Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 ธันวาคม 2549
ธอส.ห่วง'ซิตี้คอนโด'ปั๊มฟองสบู่ "ขรรค์"งัดตัวเลขยอดอนุมัติพุ่ง1พันอาคาร             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Real Estate




ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้คอนโดฯโตพุ่งพรวด ระบุตัวเลขการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยอาคารสูง เพียงแค่ไตรมาส 2 ทะลุ 1,045 อาคาร โต 129% กว่า 5.2 ล้านตร.ม. เตือนผู้บริโภคระวังซื้อ-ขายกระดาษ หวั่นภาวะฟองสระบู่ แนะให้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ประกอบการเชื่อถือได้หรือไม่ ยันปี 2550 วางเป้าปล่อยกู้ 90,000 ล้านบาท

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยถึงภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2550 ว่า จะยังมีการเติบโตต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับลดลงในครึ่งปีหลัง อัตราเงินเฟ้อไม่ปรับขึ้น ราคาน้ำมันเริ่มลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่การเมืองหลังมีการร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะราบรื่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตนค่อนข้างเป็นห่วงในส่วนของโครงการซิตี้คอนโดมิเนียม ที่มีแนวโน้มขยายตัวมากตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างมาก พิจารณาได้จากตัวเลขขออนุญาตก่อสร้างพบว่า ในไตรมาส 1 ผู้ประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงจำนวน 457 อาคาร จำนวนพื้นที่ก่อสร้างรวม 2,405,960 ตรม. ไตรมาส 2 ตัวเลขขออนุญาตก่อสร้างปรับสูงขึ้นอย่างมาก โดยมีจำนวน 1,045 อาคาร เพิ่มขึ้น 129% จำนวนพื้นที่อาคารรวม 5,212,893 ตรม.เพิ่มขึ้น 117%

ทั้งนี้ การเติบโตดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดการซื้อขายกระดาษหรือเกร็งกำไรขึ้น จนเกิดภาวะฟองสระบู่ได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการว่าเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้หรือไม่ ขณะที่ราคาคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบริเวณถนนรัชดาภิเษก ปรับขึ้นทะลุถึง 60,000 บาท/ตรม.แล้ว

“เชื่อว่าฟองสระบู่แตกคงไม่เกิดอีก เพราะตอนนี้แบงก์มีเครดิตบูรโรสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ได้ว่า มีหนี้อยู่ที่ไหนบ้างกู้เงินซื้อบ้านอยู่รึเปล่า ต่างจากเมื่อก่อนที่ตรวจสอบไม่ได้” นายขรรค์กล่าวถึงความแตกต่างของปัญหาที่ผ่านมา

แต่ตนก็ยอมรับว่า ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร(กทม.) อย่างถนนสุขุมวิทและถนนสาทร คอนโดมิเนียมที่ถูกสร้างส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติที่มองว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยถูกกว่าหลายประเทศ อย่างสิงคโปร์, ฮ่องกง หรือเซี่ยงไฮ้ของจีน ทำให้มีนักลงทุนจากต่างชาติให้ความสนใจ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลควรให้การสนับสนุนโดยการขยายระยะเวลาเช่าออกไปจาก 30 ปี เป็น 99 ปี หรือให้ซื้อขายสัญญาเช่าได้ ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดชาวต่างชาติขึ้นมาอีก อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการซื้อขายผ่านนอมินี ทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์

“ อย่างไรเสียต่างชาติก็มีวิธีการที่จะเข้ามา ไม่ว่า การใช้นอมินีเข้าถือแทน ถ้าขยายเวลาเช่าออกไปจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ ถึงกระนั้น สิ่งที่ต้องระวังคือ การที่ต่างชาติจะนำที่ดินที่มีสัญญาเช่าระยะยาวไปพัฒนา เพื่อหากำไรคนไทยอีกทอดหนึ่ง ”นายขรรค์กล่าว

สำหรับนโยบายของธอส.กรรมการผู้จัดการกล่าวว่า ยังคงมีนโยบายที่จะปล่อยกู้ให้แก่ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยวงเงินประมาณ 90,000 ล้านบาท และเดินหน้าโครงการบ้าน ธอส.-กบข. , ธอส.-การเคหะฯ และโครงการบ้านมั่นคง ที่รัฐบาลอนุมัติงบก่อสร้าง 2,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนให้นำสัญญาเช่ามาค้ำประกันเงินกู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าที่ดินของรัฐหรือที่ธรณีสงฆ์

เชื่อมออนไลน์อปท.เพิ่มอีก 7 จังหวัด

ด้านนายสัมมา คีตสิน รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดดำเนินการมาเป็นเวลา 2 ปี สามารถจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ผ่านเว็บไซท์ www.reic.or.th และในปีนี้ได้จัดทำวารสารศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สามารถขยายขอบเขตพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลจากกทม.-ปริมณฑล เป็น 30 จังหวัดในปี 2548 และปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่สามารถจัดเก็บครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว อาทิ สถิติการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 6 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบ, ที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูง, อาคารสำนักงาน, อาคารเพื่อการพาณิชย์ ,โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับข้อมูลที่ไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล แต่เป็นข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลยอดขายที่อยู่อาศัย การเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัย (Housing Starts) ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลชี้วัดด้านอุปทานและอุปสงค์ที่ขาดไป ศูนย์ข้อมูลฯ ใช้วิธีการการสำรวจภาคสนาม โดยในปี 2549 ทำการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย 3 ประเภท ได้แก่ บ้านจัดสรร ,อาคารชุดพักอาศัย และ อพาร์ตเมนต์-หอพักให้เช่า ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ - ปริมณฑล และ 11 จังหวัดในภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, พระนครศรีอยุธยา, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ชลบุรี, ระยอง, ภูเก็ต และสงขลา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประมวลผลข้อมูล และจะจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลการสำรวจภาคสนามดังกล่าวในปี 2550

" ผลการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลฯในปี 2549 นอกจากจะเป็นไปตามเป้าหมาย และยังมี 2 โครงการใหม่ที่เริ่มดำเนินการในปีที่ผ่านมา และจะขยายผลให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในปี 2550 โครงการแรก โครงการเชื่อมโยงระบบการจัดเก็บใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ ได้ดำเนินการติดตั้งโปรแกรมและจัดอบรมวิธีการใช้โปรแกรมออน ไลน์ให้แก่อปท. ในจังหวัดปริมณฑล 5 แห่ง และ 11 จังหวัดในภูมิภาคแล้ว "

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ มีแผนจะขยายการติดตั้งโปรแกรม และจัดอบรมวิธีการใช้โปรแกรมให้กับ อปท.เพิ่มอีก 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, นครสวรรค์, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, อุดรธานี, สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ทั้งนี้เพื่อลดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลการออกใบอนุญาตก่อสร้างจากแหล่งข้อมูลที่กระจายอยู่ในภาคต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งในปี 2549 ศูนย์ข้อมูลฯ ติดตั้งโปรแกรมให้กับ อปท. ไปแล้ว 1,769 แห่ง ปัจจุบันมีการส่งข้อมูลใบอนุญาตก่อสร้างอาคารผ่านระบบออนไลน์ กลับมาที่ศูนย์ข้อมูลจำนวน 8,852ใบอนุญาต

สำหรับผลงานการให้บริการข้อมูลของศูนย์ข้อมูลฯ ในปี 2549 มีผู้ใช้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.reic.or.th และสมัครเป็นสมาชิกแล้วจำนวน 2,900 ราย แบ่งเป็น สมาชิกประเภทบุคคลทั่วไป 2,798 ราย และสมาชิกประเภทนิติบุคคล 102 ราย โดยสมาชิกประเภทบุคคลทั่วไปที่ใช้บริการข้อมูลสูงสุดแยกตามอาชีพ 3 อันดับแรก ประกอบด้วย 1. อาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา 2. สถาบันการเงิน และ 3. บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปี 2550 ศูนย์ข้อมูลฯ มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนสมาชิกผู้ใช้บริการข้อมูลอีก 50%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us