Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"จีไอเอส" งัดข้อ "เอทีซี"6 เดือนของทักษิณน้อยเกินไปแล้ว"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

   
search resources

เนคเทค
รอยล จิตรดอน
Computer




เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจรแล้ว ที่พูดกันหนาหูในปัจจุบันก็คงหนีไม่พ้น "จีไอเอส" -GIS (Geographic Information System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประยุกต์มาจากการจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือแผนที่ โดยอาศัยการหาข้อมูลจากการภาพถ่ายทางอากาศ หรือทางดาวเทียม อันเป็นวิธีการวิเคราะห์ทรัพยากรด้านเกษตร และอุตสาหกรรมแต่ในอดีต โดยการนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจรนั้นได้มีการพัฒนาระบบการทำงานให้เป็นแบบ Client&Server ซึ่งมีหลักการคือเมื่อรวบรวมข้อมูลของแผนที่หลักและฐานข้อมูลแล้ว ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในเครื่อง Server ซึ่งด้วยระบบใหม่นี้ จะมีการปรับข้อมูลให้ถูกต้องตลอดเวลา และสอดคล้องกันทั้งระบบ

ผศ. ดร. รอยล จิตรดอน ผู้เชี่ยวชาญด้านจีไอเอสของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อรรถาธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า ด้วยระบบจีไอเอสนี้จะสามารถทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ นอกระบบ รวมถึงระบบจำลองแบบ (Simulation) ได้ด้วย รวมถึงความสามารถที่จะทำงานร่วมกับภาษาคอมพิวเตอร์ทั้งภาษา C หรือภาษา Fortran ได้ด้วยซึ่งระบบ Client&Server นี้จะดีกว่าระบบเก่า ที่รวมเทคโนโลยีเดิม ๆ ไว้ทั้งหมด นับตั้งแต่การเขียนแผนที่และข้อมูลบนแผ่นกระจก ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมที่สุดมาถึงการรายงานข้อมูลฝ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบจีไอเอสแบบใช้เครื่องเดียว (Stand alone) ซึ่งเป็นการสั่งการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะจุด

"เนื่อง ด้วยวิกฤตจราจรของไทยทรุดหนักถึงขนาดนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อจะต้องหาเทคโนโลยีในการแก้ไข ก็จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด และแน่นอนว่าจะต้องแพงขึ้นมาบ้าง แต่เท่าที่ได้คำนวณในขณะนี้ คาดว่าในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณในส่วนของเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากรประมาณ 40-50 ล้านบาทเท่านั้น"

สำหรับระบบจีไอเอสนี้ เป็นการร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจราจรที่ Nectec มีกับสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการติดต่อกับทางกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ที่จะมีการว่าจ้างให้ทางกรมฯ ถ่ายรูปทางอากาศ เพื่อให้เห็นสภาพโดยรอบของกทม. และเนื่องด้วยสาเหตุที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของชาติ การว่าจ้างให้กรมแผนที่ทหารถ่ายภาพทางอากาศจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีผลทำให้เครือข่ายจีไอเอสจำเป็นต้องล่าช้าออกไปบ้าง

เนื่องด้วยยังเป็นก้าวแรกของการนำจีไอเอสเข้ามาใช้กับจราจรเมืองไทย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ยังไม่สามารถใช้จีไอเอสอย่างเต็มรูปแบบได้ จึงต้องใช้ในรูปของกึ่งอัตโนมัติไปก่อน โดยยังต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรคอยสั่งการ ณ พื้นที่ด้วย ผสมผสานไปกับการสั่งจากหน่วยบังคับการที่ส่วนกลาง

ผศ. รอยล ยืนยันว่าด้วยระบบจีไอเอสนี้ จะช่วยลดการติดขัดของจราจรลงไปได้ประมาณ 15-20% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่สิ่งที่จะเป็นผลพวงคืออัตราอุบัติเหตุที่จะลดน้อยอย่างทันตาเห็นไม่น้อยกว่า 40% ในขณะที่อัตราความเร็วของรถจะเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรา 10-13 กม./ชั่วโมง

ด้วยเทคโนโลยีจีไอเอสนี้ ถือเป็นการวางรากฐานการบริหารจราจรอย่างเป็นระบบโดยการสร้างฐานข้อมูลให้แน่นหนา ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบมหภาค (Macro) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการแก้ไขด้วยเทคโนโลยีอื่นที่จะมีตามนั่นก็คือโครงการ "เอทีซี"-ATC หรือ Area Traffic Control ซึ่งดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหลักการที่ลึกลงไปรายละเอียดของจีไอเอสอีกขั้นหนึ่ง ด้วยการเข้าไปควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิดตามทางแยกต่าง ๆ ซึ่งในขั้นต้นจะมีอยู่ 144 ทางแยก ซึ่งเมื่อเต็มโครงการนั้นจะมี 372 ทางแยก โดยได้มีการตั้งงบประมาณต่อเนื่องเพื่อให้เสร็จสิ้นภายในปีหน้าด้วยงบถึง 656 ล้านบาท

ด้วยเอทีซีจะทำให้รากฐานในการวางระบบจีไอเอสที่มีมาก่อนหน้า สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากสายตาของตำรวจจราจร การใช้แผ่นใส และการรายงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วโทรทัศน์วงจรปิด ก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ทำให้การแก้ไขเป็นไปอย่างถูกจุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อการสั่งการของศูนย์บัญชาการเร็วขึ้นแล้ว ในระยะต่อไปก็อาจจะมีการเชื่อมโยงระบบนี้ เข้ากับสถานีโทรทัศน์หรือสถานีวิทยุต่าง ๆ ที่สามารถเผยแพร่สภาพจราจรที่เป็นจริงไปยังผู้ใช้รถใช้ถนน ในชั่วโมงเร่งด่วนได้อีกด้วย

แต่นั่นก็เป็นความฝันที่ทุกคนหวังไว้ว่าเทคโนโลยีการแก้ไขวิกฤตจราจรทั้งคู่จะเดินไปด้วยกันอย่างดี

แต่มาบัดนี้ เริ่มส่อแววแล้วว่าทั้ง 2 ระบบจะต้องเดินกันไปคนละทาง เนื่องด้วยการขาดการประสานงานระหว่าง 2 กลุ่มทำงานที่น่าจะทำงานให้ต่อเนื่องกัน ซึ่งจนถึงขณะนี้ คณะการทำงานของทั้ง 2 กลุ่มแม้ว่าจะเคยปรึกษาหาความสอดคล้องในการทำงานร่วมกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใด

โดยขณะที่จีไอเอสนั้นจะมีแม่งานใหญ่คือ NECTEC ซึ่งเป็นผู้ศึกษาและวางระบบให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้งานเท่านั้น ซึ่งกลุ่มทำงานจริงนั้นก็คือ สจร. และกองบังคับการตำรวจนครบาลทั้งเหนือ ใต้ และธนบุรีซึ่งขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งอยู่ในความดูแลของ มท.1 ที่ชื่อว่าบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ในขณะที่เอทีซี แม่งานที่แท้จริงคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะบริหารของ กทม. ชุดนี้ก็คือคนจากพรรคพลังธรรมซึ่งย่อมประสานงานใกล้ชิดกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรีที่ต้องเข้ามาดูแลปัญหาจราจรอย่างเข้มข้น ตามสัญญาประชาคม 6 เดือนที่ให้ไว้

แหล่งข่าวใน สจร. เปิดเผยว่า ในขณะนี้แทบจะเรียกได้ว่า ต่างฝ่ายต่างศึกษาในทิศทางของตนเอง จนกระทั่งในระดับปฏิบัติการของแต่ละฝ่ายจะทราบแต่เพียงเทคโนโลยีในส่วนของตนเท่านั้น แม้ว่าจะต้องทำงานร่วมกันในอนาคตก็ตาม

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ฝ่าย กทม. มักจะกล่าวหาว่า จีไอเอสนั้นเป็นเพียงโครงการบุกเบิกเพื่อประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงเนื้อแท้ของการแก้ไขด้วยเอทีซีในอนาคตเท่านั้น โครงการหลักที่แท้จริงมีแต่เอทีซีที่จะแก้ไขวิกฤตจราจรให้ผ่อนคลายได้"

จากจุดนี้เองทำให้เกิดความพะวงว่าเมื่อระบบเอทีซีจะต้องเริ่มใช้ภายในปลายปีนี้ แม้ว่าโดยเทคโนโลยีของเอทีซีจะแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากการสนับสนุนด้านข้อมูลพื้นฐานจากจีไอเอสเสียแล้ว

ความบาดหมางของจีไอเอสและเอทีซีก็จะกลายเป็นเงื่อนไขตามที่บีบคอทักษิณ ชินวัตร ให้ได้คิดว่าสัญญาประชาคม 6 เดือนที่ให้ไว้กับประชาชนนั้นน้อยเกินไปเสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us