน้ำพองเป็นแหล่งระบายน้ำเสียที่ออกมาจากการผลิต

และเป็นโรงงานขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในย่านนี้

แต่ปัจจุบันตลอดลำน้ำพองมีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น หากเกิดกรณีปลาตายขึ้นมาในช่วงหลัง จำเป็นต้องพิสูจน์ไห้ชัดว่าโรงงานอุตสาหกรรมแห่งใดเป็นต้นเหตุที่แท้จริง

ส่วนตัวแปรภายใน ก็คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาในกระชังทุกคน

เริ่มตั้งแต่ผู้จำหน่ายพันธุ์ปลา อาหารปลา และผู้รับซื้อปลาที่เกษตรกรเลี้ยง ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือคนเดียวกัน

หากผู้จำหน่ายพันธุ์ปลาและอาหารปลาไม่ยอมมาจับปลาตามกำหนด เมื่อปลามีอายุ และตัวใหญ่ขึ้น ย่อมเกิดความแออัดในกระชัง น้ำในกระชังขาดออกซิเจน ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ตาย ซึ่งกรณีนี้ก็เกิดขึ้นบ่อย

สุดท้ายคือตัวเกษตรกรเอง หากมีการเลี้ยงตามหลักที่กรมประมงกำหนดไว้ โอกาสที่ปลาจะตายย่อมมีน้อยลง

ตามข้อกำหนดของกรมประมงให้เลี้ยงปลาได้แค่ 500 ตัว ใน 1 กระชัง ที่มีขนาด 4 X 4 เมตร ลึก 1.5 เมตร แต่มีการสำรวจพบว่า เกษตรกรบางรายเลี้ยงปลาไว้ถึง 2,200 ตัว

รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ เคยมีการสำรวจพบว่าเกษตรกรบางรายนำถังที่เคยบรรจุสารเคมีอันตรายมาใช้เป็นทุ่นลอยน้ำของกระชัง และสารเคมีที่หลงเหลืออยู่ในถัง ซึมออกมาตามน้ำส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไว้ตาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us