Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"ดร. พิบูลย์ ลิมประภัทร บุรุษผู้มากับความหวังของหุ้นนอกตลาด"             
 


   
search resources

ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ
พิบูลย์ ลิมประภัทร
Stock Exchange




บนชั้น 20 ของอาคารสินธร 3 ที่กำลังตกแต่งโฉมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,720 ตารางเมตรเป็น "ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ" (ศ.ล.ก.) หรือที่รู้จักกันในนามตลาดโอทีซี ประมาณปลายตุลานี้จะกลายเป็นศูนย์บัญชาการใหม่ของ ดร. พิบูลย์ ลิมประภัทร อดีตคณะบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สลัดคราบนักวิชาการธุรกิจสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนแรก ตามคำชวนของ ดร. สังเวียน อินทรวิชัย ประธานกรรมการ ศ.ล.ก.

ความเป็นหนุ่มโสดวัย 54 ของ ดร. พิบูลย์ผนวกกับวัยวุฒิและคุณวุฒิปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ รวมทั้งมีประสบการณ์เชิงธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประธานกรรมการบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์และกรรมการบริษัทเพรสิเดนท์ไรซ์ โปรดักส์ เป็นจุดเด่นที่ทำให้ ดร. พิบูลย์สามารถแบกรับภารกิจสร้างตลาดโอทีซีได้เต็มที่

แม้ตลาดโอทีซีจะเกิดช้าไปสิบปี แต่นับว่ายังไม่สายเกินไป เพราะตลาดหุ้นไทยในพอศอนี้พร้อมรับแนวความคิดเรื่องตลาดโอทีซีแล้ว นับจากการผลักดันอย่างหนักยุควิโรจน์ นวลแข ประธานคณะทำงานเรื่องนี้ จนถึงยุคประทีป วงศ์นิรันดร์เป็นนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์

ด้วยเงินลงขันของ 74 บริษัทสมาชิกผู้ก่อตั้งที่ยอมควักกระเป๋า "ลงทุนเพื่อซื้ออนาคต" รายละ 7 ล้าน ก็ทำให้ทุนจดทะเบียนของตลาดโอทีซีเป็น 500 ล้านบาทเกินเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้บวกกับเงินทุนหมุนเวียนที่ได้จากค่าบำรุงของสมาชิกอีก 300,000 บาทต่อราย ว่าแล้วก็ต่างทอฝันว่าตลาดโอทีซีจะเป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุนที่มีอนาคตรุ่งโรจน์สดใสในอนาคต

แต่สำหรับบริษัทที่จะสมทบภายหลังวันเซ็นสัญญาเมื่อ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา ตามระเบียบต้องจ่ายแพงขึ้นอีกจาก 7 ล้านเป็น 20 ล้าน ได้แก่บริษัทแอสเซทพลัส บงล. ลีลาธนกิจ บงล. ตะวันออกพาณิชย์ทรัสต์และ บงล.ไทยมิตซูบิชิอินเวสเมนท์

ปัญหาเรื่องเงินจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ภารกิจหนักของ ดร. พิบูลย์หลังจากที่ร่างจัดตั้งผ่านการอนุมัติจาก ก.ล.ต. แล้ว คือการสรรหาสินค้าคุณภาพประเภท "จิ๋วแต่แจ๋ว" เข้ามาเทรดในตลาดน้องใหม่นี้

"ขนาดของธุรกิจไม่มีกำหนด บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 10-20 ล้าน หากมีศักยภาพเติบโตก็สามารถเข้ามาระดมทุนได้ ผมมั่นใจภายในสิ้นปีนี้จะมีหลักทรัพย์เข้ามาเทรดได้ 5-6 บริษัท ซึ่งก็น่าจะพอ เพราะขณะนี้มีบริษัทที่ยื่นความจำนงแล้ว 15 รายโดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 5-6 แห่ง" ดร.พิบูลย์เล่าให้ฟัง

เป็นที่คาดหวังว่าตลาดโอทีซีนี้จะอ้าแขนรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่พลาดโอกาสจะเข้าไปตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเนื่องจากคุณสมบัติต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่มีทางเลือกที่จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดโอทีซีได้

แม้ว่าตลาดโอทีซีของไทยจะแตกต่างกับต้นแบบ NASDAQ ที่สหรัฐอเมริกาตรงที่มีปลอกคอจากมหาอำนาจ ก.ล.ต. คุมอยู่ เมื่อบริษัทที่จะนำสินค้ามาซื้อขายต้องแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้วกระจายหุ้นกับ ก.ล.ต. ก่อนจะนำหุ้นเข้ามาขอจดทะเบียนเทรดในตลาดโอทีซีซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น โดยเกณฑ์การพิจารณาไม่ยุ่งยาก

สำหรับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 500 ล้านเช่นบริษัทไมโครเนติคซึ่งเลือกจะเทรดในตลาดโอทีซีหลังจากเพิ่มทุนเป็น 80 ล้าน ก็ต้องกระจายหุ้นไม่ต่ำกว่า 10% ให้กับประชาชน แต่ถ้าหากทุนจดทะเบียนเกิน 500 ล้าน ต้องยื่นกระจายหุ้น 15% และมีกรรมการอิสระ 2 คน

"มีหลายคนมองว่าหลักเกณฑ์เข้าตลาดโอทีซีโดยทางตรงแล้วดูเหมือนจะไม่ค่อยเข้มงวดมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุนจดทะเบียน หรือไม่ต้องมีผลกำไรต่อเนื่อง 3 ปีแต่จริง ๆ แล้วขั้นตอนสุดท้ายก่อนการอนุมัติจะต้องผ่านความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. หากเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง ก.ล.ต. ก็คงไม่อนุมัติ" จิตติมา เคหะสุขเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริษัทสมาชิกโอทีซีเล่าให้ฟัง ก่อนหน้านี้จิตติมาเคยอยู่ฝ่ายวาณิชธนกิจของ บงล. เอกสิน

ความเสี่ยงยิ่งมาก ผลตอบแทนยิ่งสูง ตลาดโอทีซีจึงเป็นทางเลือกใหม่ ล่าสุดมีบริษัท 20 รายเสนอสินค้าเข้ามาช่วงแรก โดยเฉพาะครึ่งหนึ่ง จะเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็ก และขนาดกลางที่ต้องแข่งขันกันหาแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำในการสะสมซื้อที่ดิน (แลนด์แบงก์)

"สาเหตุที่กลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สนใจจะเข้าเทรดในตลาดโอทีซี ก็คงเป็นเพราะที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน อุตสาหกรรมนี้ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ประกอบกับหุ้นในกลุ่มที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ขาดสภาพคล่อง ทำให้ทางตลาดมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเป็นพิเศษในการรับ ขณะที่ความต้องการทุนไปขยายธุรกิจต้องไปกู้ธนาคาร ทำให้ต้นทุนสูงตามภาวะดอกเบี้ย ตลาดโอทีซีจึงเป็นทางออกในการระดมเงินต้นทุนต่ำที่ดีที่สุดในขณะนี้" กรรมการผู้จัดการตลาดโอทีซีอธิบาย

ภายในสิ้นปีนี้ ภาพประวัติศาสตร์ของการเทรดในตลาดโอทีซีจะปรากฏ มีบริษัทจดทะเบียนเพียง 5 รายเข้ามาเปิดม่าน นักลงทุนจะเห็นกระดานราคาสินค้าตลาดโอทีซีในจอคอมพิวเตอร์ตามห้องค้าหุ้นของแต่ละโบรกเกอร์ โดยศูนย์ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ

ระบบการซื้อขายของตลาดโอทีซีก็เป็นแบบไทย ๆ ที่ประสมประสานระบบดีลเลอร์ชิปที่ใช้ "คนทำ" กับระบบออโตแมตชิ่งที่ใช้ "เครื่อง" ทำหน้าที่จับคู่เมื่อมีคำสั่งซื้อหรือขายเข้ามา ค่าคอมมิชชั่นก็คิดจากวอลุ่มซื้อขายแบบ "รีเกรท ซีฟ เรต" ถ้าไม่เกิน 50,000 บาทเก็บค่า 1% แต่ถ้าเกิน 50,000-200,000 บาท เรียกเก็บ 0.75% และถ้าเกินกว่า 200,000 บาทเก็บ 0.5%

ดังนั้น ผลตอบแทนเล็กน้อยจากตลาดโอทีซีระยะแรกจึงไม่ดึงดูดความสนใจของโบรกเกอร์ เพราะไม่คุ้มเมื่อเทียบกับการนำบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โบรกเกอร์จะได้ค่าธรรมเนียม 10-20 ล้านบาท ขณะที่จดทะเบียนในตลาดโอทีซีโดยมีขนาดทุนจดทะเบียนแค่ 50 ล้าน จะได้เงินแค่ 1-2 ล้านบาทเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ขั้นตอนการเป็นที่ปรึกษาการเงินต้องทำงานหนักเท่า ๆ กัน

ถึงกระนั้นก็ตามแต่ตลาดโอทีซีก็ต้องมีไว้เป็นทางเผื่อเลือกไว้รองรับลูกค้าที่พลาดเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประเภทเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน ซึ่งในอนาคตเบี้ยเล็ก ๆ ที่วันนี้อาจดูด้อยค่าอาจพลิกผันเป็นเบี้ยทองคำ ดังเช่นแอปเปิลคอมพิวเตอร์เคยอาศัยช่องทางระดมทุนจากตลาดโอทีซี NASDAQ แล้วรุ่งโรจน์เป็นยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ฉะนั้นยิ่งตลาดโอทีซีเกิดขึ้นได้เร็วเท่าใด โอกาสที่ปลาเล็กจะมีโอกาสเกิดและเติบโตเป็นปลาใหญ่ยิ่งมีมากเท่านั้น !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us