Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"ละครบทเก่าของนักเล่นหุ้น "ฆ่าตัวตาย-ประท้วง-คลังแทรกแซง"             
 


   
search resources

เสรี จินตนเสรี
Stock Exchange
วิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพ




ข่าวร้ายยุคไร้สติปราบเซียนหุ้นสิ้นปี กดดันให้วิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพต้องฆ่าตัวตายประท้วงตลาดหลักทรัพย์เปรียบไปก็เหมือนโศกนาฎกรรมในบ่อนการพนัน ที่ผู้เล่นยอมรับกติกาบ่อนไม่ได้และมองโบกในแง่ร้ายกว่าความเป็นจริง กติกาที่ว่านี้คือมาตรการฟอร์ชเซลล์ที่บังคับขายหุ้นที่ไปวางค้ำประกันเงินกู้มาเล่นหุ้น เพื่อลดความเสี่ยง

"แม้จะมีการประท้วงด้วยการยิ่งด้วยการยิงตัวตาย ก็ไม่ได้กระทบต่อหน้าที่ของผมเพราะจะทำอะไรต้องมีสติและรอบคอบ ไม่ใช่เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ทำอะไรไม่ถูก ซึ่งผมจะอยู่หน้าที่ในฐานะผู้นำของตลาดหุ้นต่อไป" เสรี จินตนเสรียืนยัน ฐานะกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต่อไป หลังหายช็อคจากเหตุร้ายที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา

การประท้วงกดดันให้ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ลาออกครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก ในปี 2525 ยุคตลาดหุ้นที่เคยซื้อขายกันวันละ 250 ล้านบาทต่อวัน ลดเหลือเพียงวันละไม่ถึง 10 ล้าน นักเล่นหุ้นรายย่อยแบบมาร์จิ้นต่างเจ็บหนักขณะที่โบรกเกอร์กลุ่มหนึ่งก็เรียกร้องให้กระทรวงการคลังยุคปู่สมหมาย ฮุนตระกูลเป็น รมว. คลังเข้าช่วยเหลือภาวะซบเซานี้ ผลจากการแทรกแซงครั้งนั้นทำให้สามผู้บริหารระดับสูงของตลาดหลักทรัพย์ยื่นใบลาออก ได้แก่บัณฑิต บุณยะปานะ ประธานกรรมการ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม กรรมการและผู้จัดการทั่วไป และทวี วิริยฑูรย์ รองผู้จัดการ

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาของตลาดหลักทรัพย์โศกนาฏกรรมของผู้ลงทุนรายย่อยได้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2520 หุ้นของราชาเงินทุนของเสรี ทรัพย์เจริญที่ปั่นราคาจาก 275 บาท พุ่งขึ้นสูงสุด 2,470 บาท และภายในปีเดียวกันก็หล่นวูบลงเหลือ 375 บาท บริษัทราชาเงินทุนมีปัญหาชำระเงินคืนลูกค้าผู้ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ เพราะเช็คเด้งเนื่องจากแบงก์กรุงเทพปฏิเสธการจ่ายเงิน จนทางแบงก์ชาติต้องเพิกถอนใบอนุญาตนักเก็งกำไรที่กู้ยืมเงินทองทั้งหมดซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อหวังรวยจากลูกหุ้นราคาถูกต่างก็สิ้นเนื้อประดาตัว บ้างก็โดดตึกฆ่าตัวตาย บ้างก็เป็นบ้าเคาะกระดานสูง-ต่ำอยู่ในโรงพยาบาลศรีธัญญา เป็นที่น่าสลดสังเวชใจ

แม้เวลาจะเพิ่มประสบการณ์ชีวิต แต่สัจธรรมที่ว่าความโลภไม่เคยปรานีใครก็ทำให้เกิดเหยื่อรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพราะคิดว่าเป็นคนละเรื่องที่น่าจะออกตัวได้ทัน แต่อนิจจา…กรณีของวิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพก็เกิดขึ้นฟ้องตัวเองว่ากู้ยืมเงินเล่นหุ้นและติดหุ้นราคาสูงไว้ เมื่อถูกบังคับขายก็แทบบ้าฆ่าตัวตายเพื่อประท้วงเสรี โชคร้ายที่วิวัฒน์ลืมคิดไปว่า ในการพนันทุกชนิดคนรวยที่สุดคือ "เจ้ามือ" ส่วนคนที่เล่นชนะแล้วรู้จักเลิกเล่น นั่นแหละคือหนทางรอด

ท่ามกลางความวิตกกังกลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่ง ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นถึง 3 แสนกว่าล้านบาทหรือเกือบจะถึง 7% ของจีดีพี ทำให้นักลงทุนต่างชาติขนย้ายเงินหนีไปหาตลาดอื่น ๆ กระทบกระเทือนดัชนีหุ้นตกต่ำวันละ 15-20 จุด การแก้ไขปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดต้องใช้เวลาหลายปีที่จะลดยอดขาดดุลให้เหลือต่ำกว่า 1% ตามเป้าหมาย ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่าต่อให้เทวดามาเกิดก็แก้ไม่ได้ระยะสั้น แต่ที่หยิบกยมาเป็นประเด็นคือความไม่เชื่อมั่นในผู้บริหารกระทรวงการคลัง

"ถ้ามีความมั่นใจ ทุกคนก็จะยอมซื้ออนาคต แต่หลังจากที่ผ่านมา 3 เดือนต่างชาติดูแล้วไม่ค่อยแน่ใจก็เลยขายดีกว่า" ดร. สมชายวิเคราะห์เหตุให้ฟัง

วิกฤตการณ์ตลาดหุ้นขณะนี้เป็นหนึ่งในแรงกดดันทางการเมือง ที่มีผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล และเศรษฐกิจโดยม็อบเซียนหุ้นและโบรกเกอร์ต่างดาหน้าสู่ทำเนียบรัฐบาล และรุกหนักทางกระทรวงการคลังให้แทรกแซงเข้าช่วยเหลือเหมือนละครฉากเก่า ๆ ที่เคยเป็นมา

แรงกดดันทางการเมืองนี้ผลักดันให้บทบาทของสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะประธานกรรมการต้องออกมาทำหน้าที่ "หมอใหญ่" ผ่าตัดรักษาคนไข้โรคถุงเงินอักเสบ ด้วยมาตรการเสริมสภาพคล่องในตลาดตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. ศกนี้ ด้วยการจัดสรรเงินกู้ 30,000 ล้านบาทที่ระดมย่านแบงก์กรุงไทยแก่ผู้เล่นหุ้นในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน 10% ต่อปี

เม็ดเงินที่อัดฉีดไป 30,000 ล้านบาทนี้แบ่งเป็นสองก้อน ก้อนแรก 10,000 ล้านบาทให้กับนักเล่นหุ้นประเภทมาร์จิ้นผ่อนชำระโดยไม่เรียกหลักประกันเพิ่มหรือบังคับขาย ส่วนที่เหลือ 20,000 ล้านบาทเสริมสภาพคล่องโดยแบงก์กรุงไทยจะเป็นคนคัดเลือกให้สินเชื่อแก่บริษัทในสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ที่จะเป็นผู้กำหนดซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง

นอกจากนี้การปรับลดอัตราอินนิเชียลมาร์จินลงจากเดิมที่คิดในอัตรา 40% เหลือ 30% ก็เพิ่มกำลังซื้อให้มากขึ้นเนื่องจากมีเม็ดเงินใหม่ ๆ เข้ามาเสริมสภาพคล่อง เสริมด้วยมาตรการที่ให้ออกซิเจนแก่คนไข้หนัก ด้วยการรับจำนำใบหุ้นเก่าซึ่งถือเป็นทางออกสำหรับผู้เล่นหุ้นที่ถูกบังคับขายในบางส่วนด้วย

แต่มาตรการระยะสั้นทั้งหลายทั้งปวงที่เร่งเสริมสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์นี้ มีปัญหาใหญ่ที่หนักหน่วงอยู่ประการเดียว คือคนไข้ไม่มั่นใจว่า "หมอใหญ่" อย่างสุรเกียรติ์ เสถียรไทยจะชำนาญโรคหรือไม่ ?!

ดังนั้นข่าวร้ายสิ้นปีนี้จึงอาจจะเป็นแรงกดดันทางการเมืองที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีคลังคนใหม่ในปีหน้า ขณะที่นักลงทุนรายย่อยก็ต้องเผชิญชะตากรรมยามเศรษฐกิจไร้ฟองสบู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us