Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2537
หทัยรัตน์ จุฬางกูร ฝันจะเป็นเจ้าของไฟแนนซ์             
 


   
search resources

หทัยรัตน์ จุฬางกูร




เมื่อบริษัทเงินทุนไทยธนากร ถึงยุคต้องเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่อีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารทหารไทยได้เสนอขายหุ้นที่ถือไว้ทั้งหมด 20% ของทุนจดทะเบียนออกจากพอร์ต โดยกลุ่มที่ซื้อไปคือกลุ่มสี่แสงโยธา โดยสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการผู้จัดการบริษัท สี่แสงโยธา ซื้อ 6.8 นิพนธ์ โกศัยพลกุล 6.6 % วรวิทย์ ชวนะนันท์ ถือ 4% ราคารับซื้อตกหุ้นละ 67.50 บาท ราคารับซื้อเป็นเงินมูลค่าไม่ต่ำกว่า 337.50 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่มแรกเข้ามาซื้อหุ้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา ราคาของหุ้นไทยธนากรเคลื่อนไหวผิดปกติ ได้กระโดดจากราคาที่ทรงตัว 63-65 บาทจากราคาเพดานถึง 91.50 บาท พฤติกรรมอันน่าสงสัยว่า " ใครคือขาใหญ่" ทำให้เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. จับตามอง และได้เข้ามาขึ้นเครื่องหมาย ดีเอส เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา
ปรากฏว่า ในวันที่ขึ้น ดีเอส หุ้นไทยธนากร ก็มีรายงานชื่อของหทัยรัตน์ จุฬางกูร" แจ้งการถือครองหุ้นต่อสำนักงานกำกับหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เพราะถือไว้ถึง 8.6 7% ซึ่งเถือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อันดับสองของ บง.ไทยธนากร ทีเดียว

หทัยรัตน์ จึงถูกจับตาอย่างสงสัยว่า มีคงวามโยงใยเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มสี่แสงโยธาหรือไม่ หากเป็นจริงการถือครองหุ้นทั้งสองนับรวมกันถือเกิน 25% หรือเท่ากับ 28.67% ซึ่งจะต้องมีการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ หรือคำเสนอซื้อหุ้นจากรายย่อย

โดยแท้จริงแล้ว ชื่อของหทัยรัตน์ จุฬางกูร อาจไม่เป็นที่รู้จักในวงการเงินและตลาดหุ้น เพราะมหาเศรษฐีคนนี้ร่ำรวย เงียบ ๆ จากอาณาจักรพันล้านกิจการผลิตเบาะและชิ้นส่วนอะไหล่ป้อนอุตสาหกรรมรถยนต์ ในนามบริษัท " กลุ่มซัมมิทโอดตซีท" ซึ่งมีสามีคือสรรเสริญ จุฬางกูร เป้นคีย์แมนคนสำคัญดูแลธุรกิจน้อยใหญ่ ส่วนตัวเธอเอง หันไปจับธุรกิจเรียลเอสเตท ในนามบริษัท ซัมมิท ปาร์ค

แต่หากโยงใย สายสัมพันธฺ์กลุ่มนี้เข้ากับตระกูล " จึงรุ่งเรืองกิจ"ซึ่งเข้าไปซื้อเงินทุนหลักทรัพย์ บีซีซี ก็
จะพบความเกี่ยวดองเป็นพี่น้องกันคือ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ น้องชายของสรรเสริญ ก็เป็นเจ้าของอาณาจักรกลุ่ม "ซัมมิทโอโตพาร์ท" และหลังจากซื้อกิจการ บงล. บีซีซี ได้แล้ว พัฒนาก็ส่งสมพร จึงรุงเรืองกิจไปดูแลแทน

"นามสกุลจุฬางกูร ของสามีพี่ได้ให้พระอาจารย์ตั้งให้เกิดทีหลัง นามสกุลจึงรุ่งเรืองกิจของคุณพัฒนา แต่คุณสรรเสริญซึ่งเป็นพี่คนโตก็ไม่ได้บังคับให้น้อง ๆ เปลี่ยน น้อง ๆ ส่วนใหญ่ซึ่งใช้นามสกุลจึงรุ่งเรืองกิจ จึงยังใช้อยู่เพราะเกรงใจพี่คนที่สอง" หทัยรัตน์ เล่าให้ฟังถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกันซึ่งมีอยู่ 5 คน ได้แก่สรรเสริญ จุฬางกูร และน้อง ๆ อีกสี่คน จึงใช้นามสกุล จึงรุ่งเรืองกิจคือ พัฒนา โกศล สุริยะ และอริสดา

สำหรับ " กลุ่มซัมมิทโอโตซีท" ของสรรเสริญ ก็เคยเข้าประมูลหุ้น 67 ล้านหุ้น ของบริษัทหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ แต่ต้องมาพ่ายแพ้กับกลุ่มกฤษดานครของวิชัย กฤษดาธานนท์ ไปอย่างเฉียดฉิวในที่สุด เพียงหุ้นละ 31 สตางค์ เท่านั้น เมื่อเอา Discount rate 9% มาคำนวณค่าเงินสดปัจจุบัน กลุ่มซับมิทเสนอ 2,098 ล้านบาท ราคาต่อหุ้น 31,114 บาท ซึ่งแพ้กลุ่มกฤษดานครที่เสนอ 2,119 ล้านบาท และราคาต่อหุ้น 31,430 บาท " ในอนาคตก็คิดว่า ยังสนใจดูอยู่ในธุรกิจไฟแนนซ์ เพราะาอยากจะฉีกแนวจากอุตสาหกรรมเดิมออกไป เราน่าจะใช้ขยายไปอย่างอื่นบ้าง เพราะเราต้องเตรียมการให้ลูกชายทั้งสี่" หทัยรัตน์ เล่าให้ฟัง หลังจากพลาดหวังจาก ไอทีเอฟ

การซื้อหุ้นบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ของหทัยรัตน์ กลายเป็นขาใหญ่ คนหนึ่งที่ถูกจับตามองจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะการซื้อหุ้นไทยธนากร เพิ่มอีก 4.55% เข้าพอร์ต โดยซื้อผ่านโบรกเกอร์เบอร์ 6 หรือบงล ภัทรธนกิจ
เป็นหลัก

"ดิฉันเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นไทยธนากร ตั้งแต่ยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตอนนั้นถืออยู่ 5 % ของทุนจดทะเบียน โดยซื้อนราคาพาร์ 10 บาท แต่พอหุ้นเข้าตลาด ก็ทำให้สัดส่วนการถือลดเหลือเพียง 4.12% จากนั้นก็ไม่สนใจหุ้นตัวนี้เลย ก็ได้รับปันผล 3 บาทต่อหุ้นเท่านั้น จนกระทั่งมีข่าวว่า กลุ่มสี่แสงโยธา เข้าซื้อ ลูกชายบอกให้ซื้อเพิ่มก็เลยทำ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มใดเลย" หทัยรัตน์ เล่าให้ฟัง

โดยส่วนตัวหทัยรัตน์ มีความสนใจในธุรกิจที่ดินมานานแล้ว มีทั้งซื้อเก็บสะสมและลงทุนซื้อเพื่อรองรับการขยายโรงงานอุตสาหกรรมอีกนับสิบ ๆ กิจการ เช่นโรงงานซัมมิท สเตรียริ่งวิล ที่ผลิตพวงมาลัยรถ หรือโรงงานซัมมิท อิเลคทรอนิกส์ คอมโพเน้นท์ ที่ผลิตชิ้นส่วนซีดีเป็นต้น

" ตอนที่มาตั้งโรงงานแถบนี้ยังไม่แพง แต่ตอนนี้จับไม่อยู่ ที่ดินข้างเคียงจะขาย 26 ล้านต่อไร่ สามีอยากได้มาก เพราะจะได้ขยายเนื้อที่ไป แต่เราก็ซื้อที่ดินตรงบริษัทธานินทร์ยูเนี่ยน อุตสาหกรรม ตรงถนนกิ่งแก้ว ตรงนี้ซื้อและจ่ายเงินเป็นเงินส่วนตัว แต่อีก 20 กว่าไร่จะซื้อในนามบริษัท รวมแล้วก็จ่ายรวม 200 กว่าล้าน พี่จะถือเรื่อง
ฮวงจุ้ย เหมือนกัน ถ้าหากตั้งอยู่บนทางสามแพร่ง พี่จะไม่เอาเลยแม้จะราคาถูกอย่างไรก็ตาม มันไม่สบายใจ" หทัยรัตน์ เล่าให้ฟัง

ความสนใจต่อกิจการเงินทุนหลักทรัพย์ ซึ่งมีศักยภาพเติบโตยังคงอยู่ในจิตใจของคนในตระกุลจุฬางกูร เพียงแต่รอจังหวะและโอกาสเปิดเมื่อไหร่เท่านั้นนั้น หทัยรัตน์ จึงยังเป็น ขาใหญ่ ที่โบรกเกอร์ ชั้นนำ ต้องรู้จักเธอ แม้ว่าครั้งหนึ่งเธอจะเคยพลาดหวังจาก บงล.ไอทีเอฟ ก็ตามที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us