Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์18 ธันวาคม 2549
10 แนวโน้มการตลาดปี 2550 กระแสใหม่เปลี่ยนโฉมธุรกิจ             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations
Marketing




พลาดไม่ได้ ! เทรนด์การตลาดล่าสุดที่จะมาเขย่า และสร้างความแปลกใหม่ให้วงการในปีหน้า เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทุกค่ายต้องเตรียมความพร้อม ปรับกระบวนตั้งรับด่วน หากต้องการอยู่รอดในตลาดอย่างสบายใจ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทุกวัน อินเทอร์เน็ต-สาวทำงาน-ตลาดเอเชีย-มัลติมีเดีย คือส่วนหนึ่งใน 10 ปัจจัยขับเคลื่อนโลกการตลาดยุคใหม่ที่จะพาธุรกิจเติบโตไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ใกล้ถึงสิ้นปี 2549 เข้าไปทุกที ตอนนี้สิ่งที่นักการตลาดมองเห็นเป็นการมองไปข้างหน้าว่าปีหน้าฟ้าใหม่ 2550 จะมีสิ่งใดที่เข้ามาสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการตลาดโลกได้บ้าง

วันนี้ได้รวบรวมเอา 10 แนวโน้มทางการตลาดโลกที่น่าจะเป็นเทรนด์ของปีหน้ามาให้ศึกษากัน

เพราะผู้ประกอบการทุกรายคงต้องเตรียมการปรับแผนงาน กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่เพื่อให้ดำเนินกิจการอยู่รอดได้ต่อไปอย่างไม่กังวลมากนัก

เทรนด์แรก เป็นเทรนด์ในมุมมองของลูกค้าและผู้บริโภคซึ่งพบว่านักการตลาดส่วนใหญ่เชื่อกันว่าในปีหน้าหากต้องการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้มากขึ้น ผู้ประกอบการควรหันไปให้ความสนใจในการเสริมงบประมาณทางด้านของมีเดียออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะเพิ่มบทบาทและความสำคัญในฐานะของแหล่งมีเดียหลักที่สร้างเป็นช่องทางในการความบันเทิงของกลุ่มคนหนุ่มสาว และนักเรียนนักศึกษามากขึ้น

สินค้าที่มีการจำหน่ายได้ดีผ่านสื่อสารยุคอินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่เสื้อผ้า อาหารจานด่วน ไปจนถึงแพ็กเกจเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน การประกันสุขภาพ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่ถือได้ว่าเป็นสินค้าสุดฮอตบนอินเทอร์เน็ตเกือบ 80% ของการการซื้อหาและจับจ่ายเงิน

เทรนด์ที่สอง คือ บทบาทของสาวทำงานในแวดวงตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากอำนาจซื้อของคนกลุ่มนี้ที่มีมากขึ้น ทำให้สัดส่วนของกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่แนวคิด การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มนี้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองพอสมควร ซึ่งทำให้นักการตลาดต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้ดีเพื่อจะได้ไม่หลงทางไปเสียก่อน

ช่องทางการตลาดที่คาดว่าจะสามารถเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มนี้ได้ดี คือ ส่วนผสมของการโฆษณาผ่านรายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และไดเร็กเมล

เทรนด์ที่สาม คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของตลาดในย่านเอเชีย ซึ่งพบว่าอัตราการเติบโตของประชากรยังอยู่ในสัดส่วนสูงที่สุดของประชากรที่เป็นลูกค้าที่เป็นไปได้สำหรับนักการตลาด ดังนั้น นักการตลาดส่วนใหญ่จึงยังวางเป้าหมายหลักทางการตลาดอยู่ที่กลุ่มลูกค้าในย่านเอเชียต่อไปอย่างเหนียวแน่น แถมกลุ่มเหล่านี้ยังมีความสามารถในการซื้อสูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยทั่วไป พิจารณาจากระดับรายได้และระดับการศึกษาที่จะส่งผลต่ออาชีพและหน้าที่การงานด้วย (อ่านล้อมกรอบ จีน-อินเดีย 2 ตลาดเอเชียที่ใครๆสนใจ)

เทรนด์ที่สี่ คือ กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก หรือ Word-Of-Mouth และ Buzz Marketing ยังคงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มของลูกค้าที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้หญิงนิยมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทางดีเป็นบวกหรือทางที่เป็นลบ และอดไม่ได้ที่จะแนะนำหรือโอ้อวดสินค้าหรือบริการดีๆ ที่ตนได้ไว้ในครอบครอง

นอกจากนั้น คนที่มีงานทำจะมีการติดต่อ สนทนา ปฏิสันถารกับผู้คนมากมายในแต่ละวัน เรื่องราวของการซื้อและใช้สินค้าจึงกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อของการสนทนาที่มีเรื่องมาให้เล่ากันได้ไม่ซ้ำเรื่องในแต่ละวันและยิ่งคนที่มีรายได้ปานกลางไปถึงรายได้สูงแล้ว ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะมีเรื่องสนทนาเกี่ยวกับสินค้ามากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำ (อ่านล้อมกรอบ BUZZ เทคนิคที่ใครต่อใครเริ่มสนใจ )

เทรนด์ที่ห้า เรื่องใหม่ในเหล้าเก่าที่เป็นสื่อแบบดั้งเดิมทางการตลาดนั้น มีความเชื่อว่าในปีหน้ากลุ่มลูกค้าที่เป็นคนหนุ่มสาวจะลดความสนใจในงานโฆษณาที่เป็นสิ่งพิมพ์ลงไปอีก เพราะมีช่องทางการแสวงหาข่าวสารใหม่ๆที่ดีกว่า หากนักการตลาดยังต้องการจะใช้สื่อดั้งเดิมดังกล่าวจะต้องพิจารณาให้ดีและรอบคอบเพื่อมิให้เงินงบประมาณที่ลงทุนไปจำนวนมากมายได้ประสบผลสัมฤทธิ์

เทรนด์ที่หก การใช้สื่อหลายอย่างพร้อมๆกันมีแนวโน้มที่จะมากขึ้น การให้ความสำคัญกับสื่อเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจไม่ประสบผลในการส่งเสริมการตลาดเท่าที่ควร สื่อสารที่มีจะนำไปใช้ควบคู่กับการใช้เซิร์ชเอ็นจิ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตก็คือ การชมรายการโฆษณาทางทีวีบ้างเป็นครั้งคราว และส่วนหนึ่งของคนที่ชอบฟังวิทยุจะสนใจอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อเพิ่มเติมข่าวสารให้ครบถ้วน และไม่ตกหล่น

การที่ลูกค้าใช้สื่อสารมีเดียหลายๆทางพร้อมกันนี้ ทำให้นักการตลาดต้องจับปลาสองมือ ไม่มุ่งไปที่สื่อทางใดทางหนึ่งมากเกินไป (อ่านล้อมกรอบ เทคโนโลยีมัลติมีเดียเปลี่ยนโลกโฆษณา)

เทรนด์ที่เจ็ด โฉมหน้าใหม่ของงานการตลาดทางหนังสือพิมพ์ในปีหน้า เพราะหนังสือพิมพ์ในวันนี้ทำแต่งานกระดาษและไม่มีหน้าร้านบนออนไลน์แทบจะไม่ได้แล้ว จะต้องมีหนังสือพิมพ์ออนไลน์เกิดขึ้นควบคู่กัน เพื่อเก็บรายได้จากคนที่เข้าชมข้อมูลและข่าวทางตลาดออนไลน์ด้วย ยิ่งกว่านั้น ลูกค้าจำนวนไม่น้อยได้ทิ้งวิธีการอ่านข่าวสารทางกระดาษไปแล้ว และใช้การเข้าไปอ่านหัวข้อข่าวทางตลาดออนไลน์ในหัวข้อ ”ฮอตไลน์นิวส์” แทน ไม่น้อยกว่า 2-15% แล้ว

เทรนด์ที่แปด การส่งเสริมการตลาดด้วยการจัดประชุม สัมมนา และงานกิจกรรมทางสังคมที่รวมมวลชนในชุมชน มีแนวโน้มที่จะได้รับการเรียกขานให้นำไปใช้ในทางการตลาดมากขึ้น เพราะปัจจุบันการเดินทางเพื่อธุรกิจ โดยเฉพาะการร่วมงานแสดงสินค้า เอ็กซิบิชั่น หรือคอนเฟอเรนซ์ นับวันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในแวดวงการตลาดอีกอย่างหนึ่ง

นอกเหนือไปจากนั้น การจัดงานในรูปแบบใหม่ เช่น ออนไลน์ เวิร์กชอป หรือการทำ e-meeting ที่ไม่จำเป็นต้องมีการเดินทางไปยังประเทศที่เกี่ยวข้องก็นิยมนำไปใช้ในการทำกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดของกิจการค้าระหว่างบี-ทู-บี (B2B : Business to Business) หรือระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจด้วยกันที่ไม่ใช่กลุ่มครัวเรือน ซึ่งจากการประเมินผลของการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดสมัยใหม่นี้ พบว่าให้ผลลัพธ์ทางการตลาดและได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ดีไม่แพ้กันทีเดียว แถมยังประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพบปะกันจริงๆ ด้วย

เทรนด์ที่เก้า การจัดทำแบบสำรวจและวิจัยทางการตลาดทางออนไลน์เป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่ทำท่าว่าจะขยายวงกว้างขึ้นในปี 2550 นี้ เพราะไม่ว่ากิจการที่ต้องการสำรวจและวิจัยทางการตลาดจะเป็นกิจการที่มีร้านค้าที่เปิดหน้าร้านแบบดั้งเดิม หรือร้านค้าที่เปิดเว็บไซต์จำหน่ายบนตลาดอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วก็สามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทำกิจกรรมทางการตลาดด้านนี้ได้อย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากการสำรวจก่อนหน้านี้ได้พบว่าราว 87%ของลูกค้าที่สำรวจ ใช้ตลาดอินเทอร์เน็ตในกิจกรรมการซื้อหา และยินดีที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อใช้เป็นผลทางการดำเนินงานของผู้ประกอบการต่อไป ผ่านการออกแบบสำรวจและวิจัยทางการตลาดดังกล่าว

เทรนด์ที่สิบ การเชื่อมโยงเว็บไซต์กับเซิร์จเอ็นจิ้น กลายเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ มากกว่าจะเป็นทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งความสำเร็จจะขึ้นกับการแสวงหาคำที่เป็นคีย์ที่ถูกต้องที่ลูกค้าจะใช้ในการค้นหา ตรงกับคำที่ผู้ประกอบการนั้นๆใช้พอดี จะทำให้เว็บไซต์ของกิจการนั้น

กลายเป็นเว็บไซต์ที่มีความนิยมและมีคนเข้าไปค้นหาข้อมูลมากที่สุดในอันดับต้นๆ และทำให้การเข้าออกเว็บไซต์ของตนคับคั่งอย่างไม่น่าเชื่อ

************

เทคโนโลยีมัลติมีเดียเปลี่ยนโลกโฆษณา

จากผลการหารือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างการประชุมประจำปีของสมาคมนักโฆษณาแห่งชาติเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความท้าทายประการแรกที่ทำให้นักการตลาดต้องเผชิญหน้ากับความยุ่งยากทางการตลาดมากขึ้นก็คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั่นเอง

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสั่นสะเทือนวงการตลาดโลก ทำให้เกิดการปรับตัวตลอดเวลาและอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในแบรนด์ดังหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่พิสูจน์เรื่องนี้อย่างชัดเจน คือ การปรับตัวในงานด้านการโฆษณาจากที่เคยพึ่งพาช่องทางทางโทรทัศน์ มาเป็นช่องทางที่มีนวัตกรรมอื่นๆ ทั้งที่เป็นช่องทางผ่านเครือข่าย และอุปกรณ์ไร้สาย และโมบายโฟน

แม้ว่ามีเดียที่ใช้ในการโฆษณาและดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดจะได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ แต่ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลง และมีพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนและยากในการเข้าถึงเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการ

นักการตลาดยังพบอีกว่า ในด้านลูกค้านั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้มีเดียและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ในการโฆษณาผ่านสื่อมีเดียใหม่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมดังกล่าวด้วย

ประการที่สอง ลำพังการใช้สื่อเพื่องานการโฆษณาไม่สามารถกระตุ้นความต้องการและทำให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการได้เสมอไป นักการตลาดพบว่าจะต้องทำสิ่งที่เรียกว่า ความประหลาดใจที่พึงประสงค์ทำให้ลูกค้าสมหวังอย่างไม่คาดหมาย หรือทำนองของโชคลาภพิเศษ ไม่ใช่เพียงแต่การให้รางวัลตามธรรมดาในรูปแบบเดิมๆ อีกต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น ผลงานการโฆษณาที่บริษัทพีแอนด์จี ออกไปเมื่อไม่นานมานี้ เป็นงานโฆษณาที่ติดอยู่ที่หน้ากระจกในห้องน้ำหญิง ด้วยการป้อนคำถามโดนใจว่า “ลิปสติกของคุณยังเคลือบอยู่บนเรียวปากงามของคุณหรือเปล่า” และนำข้อความที่เป็นคำถามนี้โฆษณาซ้ำทางโทรทัศน์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้หญิงสนใจเรียวปากทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง และแต่งเติมเรียวปากด้วยผลิตภัณฑ์ลิปสติกยี่ห้อคัพเวอร์เกิร์ล ของพีแอนด์จี

งานโฆษณาชิ้นนี้เป็นที่กล่าวถึงกันในวงการโฆษณาชั้นนำของโลก เพราะมีส่วนทำให้ยอดการจำหน่ายลิปสติกของคัพเวอร์ เกิร์ล เพิ่มขึ้นได้กว่า 25% ทีเดียว

การกระแทกความรู้สึกและอารมณ์ของลูกค้าในช่วงเวลาที่ไม่คาดหมาย และตั้งตัวไม่ทัน ในประเด็นที่ลูกค้านึกไม่ถึงหรือละเลยความสำคัญในจังหวะที่ดี เช่น จังหวะที่ผู้หญิงส่องกระจกในห้องน้ำสาธารณะหรือที่ทำงาน อันเป็นจังหวะที่ผู้รับโฆษณาเปิดความคิดความอ่านมากจังหวะหนึ่ง เป็นผลดีในการกระตุ้นการซื้อในทางบวกได้มากที่สุดหนทางหนึ่งของการตลาดสมัยใหม่

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะแสดงการโดนใจได้ดี คือ งานการโฆษณาของห้างขายลดวอลมาร์ท ที่ประสบกับปัญหาทางธุรกิจเพราะพึ่งพาฐานลูกค้าเพียงกลุ่มเดียวเป็นหลัก คือ กลุ่มนักชอปปิ้งที่สนใจสินค้าราคาต่อหน่วยต่ำและขายลดราคาจากป้ายเป็นหลัก

เมื่อไม่นานมานี้ ห้างวอลมาร์ทได้เสนอเงื่อนไขการขายปลีกใหม่ที่เป็นความพยายามในการดึงดูดลูกค้าในตลาดระดับรายได้สูงขึ้นกว่าฐานลูกค้ากลุ่มเดิมของกิจการ ด้วยการจำหน่ายสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยแพงมากขึ้นไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคประจำวันเท่านั้น อย่างเช่น เหล้าไวน์ ที่มีราคาต่อหน่วย 200 ดอลลาร์ ด้วยการเสนอราคาลดจากปกติที่ประหยัดเงินในกระเป๋าของลูกค้าไฮโซที่ชอบละเลียดไวน์แกล้มอาหารเย็นได้ถึง 65 ดอลลาร์เพื่อทำให้มูลค่าการจำหน่ายรวมของร้านค้าปลีกของตนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน วอลมาร์ทได้ปรับปรุงพื้นที่และการจัดการร้านค้าปลีกของตนไปสู่ความเป็นร้านค้าที่ใกล้ชิดและควบคู่กับการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกค้าไม่แตกต่างจากร้านคอนวีเนียนสโตร์มากนัก ด้วยการเพิ่มความใส่ใจในกิจกรรมเชิงสังคมของชุมชน เช่น การร่วมรณรงค์ต่อสู้กับโรคเอดส์ ในแอฟริกา และการกระตุ้นให้มีการบริจาคเงินเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์มากขึ้น

เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากการส่งเสริมการจำหน่ายของพีแอนด์จี ที่แนะนำและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ซักล้างที่ใช้เทคโนโลยี PUR ที่ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำเสียจากสารเคมีในประเทศที่ยากจนอย่างเช่น ตลาดในแอฟริกา แลการรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการแสดงตัวเลขว่าเด็กเล็กราว 5,000 คนต้องเสียชีวิตทุกวันจากการดื่มน้ำที่มีสารพิษ และสังคมต้องการการจัดระเบียบด้านมลภาวะทางน้ำในโลก เป็นต้น

เรื่องของความน่าเชื่อถือในการเป็นกิจการที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อรักษาหน้าตาของกิจการก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ความน่ากลัวของพัฒนาการทางเทคโนโลยี ยังกระทบการตลาดในแง่ที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเข้าไปค้นหาสิ่งที่ต้องการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แทนที่จะขอให้นักการตลาดคอยบอกว่าพวกเขาต้องการสินค้าอะไร ผ่านทางงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ

บทสรุปประการหนึ่งที่นักการตลาดของกิจการยักษ์ใหญ่ทั้งหลายของโลกเชื่อว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในระยะต่อไป คือ การเลิกความพยายามที่จะควบคุมหรือเจ้ากี้เจ้าการวางตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ของตนตามที่กิจการต้องการ แต่หันไปสนใจศึกษาและทำความเข้าใจอย่างจริงจังว่าลูกค้าคิดอย่างไรกับแบรนด์ของตน และทำให้ตำแหน่งทางการตลาดในความคิดของลูกค้าอยู่ที่ส่วนไหนของตลาดทั้งหมดมากกว่า

พูดง่ายๆ คือ นักการตลาดยุคนี้ต้องปรับและปล่อยให้กิจกรรมและงานทางการตลาดลื่นไหลไปกับกระแสของตลาดโลก ไม่ใช่พยายามจะทวนกระแสตลาดและยื้อทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ดังใจของตน แม้ว่าการโฆษณาทางทีวีจะยังเป็นช่องทางหลักที่นักการตลาดสามารถครอบครองแนวความคิดและคอนเซปต์ของแบรนด์ให้เป็นไปอย่างที่ตนต้องการได้มากที่สุดก็ตาม

**************


จีน-อินเดีย 2 ตลาดเอเชียที่ใครๆสนใจ

ยุคนี้คือศตวรรษของเอเชีย จากการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของตลาดในย่านนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2020 ประชากรเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่นจะเพิ่มจาก 3 พันล้าน เป็น 3.5 พันล้านคน คิดเป็น 47% ของประชากรโลกทีเดียว และในช่วง 20 ปีนั้นการแพร่กระจายความมั่งคั่งและการศึกษาจากโทคโนโลยีการสื่อสารที่เชื่อมโลกไว้ด้วยกัน รวมทั้งการบรรลุความเป็นโลกาภิวัตน์ระดับรัฐบาลในกลุ่มประเทศเอเชีย จะทำให้ประชากรเอเชียในศตวรรษที่ 21 ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้ประกอบการ ความรอบรู้ และความมั่นใจในการครอบครองส่วนหนึ่งของโลก

คนเอเชียเป็นที่ยอมรับในเรื่องความเป็นเจ้าบ้านที่ดีโอบอ้อมอารีถือเป็นสินทรัพย์ที่ทรงพลังมากที่จะส่งเสริมผลักดันการเป็นแบรนด์ระดับโลกในธุรกิจบริการ โดยประเทศในเอเชียที่เชื่อว่าน่าจะเป็นประเทศเป้าหมายของผู้ผลิตสินค้าจากทั่วโลกก็คือ จีน และอินเดีย

จีนตลาดมหึมาที่ทุกคนหวังจับให้อยู่หมัด

หลังการเสียชีวิตของประธานเหมา ก่อนที่จีนจะปฏิรูปตลาดเสรีในปี 1979 ภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยว ผิง มีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจีน ที่มีขนาดมหาศาลถึง 9.90 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเศรษฐกิจของจีนก็มีความโดดเด่นเหนือชาติในเอเชียตะวันออกทั้งหมด เป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูง อัตราเงินเฟ้อต่ำลง พร้อมรื้อระบบที่รัฐเป็นเจ้าของทุกอย่าง เพื่อเปิดทางให้เอกชนเป็นเจ้าของกิจการเพิ่มขึ้น

ตอนหนึ่งในนิตยสารแบรนด์เอจ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 อธิบายว่า นับตั้งแต่ปี 1987 มาจนถึงปัจจุบันชาวจีนไม่ได้เป็น "ผู้ใช้สินค้าของรัฐ" อีกต่อไป ชาวจีนได้เปลี่ยนแปลงเป็น "ผู้บริโภค" ที่มีความแตกต่างทางรายได้อย่างเห็นได้ชัด และทำให้สามารถแยกกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก The 'Have-Nots' จัดได้ว่าเป็นคนจนของประเทศ ชาวจีนกลุ่มนี้อาจจะมีรายได้น้อยมาก หรือแทบไม่มีรายได้เลย อาศัยอยู่ตามชนบทอย่างยากไร้ ประชากรกลุ่มนี้ยังคงบริโภคสินค้าตามสภาพความเป็นอยู่แบบเดิมๆ

กลุ่มที่สอง The Average Chinese ประเมินว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ อาศัยอยู่กระจัดกระจายในทุกๆ จังหวัด ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นแรงงานสำคัญของประเทศ มีรายได้ปานกลาง มีกำลังซื้อพอสมควร สินค้าที่ประชากรกลุ่มนี้ซื้อบริโภค มักจะเป็นสินค้าที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน ราคาปานกลาง ผลิตในประเทศ

กลุ่มที่สาม The Changing Chinese เป็นกลุ่มที่นักธุรกิจและนักการตลาดให้ความสนใจ ประเมินกันว่ามีจำนวนประมาณพันล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นกลุ่มประชากรสำคัญที่ขับเคลื่อนปริมาณการบริโภคสินค้าและบริการของประเทศ ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มประชากรที่เป็นเป้าหมายสำหรับสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า, จักรยาน, ทีวีสี, โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ยินดีที่จะ "จ่ายแพงกว่าเพื่อคุณภาพ และภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของตัวเอง" ประชากรกลุ่มนี้ยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดสำคัญๆ อาทิ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์

กลุ่มที่สี่ The Nouveaux Riches เป็นประชากรกลุ่มเล็กๆ ของประเทศ ประเมินว่ามีประมาณไม่เกิน 5 ล้านคน แต่เป็นประชากรกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงสุดของประเทศ ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีสถานะเป็นผู้ประกอบการกิจการในลักษณะต่างๆ กัน เป็นกลุ่มผู้บริโภคสินค้าหรู ๆ รถยนต์ราคาแพง และเครื่องเพชร เครื่องประดับต่างๆ

นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นไป นักธุรกิจ และนักการตลาดที่ต้องการจะติดต่อค้าขายกับผู้บริโภคชาวจีน จะต้องสามารถแยกแยะผู้บริโภคชาวจีนออกเป็นกลุ่มๆ มุมมองในการวิเคราะห์แยกแยะมีอยู่ด้วยกันหลากหลาย แต่ไม่ว่าจะแยกกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนออกไปอย่างไร ลักษณะสำคัญของผู้บริโภคชาวจีนที่เราพึงระลึกถึงอยู่เสมอมีทั้งที่เป็นการบริโภคแบบ "ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างไร้หลักการ" (Perceptual Randomness) ไปจนถึง "ซื้อด้วยหลักการและเหตุผลอย่างรอบคอบ" (Rational Planning)

อินเดียกำลังจะร้อนแรง

ระบบการบริหารราชการของรัฐบาลอินเดียในช่วง 40 ปี หลังจากได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ เป็นระบบที่ได้ทำลายความสามารถแบบผู้ประกอบการของคนอินเดีย ทุกวันนี้อินเดียมีการเปิดเสรีอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมที่สำคัญๆ เช่น โทรคมนาคม ธนาคาร ตลาดทุน ให้คนต่างชาติมีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจ และลงทุนได้ รัฐบาลกลางปลดปล่อยการควบคุม ความปรารถนาในที่จะก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของอินเดีย ส่งผลให้ "อินเดีย" กลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในทวีปเอเชียจนทำให้แทบทุกประเทศหันมาจับตามองอินเดียไม่แพ้ประเทศจีนเลยทีเดียว

ประชาชนชาวอินเดียกว่า 1,050 ล้านคน เมื่อสิ้นปี 2003 ดูจะเป็นตัวเลขที่นักการตลาดหลายต่อหลายประเทศตาลุกวาวเมื่อคิดถึงโอกาสในการขายสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่ใช่ว่าตลาดในอินเดียจะเป็นหมูให้ใครต่อใครมาเคี้ยวได้ง่ายๆ

อินเดียสามารถส่งออกสินค้าซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมไอทีได้ถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2000 การเติบโตของมูลค่าส่งออกในแต่ละไตรมาสมีประมาณ 5-7% มีการคาดการณ์จาก Mckinsey & Co และสมาคมบริษัทซอฟต์แวร์แห่งชาติของอินเดีย (National Association of Software & Service Companies: Nassacom) ว่าภายในปี 2008 อุตสาหกรรมไอทีในประเทศอินเดียจะส่งออกได้ถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดสินค้าไอที ในประเทศจะมีรายได้ถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนั่นหมายถึงตำแหน่งงานใหม่ 2.2 ล้านตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้อินเดียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 7-8%

ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการยุคใหม่ในธุรกิจไอทีของอินเดียจะมีวิธีที่ดีเกินคาด ในการฉุดประเทศให้พ้นจากความยากจนในอดีต แต่ยังคงยากที่จะเติบโตไล่ประเทศจีนขึ้นมาในช่วงเวลาอันใกล้

**************

BUZZ เทคนิคที่ใครต่อใครเริ่มสนใจ

เทคนิคใหม่ทางการตลาดที่กำลังเป็นที่สนใจของนักการตลาดทั่วโลกในเวลานี้ คือ บัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง(Buzz Marketing) จนกระทั่งมีสำนวนทางการตลาดที่พูดคุยกันหนาหูว่า วันนี้คุณได้ฟังเรื่องราวของบัซซ์หรือยัง ???

“Buzz” หมายถึงรูปแบบของการพูดคุยอย่างเอาจริงเอาจังที่ผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ที่ถูกนำขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดแบบหนึ่ง มีการว่าจ้างคนที่ผ่านการคัดเลือกว่าเหมาะสมคอยให้ข้อมูลกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

สิ่งที่แตกต่างจากการบอกแบบปากต่อปากโดยทั่วไป คือ บัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง เป็นการบอกข้อมูลที่เหนือกว่าในด้านการให้ข้อมูลแบบอินไซด์ที่ไม่มีใครรู้มาก่อนยกเว้นแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องวงในเท่านั้น ซึ่งเป็นข่าววงในที่น่าสนใจและสร้างความอยากรู้อยากเห็น

การใช้ทีมงานภาคสนามที่ทำหน้าที่ในการโปรโมตกิจกรรมหรือสินค้าที่เป็นเครื่องมือตามแบบของบัซซ์ มาร์เก็ตติ้งนี้ ทำให้เกิดกลุ่มคนที่ถูกฝึกฝนให้มีความรู้ในการใช้กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดแบบใหม่ที่มักจะใช้ได้ผลดีกับคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ที่ต้องการแหล่งข่าวอื่นๆ ที่มากกว่าการโฆษณาทางสื่อดั้งเดิม

บริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมทางการตลาดในแบบของบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง ที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น บริษัท คอนเนอร์ โปรโมชั่น วางตำแหน่งทางการตลาดชัดเจนว่าทำหน้าที่ในการช่วยบริหารการส่งเสริมการตลาดโดยการใช้บัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง เพื่อให้ผู้ว่าจ้างสามารถหาบริษัทได้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องการนำบัซซ์ ไปเป็นเครื่องมือทางการตลาดของกิจการ

ทีมงานที่ทำงานภาคสนามสำหรับบัซซ์ มาร์เก็ตติ้งนี้ มักจะทำงานหนัก ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน และเป็นการทำงานสร้างรายได้เสริม โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งงานประจำที่ทำอยู่ตามปกติก็ได้ รายได้ที่เกิดจากการทำงานแบบนี้มากน้อยตามจำนวนชั่วโมงการทำงาน แถมด้วยตัวอย่างสินค้าที่จะสามารถศึกษาและช่วยให้การบอดข่าวสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งที่ทำให้ทีมงานการตลาดของบริษัทที่ให้บริการบริหารจัดการบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง ทำงานในการเป็นคนส่งสารนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องของรายได้เสริมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางการตลาดเท่านั้น หากแต่ยังต้องเป็นงานหรือกิจกรรมที่พวกเขารักและชอบด้วย มิฉะนั้นจะต้องฝืนใจอย่างมากในการบอกข้อมูลที่ตนไม่ศรัทธาจริงๆ เพราะจะสามารถบรรยายและจินตนาการในเรื่องที่กำลังเล่าได้อย่างสมจริงสมจัง ด้วยศรัทธาและชื่นชอบอย่างจริงใจ จนบางครั้งแทบไม่ต้องให้ท่องสคริปต์หรือบทท่องเป็นคำพูดที่ใช้ในงานด้วยซ้ำ เพราะคนเหล่านี้จะสามารถใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกว่าและเป็นธรรมชาติกว่า

ความก้าวหน้าในการใช้บัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ได้ไปไกลอย่างที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง และไม่ได้ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ในบางกรณีตัวแทนของทีมงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนส่งข่าวสารได้สั่งสมประสบการณ์และเครือข่ายจนกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่ใครๆ ก็มาซักถามในเรื่องที่ชำนาญ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นกูรูในการให้ข้อมูลไปเลย

ความสำเร็จของการใช้บัซซ์ มาร์เก็ตติ้งในทางการตลาดที่อาจจะเป็นเคล็ดลับของงานประเภทนี้ คือ ประการแรก คนที่ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมนั้นจะต้องไม่ตั้งใจหรือใช้ความพยายามในการขายจนมากเกินไปหรืออย่างเห็นได้ชัดจนน่าเกียจ ประการที่สอง การทำหน้าที่นี้ไม่ใช่มุ่งเน้นที่เพื่อนสนิท แต่เป็นการทำงานกับคนในวงกว้าง ซึ่งทำให้คนทำหน้าที่นี้ ไม่ค่อยจะอึดอัดนัก เพราะไม่ต้องเสียความรู้สึกหรือรู้สึกผิดกับการหลอกลวงเพื่อนๆ ของตน

ประการที่สาม คนที่ทำหน้าที่ตัวแทนในงานการตลาดแบบบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง มักจะชักชวนเพื่อนๆของตนให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นทีมงานภาคสนามเช่นเดียวกับตน เพื่อขยายเครือข่ายของการบอกข้อมูลแบบปากต่อปากที่มีระบบและมักจะได้ผลดี

นักการตลาดเชื่อว่าการใช้เทคนิคการตลาดที่อาศัยการบอกต่อจากปากต่อปาก เป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างหนึ่ง

กิจกรรมบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง นี้เริ่มนำมาใช้ในทางการตลาดอย่างจริงจังเมื่อปี 2004 โดยมีบริษัทชื่อ บัซซ์ เอเยนต์ และบริษัทคอนเนอร์สโตน โปรโมชั่น เริ่มให้บริการบริหารกิจกรรมการตลาดแบบบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง แก่บริษัทต่างๆ โดยใช้ทีมงานการตลาดของผู้ว่าจ้างมาฝึกเพื่อทำงานให้ เพียงแต่ทำงานในแบบไม่เป็นทางการแทนการทำงานตามระบบในบริษัทของตนอย่างเช่นที่ทำประจำวัน

การเรียกเก็บค่าบริการของบริษัทบริการบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง คิดตามฐานของจำนวนตัวแทนในการทำงานประมาณ 105,000 ดอลลาร์ ต่อทีมงาน 1,000 คน และเรียกเก็บเพิ่ม 38,000 ดอลลาร์ต่อตัวแทนที่เพิ่มทุกๆ 1,000 คน

การเติบโตของธุรกิจการให้บริการเพื่อส่งเสริมการตลาดแบบบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเทคนิคการตลาดแบบนี้ได้รับความเชื่อถือว่ามีประสิทธิภาพ และไม่ได้ขัดแย้งหรือสวนทางกับการดำเนินงานทางการตลาดบนอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด

การส่งเสริมการตลาดแบบบอกปากต่อปากเป็นทอดๆ เข้าไปเสริมกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดผ่านทางงานโฆษณาแบบปกติ เพียงแต่การสำรวจพบว่า ลูกค้าต้องทนรับข้อมูลข่าวสารที่ผ่านทางสื่อประจำวันไม่น้อยกว่า 3,000 รายการต่อวัน ผ่านทางทีวี งานพิมพ์ วิทยุ บิลบอร์ด และซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้เชื่อถือข้อมูลเหล่านี้ในทันที โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้ยินมาจากเพื่อนที่ใกล้ชิดจะมีความหมายแตกต่างกันอย่างมาก เพราะสมมุติฐานว่าเพื่อนมักจะไม่หลอกเพื่อนนั่นเอง และเพื่อนไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจเหมือนทีมงานตลาดของกิจการที่โฆษณาโดยตรง

ในทางทฤษฎี เมื่อตัวแทนของงานบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง บอกข้อมูลข่าวสารกับคนที่เชื่อถือเขา 25 คน และคน 25 คนนั้นบอกต่อกับคนอื่นอีก 25 คน จำนวนคนที่จะได้รับข้อมูลก็รวมเป็นกว่า 625 คนเข้าไปแล้ว และสามารถทวีคูณเป็น 1,500 คน ภายในเวลาเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น

สิ่งที่ทำให้งานการตลาดบัซซ์ มาร์เก็ตติ้ง ได้ผลดีอีกประการหนึ่ง น่าจะมาจากการปรับคำพูดสไตล์ของข้อมูลข่าวสารให้เป็น Tailor made ที่แตกต่างกันตามสไตล์ของคนฟังข้อมูลได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่งานโฆษณาทั่วไปทำไม่ได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม งานการตลาดแบบปากต่อปากไม่ใช่เครื่องมืออเนกประสงค์ที่สามารถใช้ได้สารพัดสินค้า ในประสบการณ์การทำกิจกรรมทางการตลาดนี้ พบว่างานการตลาดแบบนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผลในงานประกันชีวิต แต่ค่อนข้างได้ผลกับการส่งเสริมการตลาดขนมหวานและกางเกงยีนส์ และคอนเสิร์ตที่ว่ามาแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us