Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"พอล สมิธ เวลา 5 ปีกับความหวังใหม่ของฟุตบอลไทย ?"             
 


   
www resources

โฮมเพจ-สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

   
search resources

อินเตอร์เนชั่นแนล แมเนจเม้นท์ - ไอเอ็มจี
ธวัชชัย สัจจกุล
วิจิตร เกตุแก้ว
พอล สมิธ
Sports
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย




ความล้มเหลวในการจัดแข่งขันฟุตบอลระดับชาติของไทยที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลถ้วย ก.ควีนส์คัพ หรือคิงส์คัพฯ ที่แฟนบอลต่างเสื่อมศรัทธา และเข้าดูอย่างร่อยหรอลงไปนั้น เนื่องด้วยคณะกรรมการของสมาคมฟุตบอลชุดปัจจุบันและชุดก่อนหน้า ยังใช้วิธีการเดิม ๆ ด้วยการให้แต่ละสโมสรส่งทีมเข้าแข่งแบบสมัครเล่นแบบลวก ๆ ตลอดมา ความคิดที่จะสร้างทีมให้เป็นแบบอาชีพ และแข่งให้คล้ายคลึงกับอารยะประเทศที่เขามีบอลอาชีพกันไปนานแล้วนั้น ที่ผ่านมาเคยทำได้แค่ Semi-Pro League ซึ่งพังอย่างไม่เป็นท่าในเวลาต่อมา

มาบัดนี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีกลเม็ดอันใหม่ที่จะมาปลุกผีวงการฟุตบอลอีกแล้วกับ "โครงการฟุตบอลไทยแลนด์ลีก" อันเป็นความฝันบรรเจิดอีกครั้งของสมาคมฟุตบอลฯชุดปัจจุบันที่มีวิจิตร เกตุแก้วเป็นนายกสมาคมฯ และธวัชชัย สัจจกุลหรือ "บิ๊กหอย" อุปนายกหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ ที่หวังจะแก้ไขปัญหาหลักในความล้มเหลวของการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติที่ผ่านมา นั่นคือความผิดพลาดด้านการบริหารการตลาด โดยขาดทีมงานที่มีความสามารถในการหาสปอนเซอร์ที่เป็นกอบเป็นกำ และมีการวางแผนทั้งระยะสั้นระยะยาวในการสนับสนุนทีมชาติชุดปัจจุบัน และการเตรียมทีมชาติในอนาคต

ดังนั้นหลังจากคร่ำเคร่งกับการไขว่คว้าหามืออาชีพ ที่จะมาเป็นผู้บริหารการตลาดให้กับทีมชาติไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ก็มาเจอบริษัทอินเตอร์ เนชั่นแนล แมนเนจเม้นท์ กรุ๊ป หรือไอเอ็มจี ที่สมาคมฟุตบอลโดยเฉพาะ "บิ๊กหอย"หมายมั่นปั้นมือไว้เป็นอย่างมากว่า ไอเอ็มจี นี่แหละจะเป็นผู้มาชุบชีวิตให้กับวงการฟุตบอลได้

ความยิ่งใหญ่ของไอเอ็มจีมีมากอย่างที่บิ๊กหอยหวังหรือไม่นั้น หากไปพื้นปูมหลังดูจะพบว่า ด้วยความเป็นบริษัทที่ปรึกษาของนักกีฬาชั้นนำทั่วโลกทางด้านการวางแผน และบริหารการตลาด อย่างเช่น พีท แซมพราส, อรันท์ซ่า ซานเชส วิคคาริโอ, อังเดร อากัสซี่ ซึ่งเป็นสุดยอดนักเทนนิส ปัจจุบัน หรือนิค ฟัลโด, เบริ์นฮาร์ด ลังเกอร์ นักกอล์ฟที่มีชื่อเสียง

นอกจากนั้นไอเอ็มจี ยังก้าวเข้าไปเป็นบริษัทร่วมจัดหาสปอนเซอร์ให้งานกีฬาครั้งใหญ่มากเป็นพิเศษ นับตั้งแต่การจัดตั้งสำนักงานสาขาที่ฮ่องกง และญี่ปุ่น การเป็นบริษัทรายแรกที่เข้าไปโปรโมทการกีฬาในจีนหรือการเข้าไปบุกเบิกถ่ายทอดกีฬาแบดมินตันอย่างจริงจัง จากที่ไม่เคยมีทำมาก่อน จนกลายเป็นกีฬายอดฮิตทางทีวีอีกอย่างหนึ่งโดยปริยาย

ด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก โดยมีสำนักงานถึง 63 แห่ง มีพนักงานประจำกว่า 2,000 คน และเพดานบินในการรับวางแผนการตลาดมาแล้วถึง 30 ปี พร้อมทั้งธุรกิจข้างเคียงเพื่อความครบวงจรของการรับงานเป็นที่ปรึกษา เช่น การจัดรายการโทรทัศน์ ด้านอสังหาริมทรัพย์ เหล่านี้ทำให้ ณ วันนี้สมาคมฟุตบอลให้ความสนใจกับศักยภาพของไอเอ็มจีดังว่าเป็นอย่างมาก

ซึ่งหลังจากมีการประชุมร่วมกันอย่างเคร่งเครียด ระหว่างสมาคมฟุตบอลกับไอเอ็มจีอยู่นานถึง 18 เดือน ก็ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการฟุตบอล "ไทยแลนด์ลีก" ว่า จะต้องนำระบบการจัดการสำหรับกีฬานี้โดยเฉพาะที่เรียกว่า "Total Football" โดยมีการปฏิวัติรูปแบบการจัดแข่งขันฟุตบอลระดับชาติใหม่ โดยอาศัยการจัดแข่งที่อาศัยต้นแบบจากยุโรป ที่ใช้วิธีแพ้ตกรอบทันที เพื่อความสะใจของผู้ชม โดยในขั้นต้นจะต้องมีการแบ่งสาย จัดกลุ่มที่มีฝีมือใกล้เคียงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน

โดยไอเอ็มจี มีหน้าที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดสำหรับการแข่งครั้งนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่การหาสปอนเซอร์ การจัดการด้านลิขสิทธิ์ในความครอบครองของสมาคมฟุตบอลนับตั้งป้ายโฆษณา บัตรเข้าชม การรับรองแขก วีไอพี กราฟฟิคแสดงชื่อและโลโก้สินค้าที่ปรากฏในจอทีวี รวมถึงการดำเนินการถ่ายทอดการแข่งขันทั้งหมดด้วย

"ความล้มเหลวของการจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยที่ผ่านมา เนื่องจากขาดการบริหารการตลาดที่ดีพอ เราจึงจำเป็นต้องจัดรูปแบบในการหาสปอนเซอร์แบบใหม่ โดยเราจะเลือกลูกค้าที่จะโฆษณาแบบ Package เป็นหลักโดยครอบคลุมสื่อทุกอย่างที่มีอยู่และเป็นสัญญาระยะยาว โดยเรากำหนดที่จะทำงานตามโครงการ Total Football ให้กับสมาคมฯ เป็นเวลา 5 ปี" พอล สมิธ รองกรรมการผู้จ้ดการด้านต่างประเทศ ในส่วนฟุตบอลของไอเอ็มจี ผู้เข้ามาเรียนรู้วงการกีฬาไทยระยะหนึ่งแล้ว กล่าวถึงสภาพข้อเท็จจริงของวงการฟุตบอลไทยปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์และผลตอบแทนที่สมาคมฟุตบอลจะได้จากการที่ให้ไอเอ็มจี เข้ามาช่วยจัดการด้านการตลาดให้นั้น ทางไอเอ็มจียังไม่สามารถคิดคำนวณออกมาได้ว่าเป็นเท่าไร เนื่องจากต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับค่าโฆษณา และส่วนลดรวมถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่จะให้กับลูกค้าในอนาคตต่อไป แต่ทางไอเอ็มจียืนยันว่า รายได้จากสปอนเซอร์ สถานีโทรทัศน์ที่ทำการถ่ายทอด และการขายลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่ง จะเป็นทุนสำรองในการพัฒนาฟุตบอลเยาวชนในระยะยาว รวมถึงฟุตบอลในระดับภูมิภาคด้วย

ดังนั้นการเข้ามาของไอเอ็มจีในครั้งนี้ อย่างน้อยก็เป็นการเปิดศักราชให้สมาคมฟุตบอลได้ปฏิวัติรูปแบบในการจัดการแข่งขัน ที่เคยแบ่งแยกการแข่งขันอกเป็นสารพัดถ้วย ให้เหลือเพียงถ้วยเดียว ทำให้เกิดความมีเอกภาพในการแข่งขันและทำให้ไทยแลนด์ลีคเป็นแมทช์ระดับชาติสมจริง นอกจากนั้น ความสมบูรณ์ของนักฟุตบอลอันเต็มเปี่ยมที่แต่ละสโมสรจะต้องทุ่มเทให้กับแมทช์นี้ บวกกับความตั้งใจใจจริงของแต่ละสโมสรที่จะต้องทุ่มเทพลังปั้นนักเตะเข้ามาบดในไทยแลนด์ลีคนี้ก็จะมีสูงขึ้น

ปัจจัยที่เปลี่ยนไปอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไอเอ็มจีเชื่อมั่นว่า การสร้างไทยแลนด์ลีกจะประสบความสำเร็จก็คือ การที่ไอเอ็มจีได้ "สัมปทาน" เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งมีเวลาพอที่ไอเอ็มจีจะลองผิดลองถูกกับตลาดฟุตบอลเมืองไทย และพร้อมที่จะทุ่มทุนในช่วงแรกเพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่าภายหลัง

ต่างจากผู้จัดรายการอื่น ๆ ที่รับผิดชอบเป็นปี ๆ ซึ่งจะต้องทำทุกวิถีทางที่จะพ้นขาดทุนในช่วงสั้น ๆ การลงทุนระยะยาวจึงไม่เกิดขึ้น

และถ้าหากไอเอ็มจีเดินหมากทางการพัฒนาคุณภาพนักเตะแต่ละสโมสร ตามที่ได้ลั่นปากไว้นอกจากการวางหมากทางการตลาดแล้ว ก็จะถือเป็นก้าวสำคัญของวงการฟุตบอลไทยที่จะได้มืออาชีพขนานแท้ที่ยอมรับทั่วโลกมาแล้ว มาวางระบบในการพัฒนาสมาคมฟุตบอลไทยให้เป็นจริงเป็นจังเสียที

อย่างไรตาม มีความวิตกกังวลในหมู่ผู้เชี่ยวชาญวงการกีฬาว่า ฝีมืออย่างของพอล สมิธหรือจะปลุกปั้นวงการฟุตบอลไทยให้คึกคักขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาหลายฝ่ายที่มีทั้งประสบการณ์และเข้าใจตลาดฟุตบอลไทยอย่างดีรวมทั้งสปอนเซอร์จำนวนมหาศาลก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ขณะเดียวกันก็มีเสียงกังวลว่า บทบาทของไอเอ็มจีก็อาจจะไม่แตกต่างจากผู้จัดรายการแข่งขันคนก่อน ๆ ที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ คือเป็นเพียงหา "สปอนเซอร์" รายใหม่เท่านั้น ไม่ได้มีความสามารถในการจัดการแข่งขันแท้จริงและฟุตบอลก็จะเป็นเพียง "ธุรกิจ" ประเภทหนึ่งไม่ได้มีความหมายในเชิงพัฒนาวงการกีฬา ขณะเดียวกันสมาคมฟุตบอลเองก็คำนึงถึงผลตอบแทนเป็นหลัก ซึ่งไป ๆ มา ๆ ทุกอย่างก็จะเปรียบเสมือน "พายเรือในอ่าง" เช่นเดิม

พลอ สมิธ มีเวลาไม่เกิน 5 ปีในการพิสูจน์ความจริงข้อนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us