Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550
ผลพวงจากอดีต             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์, บมจ.
Pulp and Paper




ปัญหาภาพลักษณ์ของฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ ที่เป็นผลพวงจากการตกเป็นจำเลยสังคม ฐานเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำในลำน้ำพองเน่าเสียในอดีตเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน แม้จะไม่กระทบกับการทำธุรกิจโดยตรงในปัจจุบัน แต่ก็ทำให้การทำงานในช่วงที่ผ่านมาของโรงงานผลิตเยื่อกระดาษแห่งนี้ยากและมีต้นทุนมากกว่าโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ

ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมกำหนดขึ้นมา ได้ผูกมัดการทำงานของโรงงานแห่งนี้ไว้จนเรียกได้ว่า แค่กระดิกตัวก็ยังลำบาก

EIA ฉบับนี้จัดทำขึ้นมาตั้งแต่ลำน้ำพองเกิดปัญหาปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชังตาย ในช่วงปี 2533-2536 แต่ฟินิคซฯ เพิ่งได้รับการผ่อนผัน หรือยกเลิกข้อผูกมัดบางอย่างไปได้หลังจากที่ผู้บริหารจากเครือซิเมนต์ไทยเข้ามารับช่วงดูแลกิจการอย่างเต็มตัว เมื่อไม่ถึง 2 ปีมานี้

"ห้ามเกิน ห้ามทิ้งน้ำ ห้ามอะไรทุกอย่าง และก็เป็นอะไรที่ผูกพันกันมานาน เราก็พยายามแก้ไขปรับปรุง ชี้แจง และพิสูจน์ให้เขาเห็น หลังจากที่เครือฯ เข้ามา ก็โชคดีที่สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เขาก็ยกเลิกให้เราเกือบทั้งหมด ประมาณ 7-8 เรื่อง" ธีระศักดิ์ จามิกรณ์ บอก

ตัวอย่างข้อผูกมัดจาก EIA ที่เพิ่งถูกยกเลิกไป อาทิ การบังคับให้โรงงานใช้ระบบบำบัดน้ำเสียตามสายการผลิต โดยสายการผลิตแรกให้ทิ้งน้ำลงบ่อบำบัดน้ำเสียของสายการผลิตแรก ส่วนสายการผลิตที่ 2 ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ก็ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับสายการผลิตนี้โดยเฉพาะ

ซึ่งประเด็นนี้ ทีมผู้บริหารที่มาจากเครือซิเมนต์ไทยพยายามอธิบายว่า เฉพาะสายการผลิตที่ 2 มีระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้ถึง 6 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณน้ำเสียที่ออกมาจากกระบวนการผลิตทั้งโรงงานในปัจจุบันมีเพียงวันละ 2.1 หมื่นลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้โรงงานยังมีการขุดบ่อพักน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วอีกถึง 5 บ่อ สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 1.23 ล้านลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลา 60 วัน แต่ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินงานตลอด 4 ปีที่ผ่านมา บ่อเหล่านี้ถูกใช้งานจริงเพียง 1 บ่อ และระดับน้ำที่อยู่ในบ่อเคยขึ้นไปสูงที่สุด 80% ของปริมาณการกักเก็บ ส่วนอีก 4 บ่อ ยังถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ

หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ EIA ได้นำการผลิตของโรงงานไปสัมพันธ์กับการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อนอุบลรัตน์ลงสู่ลำน้ำพอง โดยระบุว่าถ้าเขื่อนปล่อยน้ำออกมาต่ำกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงงานต้องหยุดการผลิตลง 50% และถ้าหากเขื่อนปล่อยน้ำออกมาต่ำกว่า 5 แสนลูกบาศก์เมตร โรงงานต้องหยุดการผลิตทันที

การที่ EIA ระบุเช่นนี้ เป็นการนำกระบวนการผลิตของโรงงานในช่วงก่อนปี 2537 ซึ่งยังเปิดใช้เพียงสายการผลิตแรกมาเป็นบรรทัดฐาน เพราะช่วงนั้นโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ลำน้ำพองโดยตรง ผ่านบึงโจด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนอุบลรัตน์เข้ามาช่วยเจือจาง

แต่นับจากปี 2537 เป็นต้นมา ฟินิคซฯ ไม่มีการปล่อยน้ำลงลำน้ำพองโดยตรงอีกต่อไปแล้ว ทำให้ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับการปล่อยน้ำของเขื่อนซึ่งผู้บริหารจากเครือซิเมนต์ไทยก็ต้องชี้แจง เพื่อขอยกเลิกข้อผูกมัดข้อนี้ด้วยเช่นกัน

แต่แม้ว่าข้อผูกมัดเรื่องการปล่อยน้ำจากเขื่อนจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ทุกครั้งที่เขื่อนอุบลรัตน์มีการปล่อยน้ำออกมา ก็ต้องมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะน้ำที่เพิ่งถูกปล่อยออกมาใหม่ๆ จะขุ่น มีปริมาณออกซิเจนน้อย หากผู้เลี้ยงปลาไม่มีเครื่องปั๊มออกซิเจนเข้าไปช่วยในน้ำในช่วงนี้ ก็จะมีผลทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย เพราะขาดออกซิเจนได้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อรักษาความรู้สึกของชาวบ้านผู้เลี้ยงปลาในกระชัง หลังจากธีระศักดิ์เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เขาจัดงบประมาณซื้อเครื่องปั๊มอากาศแจกชาวบ้านที่เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณใกล้ๆ โรงงาน ครอบครัวละ 1 เครื่อง และจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยประสานงานกับเขื่อน เพื่อแจ้งให้ชาวบ้านเหล่านี้ได้รับรู้ข้อมูลทุกครั้ง ก่อนที่เขื่อนจะปล่อยน้ำลงมา

ผลพวงจากภาพลักษณ์ในฐานะจำเลยสังคมในอดีตยังส่งผลให้โรงงานต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับอยู่ตลอด เวลาที่ชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งที่อยู่ใกล้และไม่ใกล้โรงงานต้องการความช่วยเหลือ และโรงงานก็ต้องยอมตามคำขอเหล่านั้นทุกครั้ง อย่างยากที่จะปฏิเสธ

แม้ความช่วยเหลือที่ขอเข้ามาบางอย่างอาจเกินความเป็นจริงไปบ้าง

ตัวอย่างการขอรับความช่วยเหลือประเภทนี้ ครั้งหนึ่งมี อบต.แห่งหนึ่งเคยขอใช้พื้นที่บางส่วนของโรงงานเป็นสถานที่จัดเลี้ยง ซึ่งในหนังสือขอใช้สถานที่มีการขอสนับสนุนจากโรงงานในด้านโต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม แก้วน้ำ อาหาร เครื่องดื่ม เวที แสง สี เครื่องเสียง รวมถึงการแสดงบนเวที กระทั่งช่างภาพ

หรือล่าสุด มี อบต.อีกแห่งหนึ่งขอการสนับสนุนงานอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อป.พร.)เข้ามา โดยขอสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อชุดประดาน้ำ และอุปกรณ์ดำน้ำจากโรงงาน ทั้งที่ยังมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่ อบต.จะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้

การที่ภาพลักษณ์ของโรงงานปัจจุบันดีขึ้นมาในสายตาของคนวงกว้างจนเริ่มได้รับความเชื่อมั่นจากชุมชนและสังคมมากขึ้นแล้ว

เชื่อว่าในอนาคต ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ คงกล้าและมั่นใจที่จะปฏิเสธคำขอรับการสนับสนุนประเภทนี้บ้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us