Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"ดีทแฮล์ม-เบอร์ลี่-อินช์เคปในสถานการณ์ "ไร้พรมแดน"             
 

   
related stories

"กลยุทธ์เอเชียไร้พรมแดน อีเอซี จะไม่พลาดเป็นครั้งที่ 2 ?"
"วิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ขอกลับมาเรียนศัพท์การตลาดใหม่"

   
www resources

โฮมเพจ ดีทแฮล์ม จำกัด

   
search resources

ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย), บจก.
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บมจ.
อีเอซี มาร์เก็ตติ้งเซอร์วิส
อินช์เคป คอนซูเมอร์ มาร์เกตติ้ง
วิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล
อดุล อมตวิวัฒน์
Home and Office Appliances




"ธุรกิจจัดจำหน่ายที่จะมีอนาคต ต้องมองตลาดแบบโลกาภิวัฒน์ มองเอเชียเป็นประเทศเดียว ดังนั้นบริษัทที่ไม่มีความได้เปรียบในเรื่องเน็ตเวิร์กจะเสียเปรียบมาก" นี่เป็นความเห็นของวิวัฒน์ กิตติพงษ์โกศล กรรมการผู้จัดการอีเอซี มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส ประเทศไทย

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วใครจะเป็นคู่แข่งกับอีเอซี ซึ่งมีเครือข่ายในทวีปนี้ถึง 15 ประเทศเบอร์ลี่ปรับตัวหนี รุกการผลิตมากกว่าจัดจำหน่าย

ถ้ามองในระดับภูมิภาคแล้ว เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ออกจะเสียเปรียบคู่แข่งอีก 2 รายที่เหลือเพราะเป็นบริษัททุนท้องถิ่นเพียงบริษัทเดียว ไม่มีแขนขานอกประเทศ แต่อย่างไรก็ตามเบอร์ลี่ก็มีบทเรียนมากพอที่จะเรียนรู้ว่าบริษัทตัวแทนจำหน่ายควรจะดำรงอยู่อย่างไร

ในระยะหลังเบอร์ลี่ ยุคเกอร์พยายามหันเหการลงทุนของตัวเองออกไปทางด้านอุตสาหกรรมมากกว่า กว้านซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อุตสาหกรรมแก้วไทยและได้โยกนายประเสริฐ เมฆวัฒนา อดีตรองผู้จัดการใหญ่ ที่ดูแลกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในขณะนั้นไปเป็นกรรมการผู้จัดการ

นอกจากนี้ยังเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 52% ในบริษัท กระดาษเซลล็อกซ์ จำกัด หรือล่าสุดการซื้อหุ้น 49% ในบริษัท สยามสแน็ค จำกัด คืนจากบริษัท เป็ปซี่ โค ฟูด จำกัด นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทิศทางของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ที่มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวออกจากธุรกิจจัดจำหน่ายได้ดี

"เบอร์ลี่ยุคเกอร์จะพยายามเข้าไปลงทุนในทุกธุรกิจ ที่เล็งเห็นว่ามีศักยภาพทางการตลาด และบริษัทมีความชำนาญที่จะทำธุรกิจประเภทนั้นได้ ทั้งในลักษณะของการเข้าไปถือหุ้นหรือซื้อกิจการถ้ามีโอกาส ตลอดจนจะพยายามลดบทบาทของการเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการรายอื่นแต่เพียงอย่างเดียวน้อยลง แต่จะหันมาจัดจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากบริษัทในเครือเบอร์ลี่เองให้มากขึ้น เพราะผมมองว่าปัจจุบันโลกของการเป็นตัวแทนจำหน่ายหมดไปแล้ว เราจะต้องหันมาเป็นผู้ผลิตสินค้าเองควบคู่ไปด้วย" ดร. อดุล อมตวิวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางของบริษัทอย่างชัดเจนเมื่อปลายปีที่แล้ว

ปัจจุบันสินค้าที่เบอร์ลี่จัดจำหน่ายอยู่ทั้งหมดมีแหล่งที่มาดังนี้ 29% เป็นสินค้าที่บริษัทสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะเบอร์ลี่ผลิตเองในประเทศไม่ได้ เช่น สารเคมีต่าง ๆ ที่เหลืออีก 71% เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย จำนวนนี้ 61% เป็นสินค้าที่ผลิตเองโดยบริษัทในเครือ 10% ที่เหลือเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ประกอบการต่าง ๆ ภายในประเทศและแต่งตั้งให้เบอร์ลี่เป็นผู้แทนจำหน่าย

ในอนาคตเบอร์ลี่จะเพิ่มปริมาณการจัดจำหน่ายสินค้าในสัดส่วน 61% ให้มากขึ้น เพราะบริษัทไม่ต้องการจะเป็นเพียงแค่ตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น แต่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตด้วย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับตัวสินค้านอกเหนือจากเรื่องคุณภาพสินค้าที่จะสามารถควบคุมมาตรฐานได้ง่ายขึ้น

"อะไรก็ตามที่เราเข้าได้และผลิตได้เราจะทำ" ดร. อดุลกล่าวย้ำ

จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคที่เบอร์ลี่ จัดจำหน่ายอยู่ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยวปาร์ตี้ ลูกอมซูกัสหรือสบู่มากมายหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นนีเวีย นกแก้ว ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าที่เบอร์ลี่ผลิตเองขายเอง ขณะที่สินค้าที่เบอร์ลี่เป็นผู้แทนจำหน่ายถูกเจ้าของสินค้าดึงกลับไปทำเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นยูเอฟซี, เลย์, ซีโตส, ผลิตภัณฑ์หลายตัวของบริษัท ไบโอคอนซูเมอร์ โพรดักส์ และล่าสุดคือ น้ำมันพืชพลอย

ดีทแฮล์ม ยักษ์ใหญ่ที่อาจจะลำบาก

ถ้ามองเฉพาะการแข่งขันในประเทศไทยดีทแฮล์มอาจจะดูมีภาษีดีที่สุด เพราะเป็นบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าที่ใหญ่ที่สุด จึงไม่น่าแปลกถ้าเจ้าของสินค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยจะต้องถามหาดีทแฮล์มก่อนใครเพื่อน

แต่ศักยภาพในประเทศไทยเพียงประเทศเดียวอาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อดีทแฮล์มมากนักสำหรับการแข่งขันในอนาคต เพราะแม้ว่าจะมีภาพเป็นยักษ์ใหญ่ แต่ดีทแฮล์มก็ใช่ว่าจะทำธุรกิจนี้อย่างราบรื่น ข่าวเรื่องสินค้าหลุดมีให้ได้ยินได้ฟังตลอดเวลา ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เห็นจะไม่พ้น "เนสท์เล่" แม้ว่าดีทแฮล์มจะสามารถหาสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาขายทดแทนได้ตลอดเวลา จนปัจจุบันดีทแฮล์มมีสินค้าใหญ่ ๆ อยู่ในมือเต็มไปหมด

ดีทแฮล์มได้วางแผนที่จะรักษาธุรกิจจัดจำหน่ายของตนไว้ต่อไป โดยวางแนวป้องกันปัญหาไว้ 3 ข้อ เริ่มจากจะไม่ให้บริษัทใด บริษัทหนึ่งป้อนสินค้าให้มากเกินไป เพราะจะส่งผลกระทบต่อดีทแฮล์มมาก หากบริษัทดังกล่าวถอนสินค้าออกไป ในขณะเดียวกันก็พยายามจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นมากขึ้น

สุดท้ายคือ การมุ่งสู่ฐานการผลิตมากขึ้น โดยการร่วมทุนกับบริษัทที่เป็นลูกค้าของดีทแฮล์มบางบริษัท เพื่อให้ดีทแฮล์มมีสินค้าที่เป็นตัวเองในการจัดจำหน่ายมากขึ้น เช่นมีการร่วมทุนกับบริษัท เพอร์นอด ริการ์ดจากฝรั่งเศส ในสัดส่วน 51% ต่อ 49% เพื่อจัดตั้งบริษัท เพอริไทย จำกัด เพื่อจัดจำหน่ายสุราต่างประเทศเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หรือการถือหุ้นบางส่วนในบริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตซุปไก่สกัดตราแบรนด์เป็นต้น

"ไม่มีใครสงสัยในประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายในประเทศของดีทแฮล์ม เพราะเขามีการลงทุนในเรื่องนี้ตลอดเวลา ถ้ามองการแข่งขันในระดับภูมิภาคแล้ว ดีทแฮล์มก็ยังเสียเปรียบคู่แข่งอยู่" คนในวงการจัดจำหน่ายวิเคราะห์ให้ผู้จัดการฟัง

เพราะแม้ว่าอาจจะได้เปรียบเบอร์ลี่ ยุคเกอร์อยู่นิดหน่อย ตรงที่ยังพอมีสาขาในอเชียสำหรับให้บริการลูกค้าที่ต้องการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศอยู่บ้าง แต่ก็ยังน้อยถ้าเทียบกับอินช์เคปและอีเอซี

ปัจจุบันสาขาของดีทแฮล์มในภูมิภาคเอเชีย ประกอบไปด้วยมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมทั้งยังสนใจจะเข้าไปสร้างเครือข่ายในประเทศจีนและพม่าเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันสาขาของดีทแฮล์มจะมีเครือข่ายในเอเชียอยู่หลายประเทศ แต่นอกจากไทยแล้ว มีเพียงสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้นที่มีประสบการณ์ในการทำตลาดสินค้าอาหาร สินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าทางวิศวกรรมและยาครบถ้วน ขณะที่ประเทศอื่นที่เหลือบางแห่งจะทำเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม สำหรับอินโดนีเซีย ไม่มีการทำตลาดอาหารและสินค้าอุปโภค-บริโภค ทำเฉพาะตลาดยาเวชภัณฑ์ สินค้าทางวิศวกรรมและอุตสาหกรรมอื่น ๆ

อินช์เคป คู่ชกอีเอซีในตลาดเอเชีย

ถ้าเปรียบเทียบยักษ์ใหญ่ในวงการจัดจำหน่ายไทยอย่างเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ดีทแฮล์มและอินช์แคปแล้ว จะพบว่าอินช์แคปคอนซูเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด นี่แหละที่วางนโยบายการใช้เครือข่ายในภูมิภาคเอเชียให้เป็นประโยชน์เช่นเดียวกับอีเอซี มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส

เพราะนอกจากจะมีสาขาค่อนข้างครอบคลุมในภูมิภาคนี้แล้ว ต้นปีที่ผ่านมาอินช์เคปยังกำหนดกลยุทธ์ให้มีการแลกเปลี่ยนและหมุนเวียนสินค้าในแต่ละภูมิภาคกันมากขึ้นอีกด้วย

"ที่ผ่านมา สินค้าที่อินช์เคปนำเข้ามาขายในภูมิภาคอาเซียน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้จะเปลี่ยนนโยบายหันมานำเข้าสินค้าในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างให้ตลาดแต่ละประเทศแข็งแกร่งไปพร้อม ๆ กัน และทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่า อินช์เคปจะเป็นบริษัทที่มีบทบาทมากที่สุดในธุรกิจแต่ละประเทศ ภายในปี 2543" ปีเตอร์ อาร์. แมคเครดี้ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ของอินช์แคปกล่าวถึงผลการประชุมผู้บริหารอินช์เคปทั่วโลกที่จัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2538 ที่ผ่านมาให้ฟัง

ที่ผ่านมาสินค้าจากภูมิภาคอเมริกาที่เครือข่ายของอินช์เคปทำตลาดให้จนประสบความสำเร็จ คือ ผลิตภัณฑ์ของทิมเบอร์แลนด์ที่จัดอยู่ในกลุ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเช่นกันที่อินช์เคปได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของทิมเบอร์แลนด์ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อันประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

สำหรับนโยบายเรื่องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในภูมิภาคเดียวกันนั้น เกรียงศักดิ์ แสงทอง ประธานกรรมการ อินช์เคป ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้เริ่มส่งสินค้าอาหารอย่างควิกโจ๊ก เครื่องดื่ม และอาหารอื่น ๆ ออกไปขายผ่านสาขาของอินช์แคปที่มีอยู่ต่างประเทศแล้ว

นอกจากนี้อินช์เคปได้มีการกำหนดกลยุทธ์และทิศทางการทำตลาดสินค้าให้เหมือนกันทั่วโลก โดยจะเน้นการรุกตลาดตามกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตสูงที่สุดลงไปหากลุ่มที่มีการเติบโตน้อยที่สุด ซึ่งแบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้คือ 1. กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเร็วที่สุด 2. กลุ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์ 3. กลุ่มอุตสาหกรรม 4. เฮลธ์แคร์ 5. กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เพราะคาดว่าทิศทางการทำตลาดที่กำหนดขึ้น จะช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบการทำตลาดได้ในทิศทางเดียวกัน และยังทำให้รู้ถึงความเติบโตของสินค้าในแต่ละประเทศด้วย ดังนั้นกลุ่มบริษัทอินช์เคปในภูมิภาคอาเซียนจะเน้นการทำตลาดให้โตไปพร้อม ๆ กันทุกประเทศ ปัจจุบันนี้มีเพียงสิงคโปร์และไทยเท่านั้นที่เป็นตลาดที่ใหญ่ของอินช์แคปในภูมิภาคนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us