Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ธันวาคม 2549
ธปท.ยันพร้อมใช้อาร์พีใหม่ต้นปีหน้า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Financing




แบงก์ชาติปรับมาใช้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันแทน 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายใหม่ในการส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงิน ระบุการดูแลและวิธีการตามแนวทางเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ย้ำหลังจากที่หารือร่วมสถาบันการเงินเป็นแรมปีส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแบงก์ชาติ เพื่อให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เตรียมปฏิรูปกรอบการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ โดยมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 17 มกราคม 2550 ถือเป็นการประชุมครั้งถัดไปของกนง.เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินและนำไปสู่กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใส ขณะเดียวกันยังเอื้อให้ตลาดการเงินของไทยยังสามารถพัฒนาต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการช่วยเสริมเสถียรภาพให้แก่ระบบการเงินให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ กนง.ได้มีการปรับกฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือในการส่งสัญญาณนโยบายการเงินจากการใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 14 วัน(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) มาเป็นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันแทน เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสะท้อนการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นของสถาบันการเงินในตลาดการเงินได้ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีการเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย

ขณะเดียวกันทางกนง.จัดให้มีหน้าต่างปรับสภาพคล่องสิ้นวันระหว่างธปท.กับสถาบันการเงินทั้งด้านปล่อยและดูดซับสภาพคล่อง โดยจากเดิม ณ สิ้นวัน ธปท.จะปล่อยกู้ขาเดียวให้แก่สถาบันการเงินรายใดขาดสภาพคล่อง ซึ่งธปท.คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบายบวก 0.5% แต่ขณะนี้อนุญาตเพิ่มให้สถาบันการเงินรายใดที่มีสภาพคล่องมากเกินไปก็สามารถนำมาฝากไว้ที่ธปท.ได้ ซึ่งธปท.จะให้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลบไม่เกิน 0.5% เพื่อลดปัญหาของสถาบันการเงินรายใดไม่ให้มีบัญชีเงินฝากติดลบ ซึ่งในช่วง 14 วัน สถาบันการเงินจะต้องคงสภาพคล่องให้มีบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า1%ของฐานเงินฝากของปักษ์ก่อนหน้า ดังนั้น ผลการปรับเปลี่ยนเช่นนี้จะส่งผลให้ธปท.ควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้ดีขึ้นและในขอบเขตที่แคบลงจะช่วยจัดการความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ กนง.ยังได้มีการปรับช่วงเวลาในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อไม่ให้คร่อมการประชุมของกนง. สำหรับสถาบันการเงินทุกประเภทที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยให้ปักษ์เริ่มต้นในวันพุธและสิ้นสุดในวันอังคารของ 2 สัปดาห์ถัดมา จากเดิมที่กำหนดให้ในช่วงวันที่ 23-7 และวันที่ 8-22 ของทุกเดือน ทั้งนี้การปรับช่วงเวลาในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องนี้เพื่อลดความผันผวนในระดับสภาพคล่องของระบบและอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจน

นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า แม้จะมีการเปลี่ยนมาใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันแทน แต่แนวทางและการดูแลในส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับการคาดการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในอนาคต รวมถึงการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อหลักอยู่ที่ระดับ 0-3.5% เช่นเดิม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบใหม่แทนของเก่าจะทำให้เกิดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 10 สตางค์ แต่สิ่งที่จะได้รับกลับทำให้ตลาดการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“การปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินแบบใหม่ ทางกนง.ได้มีการหารือกับสถาบันการเงินในระบบมาแล้วร่วมปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยการการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และมีการเตรียมความพร้อมรองรับกับหลักเกณฑ์ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนมาใช้แบบใหม่ทางกนง.ก็ยังได้มีการคำนึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วด้วย จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะในหลายๆ ประเทศก็ได้มาใช้เครื่องมือแบบนี้ในการกำหนดนโยบายการเงินอยู่แล้ว”

ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ออกรายงานเกี่ยวกับแผนปฎิรูปกรอบการดำเนินนโยบายการเงินของธปท. โดยชี้แจงว่า ในการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นของสถาบันการเงินในตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 1 วันจะสะท้อนถึงภาวะการปรับสภาพคล่องได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยในระยะอื่น โดยปัจจัยบ่งชี้สำคัญคือปริมาณเงินฝากของสถาบันการเงินในบัญชีที่ธปท.(Current Account หรือ CA) ซึ่งปริมาณเงินใน CA ที่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยระยะข้ามคืน(Overneght Interest Rate) มากที่สุด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคือต้นทุนของการดำรง CA ในแต่ละวัน ดังนั้น ตามกลไกตลาดแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ธปท.สามารถดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคืออัตราดอกเบี้ยระยะข้ามคืน

โดยการใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 1 วันเป็นเป้าหมายในทางปฏิบัติจะลดความบิดเบือนในโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น และเปิดโอกาสให้อัตราดอกเบี้ยในระยะที่ยาวขึ้นเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยดังเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ธนาคารกลางหลายแห่งจึงกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยประเภท 1 วันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการส่งสัญญานโยบายการเงิน

นอกจากนี้ การใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วันเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันมีข้อจำกัดในช่วงที่ตลาดมีการคาดการณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันมีข้อจำกัดในช่วงที่ตลาดมีการคาดการณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างกรณีที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับสูงขึ้น เช่น ก่อนการประชุมกนง.ในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ผู้เล่นในตลาดจะพยายามหลีกเลี่ยงการลงทุนในช่วงอายุ 14 วันที่คร่อมวันประชุมดังกล่าว แต่จะเพิ่มการลงทุนระยะ 1 วันและรอให้อัตราดอกเบี้ยถูกปรับขึ้นไปก่อนจึงจะกลับมาลงทุนระยะ 14 วันใหม่ พฤติกรรมการดังกล่าวเป็นผลจากการที่ธปท.ต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ที่เดิม โดยไม่สามารถปรับลดลงก่อนการประชุมได้ จากการที่ความต้องการลงทุนในระยะดังกล่าวเพิ่มขึ้น

ซึ่งการที่อัตราดอกเบี้ย 1 วันปรับลดลงทั้งๆที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นอาจสร้างความสับสนต่อผู้เล่นในตลาด จึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่กลางในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ และสหภาพยุโรป ปรับวิธีการดำเนินนโยบายการเงิน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us