Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 ธันวาคม 2549
เบื้องลึกคุมบาท-อังคารทมิฬ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Stock Exchange




“อังคารทมิฬ” บทเรียน แบงก์ชาติละเลยสมคบกันปล่อยเงินบาทแข็งซ้ำเติมด้วย “หม่อมอุ๋ย” ต้นเหตุชี้นำค่าเงินจนเกิดการเก็งกำไร มาตรการแบงก์ชาติกลับไปกลับมาผิดพลาดจนหมดความน่าเชื่อถือ แฉเบื้องหลังสกัดค่าเงินโหดแบงก์ชาติหมกเม็ดกลบขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จี้รมว.คลังและผู้ว่า ธปท.เปิดเผยข้อมูล รับผิดชอบและต้องลาออก

ภายหลังจากเย็นวันที่ 19 ธันวาคม ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินทุนที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี ก็ได้ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงเพิ่มขึ้น 69.41 จุดมาอยู่ที่ 691.45 จุด รับข่าวดังกล่าว แต่ได้ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าความเสียหายในวัน “อังคารทมิฬ”นั้นมีเบื้องหลังอะไรและใครควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินชี้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่องจากการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่บริหารจัดการค่าเงินบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนเป็นผลทำให้ต้องใช้มาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินด้วยวิธีที่รุนแรงในที่สุด

มูลค่าตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ถึง 1.5 ล้านล้านบาท ในปีหนึ่งๆจะมีการเปลี่ยนถ่ายมือกันประมาณถึง 1.1 ล้านล้านบาท นักลงทุนต่างชาติเป็นสัดส่วนที่มีความสำคัญอย่างมาก อดังนั้นการใช้มาตรการหักเงินลงทุนเอาไว้ร้อยละ 30 ฝากเอาไว้โดยไม่ได้รับผลตอบแทนถึง 1 ปี และหากถอนก่อนก็จะต้องหัก 1 ใน 3 ของเงินทุนสำรองคืนได้ทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความลังเลเป็นอย่างมาก

มาตรการรุนแรงที่ตัดสินใจเมื่อเย็นวันที่ 18 ธันวาคม และนำมาใช้วันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมาดัชนีตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงไปถึง 108.41 จุด ดัชนีปิดที่ 622.14 จุด ปริมาณการซื้อขายมีถึง 72,131.55 ล้านบาท โดยต่างชาติเทขายถึง 25,000 ล้านบาท เป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี ทำให้นักลงทุนต้องเทขายขาดทุนวันเดียวเกือบ 20,000 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศเทขายกว่า 25,000 ล้านบาท และทำให้มาร์เก็ตแค็ปหายไปจากตลาดหุ้นไทยกว่า 800,000 ล้านบาท จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการวันที่ 19 ธันวาคมนั้นมีคนที่ได้รับความเสียหายจากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนมาก

แม้มื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล จะได้อ้างว่าหลังจากยกเลิกมาตรการสำรองร้อยละ 30 แล้ว ไม่มีความเสียหายเพราะมาร์เก็ตแคปได้เพิ่มขึ้นมา 500,000 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงแล้วความเสียหายก็ยังไม่สามารถเยียวยาให้เหมือนเดิมได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนที่ได้ผลประโยชน์จากการยกเลิกมาตรการ กับคนที่ได้เสียหายไปก่อนยกเลิกมาตรการสกัดค่าเงินบาทเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทในเย็นวันเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าการขาดทุนของนักลงทุนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมนั้นเป็นประโยชน์ต่อใคร และจะมีมาตรการอะไรที่จะทำให้สกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทต่อไปในอนาคตได้

เบื้องหลังแบงก์ชาติทำค่าเงินบาทแข็งเอง

ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรากฏว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไปทำการ “กู้ยืมเงิน” และ “ทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศ” กับสถาบันการเงินต่างประเทศ ในปี 2545 4,032 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2546 2,269 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2547 อีก 3,065 ล้านเหรียญสหรัฐ

รวมมูลค่า 3 ปีตั้งแต่ปี 2545 ถึง ปี 2547 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไปทำการกู้ยืมเงินและทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศทั้งสิ้น 9,366 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีส่วนเป็น “ผู้เล่น” ในการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศและมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังปรากฏชัดเจนในการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศที่ผิดปกติเป็นผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมา โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีจาก 53,834 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายมาเป็น 62,302 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 8,468 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16

การแข็งค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีถือได้ว่ามีความผิดปกติ นั่นคือเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 14.0, เงินวอนของเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 8.0, เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.8, เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.3 , ในขณะที่ประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันเงินริงกิตก็ยังแข็งค่าขึ้นเพียงแค่ร้อยละ 4.0 จากการเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนเพียงอย่างเดียวหากแต่เกิดจากการเก็งกำไรอีกด้วย

การแข็งค่าครั้งนี้สาเหตุหลักไม่ได้มาจากดุลการค้าหรือจากภาคบริการการท่องเที่ยวที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึงเดือนกันยายนเพียง 484 ล้านเหรียญสหรัฐ หากแต่รายการหลักที่ผลมากที่สุดก็คือ “เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ” ตั้งแต่ต้นปีที่ไหลเข้าประเทศถึง 7,300 ล้านดอลลาร์

ส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือการลงทุนจากต่างประเทศในหลักทรัพย์ อีก 4,476 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติจากปีที่แล้วประมาณ 2 เท่าตัว โดยส่วนหนึ่งมาลงทุนในพันธบัตรของไทยที่ให้อัตราผลตอบแทนถึงร้อยละ 4.7 -4.8 ในขณะที่พันธบัตรดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้ผลตอบแทนเพียงร้อยละ 4.5- 4.6 อีกส่วนหนึ่งก็ไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ และส่วนสำคัญอีกส่วนก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้น โดยการลงทุนเหล่นี้หวังผลในเรื่องอัตราผลตอบแทนทั้งจากดอกเบี้ย การปันผล และการเก็งกำไรจากค่าเงินบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปล่อยปละละเลยในเรื่องของค่าเงินบาทมาเป็นเวลานานจนทำให้ต้องตัดสินใจใช้มาตรการรุนแรงในที่สุด

ทำบาทให้อ่อนเพื่อกลบการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

ภายหลังค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ได้ทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากและได้ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลค่าเงินบาทมิให้แข็งค่าเกินไป เพราะจะทำให้การส่งออกไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งทุกประเทศ

แต่ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งก็จะมีบางกลุ่มได้ผลประโยชน์ในเวลาเดียวกัน ได้แก่กลุ่มที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีหนี้ต่างประเทศ และกลุ่มที่ขายหุ้นเพื่อให้ได้เงินเหรียญสหรัฐที่มากขึ้น อันรวมถึงผู้ถือหุ้นชินคอร์ปก็ได้ผลประโยชน์ที่เป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปในปี 2548 และปี 2549 ซึ่งปรากฏในคำสัมภาษณ์ความตอนหนึ่งของ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ว่า

“แบงก์ชาติได้ติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และยังมีมาตรการที่ออกมาอย่างต่อเนื่องหลังเข้าไปดูแลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ที่มีการเก็งกำไรอย่างหนัก”

ข้อความดังกล่าวทำให้วิเคราะห์ต่อได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำธุรกรรมบางอย่างในการแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วง ปี 2548 และ ปี 2549 ให้อ่อนค่าลง แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแข็งค่าเงินบาทได้ และอาจจะทำให้การแทรกแซงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขาดทุนหากไม่สามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ แต่เมื่อปรากฏว่าการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่สามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนได้สำเร็จ จึงเชื่อได้ว่าการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีการขาดทุน

ประกอบกับในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ที่สถานีโทรทัศน์เอเสทีวี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมานายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ทวงถามให้เปิดเผยข้อมูลแสดงผลการกำไรหรือขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินบาท ก็ยิ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศต้องรีบหามาตรการรุนแรงบางอย่างเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างฉับพลันเพื่อกลบเกลื่อนการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

“นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้เสนอให้ควบคุมเงินทุนไหลเข้าใน 2 วิธี จึงได้มีผู้ใหญ่สั่งการให้ใช้มาตรการรุนแรงด้วยการหักสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 30 แทนที่จะใช้วิธีให้นักลงทุนที่ขนเงินเข้ามาในเมืองไทยต้องซื้อป้องกันความเสี่ยงร้อยละ 50 เพื่อทำให้นักลงทุนค่อยๆปรับตัว” ผู้เชี่ยวชาญการเงินกล่าว

อุ๋ย ส่งสัญญาณค่าเงินแข็งให้นักเก็งกำไร

นักวิเคราะห์ทางการเงินรายหนึ่งให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องตรงที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาในรอบหลายปี และปล่อยให้ค่าเงินบาทถูกเก็งกำไรจนแข็งค่าอย่างผิดปกติมาตั้งแต่ต้นปีและไม่มีสติปัญญาแก้ไขปัญหานี้จนกลายเป็นปัญหาเกิดวิกฤติ “การเก็งกำไรค่าเงินบาท” ในตอนปลายปี


ส่วนกระทรวงการคลังก็ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงต่อมาก็ตรงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ออกมาให้สัมภาษณ์ “ส่งสัญญาณว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น” ในปีหน้า ทำให้มีการนำเงินตราต่างประเทศไหลทะลักเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างฉับพลันทันที โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธรได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาว่า:

“ในปี 2550 ค่าเงินบาทยังคงปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปี 2549 โดยสาเหตุเกิดจากความกังวลของนักลงทุนต่างชาติที่กลัวว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐจะปรับตัวอ่อนลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จึงเคลื่อนย้ายเงินทุนจากสหรัฐเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งให้ผลตอบแทนดีที่สุด”

“ผมได้แจ้งให้ผู้ประกอบการรับมือค่าเงินบาทแข็งมาตลอดโดยรายใหญ่ได้ทำใจไว้แล้ว ยกเว้นผู้ประกอบการส่งออกรายเล็กรายย่อยที่ยังต้องปรับตัวกับความเสี่ยงมากขึ้น”

นี่คือคำพูดที่ออกจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการชี้นำค่าเงินบาทล่วงหน้า ทำให้เกิดการเก็งกำไรอย่างฉับพลัน

“ค่าเงิน” “ดอกเบี้ย” “ภาษี” เป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อน จะออกรายงานหรือออกจากปากของนักวิเคราะห์ที่ไหนก็ได้เพราะเป็นเพียงการวิเคราะห์และคาดการณ์ของแต่ละบุคคลและแต่ละสำนักวิจัยเท่านั้น แต่ไม่สมควรอย่างยิ่งจะถูกชี้นำและออกจากปากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะจะทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ในที่สุด

เช่นเดียวกันกับนักลงทุนต่างชาติที่เชื่อสัญญาณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เร่งลงทุนในการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยทันที บางส่วนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดพันธบัตรที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรสหรัฐอเมริกา เพราะเหตุนี้เงินตราต่างประเทศจึงถาโถมเข้าประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทจำนวนมหาศาลตั้งแต่วันศุกร์ต่อเนื่องมาจนถึงวันจันทร์ที่ผ่านมา

คำถามคาใจ 6 ช่วงเวลาใครได้ประโยชน์ค่าเงินบาทและหุ้น

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่ายังมีเหตุการณ์อีกหลายช่วงเวลาที่น่าสงสัยว่าจะมีคนรู้ข้อมูลในการแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องค่าเงินบาทและราคาหุ้นหรือไม่

ช่วงเวลาระหว่างปี 2545-2547 การ”กู้ยืม” และการซื้อเงินตราต่างประเทศช่วงระหว่าง ปี 2545-2547 ถึง 9,366 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นเป็นการทำธุรกรรมประเภทใดและจำนวนเท่าใด กำไรหรือขาดทุนเท่าใด และการกระทำดังกล่าวได้ส่งผลทำให้เกิดการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศจนค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เหตุใดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจนเกิดปัญหาต่อการส่งออก มีใครได้ประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่

ช่วงเวลาในปี 2548-2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการแทรกแซงทำให้ค่าเงินบาทหรือไม่ จำนวนเท่าใด และขาดทุนหรือกำไรเท่าใด?

วันที่ 14 ธันวาคม 2549 เหตุใด ม.ร.ว.ปรีดียาธร ตัดสินใจส่งสัญญาณค่าเงินบาทแข็งในปีหน้าอันเป็นเหตุทำให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้ต้องออกมาตรการรุนแรงจนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นต้องขาดทุนจำนวนมหาศาล มีใครได้ประโยชน์หรือไม่?

ช่วงเวลาวันที่ 19 ธันวาคม 2549 การออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร เหตุใดราคาหุ้นจากติดลบ 145 จุด มาปิดตลาดที่ 108 จุด ในเวลาช่วงบ่ายมีคนรู้ข้อมูลภายในในการที่จะยกเลิกมาตรการสกัดการเก็งกำไรหรือไม่ และมีใครทีได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทและราคาหุ้นจากการรู้ข้อมูลภายในหรือไม่?

ช่วงกลางคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ภายหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกมาตรการสกัดการเก็งกำไร ในเช้าวันรุ่งขึ้นมีใครได้ประโยชน์จากการเทขายหุ้นที่ได้ช้อนซื้อจากวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เพราะรู้ข้อมูลภายในหรือไม่?

และการกระทำที่กลับไปมาอันเป็นผลทำให้ต้องมีผู้เสียหายเกิดขึ้นแบบเหมารวมเช่นนี้ สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศอย่างซีเอ็นบีซีให้ความเห็นว่า เป็นมาตรการที่ขาดความรู้และการตัดสินใจที่มีความเชี่ยวชาญ และทำให้เกิดปัญหาความน่าเชื่อถือถึงความสามารถในการบริหารเงินอย่างรุนแรง โดยเฉพาะรัฐบาลชุดนี้มาจากการัฐประหารแต่กลับใช้คำสั่งกลับไปกลับมาและออกนโยบายที่ขาดความเป็นมืออาชีพก็ยิ่งทำให้นักลงทุนเกิดความระแวงในการลงทุนประเทศ และยังไม่มีการยืนยันว่าจะมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทต่อไปหรือไม่

“การจะดึงความเชื่อมั่นให้กลับมาได้นั้นอย่างน้อยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้มีความโปร่งใส และสมควรจะต้องลาออกแสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us