Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"สัมฤทธิ์ ชูกลิ่น เส้นทางไอเท็มส์สู่ MASS PRODUCT"             
 


   
search resources

กรุ๊ปโป้ 1991
สัมฤทธิ์ ชูกลิ่น
Garment, Textile and Fashion




การตัดสินใจของสัมฤทธิ์ ชูกลิ่น กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุ๊ปโป้ 1991 จำกัดในการปรับคอนเซ็ปต์ของเสื้อผ้าแบรนด์ไอเท็มส์ จากจุดเริ่มต้นที่เน้นความเป็น "ดีไซน์เนอร์แบรนด์" จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ที่มีรสนิยมสำอาง ราคาสินค้าอยู่ในระดับสูง สู่สินค้าที่เป็น MASS PRODUCT ด้วยแนวเสื้อเบสิกแฟชั่น จำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าในอดีตถึงกว่าครึ่ง

นับเป็นการพลิกภาพลักษณ์ที่ดูแล้วออกจะเป็นการสุ่มเสี่ยงไม่น้อยสำหรับการสูญเสียกลุ่มเป้าหมายเดิมที่กรุ๊ปโป้ฯ ใช้ระยะเวลาสร้างสมชื่อเสียงมานาน 3 ปี

บริษัท กรุ๊ปโป้ 1991 จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 จากแนวคิดและมุมมองของศิริชัย ศรีไพศาล แห่งบริษัทแดพเพอร์ เจนเนอรัล อะแพเร็ล จำกัด เจ้าของเสื้อผ้า ยี่ห้อแดปเปอร์

จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการการ์เม้นท์มานาน ทำให้เขามองเห็นช่องว่างทางการตลาด และนำไปปรึกษากับเพื่อนฝูงในวงการ ซึ่งมีสุพจน์ ตันติจิรสกุล เจ้าของพีน่าเฮาส์ รวมอยู่ด้วยโดยท้ายสุดสุพจน์ก็ตัดสินใจเข้าเป็นหนึ่งในพาร์ตเนอร์ของกรุ๊ปโป้ฯ ซึ่งในที่สุดทั้งกลุ่มต่างเห็นพ้องต้องกัน จึงเกิดการรวมตัวกันทางด้านความคิดที่จะสร้างเสื้อผ้าในแนวแฟชั่นออกสู่ตลาด

เป็นการรวมพลังที่เพียบพร้อมไปด้วยแบ็กอัพที่มีทั้งประสบการณ์ด้านการตลาด การผลิต และสายป่านด้านเงินทุนที่แข็งแกร่ง

และเป็นเหตุผลที่ทำให้สัมฤทธิ์ ชูกลิ่น ซึ่งเคยร่วมงานกับศิริชัยในแดพเพอร์ฯ อยู่นาน 4-5 ปีไม่ยอมปล่อยโอกาสที่จะหวนกลับมาร่วมงานทันทีที่ถูกทาบทาม แม้ในขณะนั้นจะทำงานอยู่กับพรวุฒิ สารสินที่บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ในตำแหน่ง EXTERNAL AFFAIR MANAGER ก็ตาม

"การที่เราต้องปรับคอนเซ็ปต์ของไอเท็มส์สู่ MASS PRODUCT สาเหตุเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งนิยมซื้อเสื้อผ้าที่มีคุณภาพดีแต่ราคาถูก"

จะเห็นได้ว่ากรุ๊ปโป้เริ่มมีแนวคิดที่จะปรับจุดยืนของเสื้อผ้าแบรนด์ไอเท็มส์ สู่ MASS PRODUCT มาตั้งแต่เริ่มเปิดตัวคอลเลกชั่นเดนิม ยีนส์ บาย ไอเท็มส์ ในครั้งนั้นสินค้าเริ่มมีการปรับราคาจำหน่ายลง เพื่อเป็นการทดสอบตลาด ขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ ถอดสินค้าเดิมออก

เมื่อย่างเข้าเดือนมีนาคมปีนี้ สัมฤทธิ์ ชูกลิ่นจึงตัดสินใจพลิกภาพลักษณ์สินค้าแบรนด์ไอเท็มส์ สู่ MASS PRODUCT เป็นเพราะแนวโน้มตลาดเสื้อผ้า เบสิกแฟชั่นกำลังมาแรง การเข้ามาของเท็น แอนด์ โค ค่ายพีน่าเฮาส์เมื่อปี 2537 และประสบความสำเร็จยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าแนวคิดดังกล่าวถูกต้อง

นอกเหนือจากการปรับภาพลักษณ์แล้ว การดำเนินธุรกิจของบริษัทก็เปลี่ยนเป็นเชิงรุกเน้นให้ความสำคัญกับการตลาดและตัวสินค้ามากขึ้น เพื่อสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ในระยะเวลาสั้นที่สุดซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้ก็คือกลุ่มคนรุ่นใหม่

พร้อม ๆ ไปกับการปรับระบบการดำเนินงานภายในช่วง 4 ปี ที่กรุ๊ปโป้ฯ เปิดประตูรับมืออาชีพอย่างศิริ ศิริภูมิตภาพ ผู้เคยดูแลงานด้านตลาดให้กับเครื่องนอนแซนตาสของค่ายยัสปาล เข้ามาดูแลงานด้านการขายและเอาท์เล็กของไอเท็มส์ เป็นการเสริมกำลังระดับมันสมองรองรับการเปิดเกมรุก

IDENTIFY BY ITEMS คือรูปแบบร้านใหม่ในลักษณะสแตด์อะโลนบนเนื้อที่ประมาณ 150-200 ตารางเมตร ซึ่งจะนำมาแทนที่เอาท์เล็ตตามห้างสรรพสินค้า

สัมฤทธิ์กล่าวว่าในส่วนของเอาท์เล็ตในห้างสรรพสินค้าซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่ง ทางบริษัทจะยุบลงทั้งหมดภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อที่จะขยับไปยังต่างจังหวัด โดยคาดว่าในปีหน้าจะเริ่มขยายร้าน IDENTIFY BY ITEMS ต่างจังหวัด 10-15 แห่งอย่างแน่นอน

การลงสู่ MASS PRODUCT ของไอเท็มส์ สัมฤทธิ์เล่าว่าในอนาคตเขาต้องการให้ไอเท็มส์มีสินค้าหลากหลายเป็นสินค้าที่ใช้ได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า จึงไม่แปลกที่ในวันนี้ร้านของไอเท็มส์จะเริ่มมีสินค้าประเภทหมวก เข็มขัด รองเท้า เป็นส่วนเสริมนอกเหนือจากเสื้อผ้า

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ร้านค้า ที่เน้นพื้นที่มากขึ้นแล้ว สิ่งที่สัมฤทธิ์ถือเป็นบทบาทสำคัญของเขาคือการพลิกโฉมหน้าแผนกการตลาด ซึ่งที่ผ่านมาไอเท็สม์จะใช้วิธีสร้างชื่อโดยจัดงานแฟชั่นโชว์ นำสินค้าขึ้นปกนิตยสารเท่านั้น

แต่มาในปีนี้ไอเท็มส์เน้นให้ความสำคัญกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมด้านการตลาดในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำโค-โปรโมชั่นร่วมกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง การเล่นกับสื่อที่กลุ่มคนรุ่นใหม่นิยม ซึ่งเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นครั้งแรกเช่นกันที่ทางกรุ๊ปโป้ฯ มอบหมายให้บริษัท หับ โห้ หิ้น จำกัดสร้างสรรค์งานโฆษณาเพื่อนำแพร่ภาพตามโรงภาพยนตร์

การจัดประกวด ITEMS AWARD 1995 ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ทางสัมฤทธิ์นำมาใช้ที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาร่วมกิจกรรมและรู้จักสินค้าของไอเท็มส์

ครึ่งปีที่ฝ่านมากรุ๊ปโป้ฯ จัดสรรงบประมาณในส่วนของกิจกรรมด้านการตลาดไว้ถึงกว่า 10 ล้านบาท เบื้องหลังของการทุ่มเม็ดเงินหนุนกิจกรรมด้านการตลาดมากกว่าทุกครั้ง นอกเหนือจากเป็นเพราะต้องการสร้างชื่อไอเท็มส์ให้เป็นที่ยอมรับแล้ว

มุมมองของสัมฤทธิ์เชื่อว่า การที่กรุ๊ปโป้ฯ รุกในส่วนของกิจกรรมมากขึ้นขณะที่ค่ายอื่นเงียบนั้นเป็นผลดี เพราะเป็นโอกาสเดียวที่จะทำให้ไอเท็มส์โดดเด่นที่สุด

เช่นเดียวกับตัวสินค้าที่เขาพยายามสร้างความแตกต่าง และหลากหลายด้วยการหันมาจับมือกับดีไซเนอร์ชื่อดังบ้านเรา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เสื้อผ้า ที่แม้จะเป็น MASS PRODUCT แต่ก็ออกแบบโดยดีไซเนอร์ ประเดิมด้วยการจับมือกับกรกนก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และมีแผนที่จะเกี่ยวก้อยกับดีไซเนอร์รายอื่นอีกเช่นกัน

"ผมคิดว่าเรามาถูกทาง มันเป็นแผนในใจที่มีมานานแล้วกับการทำไอเท็มส์ให้เป็น MASS PRODUCT ยิ่งได้รับการยืนยันจากสุพจน์ ตันติจิรสกุล เจ้าของเท็น แอนด์ โค ซึ่งผมถือเป็นพี่ใหญ่ที่คอยให้คำปรึกษา ผมยิ่งมีความมั่นใจ"

วันนี้ดูเหมือนว่าสัมฤทธิ์จะได้นำประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากแดพเพอร์ฯ การเรียนรู้มุมมองด้านการตลาดและการผลิตของพาร์เนอร์ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในวงการเสื้อผ้า บวกกับไอเดียด้านการจัดกิจกรรมด้านการตลาดสมัยที่ร่วมงานที่ไทยน้ำทิพย์ 2-3 ปีมาใช้อย่างคุ้มค่า

เป้าหมายที่ต้องการนำไอเท็มส์สู่การเป็นแบรนด์ ลีดเดอร์ อาจไม่ไกลเกินเอื้อม แต่แน่นอนที่สุดกว่าจะตรงนั้น สัมฤทธ์ ชูกลิ่นจะต้องนำไอเท็มส์สอบผ่านช่วงรอยต่อและได้รับการยอมรับในฐานะ MASS PRODUCT ที่สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนรุ่นใหม่ให้ได้เสียก่อน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us