Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ งานที่กาดสวนแก้วจะหนักกว่าที่ผาแดง?"             
 


   
search resources

ผาแดงอินดัสทรี, บมจ.
กาดสวนแก้ว
ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ




สิ้นเดือนตุลาคมนี้ "ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ" จะอำลาจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือได้ว่าประวิทย์มีอายุงานมากที่สุดคนหนึ่งในบริษัทดังกล่าว

การอำลาครั้งนี้ดูจะเป็นจริงและยากที่คณะกรรมการบริษัทจะทักท้วงเช่นเมื่อคราวก่อน

เหตุผลลึก ๆ ในการอำลาของประวิทย์ทั้ง 2 ครั้ง ดูไม่แตกต่างกันนักเพียงแต่ว่า ครั้งนี้ความจำเป็นที่ต้องออกไป ทับทวีมากขึ้นมากกว่าเมื่อ 1 ปีที่แล้ว

อาสา สารสิน ประธานผู้บริหารบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับการลาออกจากตำแหน่งของนายประวิทย์ ซึ่งข้อความตอนหนึ่งระบุว่า

"นายประวิทย์ ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากตำแหน่งมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2537 โดยขอเกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปี ตามข้อบังคับของบริษัท ที่ใช้กับพนักงานคนอื่น ๆ แต่บริษัทได้ขอให้ดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปตามวาระของกรรมการบริษัท ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2540 อย่างไรก็ตามในปีนี้นายประวิทย์ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกอีกครั้ง โดยขอให้พ้นจากตำแหน่งในสิ้นเดือนตุลาคม 2538 เพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว

เมื่อถึงคราวที่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการจะต้องว่างลง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะหาผู้มาดำรงตำแหน่งแทน ในขณะที่การบริหารงานขององค์กรแห่งนี้ยากยิ่งขึ้นทุกขณะ

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อถึงเวลาที่ตำแหน่งจะต้องว่างลงและบริษัทยังไม่สามารถหาผู้เหมาะสมมารับตำแหน่ง บริษัทคงต้องตัดสินใจให้อาสา สารสิน มาควบตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นการชั่วคราวไปก่อน เพราะอย่างน้อยอาสาก็เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว และยังติดตามงานของบริษัทมาโดยตลอดในฐานะของประธาน ซึ่งการเข้ารับตำแหน่งชั่วคราวก็เพื่อไม่ให้งานของบริษัทต้องสะดุด

สำหรับผาแดง ประวิทย์นับเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งขึ้นมาเลยทีเดียว ด้วยการรับหน้าที่ดูแลด้านเศรษฐกิจและการกู้เงินจากต่างประเทศ รวมทั้งการดูแลการก่อสร้างโรงงานถลุงแร่สังกะสีที่จังหวัดตาก ครั้งนั้นประวิทย์เข้ามาในลักษณะของการยืมตัวมาจากกระทรวงการคลัง โดยมารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงินเป็นเวลา 4 ปี

การก่อตั้งบริษัท ผาแดงอินดัสทรีเกิดขึ้นเมื่อปี 2524 เพื่อทำเหมืองแร่สังกะสีและผลิตโลหะสังกะสีจำหน่ายในประเทศ โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 20% เหตุผลของการตั้งบริษัทก็เพราะรัฐบาลขณะนั้นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาให้ฟื้นตัวขึ้นบ้าง เนื่องจากขณะนั้นไม่มีการลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ เกิดขึ้นเลย

ประวิทย์ที่อยู่ผาแดงช่วงแรก 4 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่โรงงานถลุงแร่ที่จังหวัดตากของผาแดงสร้างเสร็จและสามารถผลิตแร่ได้ในปี 2528 ซึ่งช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ประวิทย์จะต้องกลับไปรับราชการ เพราะหมดวาระในการดึงตัวมาช่วยงาน แต่จากผลงานที่ปรากฏทำให้ผู้บริหารของผาแดงในขณะนั้นเห็นฝีมือ จึงมีการชักชวนให้อยู่ต่อ

จนในที่สุดประวิทย์ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อมารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการรองผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีของผาแดง และอีกเพียงข้ามปีประวิทย์ ได้รับความไว้วางใจให้รับตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการ

นับจากปี 2528 ที่โรงงานสามารถถลุงแร่ได้เรื่อยมา บริษัทจึงเริ่มมีกำไรและเม็ดเงินกลับคืนมามากขึ้น จนปี 2530 จึงเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนับเป็นหุ้นที่ได้รับความนิยมในระดับแนวหน้าทั้งภาพลักษณ์ของหุ้นเก็งกำไรและหุ้นพื้นฐานผสมกันอย่างแยกไม่ออก

ช่วงปี 2532 นับเป็นช่วงสำคัญสำหรับประวิทย์เช่นกัน เมื่อผาแดงมีการเปลี่ยนผู้บริหาร โดยไกรศรี จาติกวณิชลาออกเพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว จากนั้นผาแดงจึงได้อาสา สารสินเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน

ในยุคของอาสา ผาแดงนับว่าเป็นองค์กรที่ขยายงานมากแห่งหนึ่ง และประวิทย์ก็ได้ช่วยอาสา บริหารงานร่วมกันมาตลอด

จนกระทั่งปี 2534 เมื่อรัฐบาลที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เชิญอาสา สารสินเข้าไปเป็นรัฐมนตรี ประวิทย์จึงต้องเข้ามารับผิดชอบงานแทนทั้งหมด

ซึ่งในยุคที่ประวิทย์เป็นกรรมการผู้จัดการของผาแดงนับจากปี 2534 เรื่อยมา กล่าวได้ว่า ผาแดงได้ถูกนำให้เข้าไปสู่ความเป็นองค์กรระดับนานาชาติมากขึ้นทุกที นอกจากนี้ยังสยายปีกไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีกมาก ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดในอนาคต

แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่น แม้การขยายงานจะเป็นผลดี แต่บางครั้งและบางช่วงโอกาส ก็อาจจะเกิดผลเสียที่คาดไม่ถึงได้ ดังเช่นการดำเนินงานช่วง 1 ปีจนถึงล่าสุดที่บริษัทต้องขาดทุนมากมาย

ในรอบครึ่งปีแรก 2538 นี้บริษัทผาแดงอินดัสทรี แม้จะมีกำไรสุทธิ 97.20 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2537 จะพบว่าเป็นกำไรที่ลดลงถึง 36.76% ประกอบสำคัญเมื่อนำผลประกอบการของบริษัทย่อยมารวมจะเห็นว่าในครึ่งปีแรกนี้บริษัทขาดทุนถึง 117.12 ล้านบาท ขณะที่ระยะเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 106.72 ล้านบาท

บริษัทย่อยเกือบทั้งหมดของผาแดงประสบปัญหาขาดทุนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผาแดง พร็อพเพอร์ตี้ ขาดทุน 62.15 ล้านบาท, ผาแดง พุงซาน ขาดทุน 63.25 ล้านบาท และภูเทพ ขาดทุน 2.68 ล้านบาท

ในยุคปลายของประวิทย์ดูเหมือนว่า ผาแดงจะอับแสงเต็มที

ขณะที่ ผาแดงยังคงมีทิศทางที่ไม่สดในนัก ประวิทย์กลับจะผละไป เพื่อเข้าไปปรับปรุงหรืออาจกล่าวได้ว่าฟื้นฟูอีกกิจการหนึ่ง

โครงการกาดสวนแก้วของ "สุชัย เก่งการค้า" ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ คือ กิจการที่ประวิทย์จะเข้าไปดูแลในฐานะประธานกรรมการ นับจากเดือนพฤศจิกายน 2538

"การเข้าไปปรับปรุงกิจการกาดสวนแก้วครั้งนี้ นับเป็นการช่วยเหลือ สุชัย ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายของ ประวิทย์ มากกว่าเหตุผลเป็นอย่างอื่น" ผู้ใกล้ชิดประวิทย์กล่าว

การปรับโครงสร้างการบริหารงานของกาดสวนแก้วจะมีขึ้นอย่างแน่นอนหลังจากประวิทย์เข้ามารับตำแหน่ง โดยก่อนหน้านี้ สุชัยในฐานะหุ้นส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ดูแลเองทั้งหมด ทุกเรื่อง แต่ด้วยความเป็นผู้บริหารที่มีอารมณ์ศิลปินเต็มตัว จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างรายได้จากงานที่ลงทุนไป

จนถึงปัจจุบัน "กาดสวนแก้ว" มีขาดทุนสะสมสูงถึงเกือบ 637 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และสูงขึ้นทุกปีด้วยเหตุนี้จึงต้องการผู้เข้ามากอบกู้

"เมื่อคุณสุชัยได้ผู้ที่ไว้วางใจเข้ามาดูแลกิจการทั้งหมด ทั้งโรงแรมปางสวนแก้ว โรงละครและศูนย์การค้า ตัวเองก็คงจะปลีกไปดูแลงานด้านโปรดักชั่นที่ถนัดเพียงอย่างเดียว ส่วนการสร้างรายได้จากสิ่งที่มีอยู่คงเป็นเรื่องของทีมบริหารใหม่ที่จะเข้ามา" แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกล่าว

ปัญหาเร่งรีบที่ประวิทย์จะต้องเข้าไปจัดการกับกิจการการสวนแก้วในขณะนี้ซึ่งคนเชียงใหม่ได้ยินได้ฟังมาก็คือ ปัญหาเรื่องบุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลาง ที่ระยะหลังเหลืออยู่น้อยและอีกปัญหาที่สำคัญที่สุด คือการกอบกู้สถานการณ์ด้านการเงินที่แย่อยู่มากให้คล่องตัวขึ้น ไม่เช่นนั้นทุกอย่างอาจจบสิ้น

การลาออกของประวิทย์เพื่อไปบริหารงาน ณ ที่แห่งใหม่ ดูเหมือนจะไม่แตกต่างกันเลยในเนื้อหา

ชีวิตหลังเกษียณของ "ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ" ดูจะหนักหนากว่าวัยทำงานด้วยซ้ำไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us