Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"ปุตราจายา" เมืองแห่งวิสัยทัศน์ของมหาเธร์"             
 

   
related stories

"วิสัยทัศน์แห่งผู้นำ "คิดปีเดียวลงมือเลย"
"เราสามารถทำทุกอย่าง ได้ด้วยตัวของเราเอง"

   
search resources

ปุตราจายา
Political and Government




อีก 5 ปี มาเลเซียจะมีเมืองหลวงแห่งใหม่ ในชื่อ "ปุตราจายา" การเริ่มต้นสร้างเมืองใหม่เป็นไปอย่างคึกคัก ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันภายใต้การนำของผู้นำที่ได้รับการยอมรับสูงสุด "มหาเธร์" ปัจจัยอะไรที่ทำให้มาเลเซียต้องสร้างเมืองใหม่ ทั้งที่กัวลาลัมเปอร์แออัดไม่ได้ถึงครึ่งของกรุงเทพฯ กระบวนการสร้างเมืองใหม่เป็นอย่างไร และโฉมหน้าในอนาคตของ "ปุตราจายา" จะเป็นเช่นไร

"ปุตราจายา" แห่งอนาคต

"ปุตราจายา" ศูนย์กลางบริหารแห่งใหม่ของรัฐบาลกลางมาเลเซีย ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2005 (2548)

จุดหมายหลักของการพัฒนานอกจากเพื่อให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของมาเลเซียแล้ว ยังจะเป็นเมืองที่แสดงถึงความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วของมาเลเซีย

1. โครงข่ายระบบคมนาคมรอบนอกเมืองปุตราจายา บริเวณโดยรอบพื้นที่ของปุตราจายาจำนวน 14,780 เฮกเตอร์ (92,375 ไร่) จะมีการสร้างถนนสายใหม่เพิ่มอีก 4 สาย เพื่อการเชื่อมโยงกับเมืองอื่น ได้แก่ ทางด่วนนอร์ทแกรงวัลเลย์ (NORTH KLANG VALLEY), เซ้าท์แกรงวัลเลย์ (SOUTH KLANG VALLEY), ทางด่วนซาอาราม (SHAH ALAM) ซึ่งจะแล้วเสร็จปี 2540 และทางด่วนนอร์ทเซ้าท์ไฮเวย์ (NORTH SOUTH HUGHWAY) ที่จะแล้วเสร็จปลายปีนี้

2. แผนที่ตั้งเมืองปุตราจายา ซึ่งอยู่ระหว่างกัวลาลัมเปอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์พอร์ต (KLIA) อันแสดงถึงศักยภาพของทำเลที่ตั้งของเมืองว่าเหมาะสมเพียงใด

3. แผนการใช้พื้นที่กลางเมืองปุตราจายา จะแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อกับศูนย์กลางอย่างสะดวก ได้แก่

- พื้นที่ส่วนราชการ (THE GOVERNMENT PRECINCT) จะอยู่บริเวณจุดสูงสุดของเมืองสามารถมองเห็นพื้นที่ทั้งหมดในเมือง

- พื้นที่เขตการพาณิชย์ (THE COMMERCIAL PRECINCT) จุดเด่นของศูนย์การค้าคือ หอคอยซึ่งจะเป็นหอสื่อสารและเทคโนโลยี

- พื้นที่แสดงถึงความเป็นอยู่และศูนย์วัฒนธรรม (CIVIC & CULTURAL PRECINCT) จะเป็นที่รวมของพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปะ แกลลอรี่และห้องสมุดแห่งชาติ

- เขตพื้นที่ผสม (THE MIXED DEVELOPMENT PRECINCT) การค้ากับส่วนราชการและการค้ากับที่อยู่อาศัย และที่สำคัญคือมัสยิดกลางและศาลากลางอยู่ในเขตนี้

- พื้นที่สำคัญสำหรับการกีฬาและพักผ่อน (THE SPORT & RECREATION PRECINCT) ประกอบสวนสาธารณะ สเตเดียมหลัก ศูนย์กีฬาทางน้ำ และบ้านแบบมารีน่า

4. โครงข่ายระบบคมนาคมกลางใจเมือง ประกอบด้วย รถไฟ รถราง รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง แท็กซี่ ศูนย์กลางคมนาคม โครงข่ายถนนและเรือข้ามฟาก เพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคลในเขตกลางใจเมือง

"ปุตราจายา" วันนี้

วันนี้หากใครได้ไปเห็นสถานที่ที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างเมือง คงจะนึกกันไม่ออกว่าภายใน 5 ปี ณ ที่แห่งนี้ จะถูกแปรสภาพจากสวนปาล์มที่มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขาสูง ๆ ต่ำ จะถูกพัฒนาให้เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าและความทันสมัยได้อย่างไรแต่ภายใต้รัฐบาลของประเทศมาเลเซีย ที่มี ดร. มหาเธร์ อันเป็นที่รักของประชาชนมาเลเซีย จากการครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมาหลายสมัยนั้น เมื่อมีการประกาศสร้างเมืองทุกคนต่างเชื่อถึงความเป็นจริงของแผนที่ถูกกำหนดไว้

โครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการก่อสร้างกันอย่างครึกโครม คนในพื้นที่ดีใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นใกล้ตัว

ณ ตอนนี้ จากการสอบถามพูดคุยกับชาวบ้านของ "ผู้จัดการ" ไม่มีใครคิดที่จะขายพื้นที่ทำกินของตนให้กับนายทุน ล้วนแต่อ้างว่าอยู่กันมาหลายชั่วคนนับแต่ปู่ย่า บุคคลเหล่านี้ จะยืนหยัดความคิดของตนเองไปได้นานเพียงใด เพราะตัวอย่างที่มีให้เห็นอยู่เสมอจากการพัฒนาเมือง ก็คือ พื้นที่โดยรอบมักหนีไม่พ้นกระแสการพัฒนาที่ดิน ที่ต้องเปลี่ยนไปตามสภาพเมืองไม่ใกล้ไม่ไกล ให้ดูกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นตัวอย่าง

1. สภาพถนนเข้าสู่โครงการที่จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า และคงจะดีกว่าถนนข้างเคียงที่ดีกว่าในตอนนี้

2. หมู่บ้านคนรวยที่ใกล้กับปุตราจายามากที่สุด หนึ่งในจำนวนนั้นมีบ้านพักตากอากาศของนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย

3. แลนด์มาร์คของปุตราจายา มีความสูงถึง 20 เมตรทำด้วยสแตนเลส มีคนแวะเวียนเข้ามาชมอยู่ไม่ขาดสาย เนินเขาที่เห็นอยู่โดยรอบมีการปักธงแสดงสัญลักษณ์เพื่อการก่อสร้างตามแผนที่กำหนด

4. สภาพของเมืองปุตราจายาในปัจจุบันกับการทำงาน

5. โมเดลปี 2005 เมืองหลวงใหม่แห่งประเทศมาเลเซียที่เลือกรูปแบบสไตล์ GARDEN CITY

จากรูปแบบโครงการที่ถูกเสนอมาทั้งหมด 5 แบบในภาพเป็นบุคคลระดับบริหารของชาติและนักธุรกิจที่มาร่วมในวันเปิดโครงการ

6-7 ภาพการก่อสร้างระหว่างทางไปปุตราจายา

"ปุตราจายา" วันนี้

1-4-5 โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่ 10
กิโลเมตรก่อนถึงโครงการปุตราจายา ในภาพคือการก่อสร้างโครงการ NATIONAL ELECTRICITY ต่อจากนั้นก่อนถึงโครงการ เป็นที่น่าสังเกตอยู่ว่าจะเต็มไปด้วยศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทชั้นนำ เช่น ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานของธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานปิโตรนัส ศูนย์ฝึกอบรมไปรษณีย์มาเลเซีย ศูนย์วิจัยน้ำมันปาล์ม PORIM เป็นต้น

2 อีก 3 ก.ม. ก่อนถึงปุตราจายา แยกซ้ายเป็นถนนส่วนบุคคลของเจ้าของปาล์มรายใหญ่

3 ทางไปเมืองใหม่ ได้รับการปลูกหญ้าและท่อระบายน้ำไว้พร้อม

6 โรงเรียนที่ใกล้ปุตราจายามากที่สุด

7 สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตร ทำสวนปาล์ม และ
ยังมีการปลูกผักสวนครัวภายในบ้าน ชาวบ้านละแวกนี้จะทนได้นานเพียงใดต่อลมปากนำพัฒนาที่ดินหรือนักลงทุนอื่น ๆ ที่จะขอซื้อต่อที่ดินแต่วันนี้ หลายๆ คนยืนยันว่า "ไม่ขาย"

เซลังงอร์ ความต่อเนื่องของเมืองใหม่

รัฐเซลังงอร์ เป็นรัฐที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศมาเลเซีย จากจำนวนรัฐทั้งหมด 13 รัฐล่าสุด พ.ศ. 2536 (1993) เซลังงอร์มีอัตราการเติบโต 10.2% จากอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมของมาเลเซีย 8.1% แม้แต่กัวลาลัมเปอร์เองก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเซลังงอร์ ก่อนจะเป็นของรัฐบาลกลาง

รัฐเซลังงอร์มีชาอาราม เป็นเมืองหลวง มีแหล่งอุตสาหกรรม มีท่าเรือและอื่น ๆ อีกมาก และกำลังจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพราะผลจากการพัฒนาปุตราจายาซึ่งรัฐบาลเซลังงอร์ก็วางแผนไว้แล้วสำหรับทุกเขตของรัฐ เพื่อให้เป็นรัฐที่พัฒนาแล้วในปี 2005

1 เซลังงอร์ สเตเดียม ด่านแรกของเซลังงอร์เมื่ออกจากกัวลาลัมเปอร์ เป็นอีกแห่งที่ได้รับความ
สนใจจากนักลงทุนบริเวณโดยรอบ มีการปรับพื้นที่และก่อสร้างที่พักอาศัยทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

2 สภาพพื้นที่กลางรัฐเซลังงอร์ แนวถนนที่ได้มาตรฐานสวนสาธารณะ มัสยิดสัญลักษณ์ของ
เมือง และแนวป่าซึ่งทางรัฐมีแผนจะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเศรษฐกิจ

3 แนวป่าอีกฟากถนน เป็นที่คาดการณ์กันว่าจะได้รับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจในอีกไม่ช้า อาจจะกลายเป็นแหล่งธุรกิจแห่งใหม่ของเมืองของโครงการที่อยู่อาศัยก็เป็นได้

4 ที่ทำการคณะรัฐมนตรีของรัฐเซลังงอร์ จากชั้นบนสุดของตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของ CHIEF MINISTER OF SELANGOR สามารถเห็นสภาพโดยรอบของรัฐเซลังงอร์ได้ทั่วถึง

5 รัฐบาลเซลังงอร์ได้คาดการณ์ว่า ที่อยู่อาศัยของเซลังงอร์ยุคใหม่จะมีการพัฒนาในแนวดิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในรูปของอาพาร์ทเมนต์ให้เช่า และโรงแรมที่เดิมมีอยู่น้อยมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us