Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ธันวาคม 2549
นักวิเคราะห์ต่างชาติข้องใจผู้นำศก.ไทย             
 


   
search resources

Economics




ตลาดแถบเอเชียพากันหล่นฮวบวานนี้(19) เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกที่หุ้นไทยตกวินาศสันตะโร ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเข้มควบคุมเงินทุนไหลเข้า ซึ่งชวนให้หวนระลึกถึงวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อปี 1997 ทางด้านนักวิเคราะห์มองด้วยว่า มาตรการดังกล่าวแม้อาจชะลอการพุ่งแข็งค่าของเงินบาทและช่วยเหลือผู้ส่งออก ทว่าความเสียหายของตลาดหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น ทำให้ยิ่งเพิ่มความข้องใจเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำทางเศรษฐกิจของไทยในยุคหลังรัฐประหาร

มาตรการคุมเข้มของ ธปท.ซึ่งมุ่งสกัดการแข็งค่าขึ้นอย่างมากของเงินบาทนั้น กลับทำให้เกิดความตกตะลึงในทั่วทั้งภูมิภาค และส่งผลให้มีการเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างหนักหน่วง อีกทั้งแพร่ความรู้สึกย่ำแย่ไปสู่ตลาดอื่นๆ ในเอเชียด้วย

ในบรรดาตลาดของประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น ดัชนีราคาหุ้นของตลาดกัวลาลัมเปอร์ดิ่งลง 1.96% ขณะที่อินโดนีเซียทรุด 2.85% ด้านราคาหุ้นที่สิงคโปร์ร่วง 2.2% ส่วนตลาดหุ้นมุมไบของอินเดีย ดัชนีฮวบ 2.54% และดัชนีหุ้นของฮ่องกง ปิดตลาดลดลง 1.19%

สำหรับดัชนีนิกเกอิของตลาดโตเกียวตกลงมา 1.09% ส่วนตลาดมะนิลาลด 0.98% และตลาดโซลหายไป 0.38% โดยบรรดาโบรกเกอร์กล่าวว่า ภาวะความปั่นป่วนในตลาดหุ้นไทย ทำลายความหวังของนักลงทุนที่ลุ้นให้หุ้นกลับดีดตัวขึ้นสูงในช่วงสิ้นปี

เคนนี ถัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ตุงไถ่ในฮ่องกงกล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นเอเชียดิ่งลงเช่นนี้ ถือเป็นปฏิกิริยาตอบโต้อย่างอัตโนมัติต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย

"มันเป็นผลกระทบแบบติดเชื้อโรคมาจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ประกาศโดยรัฐบาลไทย" เยห์คิมเลง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่ง อาร์เอเอ็ม คอนซัลแทนซี เซอร์วิเซส ในมาเลเซีย ให้ความเห็น "มันส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ"

นักวิเคราะห์หลายคนมองด้วยว่า หุ้นเอเชียจำนวนมากยังกำลังอยู่ในภาวะรอการปรับฐานอยู่แล้ว หลังจากดัชนีหุ้นสำคัญพากันทะยานไปซื้อขายกันที่ระดับสูงสุดหรือเกือบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบระยะเวลาหลายๆ ปี นอกจากนั้นดีลเลอร์ชี้ว่า จากการที่เหลือเวลาตลาดเปิดทำการอีกเพียง 3 วัน ก่อนปิดช่วงเทศกาลคริสต์มาส เหล่านักลงทุนจึงยิ่งรู้สึกว่าควรต้องเทเขายออกไปก่อนดีกว่า

ข้องใจความสามารถของผู้นำเศรษฐกิจไทย

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การประกาศใช้มาตรการคุมเงินทุนไหลเข้าของธปท.คราวนี้ ทำให้พวกนักลงทุนเซอร์ไพรซ์กันมาก จนส่งผลต่อราคาหุ้นและพันธบัตรอย่างหนักหน่วง อีกทั้งทำให้พวกนักวิเคราะห์รู้สึกข้องใจสงสัยว่า ทำไมแบงก์ชาติจึงคิดใช้มาตรการอันเข้มงวดรุนแรงถึงขนาดนี้

"พูดกันตรงๆ แล้ว ถ้าคุณเจอตลาดหุ้นถูกเทขายอย่างหนักหน่วงภายในวันเดียว สืบเนื่องจากการออกมาตรการทางนโยบายอย่างหนึ่งแบบนี้แล้ว ผมคิดว่าตลาดจะต้องตั้งคำถามต่อคณะผู้นำ มันเป็นธรรมดาที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" ชาฮับ จาลินูส นักยุทธศาสตร์ด้านค้าเงินตราแห่งธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ของเนเธอร์แลนด์ ประจำสิงคโปร์ ให้ความเห็น

การใช้มาตรการเพื่อมุ่งคุมค่าเงินบาทเช่นนี้ของธปท. ถือเป็นมาตรการอย่างที่ 3 แห่งนับแต่เดือนพฤศจิกายน หลังจากถูกกดดันจากพวกผู้ส่งออก ซึ่งร้องทุกข์ว่าเงินบาทที่แข็งโป๊กจะทำให้พวกเขาต้องขาดทุนล้มละลาย ต้องปลดคนงาน และสูญเสียตลาดให้แก่คู่แข่งที่เป็นผู้ส่งออกในเอเชียอื่นๆ

"มันบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกเขารู้สึกวิตกเกี่ยวกับด้านความสามารถในการแข่งขัน(กับผู้ส่งออกของชาติอื่นๆ) แต่มันก็เหมือนกับการเทยาฆ่าวัชพืชไปจนทั่วทั้งสนามหญ้าของคุณ คุณฆ่าหญ้าตายไปด้วยนะ" จาลินูสกล่าวต่อ

เช่นเดียวกับ ศรียัน ปีเตอร์ซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของเจพีมอร์แกน ซึ่งกล่าวกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ว่า มาตรการล่าสุดของธปท. "มันก็เหมือนการฆ่ามดด้วยค้อน" พร้อมเสริมต่อว่า "มาตรการดังกล่าวน่าจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้บรรลุเป้าหมายได้ ในการลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดผลในวงกว้าง เพราะจะส่งผลกระทบไปถึงนักลงทุนหลักทรัพย์ด้วย"

และเมื่อคำนึงว่าไทยเพิ่งเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจมาไม่นานมานี้ รวมถึงแนวโน้มในอนาคตของรัฐบาลก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถกลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตยภายใน 1 ปีได้หรือไม่ บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า คงจะมีนักลงทุนต่างชาติไม่มากนักที่จะยอมนำเงินเข้ามาลงทุน โดยที่จะต้องคงเอาไว้อย่างน้อย 1 ปี ตามที่มาตรการใหม่บังคับไว้

ปีเตอร์ซชี้ต่อไปว่า "ไทยเป็นชาติที่เพิ่งมีการรัฐประหาร คุณจึงไม่สามารถวางใจได้อย่างสิ้นเชิงว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ควรเป็นจริงๆ ถ้าเป็นคุณ คุณจะเอาเงินมาเสี่ยงนานถึง 1 ปีหรือเปล่า"

ทางด้าน เอียน กิสบอร์น ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแห่งบริษัทหลักทรัพย์ภัทระ ก็บอกกับไฟแนนเชียลไทมส์ว่า มาตรการดังกล่าวยังสร้างปัญหาปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับพวกนักลงทุนต่างชาติที่มุ่งมาลงทุนโดยตรงในไทยด้วย หลังจากที่พวกเขาก็ต้องกุมขมับอยู่แล้ว จากการที่รัฐบาลไทยแสดงทีท่ามีแผนการทบทวนกฎหมายการลงทุนของต่างชาติอันไม่ค่อยชัดเจนของประเทศ และในภาวะแบบนี้ ก็อาจบังคับให้นักลงทุนโดยตรงเหล่านี้ตัดสินใจเทขายทรัพย์สินในไทยที่ถือครองอยู่ออกไป

อย่างไรก็ตาม ในบทบรรณาธิการของไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวานนี้ ได้แสดงความเห็นว่า มาตรการล่าสุดในการควบคุมเงินทุนไหลเข้าของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนโยบาย "เลวร้ายน้อยที่สุด" ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน พร้อมกับเสนอว่า หนทางในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนนั้น เอเชียต้อง "ขจัดการบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคแถบนี้" โดยเฉพาะค่าเงินที่ต่ำเกินจริงของจีน

แบงก์ชาติมาเลย์ยันไม่เปลี่ยนนโยบาย

จากความเคลื่อนไหวของไทย ยังทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดผวาว่า ชาติอื่นๆ ในเอเชียจะเดินตามอย่างหรือไม่ ทำให้มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่ใช้มาตรการควบคุมเงินทุนอย่างเข้มงวด ในช่วงเกิดวิกฤตเอเชียปี 1997 ต้องรีบออกมาแถลงว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆทั้งสิ้น

"ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางมาเลเซียได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีตลาดการเงินและบัญชีทุนเป็นระยะๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตลอด และทิศทางของนโยบายนี้จะดำเนินต่อไปเช่นเดิม" แบงก์เนการา หรือธนาคารกลางของมาเลเซียระบุในคำแถลงวานนี้

ด้านรองนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ก็ออกมากล่าวว่า เขามั่นใจมากว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทย ไม่น่าจะส่งผลกระทบร้ายแรงจนเกิดเป็นวิกฤตการเงินทั่วภูมิภาคดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990

"เราเรียนรู้จากบทเรียนในอดีตมาแล้ว และขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานต่างๆของมาเลเซียก็มีความแข็งแกร่งมาก" เขาบอก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us