Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"เราสามารถทำทุกอย่าง ได้ด้วยตัวของเราเอง"             
 

   
related stories

"ปุตราจายา" เมืองแห่งวิสัยทัศน์ของมหาเธร์"
"วิสัยทัศน์แห่งผู้นำ "คิดปีเดียวลงมือเลย"

   
search resources

ปุตราจายา
ตันศรี ดาโต๊ะ มูฮัมหมัด บิน ฮัจยี มูฮัมหมัด ตาอีฟ
Political and Government




ตันศรี ดาโต๊ะ มูฮัมหมัด บิน ฮัจยี มูฮัมหมัด ตาอีฟ (TAN SRI DATO MUHAMMAD BIN HAJI MUHAMMAD TAIB) ประมุขแห่งรัฐเซลังงอร์ (CHIEF MINISTER OF SELANGOR STATE) ประเทศมาเลเซีย ในฐานะรัฐเจ้าของที่ดินสำหรับเมืองใหม่ปุตราจายา เป็นผู้ลงนามในข้อสัญญาเพื่อใช้ที่ดินในการสร้างเมืองใหม่กับรัฐบาลกลาง

ความคิดริเริ่มในการสร้างเมืองปุตราจายา เพื่อเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางบริหารของรัฐบาลกลางมาเลเซียเกิดจากอะไร

เราต้องการเมืองหลวงที่แท้จริง เหมือนกับหลาย ๆ ประเทศ อย่างออสเตรเลีย แอฟริกา ที่มีการแยกชัดเจนว่าจะกำหนดให้เมืองใดเป็นเมือง เกษตร เมืองศาสนา เมืองอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงแบบผสม หรือเมืองหลวงทางการค้า เราต้องแบ่งให้ชัด เมืองปุตราจายาจะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหลวงแห่งการบริหาร (THE ADMINISTRATER CAPITAL) ประกอบด้วยกระทรวงต่าง ๆ อย่างเซลังงอร์มี SHAH ALAM เป็นหลวงของรัฐ ส่วนกัวลาลัมเปอร์ก็เป็นเมืองหลวงของรัฐบาลประเทศมาเลเซียในขณะนี้

ในครั้งนี้รัฐบาลกลางต้องจ่ายเงินค่าที่ดินให้กับรัฐเซลังงอร์ เหมือนเมื่อครั้งสร้างเมืองกัวลาลัมเปอร์หรือไม่

ไม่เหมือนกัน คราวก่อนเป็นการเทคโอเวอร์กัวลาลัมเปอร์ รัฐบาลกลางจ่ายเงินให้กับรัฐเซลังงอร์จำนวนหลายพันล้านริงกิต (1 ริงกิต ประมาณ 10 บาท) เป็นค่าที่ดินด้วยการผ่อนชำระเป็นเวลา 7 ปี แล้วกัวลาลัมเปอร์ก็กลายเป็นลิขสิทธิ์ของรัฐบาลกลาง

ส่วนที่ดินที่จะสร้างเมืองปุตราจายาจำนวน 4,400 เฮกเตอร์ (27,500 ไร่) ที่ทำสัญญาเพื่อสร้างเมืองกับรัฐบาลกลาง ยังคงเป็นของรัฐเซลังงอร์ โดยรัฐบาลกลางไม่ต้องจ่ายเงินกับรัฐเซลังงอร์ และรัฐบาลเซลังงอร์ยังเป็นผู้จ่ายค่าเวนคืนที่ดินไปแล้วจำนวน 700 ล้านริงกิจ ( 7 พันล้านบาท) ให้กับเจ้าของที่ดินเดิม

พื้นที่ตั้งเมืองปุตราจายา เป็นลักษณะไข่แดงล้อมรอบด้วยพื้นที่ของรัฐเซลังงอร์จำนวน 11,000 เฮกเตอร์ (68,750 ไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่สวนปาล์มที่รัฐเซลังงอร์มีการวางแผนที่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กับปุตราจายา เช่น ในรูปของที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมรีสอร์ต ในส่วนนี้รัฐเซลังงอร์ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อให้การสนับสนุนการทำงานกับรัฐบาลกลางโดยเชื่อว่าการร่วมกันพัฒนาอย่างเต็มที่จะทำให้พื้นที่นับแต่กัวลาลัมเปอร์ ผ่านปุตราจายา ถึงสนามบินเป็นเมืองขนาดใหญ่เหมือนโยโกฮาม่ากับโตเกียว อย่างไรก็ดี ตอนนี้ทั้งเมืองยังมีแต่ต้นไม้ไม่มีเมือง แต่ต่อไปทุกอย่างจะเกิดขึ้น

ปุตราจายาจะมีอะไรเป็นจุดเด่น

การที่เราใช้เงินถึง 2 หมื่นล้านริงกิต (2 แสนล้านบาท) เพราะเราต้องการเมืองหลวงที่เป็น SUPER CAPITAL และสวยงาม เราต้องการทุก ๆ อย่างในอนาคต นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ และจะทำให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)

รัฐเซลังงอร์จะเป็นเจ้าของปุตราจายาหรือไม่

เราไม่รู้ ขณะนี้ไม่มีอะไรมาก แต่ที่แล้วมาเราได้เซ็นสัญญาว่าที่ดินเป็นของรัฐบาลเซลังงอร์ เราไม่คิดว่าจะมีปัญหา เพราะเรามองไปข้างหน้า เราต้องการหลีกปัญหา

ปุตราจายาเป็นเมืองที่เรามีความตั้งใจกับมันมากที่สุด ต้องการให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เพราะตอนนี้ในเมืองคุณภาพชีวิตด้อยลง ไม่มีที่ให้เด็กวิ่งเล่น การสร้างสิ่งดี ๆ จะทำให้คุณภาพในอนาคตดีขึ้น จะได้มีผู้นำที่ดี ดังนั้นเราต้องมีความภูมิใจในการพัฒนาครั้งนี้ เพราะเราได้ประสบการณ์จากเมืองอื่น ๆ แล้ว

เรียกว่าปัญหาของเราในวันนี้ จะเป็นการวางแผนที่ดีสำหรับอนาคต การพัฒนาเมืองใหม่ครั้งนี้มีการร่วมมือกับต่างประเทศบ้างหรือไม่ หรือทำกันเองเฉพาะหน่วยงานในประเทศมาเลเซีย

เรามีบริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศ 6 ราย ที่ร่วมกันคิดออกมาเป็นไอเดียนี้ เราไม่จำเป็นต้องให้ต่างชาติเข้ามาช่วย เพราะเราสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ในลักษณะที่เรียกว่า "จากมาเลเซีย เพื่อมาเลเซีย โดยมาเลเซีย" อีกอย่างต่างชาติอาจคิดราคาสูง และคนมาเลเซียก็ทำอะไรได้มากมาย

ถ้าปุตราจายาเติบโตขึ้นมากแล้วรัฐเซลังงอร์จะเป็นอิสระแก่ตัวเองหรือไม่

คำตอบนี้อ่อนไหว (SENSITIVE) มาก ที่จริงแล้วเราได้ให้กัวลาลัมเปอร์กับรัฐบาลกลางไปครั้งหนึ่งแล้ว ปุตราจายาเองก็ให้กับรัฐบาลเหมือนกัน แต่จะไม่เป็นแบบเดิมอีก คือจะไม่ให้อีกเพราะชาวเซลังงอร์รู้สึกสูญเสียไปมากแล้วปุตราจายาก็จะยังคงเป็นของเซลังงอร์ด้วย

เงินที่เราจ่ายให้ประชากรในพื้นที่ 800-2000 คน จะเป็นในลักษณะจ่ายเงินชดเชยตามราคาประเมินที่ดินของรัฐ หรือถ้าเกี่ยวกับการทำงานก็จะถูกย้ายให้ไปทำที่อื่น ให้ไปอยู่อีกที่ที่รัฐหาให้ ด้วยการพูดและตกลงกันดี ๆ ถ้าบริเวณรอบนอกพื้นที่เจ้าของที่ดินก็ยังคงมีสิทธิ์ทำในสิ่งที่ตนต้องการ แต่ถ้าในพื้นที่ต้องทำตามแผน

ยังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนอีกหรือไม่

เราซื้อทุกอย่างครบแล้ว ทุกคนก็เห็นด้วย ไม่มีปัญหา และต่างเฝ้าดูการเติบโต ชาวบ้านแถวนั้นมีความสุขมาก

ราคาที่ดินขึ้นสูงมาก

แน่นอน เมื่อก่อน 6,000 ริงกิต (6 หมื่นบาท) ต่อ 3 เฮกเตอร์ (ประมาณ 19 ไร่) เดี๋ยวนี้ 1 เฮกเตอร์ (ประมาณ 6 ไร่) ขายได้ 150,000 ริงกิต (1 ล้าน 5 แสนบาท) ราคาขึ้นไปสักสองสามร้อยเปอร์เซ็นต์ได้

คุณจะมีหน้าที่อะไรเมื่อปุตราจายาแล้วเสร็จ

ผมก็ยังคงอยู่ SHAH ALAM ตำแหน่งเดิมใครก็ตามที่ทำงานที่นี่ ถ้าเขายังอยู่ในตำแหน่งเขาก็อยู่ที่เดิม ทุก ๆ 5 ปีจะมีการเลือกนายก ผมอยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 1986 (พ.ศ. 2529) 5 ปีเลือกตั้งใหม่ 1 ครั้ง

คาดหวังอย่างไรต่อนาคตของเซลังงอร์

เรามั่นใจว่าเราจะเป็นรัฐที่พัฒนาแล้วในปี 2005 เมื่อก่อนเราตั้งใจจะใช้เวลาอีก 15 ปี แต่รุดหน้าไปก่อนที่ตั้งไว้ เรามั่นใจว่าการพัฒนาครั้งนี้จะทำให้มีอุตสาหกรรมของชาติถึง 40% เข้ามาตั้งอยู่ที่เซลังงอร์ คิดว่าการก่อสร้างทั้ง 2 เฟส จะเสร็จตามกำหนดหรือไม่

เราวางไว้ปี 2005 เราจะเป็นรัฐแนวหน้าของประเทศมาเลเซีย

มีคนเรียกร้องว่าบางรัฐไม่ได้รับการดูแล จะทำอย่างไร

ให้เขาย้ายมาอยู่รัฐเซรังงอร์ มาสร้างตัวที่นี่

ทำไมต้องเป็นเซลังงอร์

เพราะมีทุกสิ่งพร้อมในเซลังงอร์ นักธุรกิจ ทำเลที่ตั้งใกล้กัวลาลัมเปอร์ซึ่งก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของเซลังงอร์ และเพราะผมอยู่เซลังงอร์ ผมต้องการเห็นเซลังงอร์ก้าวหน้า

รัฐอื่นจะได้รับการพัฒนาเหมือนกับเซลังงอร์ไหม

แน่นอน ทุก ๆ รัฐมีการเคลื่อนไหวเร็วมาก ต่างอยากจะพัฒนามีการเข้ามาคุยกับเรา ผมเชื่อว่ารัฐรอบ ๆ ต้องได้รับการขยายอย่างน้อยก็เพราะผลการเจริญเติบโตของเซลังงอร์ ก็ในเรื่องของที่อยู่อาศัย เซลังงอร์จะเป็นเมโทรโพลิเทน เมืองรอบ ๆ ก็จะมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนกันเป็นซูเปอร์สเตท

คาดว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในอนาคตได้บ้าง

ไม่มีอะไร เราก็เหมือนประเทศไทย ใฝ่หาแต่ความสงบ

ในสายตาของคุณ คุณมองประเทศไทยอย่างไร

ประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบมาก ส่วนเรื่องรถติด ผมคิดว่าต้องให้มีความเจริญกระจายออกไปรอบนอกเมืองเพื่อบรรเทาความหนาแน่นในเมือง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us