Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538
"BOURSE GAME เกมเรียนๆ เล่นราคาแพงของซิตี้แบงก์"             
 


   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
ปัญญา จรรยารุ่งโรจน์
Banking




เมื่อซิตี้แบงก์ประเทศไทยประกาศจัดเล่นเกมแน่นอนย่อมไม่ใช่เกมธรรมดาเพราะ BOURSE GAME เป็นเกมค้าเงินที่โด่งดังระดับโลกของซิตี้แบงก์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้านำเข้าที่มีชาวสิงคโปร์หรือฟิลิปปินส์สอนคนไทยเล่นด้วยภาษาอังกฤษ แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทีมคนไทยกำกับเวทีเอง นำทีมโดยปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารเงินซิตี้แบงก์ ซึ่งร่วมงานกับซิตี้แบงก์กว่า 10 ปี หลังจากจบวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และเอ็มบีเอจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

"ตอนนี้บุคลากรด้านบริหารการเงินนี้ก็ขาดแคลนหนักมาก ประเทศไทยมีไม่กี่ร้อยคน ขณะที่สิงคโปร์เขามีดีลเลอร์ค้าเงินเป็นหมื่นคน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราจัดสัมมนานี้ขึ้นมาเพื่อสร้างคน ที่ซิตี้แบงก์ ฝ่ายของผมมีคนอยู่ 35 คนที่ไม่ใช่ค้าเงินอย่างเดียวแต่ทำตราสารหนี้และดอกเบี้ยด้วย เราโชคดีที่ปีนี้ไม่มีใครลาออกสักคนเดียว แต่ว่าหลายแบงก์โดนซื้อตัวไปเช่น อินโดสุเอซแบงก์และดอยแบงก์" ผู้จัดการฝ่ายบริหารเงินของซิตี้แบงก์เล่าให้ฟัง

BOURSE GAME เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบจำลองของจริงที่ให้ความรู้สึกตื่นเต้นกับความโหด มัน ฮา ขณะที่ต้องซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศที่ต้องวางแผนบริหารความเสี่ยงและรู้จักใช้กลไกเครื่องมือทางตลาดเงินเพื่อกำไร หัวใจสำคัญอยู่ที่การโค้ดราคาล่วงหน้าที่เรียกว่า FORWARD ที่ผู้เล่นต้องเข้าถึงความประสานกันระหว่างกลไก "สปอต" กับตลาดอัตราดอกเบี้ย

ความไม่ธรรมดดาที่ผู้เล่นยอมจ่ายเงิน 75,000 บาทกับการเล่นเกมนี้เพียง 5 วันโดยกินอยู่หลับนอนที่โรงแรมรีเจนท์ นับว่าเป็นการลงทุนที่แพงมากแต่คนเล่นอย่าง ศศิวิมล จาตุกัญญาประทีป ผู้จัดการฝ่ายบริหารการเงินของ บงล.จีเอฟ บอกว่า

"คุ้มจริงๆ ฟังดูเหมือน 75,000 บาทแพง แต่จริง ๆ ถ้าหากเราบินไปเรียนที่สิงคโปร์ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่าแสนทั้งค่าเครื่องบินและที่พักโรงแรมเพื่อนร่วมทีมก็มีมาจาก บงล. เอกธนาและซิตี้แบงก์ เท่าที่ดูไฟแนนซ์มาเยอะเพราะหลายแห่งเตรียมตัวเป็นแบงก์"

จำนวนผู้เล่น BOURSE GAME ครั้งนี้มีทั้งหมด 33 คน ที่ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และกลุ่มซิตี้แบงก์ที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ ปะปนกับเจ้าหน้าที่ค้าเงินของคนซิตี้แบงก์บางส่วน

ผู้เล่นทั้ง 33 คนจะถูกแบ่งเป็น 11กลุ่ม ๆ ละ 3 คนโดยสมมติให้แต่ละกลุ่มคือตัวแทนของแต่ละแบงก์ ต่างก็สวมบทบาทนักค้าเงินตัวยง โดยมีซิตี้แบงก์เล่นเป็นแบงก์ที่ 12 คือแบงก์ชาติ (STATE BANK) ผู้คอยกำกับดูแลและแทรกแซงตลาดเงิน

ในสองวันแรกความรู้ในห้องเรียนที่ทีมงานของปัญญาสอนเชิงทฤษฎีคือ การจัดองค์การบริหารการเงิน กำเนิดของตลาดเงิน กำเนิดและวิวัฒนาการของ EURO CURRENCY กับตลาดเงินนอกประเทศปัจจัยที่กระทบตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา และดอกเบี้ย

ยิ่งเรียนก็ยิ่งเจาะลึกลงไปถึงกลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยน จะคิดสปอตอย่างไรและโค้ดราคา FORWARD ที่กำหนดล่วงหน้า 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ซึ่งผู้เรียนต้องใช้เวลาหนึ่งวันเต็ม ๆ เพื่อสอนให้เข้าใจถึงความประสานกันระหว่าง สปอตกับตลาดดอกเบี้ยซึ่งหัวใจสำคัญของการโค้ดราคาตลาด FORWARD ขึ้นอยู่กับสองตัวนี้

นอกจากนี้ยังมีการสอนถึงการบริหารทรัพย์สินหนี้สินในแง่สภาพคล่อง และพูดถึงตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือตลาดเงินใหม่ ๆ รวมถึงการอธิบายถึงตลาดการเงินไทย ตะกร้าเงินและดัชนีค้าเงินของซิตี้แบงก์ ตลอดจนสอนเครื่องมือการวิเคราะห์เชิงเทคนิเคิลประเภทกราฟ

หลังจากปูพื้นฐานความรู้ในห้องเรียนจุใจแล้ว ความเร้าใจตื่นเต้นกับเกมค้าเงินก็บังเกิดขึ้น แต่ละกลุ่มสุมหัวกันวางแผนทำกำไรวางกลยุทธ์ค้าเงินกันอย่างจริงจังภายในห้องพักที่กลายสภาพจำลองห้องค้าเงินไปเสียแล้ว ตามพื้นห้องเต็มไปด้วยแผงสายไฟ 4-5 เส้นเดินไปเชื่อมต่อกันทั้ง 11ห้อง

นี่คือการลงทุนมหาศาลของซิตี้แบงก์ที่วางเครือข่ายสื่อสาร สำหรับ BOURSE GAMES ครั้งนี้ ซึ่งใช้เพียง 3 วันก็ต้องรื้อทิ้งไปเปล่า ๆ

ภายในห้องค้าเงิน เสียงกริ่งโทรศัพท์ 3 เครื่องดังระรัวไม่หยุด เสียงโค้ดราคาซื้อขายเงินตราต่างประเทศตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็มีโทรทัศน์ 2 เครื่อง ซึ่งที่จอภาพจะมีกระดานราคาซื้อขายเงินตรา 3 สกุลและอัตราดอกเบี้ย 4 สกุลซึ่งรวมของไทยด้วย บนกระดานจะเห็นมีทั้งหมด 12 บรรทัดก็คือ 12 แบงก์นั่งเอง

"ขอซื้อเงินเยนที่ 17.220 ขอซื้อ 30เหรียญ โอ.เค. คอนเฟิร์มครับ!" เสียงโทรศัพท์ที่ระวังไม่ว่างเว้นสลับกับข้อมูลบนจอภาพที่เป็นทั้งข่าวจริงและข่าวลือที่ถูกปล่อยออกมาเขย่าตลาดค้าเงินเช่น ข่าวนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะลาออกแล้ว ความผันผวนจากปัจจัยต่าง ๆ นับว่าเป็นสิ่งท้าทายผู้เล่นเกมที่เหมือนจริงมาก ๆ นี้ว่าจะวางแผนบริการความเสี่ยงอย่างไรจึงจะกำไรหรือขาดทุน โดยใช้ความรู้ในห้องเรียนมาใช้จริง

"ผู้เล่นเขาจะชอบมากเลยที่มีการซื้อขายแม้จะเป็นเงินปลอม แต่ละวันเราจะมีรายงานผลงานว่ามีกำไรหรือขาดทุน และสุดท้ายจะสรุปว่ากลุ่มใดจะเป็นเดอะเบสท์แบงก์" ปัญญาเล่าให้ฟัง

BOURSE GAMES รุ่นนี้จบลงอย่างสวยงามและประทับใจผู้เล่นมากบ้างน้อยบ้าง ขณะที่ชีวิตจริงของนักบริหารเงินเฉกเช่น ปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ยังต้องเหนื่อยแบบสนุกกับงานค้าเงินที่เป็นตลาดที่ต้องเปิดหูเปิดตาตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันเลิกตราบเท่าที่พระอาทิตย์ยังฉายแสง ณ ตลาดเงินทุกประเทศ

"เป็นอาชีพที่ต้องใช้เวลาเยอะมาก ถ้าหากไม่รู้จัก "หยุด" ก็จะเหนื่อยมากเป็นพิเศษ" ปัญญา นักบริหารการเงินซิตี้แบงก์เล่าให้ฟัง

ถึงจะเหนื่อยแต่อาชีพนักค้าเงินก็ยังต้องการอย่างยิ่งยวดในยุคเปิดเสรีทางการเงิน ภาพการไล่ล่าซื้อตัวนักบริหารเงินและวาณิชธนกรกันด้วยค่าตัวอันแพงลิบลิ่ว สะท้อนปัญหาขาดแคลนหนักเช่นนี้แล้วความฝันที่จะให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคนี้คงเป็นชาติหน้าตอนบ่าย ๆ กระมัง และ BOURSE GAMES ของซิตี้แบงก์ที่จะเปิดรุ่นต่อไปในวันที่ 20 พฤศจิกายน ศกนี้ก็ยังขายได้และเป็นที่ต้องการของคนหนุ่มสาวค้าเงิน แม้จะแพงถึงระดับแสนก็ตาม !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us