Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"คนกรุงเทพฯ ไม่ต้องการเมืองใหม่"             
 

   
related stories

"อีกกี่สิบปี เมืองใหม่ไทยก็ยังไร้วี่แวว"
"ความฝันที่ไร้ปลายทางของชาวท่าตะเกียบ"

   
search resources

Bangkok
Knowledge and Theory




ชี้ทางออกของกรุงเทพฯ ในสายตาชนชั้นกลาง

Mis Business Poll สำรวจทัศนคติของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่มีต่อวิกฤติการณ์และทางออกของกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มสำรวจแบบบังเอิญ กระจายตามแนวถนนหลักต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ ถนนสุขุมวิท สีลม สาธร พหลโยธิน พุทธมณฑล บางนา-ตราด ทำการสำรวจในช่วงวันที่ 4-13 กันยายน 2538 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 372 ตัวอย่าง

ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ 54.3% เป็นกลุ่ม คนทำงานรุ่นใหม่ ที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีช่วงอายุน้อยกว่า 25 ปี 35-44 ปี และ 45 ปี ขึ้นไป คิดเป็น 23.1%, 15.9% และ 5.6% ตามลำดับ ระดับการศึกษาของคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ 55.4% มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รองลงมาเป็นกลุ่มที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็น 35.8% และ 8.9% ตามลำดับ

ด้านอาชีพ ส่วนใหญ่ 79.6% เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ถัดมาเป็นกลุ่มข้าราชการพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และวิชาชีพเฉพาะคิดเป็น 8.1%, 4.8% และ 4.6% ตามลำดับ ในด้านตำแหน่งในองค์กร ส่วนใหญ่ 53.5% เป็นกลุ่มพนักงานทั่วไป รองลงมาเป็นกลุ่มผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และเจ้าของกิจการคิดเป็น 23.9% 16.1% และ 3.5% ตามลำดับ

สำหรับด้านฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจได้ ส่วนใหญ่ 26.1% มีรายได้ครอบครัวอยู่ระหว่าง 15,000-29,999 บาท ถัดลงมา มีรายได้ครอบครัวต่ำกว่า 15,000 บาท, 30,000-49,000 บาทและ 50,000-69,999 บาท คิดเป็น 22.6%, 19.6% และ 11.3% ตามลำดับ

กรุงเทพฯ : ฤาจะสิ้นยุคฟ้าอมรของชาวกรุง

ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่กว่า 75.8% ไม่พึงพอใจต่อการดำเนินชีวิตในกรุงเทพฯ โดยปัจจัยที่สร้างความไม่พึงพอใจ คือ การจราจรติดขัด มลภาวะ/ปัญหาสิ่งแวดล้อมและค่าครองชีพ ทว่าอีก ส่วนหนึ่ง 14.0% ยังมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตในกรุงเทพโดยปัจจัย ที่สร้างความพอใจ คือ ความเจริญ/ความทันสมัย ศูนย์กลางทางธุรกิจ และความสะดวกสบาย

สภาพของกรุงเทพมหานคร ถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองที่มีความเจริญ มีการพัฒนาให้ทันสมัยและมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า แต่ทว่าในความเป็นเมืองใหญ่กรุงเทพฯ ยังมีการเติบโตที่ไร้ทิศทางทำให้การขยายตัวของเมือง อยู่นอกเหนือการควบคุม จนรัฐไม่สามารถที่จะให้บริการขั้นพื้นฐานได้ อย่างทั่วถึงและทันการณ์ จนเกิดปัญหาของเมืองมากมาย ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคุณภาพชีวิต และสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาวะที่ได้อย่างเสียอย่าง เช่นนี้ ได้สร้างบรรยากาศของความจำทน ที่ต้องใช้ชีวิตด้วยเหตุจำเป็น ซึ่งจากการสำรวจความพึงพอใจในการใช้ชีวิตในกรุงเทพของชนชั้นกลางในเมืองพบว่า ส่วนใหญ่ 75.8% ไม่พึงพอใจต่อการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ส่วนอีก 14.0% พึงพอใจกับการใช้ชีวิตในเมืองกรุง และอีก 8.9% ไม่แน่ใจ

ในกลุ่มที่ไม่พึงพอใจต่อการใช้ชีวิตในเมืองกรุงนั้นให้เหตุผล คือ การจราจรติดขัด อันเป็นปัจจัยที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม 26.3% ค่าครองชีพ/ภาวะเงินเฟ้อ 16.7% ปัญหาอาชญากรรม 5.4% และปัญหาความเห็นแก่ตัว/ศีลธรรม 4.1%

ส่วนกลุ่มที่พึงพอใจต่อการใช้ชีวิตในเมืองกรุงพบว่า 19.1% ให้ความพอใจต่อความเจริญ/ทันสมัย 15.7% พอใจกับความเป็นศูนย์กลางทางการค้า/ธุรกิจ 14.6% พอใจกับความสะดวกสบาย 13.5% พอใจ ต่องาน/แหล่งงานที่ดีและมั่นคง และ 12.4% พอใจกับสาธารณูปโภคที่ครบถ้วน

ระบบขนส่งมวลชน : ปัญหาหนักอกของชาวกรุง

วิกฤติการณ์ของกรุงเทพมหานคร ในสายตาของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ พบว่า วิกฤติการณ์ที่ได้รับความสำคัญ 5 อันดับแรก นั้น ปัญหาขาดระบบขนส่งมวลชนมีความตื่นตัวในระดับสูงสุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความเห็นด้วย คิดเป็น 89.6% รองลงมาเป็นปัญหาสุขภาพจิต/ร่างกายแย่ลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม/การคอร์รัปชัน/ทุจริตในเมืองมีมาก ขาดการวางแผนพัฒนาเมือง/ผังเมืองที่ดี คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 89.6%, 89.1% และ 87.8% ตามลำดับ

คงความเป็นกรุงเทพฯ : ทางออกที่ตอกย้ำความล้มเหลวของมหานคร

ทางออกของวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ นั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ยังคงมีความยึดติดอยู่กับวิถีทางเดิม ๆ โดยเห็นความทางออกในการแก้ไขวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ ที่ดีที่สุด คือ การคงความเป็นกรุงเทพฯ ด้วยการปรับเปลี่ยนปัจจัยภายใน โดยดำเนินการขยาย ความเจริญไปสู่รอบนอกของกรุงเทพฯ และลงทุนจัดวางระบบคมนาคม ขนส่งภายในกรุงเทพฯ ใหม่ ส่วนทางออกในการจัดสร้างเมืองใหม่ได้รับความเห็นด้วยในระดับรอง ๆ ลงมา

วิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ ที่มีการสะสมปัญหามานานนับสิบ ๆ ทำให้ปัญหาของเมืองมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่อประชาชนในทุก ๆ ระดับอาชีพต่าง ๆ ความพยายามของรัฐที่หามาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา นั้น ช่วยได้เพียงการบรรเทาปัญหาเท่านั้น ดังนั้นปัญหาของกรุงเทพฯ จึงนับได้ว่าเป็นปัญหาร่วมสมัยที่เป็นปัญหาร่วมกันของชาวกรุงเทพฯ

ซึ่งจากทัศนคติของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ พบว่ามีความต้องการให้แก้ไขวิกฤติการณ์ของเมือง โดยการคงความเป็นกรุงเทพฯ ไว้ โดยพยายามแก้ไขวิกฤตการณ์จากปัจจัยภายในเมือง ด้วยขยายความเจริญไปสู่รอบนอกของกรุงเทพฯ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 89.7% และต้องการให้มีการแก้ไขด้วยการลงทุนจัดวางระบบคมนาคมขนส่งภายในกรุงเทพฯ ใหม่ด้วยคะแนนเฉลี่ย 87.9%

รอง ๆ ลงมา เป็นทางออกที่ประสงค์ให้มีการปรับรูปโฉมของมหานครใหม่ โดยการจัดสร้างเมืองใหม่หรือเมืองบริวารของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ใหม่ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเดียวกัน อันสามารถ รองรับความเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ ลดปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ความหนาแน่นของประชากร ความแออัดของชุมชน ปัญหาการจราจร และช่วยลดแรงกดดันในเรื่องปัญหาสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ โดยการสร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรม เพื่อรองรับโรงงานจากกรุงเทพฯ เป็นแนวทางเมืองใหม่ที่ได้รับความเห็นด้วยสูงสุด ด้วยคะแนนเฉลี่ย 84.5% ถัดมาเป็นการสร้างศูนย์กลางทางธุรกิจ/พาณิชยกรรมใหม่ สร้างศูนย์กลางทางการศึกษาใหม่ และสร้างศูนย์กลางแหล่งที่พักอาศัยใหม่ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 79.7%, 79.5% และ 79.1% ตามลำดับ

ส่วนทางออกในการสร้างเมืองหลวงใหม่นั้น พบว่า เป็นแนวทางที่มีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก และค่อนข้างไม่ได้รับความเห็นด้วย โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความเห็นด้วยในระดับต่ำสุด ด้วยคะแนนเฉลี่ยเพียง 55.4%

ชาวกรุงกว่าครึ่งเปิดใจให้เมืองใหม่

เป็นทางออกของกรุงเทพฯ

หากพิจารณาเจาะลึกถึงความเห็นในเรื่องการจัดสร้างเมืองใหม่ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ พบว่าถึงแม้ว่าการจัดสร้างเมืองใหม่จะได้รับความเห็นด้วยในระดับรอง ๆ ลงมาแต่กลับพบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ 52.7% เห็นว่าทางออกของกรุงเทพฯ โดยจัดสร้างเมืองใหม่มีความเหมาะสม โดยมี 18.3% เห็นว่าทางออกของกรุงเทพฯ โดยการจัดสร้างเมืองใหม่ นั้น ไม่เหมาะสม ส่วนอีก 27.4% ไม่แน่ใจ

ส่วนในด้านช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการจัดสร้างเมืองใหม่นั้น พบว่า ชาวกรุง มีความร้อนใจต่อการแก้ไขวิกฤติการณ์อย่างยิ่ง โดยส่วนใหญ่ 54.9% มีความเห็นว่าการจัดสร้างเมืองใหม่ควรที่จะเริ่มดำเนินการภายใน 1-3 ปี รองลงมาเห็นว่าควรเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ 4-6 ปี และ 7-9 ปี คิดเป็น 34.2%, 4.9% และ 3.3% ตามลำดับ

เมืองใหม่ในฝัน : ภาพสะท้อนของความต้องการ

ภายใต้ความหวังของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่มีต่อวิถีชีวิตที่จะแปรเปลี่ยน เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีความคาดหวังในเมืองใหม่ในฝันอยู่ในระดับสูง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยของความสำคัญอยู่ระหว่าง 72.4-93.9%

ซึ่งพิจารณาในความคาดหวังที่มีต่อเมืองใหม่ในฝัน 5 อันดับแรกนั้น พบว่าชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีความคาดหวังต่อเมืองใหม่ในฝัน ในประเด็นการคมนาคมสะดวก ด้วยระดับคะแนนความสำคัญสูงที่สุดคิดเป็น 93.9% รองลงมาเป็นการคาดหวังในภาวะแวดล้อมที่ดีระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอ สถานศึกษาที่มีคุณภาพ และระบบรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คิดเป็น 93.3%, 93.3%, 92.6 และ 92.6 ตามลำดับ

ทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ : พื้นที่แนวเชื่อมต่อที่ต้องขบคิด

จากแนวคิดในการสร้างเมืองใหม่ เพื่อเป็นเมืองบริวารของมหานคร ที่รองรับการขยายตัวของเมืองโดยสร้างเมืองใหม่เพื่อที่จะทำให้เป็นศูนย์กลางระดับ Matropolis ที่เป็นความพยายามในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ด้วยการจัดสร้างพื้นที่แนวเชื่อมต่อ เพื่อเสริมสร้างที่ขั้วความเจริญในเมืองใหม่ขึ้นมา แทนที่จะต้องมุ่งตรงมาที่มหานครอย่างกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียวอาทิ ศูนย์กลางพานิชยกรรม ศูนย์กลางทางอุตสาหกรรม ศูนย์ราชการ ศูนย์ที่พักอาศัย ฯลฯ

จากการสำรวจ พบว่าชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเหมาะสมในทำเลต่าง ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน โดยอยู่ระหว่าง 52.3-68.7%

ทำเลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อ. บางปะอิน จังหวัดอยุธยา คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสม 68.7% รองลงมา คือทำเล อ. นครชัยศรี จังหวัดนครปฐมเขตลาดกระบัง-มีนบุรี-ลำลูกกา-ตลิ่งชัน อ. กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อ. องครักษ์ จังหวัดนครนายก ด้วย 66.1%, 65.7%, 65.1 และ 61.2 ตามลำดับ

ในการจัดสร้างเมืองใหม่แบบศูนย์ราชการนั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเหมาะสมอยู่ในระหว่าง 10.6-22.8% โดยพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดสร้าง คือ พื้นที่บางปะอิน จังหวัดอยุธยา 22.8% และ อ. นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 19.1%

ในการจัดสร้างเมืองใหม่แบบศูนย์กลางธุรกิจนั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเหมาะสมอยู่ในระหว่าง 13.1-23.6% โดยพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดสร้าง คือพื้นที่ เขตลาดกระบัง-มีนบุรี-ลำลูกกา-ตลิ่งชัน 23.6% และจังหวัดสุพรรณบุรี 23.0%

ในการจัดสร้างเมืองใหม่แบบศูนย์กลางอุตสาหกรรมนั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเหมาะสม อยู่ในระหว่าง 14.6-49.5% โดยพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดสร้าง คือพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการ 49.5% และ อ. เมือง บ้านโพธิ์ บางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา 34.9%

ในการจัดสร้างเมืองใหม่แบบศูนย์กลางที่พักอาศัยนั้นนั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้คะแนนความเหมาะสม อยู่ในระหว่าง 15.3-29.6% โดยพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดสร้างคือพื้นที่ อ. บ้านนา จังหวัดนครนายก 49.5% และ อ. องครักษ์ จังหวัดนครนายก 34.9%

ส่วนในการจัดสร้างเมืองใหม่แบบศูนย์กลางทางการศึกษานั้น พบว่า ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ให้ความเหมาะสม อยู่ในระหว่าง 8.9-27.0% โดยพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดสร้างคือพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก 27.0% และ อ. กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 24.9%

สรุป : คนกรุงกว่า 40% ยังไม่แน่ใจกับเมืองใหม่

ในทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ นั้น แม้ว่าภาพลักษณ์ของความต้องการของชนชั้นกลางของกรุงเทพฯ จะยังมีความยึดติดอยู่กับความเป็นกรุงเทพฯ และมีความปรารถนาให้มีการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ โดยการขยายความเจริญของกรุงเทพฯ ออกไปสู่ชานเมือง และการลงทุนวางระบบคมนาคมภายในกรุงเทพฯใหม่ ส่วนแนวทางในการแก้ไขวิกฤติการณ์ด้วยการสร้างเมืองเป็นทางเลือกในอันดับรอง ๆ

และเมื่อพิจารณาโดยภายรวมแล้ว จะพบว่าปัจจุบันชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีตื่นตัวน้อยมากต่อการจัดสร้างเมืองใหม่เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ของกรุงเทพฯ นั้น นั่นคือ การจัดสร้างเมืองใหม่ได้รับความสนใจจากชาวกรุงค่อนข้างน้อย โดยพบว่า มีเพียง 17.4% ที่คิดว่าหากมีการจัดสร้างเมืองใหม่ จะไปอยู่ที่เมืองใหม่ส่วนกลุ่มที่คิดว่าจะอยู่ที่เดิม ไม่ไปอยู่ที่เมืองใหม่แน่นอนมีอยู่ถึง 38.8% และส่วนใหญ่ 43.8% เป็นกลุ่มที่ไม่แน่ใจต่อการจะอพยพไปอยู่ที่เมืองใหม่หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us