Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"เชสเตอร์ กริลล์ขึ้นแท่นอันดับ 2 เรื่องเหลือเชื่อของ "วีระพงษ์ สังคปรีชา"             
 


   
search resources

เชสเตอร์ ฟู้ด, บจก.
วีระพงษ์ สังคปรีชา
Fastfood




ผมวางเป้าหมายไว้ว่าปีหน้า เชสเตอร์ กริลล์จะต้องก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ของธุรกิจฟาสต์ฟูดบ้านเรา" วีระพงษ์ สังคปรีชา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัดเจ้าของลิขสิทธิ์ฟาสต์ฟูดเชสเตอร์ กริลล์ หนึ่งธุรกิจด้านอาหารของเครือซีพี กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

เป็นคำพูดที่หากจะต้องดำเนินการให้บรรลุผลแล้ว นับเป็นภาระที่หนักหนาสาหัสเอาการ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันธุรกิจฟาสต์ฟูดมีผู้ประกอบการเข้ามาร่วมแข่งขันมากมาย จนทำให้เค้กก้อนนี้ต้องถูกแบ่งสรรปันส่วนซอยย่อยลงไปอีก

โดยเฉพาะกางวางตำแหนางเป้าหมายของเชสเตอร์กริลล์ ในครั้งนี้วีระพงษ์เปรียบมวยกับเคเอฟซี แมคโดนัลด์ และพิซซ่า ฮัท ซึ่งปัจจุบันเชสเตอร์ กริลล์ยังรั้งตำแหน่งอันดับ 4

วีระพงษ์กล่าวว่าโอกาสที่เชสเตอร์ กริลล์จะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสองในปีหน้านั้นมีความเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ หนึ่ง-พัฒนาตัวสินค้าให้ผู้บริโภคยอมรับ สอง-มีเครือข่ายสาขาบริการอย่างทั่วถึง และสาม-ทำยอดขายได้ตามเป้า

เชสเตอร์ กริลล์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2531 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่วีระพงษ์ ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับกลุ่มซีพี โดยเข้ามารับผิดชอบในส่วนของการพัฒนาธุรกิจฟาสต์ฟูดของคนไทย

วัตถุประสงค์ของกลุ่มซีพีในยุคนั้นคือต้องการที่จะผลักดันฟาสต์ฟูดฝีมือคนไทยให้ขึ้นเทียบชั้นระดับอินเตอร์ เพื่อขยายตลาดไปทั่วโลก ซึ่งเป้าหมายของกลุ่มซีพีนับเป็นมุมมองเดียวกันกับวีระพงษ์ เขามีความต้องการที่จะสร้างชื่อฟาสต์ฟูดไทยให้มีโอกาสแข่งขันกับฟาสต์ฟูดระดับอินเตอร์ในเวทีโลกได้

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาในฐานะเป็นผู้หนึ่งในการร่วมผลักดันเคเอฟซีในตลาดเมืองไทยกับกลุ่มเซ็นทรัลมานานถึง 5 ปี ทำให้เขาเชื่อว่าโอกาสที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับเชสเตอร์ กริลล์เป็นที่ยอมรับในฐานะฟาสต์ฟูดส์ระดับอินเตอร์นั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก

โดยเฉพาะเมื่อได้กลุ่มซีพีซึ่งมีความแข็งแกร่งในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน วัตถุดิบ เครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศและประสบการณ์จากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ของเซเว่น-อีเลฟเว่น น่าจะเป็นจุดเอื้อความสำเร็จได้ไม่ยากนัก

แต่ก่อนที่จะผลักดันให้เชสเตอร์ กริลล์ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ผู้บริโภคในประเทศยอมรับเสียก่อน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้บริหารของเชสเตอร์ฟู้ดต่างมีนโยบายที่จะมุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งตลาดในประเทศเป็นหลัก

สำหรับแผนงานการขยายธุรกิจของเชสเตอร์ กริลล์ได้กำหนดออกเป็น 3 ระยะ กล่าวคือระยะที่ 1 จะเป็นการดำเนินธุรกิจเพื่อหยั่งฐานไประยะหนึ่ง ระยะที่ 2 จะเป็นการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์และระยะที่ 3 จะเป็นการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่าในขณะนี้การดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว

สำหรับตลาดต่างประเทศปัจจุบันเชสเตอร์กริลล์มีสาขาในประเทศจีนประมาณ 5 แห่ง และปีหน้ามีแผนที่จะขยายไปยังประเทศอินเดีย และเวียดนาม

ปัจจุบันเชสเตอร์ กริลล์มีเครือข่ายสาขาในประเทศ 21 แห่ง แบ่งเป็นสาขาที่ทางบริษัทดำเนินการเอง 18 แห่ง สาขาในรูปการขายแฟรนไชส์อีก 3 แห่ง

วีระพงษ์กล่าวว่าสำหรับแผนระยะยาวในส่วนของเครือข่ายสาขาทางบริษัทได้ตั้งเป้าไว้ว่าภายในระยะ 3 ปี เชสเตอร์ กริลล์จะขยายสาขาให้ครบ 100 แห่ง

รูปแบบการขยายสาขานับจากนี้ไปจะเน้นการขยายรูปแบบแฟรนไชส์เป็นหลัก โดยคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 90% ที่เหลืออีก 10% ทางบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเอง

ซึ่งหากแผนการขยายสาขาเป็นไปตามที่กำหนด คือ 20 แห่งต่อปี จะทำให้ภายในปีหน้าเชสเตอร์ กริลล์จะมีเครือข่ายสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมกันประมาณเกือบ 60 แห่ง

อย่างไรก็ตามในปีนี้จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดว่าจะขยายสาขาในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่งแต่จากปัญหาในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทำให้เป้าหมายจำนวนสาขาไม่สามารถดำเนินการได้ โดยคาดว่าภายในปีนี้บริษัทจะสามารถขยายสาขาได้เพียง 10 แห่งเท่านั้น

ซึ่งหากเชสเตอร์ กริลล์ ยังมีปัญหาในเรื่องการขยายสาขาที่ไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ อาจทำให้โอกาสการก้าวขึ้นสู่อันดับสองในปีหน้านั้นเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น

เนื่องจากปัจจุบันเรื่องเครือข่ายสาขาที่มีจำนวนมาก นับเป็นกลไกสำคัญที่มีส่วนสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ซึ่งแต่ละค่ายก็พยายามที่จะมุ่งเน้นกับการขยายสาขาให้ครอบคลุมมากที่สุด จะเห็นได้จากค่ายผู้ประกอบการมีความพยายามที่จะคิดค้นรูปแบบร้าน และบริการใหม่ ๆ เข้ามาเสริมเช่นคีออส เทกโฮม ไดร์ฟทูเป็นต้น

"บุคลากรกำลังเป็นปัญหาของเรา และต้องยอมรับว่าบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญสุดของเราซึ่งจะเป็นตัวชี้ว่าเป้าหมายที่เราวางไว้จะดำเนินการได้หรือไม่"

กรณีของการขยายสาขาในปีนี้ที่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอเป็นเหตุ คือภาพสะท้อนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

แผนการตั้งศูนย์เทรนนิ่งเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่งเพื่อผลิตบุคลากรรองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต คือทางออกที่วีระพงษ์กำลังให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะตระหนักดีว่าตราบใดที่ปัญหาเรื่องบุคลากรขาดแคลนยังแก้ไม่ตก โครงการต่าง ๆ ที่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนคงจะต้องชลอ

วีระพงษ์ยอมรับว่าตรงนี้คือปัญหา และกลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องหาคำตอบให้ได้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นเป้าหมายในการนำเชสเตอร์กริลล์ผงาดขึ้นสู่อันดับ 2 ในวงการฟาสต์ฟูดไทยอาจจะยิ่งไกลเกินเอื้อม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us