Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"จักรพันธุ์ ยมจินดา ชีวิตที่ผกผันเพราะอ่านประกาศ รสช. 2 ฉบับ"             
 


   
search resources

จักรพันธุ์ ยมจินดา




"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ..... "

เสียง จักรพันธุ์ ยมจินดา บรรณาธิการข่าวช่อง 7 สีทีวีเพื่อคุณ นั่งอ่านประกาศฉบับประวัติศาสตร์ของตัวเขาและประเทศไทยอย่างชัดถ้อยชัดคำ เป็นช่วงเวลาที่คนไทยทั่วไปขนานนามให้ว่า พฤษภาทมิฬ (2535)

จากที่เขาเป็นผู้ที่คุ้นหน้าคุ้นตาของคนทั้งประเทศ ยิ่งเฉพาะตำแหน่งบรรณาธิการข่าวช่อง 7 ที่เรตติ้งสูงสุดขณะนั้นด้วยแล้ว ผู้คนย่อมเชื่อถือเป็นธรรมดา แต่ใครคงไม่หยั่งลึกว่า แค่กระดาษ 2 ใบที่จักรพันธุ์อ่านไปในเดือนพฤษภาคมปีนั้น ได้ทำให้ชีวิตลูกผู้ชายเช่นเขาพลิกทั้งชีวิตอย่างที่เจ้าตัวยากจะลืมเลือน

เขาเดินออกจากกองกำลังรักษาพระนครมาที่ช่อง 7 สิ่งแรกเลยที่เขาคิดในช่วงนั้น คือ ลาออกอย่างเดียว เพราะเขาคิดว่านี้คือความหมายของความรับผิดชอบหรือแสดงความว่าเขาไม่ได้เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาได้อ่านไป แล้วก็เป็นอย่างที่เขาต้องการ

"ผมเคว้งอยู่พักนึงเลยหลังจากนั้น ยังไม่รู้จะทำอะไร ต่อมามีพรรคการเมืองติดต่อให้ลงสมัคร ส.ส. หลายพรรค และปฏิเสธไปทุกพรรค พอวันนึงเพื่อนที่ระยองซึ่งเป็นประธานหอการค้า และเรียนหนังสือที่ระยองมาด้วยกัน มาพร้อมคุณสุรพงศ์ ประธานพรรคประชาธิปัตย์ แวะมาหาที่บ้านที่กรุงเทพฯ ท่านนั่งกล่อมผมอยู่ครึ่งวัน ไป ๆ มา ๆ ก็เลยลองดูเพราะใจชอบพรรคนี้เป็นทุนอยู่แล้ว แต่บอกได้เลยว่าไม่เคยคิดว่าจะมาเล่นการเมืองและไม่ได้เตรียมตัวทั้งกายทั้งทรัพย์สินเลย ตั้งใจไว้แต่เด็กว่าจะทำงานพากย์หนังอยู่อย่างเดียว" จักรพันธุ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท พ้อยต์ออฟวิว เล่าความให้ฟัง

13 กันยายน 2535 การเลือกตั้งทั้งประเทศคึกคักมากยิ่งกับระยองถิ่นของจักรพันธุ์ด้วยแล้ว กระแสนิยมของชาวบ้านได้มอบให้เขาถึง 107,926 คะแนน ซึ่งถือเป็นอันดับ 16 ของคะแนน ส.ส. ทั้งประเทศไทยช่วงนั้น และโชคไม่ดีสำหรับเพื่อนร่วมทีม 2 คนของเขา เพราะสอบตก

6 เดือนแรกที่เขาได้เข้ามาทำงานเป็น ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร เขายอมรับว่าทำงานอะไรไม่ถูกเลย สิ่งหนึ่งที่เขานึกถึงอย่างเดียวคือ อยากแก้ ก.ม. เกี่ยวกับสื่อมวลชน เพราะความที่เป็นนักสื่อสารมวลชนตั้งแต่อยู่ช่อง 3 แล้วในช่วงเริ่มต้นชีวิตและก็ช่อง 7 ในช่วงล่าสุด ฉะนั้นเมื่อเริ่มรู้ลู่ทางว่าจะเริ่มอย่างไรและทำอย่างไรแล้ว การเสนอให้มีการยกเลิก ปร. 15 ปร. 17 คือชิ้นแรกที่เขาทำ โดยยื่นเข้าสภาเมื่อ 7 ตุลาคม 2535 แต่เพิ่งผ่านรวดทั้ง 3 วาระหลังจากที่เขาเป็นผู้แทนไปแล้ว 2 ปี

และด้วยประสบการณ์จากการอ่านข่าวกีฬาจากช่อง 3 และอ่านข่าวที่ช่อง 7 ทำให้เขาอยากเข้าไปดูกีฬา จนได้เป็นกรรมาธิการกีฬา และต่อสู้เรื่องกีฬามาตลอด พูดได้ว่า ช่วงของเขาคือช่วงที่การกีฬาถูกตรวจสอบมากที่สุดยุคหนึ่งของไทยเลยทีเดียว

"แต่เมื่อผมเริ่มจับทางได้ มันก็เริ่มท้อ คิดว่าเราไม่เหมาะกับการเมือง ก็พูดกับคนในพรรคว่าคงเล่นสมัยเดียว ไปที่ไหนก็พูดเช่นนี้" จักรพันธุ์กล่าวพร้อมกับถอนหายใจเฮือกใหญ่ เหมือนว่ามีอะไรที่หนักมากที่คนจริงเช่นเขายังรับไม่ได้

ว่ากันว่า เรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกินกำลัง ส.ส. สมัยแรกเช่นเขาจะรับผิดชอบได้ ทั้งยังฤดูเด็กฝาก หรือฤดูทางสังคมต่าง ๆ ในช่วงนั้น ยังไม่นับปัญหาชาวบ้านอีกร้อยแปดพันเก้าที่ฝากความหวังไว้กับเขา

จนกระทั่งความรู้สึกและจิตใจรับไม่ไหว และประกอบกับเกิดเหตุวิกฤตศรัทธารัฐบาลชวน หลีกภัย จากกรณี ส.ป.ก. 4-01 จนมีการยุบสภากันต่อมา การลาออกจากการเป็น ส.ส. ของจักรพันธุ์เป็นไปอย่างที่ตั้งใจ แม้จะถูกทัดทานจากผู้ใหญ่ในพรรคหลายท่านก็ตาม

2 ปี 8 เดือนในชีวิต ส.ส. จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขายากจะลืมเลือน

แต่จักรพันธุ์ก็ยังวนเวียนช่วยงานให้พรรคอีกระยะหนึ่งและด้วยวิญญาณนักพากย์ นักอ่านข่าวฝังในส่วนลึกของเขา ทำให้ร้อนวิชา จึงวิ่งไปที่ช่อง 3 ที่ที่เขาคิดว่าพอมีศักยภาพสำหรับเขา แต่ผู้ใหญ่ช่อง 3 ได้ให้เขาลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองก่อน ซึ่งด้วยความที่ตั้งใจจริงแล้วว่าจะเลิกการเมือง จึงไม่มีปัญหา และได้ทำงานอ่านข่าวเป็นตัวหลักของช่อง 3 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 38 เป็นต้นมา

ด้วยประสบการณ์และเวลาที่พอจะมีทำให้เขาคิดที่จะเป็นเจ้าของของตนเอง จึงฟอร์มทีมงานขึ้นชุดหนึ่ง ในชื่อ "บริษัท พ้อยต์ออฟวิว จำกัด" ด้วยความช่วยเหลือของผู้ใหญ่คนหนึ่ง

เป็นบริษัทผลิตรายการทุกอย่าง "ร็อคสปอร์ท" (8.30-9.00 เสาร์ช่อง 5) คือรายการกีฬาเดียวขณะนั้นที่บริษัททำได้ ซึ่งช่วงนั้นจักรพันธุ์ก็ไม่ได้มาลงแรงอย่างเต็มที่ เพราะรับงานพากย์หนังพากย์ละคร อ่านสปอตไปพร้อมกับอ่านข่าวด้วย จนรายการขาดทุนเขาจึงตัดสินใจทิ้งงานพากย์ลงมาช่วยบริษัทเต็มตัว และเปลี่ยนเป็นรูปแบบรายการใหม่ชื่อ "ไลฟ์ทอล์ค" ในเวลาเดิม ชีวิตการทำงานของเขาจึงเป็น 2 เวลาคือ ครึ่งวันเช้าอยู่ที่บริษัทและช่วงบ่ายเข้าอ่านข่าวที่ช่อง 3

"ผ่านไป 2 เดือนจากรายการที่ขาดทุนอยู่ก็เริ่มมีกำไรบ้างแม้โฆษณาจะยังไม่เต็มก็ตาม" จักรพันธุ์เล่า

สำหรับคอนเซ็ปต์รายการไลฟ์ทอล์คที่จักรพันธุ์คิดขึ้นนั้นเป็นการสัมภาษณ์คนร้อน เรื่องร้อนในแต่ละสัปดาห์ ช่วงแรกพิธีกรคือตัวเขาจะเป็นคนถาม ช่วงหลังเปิดให้สายทางบ้านโทรเข้ามาถามแขกที่เชิญมา

ถึงแม้ว่ารูปแบบรายการดูจะคล้ายรายการอื่น ๆ ที่มีอยู่บ้างแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้อยู่ที่ประเด็นและบุคคลที่มาร่วมรายการและรวมทั้งการเปิดสายให้ทางบ้านได้โทรเข้ามาถามอย่างทันทีทันใด แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เป็นจุดสนใจเพียงพอเมื่อดูจากโฆษณาที่เข้ามาเพราะเวลาที่เขาได้มานั้นมันคือเวลาซึ่งเด็กจะตื่นมาดูการ์ตูน ขณะที่ผู้ใหญ่ก็ยังหลับเต็มที่หลังจากทำงานมาทั้งอาทิตย์ ฉะนั้นเพื่อความอยู่รอดเขาจะต้องโปรโมตรายการตนเองให้มากและต้องไขว่คว้าเวลาที่เหมาะสมกว่านี้

"ตอนนี้ผมยังไม่อยากทำอะไรมาก ต้องการทำอะไรให้มั่นคงก่อนเป็นงานแรก เมื่อเป็นดังที่ตั้งใจไว้ต่อไปก็คงทำอะไรมากขึ้น ทั้งผลิตสื่อ อาทิ ผลิตภาพยนตร์สารคดี สไลด์มัลติวิชั่นหรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศักยภาพของบริษัทเราคิดว่าทำได้เพราะเราพร้อมทุกฝ่ายอยู่แล้ว ฉะนั้นช่วงแรกนี้คงเป็นช่วงสร้างความมั่นคงก่อน แล้วจากนั้นค่อยมาว่ากันใหม่"

ส่วนการร่วมเป็นพันธมิตรกับเจ้าใหญ่เพื่ออาศัยฐานและช่องทางเติบใหญ่นั้น จักรพันธุ์กล่าวว่า

"ทุกวันนี้ ตลาดผลิตรายการ เป็นไปลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็ก หากบริษัทเราเล็ก ๆ มันก็จะถูกกลืนด้วยบริษัทใหญ่ ๆ มีทุนหนามาก ๆ แต่ผมคิดว่าถ้าเราบริหารงานเป็นมันก็ไปรอดโดยไม่ต้องพึ่งรายใหญ่ ๆ ได้เหมือนกัน ฉะนั้นผมจึงใช้สไตล์การทำงานแบบเพลย์เซฟ นั่นคือให้มีกำไรก่อนแล้วเรื่องอื่นค่อยมาว่ากัน"

แม้ว่าเขาแสดงถึงความไม่ประมาทในการดำเนินงาน แต่ประโยคสุดท้ายที่ว่า

"ตนเองไม่ห่วงเรื่องงานโปรดักชั่นเพราะถนัด แต่เป็นห่วงเรื่องเดียวคือการตลาด" นี้นับว่าเป็นประโยคที่น่ากลัวเหมือนกัน สำหรับอนาคตพ้อยต์ออฟวิวของเขาหากทำไม่ได้ในเรื่องหลังแต่อีกนัยหนึ่ง เมื่อเขามั่นใจเรื่องรูปแบบรายการของเขาละก็นั่นก็น่าจะถือว่าเป็นความสำเร็จได้เปราะหนึ่งแล้ว

รอเพียงได้เวลาที่เหมาะสมในการออกอากาศเท่านั้น และเมื่อการตลาดเขาทำได้บวกกับเวลาที่เหมาะสมและรูปแบบรายการแน่น คำว่า "เสี่ยจักรพันธุ์" ก็คงจะไม่หนีไปจากเขาในอนาคต เช่นเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นกับพิธีกรหรือนักพากย์หรือนักอ่านข่าวมาแล้วหลายคนในบ้านเรา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us