Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"ยุทธศาสตร์ "ซิทก้า" ก้าวกระโดดแบบคนรุ่นใหม่"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

 
Charts & Figures

กำไรสุทธิ
กำไรสุทธิต่อหุ้น
สินทรัพย์รวม

   
related stories

"วีระ มานะตรีคงชีพ บิ๊กบอยแห่งซิทก้า"

   
search resources

ซิทก้ากรุ๊ป
วีระ มานะตรีคงชีพ
Financing




ยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้วิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่อย่างวีระ มานะคงตรีชีพ ทำงานอย่างได้ผล ภายใน 3 ปี ซิทก้าโตแบบก้าวกระโดดเป็นไฟแนนซ์ระดับกลางที่มีสินทรัพย์รวมไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท เตรียมแตกหน่อธุรกิจการเงินให้ครบวงจรอย่างเร้าใจด้วยพลังหนุ่มสาววัย 30 ผลลัพธ์ของวิสัยทัศน์ปี 2000 ของวีระจะนำสถาบันการเงินคนรุ่นใหม่ให้รุ่งไปได้แค่ไหนในบรรยากาศเศรษฐกิจไร้ฟองสบู่ ?

วีระ มานะคงตรีชีพ ในช่วงปี 2527-29 ได้รับขนานนามว่าเป็น "เด็กอัจฉริยะแห่งสิโนทัยทรัสต์" นักเศรษฐศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องจากมหาวิทยาลัยเยลผู้นี้ได้สร้างประวัติการทำงานเยื่ยมด้วยบุคลิกโดดเด่นเชื้อสายพันธุ์มังกรที่ฉับไว ได้ปูทางไปสู่อาชีพนักการเงินที่รุ่งโรจน์

ดาวรุ่งอย่างวีระแจ้งเกิดในห้วงวิกฤตการณ์การเงินรุนแรงปี 2526-2529 "แบงก์ล้มทรัสต์ปิด" โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่บริหารระบบครอบครัว ในภาวะตกต่ำและขาดความน่าเชื่อถือนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สิโนทัยทรัสต์ (ต่อมาในปี 2533 เปลี่ยนชื่อเป็น "บงล. ซิทก้า") ซึ่งก่อตั้งโดยผู้ถือหุ้นใหญ่ สุธีร์ อัสสรัตน์ ร่วมกับเสฐียร เตชะไพบูลย์ และสมคิด พนมยงค์ ก็ประสบปัญหาเช่นกัน แต่ได้ประคองตัวให้รอดพ้นได้ ต่อมาในปี 2527 สุธีร์ได้ทาบทามคนรุ่นใหม่อย่าง วีระ มานะคงตรีชีพ เข้าเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหนุ่มเพื่อสร้างภาพพจน์มืออาชีพ

ด้วยกลยุทธ์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ วีระได้เข้าปรับแผนยุทธศาสตร์ซิทก้าเจาะทะลุตลาดโลกาภิวัฒน์ยุคดิจิตอล คือ

หนึ่ง-ยุทธศาสตร์ระยะยาว ที่ทอผันจะให้ซิทก้ากรุ๊ปเป็น "สถาบันการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่" ที่ให้บริการธุรกิจทางการเงินครบวงจร (FULL FINANCIAL SERVICES) ไม่ต่ำกว่า 12 ประเภทธุรกิจคอนเซ็ปต์ใหม่ภายใต้นโยบายเปิดเสรีการเงิน ตั้งแต่บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทวาณิชธนกิจ (อินเวสเมนท์แบงก์) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทเครดิตการ์ด บริษัทลิสซิ่ง บริษัทเช่าซื้อ บริษัทขายผ่อน บริษัทประกันชีวิต บริษัทจัดการกองทุน (แอสเซท แมเนจเมนท์) บริษัทบริการสินเชื่อเคหะ และบริษัทจัดการกองทุนไพรเวทฟันด์

"ซิทก้าเห็นว่าแนวยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจของเราในอีกห้าปีข้างหน้ากำหนดไว้ชัดเจนว่า เราจะเป็นสถาบันการเงินที่ใช้บริการการเงินอย่างครบวงจรโดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือธุรกิจรุ่นใหม่และชนชั้นกลางรุ่นใหม่ เราจะเป็นสถาบันการเงินของคนรุ่นใหม่ นี่คือปณิธานของซิทก้ากรุ๊ป" วีระผู้บริหารซิทก้าหนุ่มวัย 38 พูดถึง "คนรุ่นใหม่" ราวกับว่าจะเป็นทิศทางใหม่ของอุตสาหกรรมบริการการเงินในอนาคต ที่มีส่วนกำหนดกระแสธุรกิจและวิถีอุปโภคบริโภค

สอง-ยุทธศาสตร์ระยะสั้นที่ปรับทิศทางสินเชื่อสู่ภาคพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค การค้า ขณะเดียวกันก็เปิดศึกการตลาดรุกรีเทลแบงกิ้งโดยกระจายสู่สินเชื่อบุคคล ภายใต้คอนเซปต์ใหม่ "ซิทก้า เครดิต คลับ" ที่นำเสนอเป็นแพคเกจบริการทางการเงินแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นมนุษย์เงินเดือนบริษัทมหาชน

สาม-ยุทธศาสตร์โตแล้วแตก ด้วยพันธมิตรธุรกิจที่ขยายเครือข่ายและศักยภาพเชิงซินเนอยี่ให้เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับพันธมิตรธุรกิจต่างประเทศและในประเทศ เช่นครั้งที่ร่วมลงทุนกับแบงก์เครติดอะกริโกลซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่เชี่ยวชาญสินเชื่อส่วนบุคคลแห่งยุโรป

ก้าวกระโดดภายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดพันธมิตรธุรกิจซิทก้ายิ่งกว่าที่ซิทก้าเคยเป็นมาในช่วง 20 ปี พัฒนารูปแบบธุรกิจการเงินใหม่ ๆ ให้ครบวงจร จากฐานธุรกิจดั้งเดิม บงล. ซิทก้า สู่กิจการในเครือ 10 แห่งที่มาจากการร่วมลงทุนหรือซื้อควบกิจการเช่น บงล. มหานครทรัสต์และรุกหนักที่จะเป็นผู้นำที่หนึ่งในสายธุรกิจเช่าซื้อรถ โดยใช้บริษัทซิทก้าลิสซิ่งเป็นฐานขยายไปซื้อบัญชีลูกหนี้สยามกลการ บริษัทกาญจนบุรี เอส. ไอ. ลิสซิ่ง และบริษัทสระบุรี เอส. ไอ.ที ลิสซิ่ง นอกจากนี้ธุรกิจบัตรเครดิตก็มีบริษัทซิทก้า เอ็มบีเอฟ คาร์ด ทำธุรกิจมาสเตอร์การด์เป็นหลัก ธุรกิจแฟคเตอริ่งที่ซิทก้าร่วมลงทุนในบริษัท เอ็มบีเอฟ แฟคเตอร์ส (ประเทศไทย) ให้บริการเงินทุนในรูปแบบรับซื้อบัญชีลูกหนี้จากลูกค้า และติดตามเก็บเงินแทน ส่วนบริษัทพานาเชนทำธุรกิจเช่าซื้อเครื่องไฟฟ้า เช่นเดียวกับบริษัทไดสตาร์เชน (ดูล้อมกรอบก้าวกระโดซิทก้า)

สี่-ยุทธศาสตร์สร้างภาพพจน์ความน่าเชื่อถือขององค์กร ที่จะนำไปสู่การทำแบงก์พาณิชย์และธุรกิจที่บริการการเงินใหม่ ๆ ซิทก้ากรุ๊ปจะมีคณะกรรมการที่ทรงคุณวุฒิและวัยวุฒิอยู่มาก โดยเฉพาะอดีตผู้ใหญ่ของแบงก์ชาติ เช่น ศ. วารี หะวานนท์ อดีตรองผู้ว่าการฯ ที่เข้าบริหารฟื้นฟูแบงก์สยาม ประจวบ พันธุมจินดา อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการที่มีบทบาทสร้างระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ยุคใหม่ของแบงก์ชาติ ประพาพิมพ์ ศกุนตาภัย อดีตโฆษกแบงก์ชาติ ชัยชาญ วิบุลศิลป์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายสัมพันธ์ ลิ้มตระกูล อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการพนักงาน และอำนวย ลิ้มตระกูล อดีตผู้จัดการกองทุนฟื้นฟู

ทั้งนี้ประธานกรรมการคือ อนันต์ อนันตกูล อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยที่เคยเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้วิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่ ทำงานอย่างได้ผล กำไรสุทธิที่เคยได้เพียง 12 ล้านในปี 2534 ก้าวกระโดดเป็น 286 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขนาดสินทรัพย์รวมของซิทก้ากับ บงล. มหานครทรัสต์ ก้าวจากขนาดเล็กสู่สถาบันการเงินระดับกลางทันทีคือ 30,258 ล้านบาทจากเดิมปี 2533 อยู่ที่ 1,595 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณธุรกิจเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ก็พุ่งพรวดจาก 3,147 ล้านบาทเป็น 19,405 ล้านบาท (ดูตาราง)

เบื้องหลังของตัวเลขเงิน ๆ ทอง ๆ บนแท่งกราฟที่ดูดีนี้ เกิดจากวีระได้ปรับเปลี่ยนแนวทางบริหารสู่มืออาชีพ ผนวกกับยุทธวิธีซื้อควบกิจการและสร้างพันธมิตรธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดลักษณะซินเนอยี่แบบหนึ่งบวกหนึ่ง ให้ผลมากกว่าสอง

กรณีซิทก้าซื้อควบกิจการ บงล. มหานครทรัสต์ เป็นตัวอย่างของการช่วยเหลือทางพันธมิตรธุรกิจที่คลาสสิกมาก ๆ เพราะเดิมมหานครทรัสต์นั้นทางตระกูลเตชะไพบูลย์ถือหุ้นใหญ่ 94.6% แต่การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพจนกระทั่งขาดทุนสะสมมหาศาลถึง 900 ล้านบาท ถึงขั้นแบงก์ชาติต้องบังคับให้ต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการ ในที่สุดซิทก้าก็เข้าเทกโอเวอร์หุ้น 84.6% มูลค่าเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,527 ล้านบาท

ความสัมพันธ์ระหว่างสุธีร์ อัสสรัตน์กับตระกูลเตชะไพบูลย์รู้จักกันมานานแม้เมื่อตั้งสิโนทัยทรัสต์ยุคแรก เสถียร เตชะไพบูลย์ อดีตเจ้านายเก่าที่แบงก์เอเชียสมัยที่สุธีร์ทำงานอยู่เป็นผู้อำนวยการ ผ่ายต่างประเทศก็ยังถือหุ้นร่วมอยู่ เมื่อถึงคราวมหานครทรัสต์ตกที่นั่งลำบากเมื่อสามปีที่แล้ว มียอดขาดทุนสะสม 900 ล้านบาทขณะที่สินทรัพย์รวมเพียง 1,000 ล้านบาทและยังไม่ได้เพิ่มทุน ซิทก้าก็ไม่กล้าเสี่ยงเข้าไปรับเพราะเพิ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

จนกระทั่งสองปีผ่านไป ขณะที่ซิทก้าโตเร็วเหมือนต้นไม้ได้ฝนจากนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน แผ่กิ่งก้านอาณาจักรธุรกิจบริการทางการเงินไปไกล มีสินทรัพย์รวมเฉพาะซิทก้าตัวเดียวปีที่แล้วก็ปาเข้าไป 25,289 ล้านบาท ซิทก้าจึงเข้าซื้อควบกิจการมหานครทรัสต์ ซึ่งได้เพิ่มทุนเป็น 1,805 ล้านบาทและตัดยอดขาดทุนสะสมเหลือ 763 ล้านบาทแล้ว ซึ่งหนึ่งในลูกหนี้รายใหญ่ก็คือบริษัทโรงแรมเชียงใหม่ออคิดที่มียอดหนี้ 480.2 ล้านบาท

"เราคงจะพร้อมที่จะยื่นเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2539 จากนี้ไปเราจะเดินตามรอยซิทก้า คือจะขยายตัวไปทุก ๆ ด้านซึ่งในชั้นต้นนี้ต้องแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่มีคุณภาพให้ดีขึ้น โดยการลดทุนจดทะเบียนลงจาก 1,805 ล้านบาทให้เหลือ 1,100 ล้านบาท แล้วจะมีการเพิ่มทุนอีกครั้ง" สมชาย วสันตวิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการทั่วไปของมหานครทรัสต์กล่าว

ต่อมาเกิดกรณียิ่งซื้อยิ่งโต คือ กลุ่มบริษัทซิทก้าสายลิสซิ่งเข้าไปรับซื้อบัญชีลูกหนี้เช่าซื้อรถจากบริษัทสยามกลการจำนวน 22,841 บัญชีที่มีมูลค่าบัญชี 4,049 ล้านบาท ดีลนี้เป็นผลงานของจรูญศักดิ์ มนทิวาลัย ผู้จัดการสายการลงทุนและโครงการพิเศษที่ทำให้ธุรกิจเช่าซื้อของซิทก้าเพิ่มมาร์เกตแชร์สูงถึง 15% หรือ 12,000-13,000 ล้านบาททันที แม้ว่าจะมีข้อวิตกกังวลของคนภายนอกต่อปัญหาคุณภาพสินเชื่อบางส่วน

"ซิทก้า ลิสซิ่งจะเป็นกำลังสำคัญในธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลิสซิ่งรถยนต์ ต้นปีหน้าเราจะเริ่มบุกโดยใช้ 69 สาขาทั่วประเทศโดยจะมีกลุ่มเอ็มซีซีของกฤษดานครเข้ามาร่วมด้วย ผมยืนยันว่าเราจะเป็นบริษัทที่มีคุณภาพสินเชื่อดีที่สุดแห่งหนึ่ง" วีระแถลง

นับว่าเป็นโชคดีของซิทก้า หลังจากเทกโอเวอร์มหานครทรัสต์แล้ว ซิทก้าเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เพียงหนึ่งเดียวที่มีกำไรสูงสุด จัดงานแถลงข่าวใหญ่ประกาศผลดำเนินงานไตรมาสสองปีนี้และเปิดตัว "ดร. วรภัทร โตธนะเกษม" ที่จะมารับตำแหน่งประธานบริหารบริษัทหลักทรัพย์ซิทก้า

ด้วยเสียงดังกังวานของวีระว่า "กำไรพุ่ง 457%" หรือเม็ดเงิน 355.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้วกำไรเพียง 63.74 ล้านบาท ท่ามกลางภาวะผันผวนของตลาดหุ้นที่ตกต่ำยิ่งกว่าเศรษฐกิจสบู่ไร้ฟอง ซิทก้ามีรายได้ในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ 2,066 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันถึง 198.5% ก็กลายเป็นข่าวพาดหัวหน้าการเงินทุกฉบับ

ที่มาของรายได้และกำไรที่ก้าวกระโดดนี้ มาจากการขายหุ้นมหานครทรัสต์แก่พันธมิตรธุรกิจอย่างเช่น บริษัท ช. การช่างที่รับซื้อ 12 ล้านหุ้น ๆ ละ 22 บาท รวมมูลค่า 276 ล้านบาท แต่ชำระงวดแรกเพียง 20% ที่เหลือจะจ่ายตอนโอนปลายปีนี้ ซึ่งก็จะทำให้การรับรู้รายได้เกิดขึ้นในไตรมาสที่สี่ซึ่งกำไรจะสูงกว่าที่อื่น

เปรียบเสมือนยิงนกสองตัวด้วยกระสุนนัดเดียว กลยุทธ์การขยายฐานสินทรัพย์ให้เป็นไฟแนนซ์ขนาดกลางนี้ รองรับการตั้งแบงก์พาณิชย์ที่มี ช. การช่างร่วมเป็นแกนนำด้วย

โดยหลักการมหานครทรัสต์จะค่อย ๆ แก้ไขภาวะขาดทุน DILUTE ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหานักลงทุนมาซื้อกิจการต่อไปได้ อัตราก้าวหน้าของกำไรซิทก้านี้เป็นที่ริษยาของโบรกเกอร์อื่น ๆ ว่าหาใช่ฝีมือการบริหารไม่ ! นักวิเคราะห์หุ้นบางสำนักไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพราะคาดว่าปีหน้า ความสามารถการทำกำไรและรายได้จะลดลงจาก 500.76 ล้านในปีนี้เป็น 387.58 ล้านในปีหน้า ภายหลังเพิ่มทุนแล้วจะเกิด DILUTION EFFECT ต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นมาก

"ปีหน้าจะเป็นปีที่เราเริ่ม CONSOLIDATE จากธุรกิจที่เรามีสิบกว่าแห่งเข้าด้วยกัน และหนุนเกื้อตัวหัวใจคือบริษัทเงินทุนซิทก้าให้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นปีหน้า ค่าใช้จ่ายดำเนินการของบริษัทเงินทุนซิทก้าจะลดลงมาก เพราะเราจะมีการแยกออกไปด้านธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทซิทก้า เอ็มบีเอฟ คาร์ด เราจะหาพาร์ตแนอร์ใหม่ ธุรกิจจัดการกองทุนรวมเราแยกไปจัดตั้งร่วมกับแบงก์ศรีนคร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เราแบกไว้ในปีนี้และปีที่แล้วก็จะไม่เกิดขึ้นในปีหน้า นี่เป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุน" วีระเล่าให้ฟังแบบชวนฝันดีฝันเด่น

หุ้นเพิ่มทุนใหม่ 146 ล้านหุ้นจากทุนจดทะเบียน 940 ล้านเป็น 2,400 ล้านบาทได้จัดสรร 94 ล้านหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ในราคาหุ้นละ 25 บาท ขณะที่อีก 52 ล้านหุ้นให้กลุ่มบุคคลเฉพาะเจาะจง (PRIVATE PLACEMENT) 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก 27 ล้านหุ้น ที่ซิทก้าจะขายให้กับหมู่พันธมิตรธุรกิจใหญ่ที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน 8 ราย ที่วีระภูมิในนักหนาวันเปิดตัวซิทก้ากรุ๊ปที่ดุสิตธานีประกอบด้วย บริษัท กฤษดามหานคร 10 ล้านหุ้น ปัญญา ควรตระกูล 7.2 ล้านหุ้น บริษัทสยามกลการ 2.6 ล้านหุ้น บริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ 2.6 ล้านหุ้น บริษัท ซุ่นฮั่วเส้ง โฮลดิ้ง 2 ล้านหุ้น สรรชัย วัฒนสมบัติ 1 ล้านหุ้น บริษัท อิมพีเรียล บางนา 1 ล้านหุ้น และบริษัท ไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์ป 0.6 ล้านหุ้น

ราคาซื้อขายสำหรับคนกันเองนี้ จะคำนวณ 95% ของราคาถัวเฉลี่ยราคาปิดระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม -17 พฤศจิกายน 2538

กลุ่มที่สอง 25 ล้านหุ้น จะจัดสรรให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นนักลงทุนสถาบัน 17 ประเภท โดยกำหนดราคาวิธีสอบราคาจากลุ่มผู้ลงทุนแล้ว (BOOK BUILDING) งานนี้วีระพร้อมฝ่ายจัดการคงได้เดินทางทำ "โรดโชว์" ในสหรัฐฯ อังกฤษ ฮ่องกงในปีหน้า

"โครงการโรดโชว์ในต่างประเทศเราเลื่อนไปปีหน้า เพราะสภาพตลาดไม่เอื้ออำนวย ออกไปก็เหนื่อย แต่คิดว่าระดมทุนภายในประเทศก็ได้มากพอแล้ว เรื่องเพิ่มทุนไม่มีปัญหา ช่วง 20-24 พ.ย. เป็นช่วงทะยอยชำระค่าหุ้น ถ้าไม่รีบไปกรรมการเอาไปจัดสรรกันเองนะ" พอวีระพูดจบ ทันใดนั้นเสียงอุทาน "ไอ้หยา!" ของเสาวนีย์ ลิมมานนท์ พีอาร์ใหญ่ก็ดังขึ้นเตือนเกรงผิดกฎตลาดหุ้น

การประกาศเพิ่มทุนนี้แม้จะมีแผนงานรองรับการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นการขยายเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งตามข้อกำหนดแบงก์ชาติต้องไม่ต่ำกว่า 7,800 ล้านบาทจึงรองรับธุรกิจหลักทรัพย์ที่แยกได้ หรือเตรียมพร้อมทำธุรกิจบริการทางการเงินในอนาคต เช่นการจัดตั้งบริการจัดการกองทุนรวม บริษัทซิทก้าประกันชีวิตรวมทั้งที่ซิทก้าจะเป็นแกนนำตั้งแบงก์พาณิชย์ใหม่ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจอย่าง ช. การช่าง และสถาบันการเงินต่างประเทศ

"เงินกองทุนของบริษัทถึงสิ้นปีนี้เราจะเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่มีขนาดกองทุน 8 พันล้านบาท ก็คิดว่ายิ่งใหญ่พอควรที่จะเสนอตัวเองเข้ารับใช้สังคมในการเป็นสถาบันการเงินที่สมบูรณ์แบบและครบวงจร" วีระเล่าให้ฟัง

แต่แผนงานดังกล่าวยังเป็นที่สงสัยว่าความสามารถในการทำกำไรที่ผ่านมายังไม่เป็นที่ยอมรับของโบรกเกอร์อื่น เพราะซิทก้าโตด้านสินทรัพย์อย่างมาก และครึ่งปีหลังนี้ผู้บริหารซิทก้าได้พยายามรักษาสัดส่วนการขยายธุรกิจโดยลดการเพิ่มของสินทรัพย์ลง แต่เน้นให้บริษัทมีกำไรและรายได้มากขึ้น โดยความหวังอยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่จะช่วยเพิ่มวอลุ่มธุรกิจ 20%

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมแห่งใหม่พร้อมจะแจ้งเกิดทันทีภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้การบริหารงานของสมชาย วสันตวิสุทธิ์ วัย 40 ปี ซึ่งจะโยกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั่วไปของ บงล. มหานครทรัสต์ ประวัติการทำงานก่อนเข้าร่วมกับซิทก้า เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ในเครือไอเอฟซีที นอกจากนี้เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารอินโดสุเอช

"ในช่วงเริ่มต้นเราจะออกกองทุนปิดก่อน เพราะการออกกองทุนเปิดนั้นเราต้องมีความพร้อมทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่จะนำมารองรับในการซื้อคืนหน่วยลงทุน กองทุนปิดนี้จะมีมูลค่าประมาณ 2,500-3,000 ล้านบาท" กลยุทธ์ของสมชายเตรียมสู้คู่แข่งเดิม 8 รายกับใหม่อีก 4-5 ราย ด้วยวิธีแตกต่างที่ใช้ระบบบริหารความเสี่ยงของกองทุนรวมในโมเดล ATP (ARBITRAGE PRICING THEORY)

ขณะที่สมชายทุ่มเทเวลากับงาน บลจ. ใหม่อย่างหนัก ปีหน้าโบรกเกอร์หน้าใหม่เบอร์ 46 อย่างบงล. ซิทก้าก็เตรียมเดินเครื่องบุกตลาดหุ้น โดยสามขุนพลระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อย่างสุรพล นำศิริกุลที่ดูแลสายบริการและพัฒนาหลักทรัพย์ กับวีรวุฒิ สรรพกิจ ดูแลสายธุรกิจเงินทุน 1 ขณะที่สุชาติ ปิยะศิรินนท์ดูแลสายวาณิชธนกิจ

ในระยะ 3-4 ปีนี้ ซิทก้าโตด้านหลักทรัพย์ช้ากว่าด้านธุรกิจเงินทุนซึ่งโตนับร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้ซับโบรกเกอร์อย่างซิทก้ามีมาร์เกตแชร์เพียง 0.7-0.8% ต่อเนื่องมาหลายปี และเคยมีช่วงตลาดหุ้นบูมและมีปัญหาปั่นหุ้น 4 อภินิหาร ซิทก้าก็ได้ปิดบัญชีลูกค้าที่มีปัญหาจำนวนนี้ไป

ในอดีตซิทก้าไม่มีโอกาสเป็นโบรกเกอร์ จึงไม่มีประวัติผลงานเป็นอันเดอร์ไรเตอร์หุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ที่ผ่านมาซิทก้าจะเน้นการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้าที่มีอยู่ 7-8 ราย ขณะที่งานด้านการวิจัยซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความน่าเชื่อถือก็ยังต้องพัฒนายกระดับ

หลังจากที่เคยพลาดหวังมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อกลางปีนี้ บงล. ซิทก้าก็ได้รับเลือกเป็นโบรกเกอร์น้องใหม่เบอร์ 46 ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ วีระได้ทาบทาม ดร. วรภัทร โตธนะเกษม เข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการซิทก้าที่เข้าทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ที่เหลือเป็นกรรมการให้กับบริษัทในเครือของวิกรม กรมดิษฐ์ เช่น บริษัทบางปะกงอินดัสเตรียล ปาร์และบริษัทอมตะซิตี้ที่ระยอง

"เมื่อผมออกจากแบงก์ ใครเชิญผมเป็นกรรมการผู้จัดการ บงล. ผมปฏิเสธทันที เพราะผมเลยจุดนั้นแล้ว ถ้าผมไปเป็นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะเราจะไปลุยสู้กับเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้กรรมการผู้จัดการอายุ 34-37 ที่เก่งและทันเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ถ้าจะใช้ประสบการณ์ต่อเนื่องของผมในระดับประธานหรือรองประธานบริหาร ผมคง CONTRIBUTE ได้ดีกว่า" นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ ดร. วรภัทรตอบรับเป็นประธานบริหารบริษัทหลักทรัพย์ของซิทก้า นอกเหนือจากเหตุผลสี่ข้อที่ต้องอยู่ในสายการเงินต้องมีทีมรองรับ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เป็นกรรมการบริษัทธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ขัดแย้งกับซิทก้า และสุดท้ายคือ มีเวลาสอนหนังสือที่เขารักได้

แม้ว่า ดร. วรภัทรจะมีภาพลักษณ์ของนักวิชาการธุรกิจ และไม่เคยมีประสบการณ์บริหารธุรกิจหลักทรัพย์มาก่อน แต่ก็อยู่ในแกนกลางของข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในคลื่นลูกที่สาม ปัจจุบัน ดร. วรภัทรเป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณารับหลักทรัพย์ และกรรมการบอร์ดโอทีซีชุดแรก

"ผมสนับสนุนเต็มที่กับการที่ซิทก้าเข้าเป็น DISIGNATED DEALER ซึ่งทำหน้าที่เป็นมาร์เกตเมกเกอร์ของหุ้นสินทรัพย์นครที่เทรดในตลาดโอทีซี ตั้งแต่วันแรกหรือ DAY-ONE จะเป็นการลงทุนในการเรียนรู้ธุรกิจใหม่ มันอาจใช้เวลาเป็นปีกว่าตลาดโอทีซีจะบูม เมื่อถึงเวลานั้นเราบอกลูกค้าได้เลยว่าเราเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่จะเอาหุ้นลูกค้าเข้าตลาดโอทีซี มันคุ้มที่จะโดดลงไปเล่นด้วย" นี่คือวิสัยทัศน์ของ ดร. วรภัทร

ตอนนี้เรามีอดีตนักเรียนทุนกสิกรไทยมาร่วมงานกับเรานับสิบคน" จากคำบอกเล่าของวีระ ซิทก้าได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมหัวกระทิสำคัญ ๆ เช่น สมชาย วสันตวิสุทธิ์ที่จบฮาร์วาร์ดร่วมรุ่นเดียวกับ ดร. ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ในช่วงเติบโตก้าวกระโดด ซิทก้าได้ขุนพลที่เต็มไปด้วยพลังคนหนุ่มสาวที่ผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์การเงินให้เคลื่อนไหวในทิศทางไร้พรมแดน ไร้พันธนาการ

บุญเลิศ อันประเสริฐพร เป็นตัวอย่างหนึ่งของอดีตคนกสิกรไทยที่ลาออกมาร่วมงานกับวีระ ด้วยวัยเพียง 31 ปีวันนี้บุญเลิศมีตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีลูกค้าพิเศษ และผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อบุคคล 1 ซึ่งล่าสุดรับผิดชอบโครงการ "ซิทก้า เครดิต คลับ" ที่เปิดตัวยิ่งใหญ่แต่ไม่เร้าใจกับลีลาการพูดของบุญเลิศสลับฉากกับการฉายความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์

บนเวทีแถลงข่าว ทั้งวีระและบุญเลิศดูราว "คู่แฝด" จนนักข่าวบางคนสับสน เนื่องจากมีหุ่นแบบพิมพ์นิยมลักษณะสั้น ท้วม เตี้ย บุคลิกสวมแว่นและลีลาคำพูดคล้าย ๆ กัน

บุญเลิศเริ่มงานกับซิทก้าได้ 1 ปี 8 เดือน หลังจากที่เคยอยู่กสิกรไทยมาเกือบ 7 ปี โดยมีตำแหน่งล่าสุดเป็นหัวหน้าส่วนฝ่ายคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการศึกษาบุญเลิศจบปริญญาตรี สถิติศาสตร์ สถิติประยุกต์(ธุรกิจ) จากรั้วสีชมพูจุฬาลงกรณ์หลังจากนั้นได้สอบชิงทุนกสิกรไทยได้ไปเรียนต่อปริญญาโทสาขาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยมินิโซต้า

"หลังจากที่ผมใช้ทุนที่กสิกรไทยเรียบร้อย ผมก็ร่วมงานที่ซิทก้า เพราะความต้องการส่วนตัวของผมอยากจะกระโดดมาอยู่อีกสนามหนึ่ง ตอนแรกผมเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสายการตลาดและย้ายมาคุมด้านสินเชื่อบุคคล ผมก็เอาเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริการได้

ส่วนที่มองว่าทำไมที่นี่ผู้บริหารอายุน้อย ผมคิดว่าอายุไม่ใช่ตัวบอกว่าความสามารถของคนมีมากหรือน้อยแค่ไหนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทุกคนทำงานหนักเราถึงวันนี้ได้ ซึ่งสิ่งที่เราได้มาไม่ใช่เรื่องฟลุ้กแต่เป็นความสามารถของทีมงาน"

นี่คืออหังการของ บุญเลิศหนึ่งในผู้บริหารดาวรุ่งคนหนึ่งที่ซิทก้า ซึ่งมีพลังแรกกล้าที่ฝันให้ไกล ไปให้ถึงเป้าหมายการเป็นสถาบันการเงินของคนรุ่นใหม่ที่ให้บริการครบวงจร ภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2000 ของวีระ มานะตรีคงชีพ ที่มักทำอะไรใหญ่เกินตัวเสมอ !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us