Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538
"สุรางค์ เปรมปรีด์ โอกาสธุรกิจที่มากับคลื่นดาวเทียม"             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7

   
search resources

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
สุรางค์ เปรมปรีดิ์
TV




แล้วช่อง 7 ก็ขบปัญหาแตก ตัดสินใจเพิ่มระบบการส่งสัญญาณเป็นเคยูแบนด์ เสริมพลังซีแบนด์ที่ใช้อยู่ หลังจากปล่อยให้ปัญหาการรับ-ส่งสัญญาณเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน

จากเดิมนั้น ผู้ที่รับสัญญาณทีวีทั่วไปต้องใช้เสาอากาศธรรมดาที่เรียกกันว่า เสาอากาศก้างปลา เป็นตัวรับสัญญาณ เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศเปลี่ยนไป มีอาคารสูงเกิดขึ้นมากมาย ทำให้พื้นที่หลายแห่งมีปัญหาในการรับสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นช่องใด ๆ เกิดอาการภาพซ้อน ภาพเป็นเงา หรือภาพเป็นเม็ดขึ้นแทบทุกพื้นที่ ยังไม่นับต่างจังหวัดที่แม้ไม่มีตึกมากเท่ากรุงเทพฯ แต่ก็มีภูเขาเป็นอุปสรรคเช่นกัน

บางพื้นที่ในต่างจังหวัด ประชาชนที่อยู่สุดหรือไกลจากรัศมีของคลื่นส่งของสถานีเครือข่ายที่ช่อง 7 มีอยู่ 30 สถานี ก็จะรับสัญญาณไม่ชัดเจน ถูกคลื่นรบกวน หรือถูกคลื่นจากสถานีโทรทัศน์อื่นที่ส่งเข้ามาพร้อมกันรบกวนเช่นกัน ทำให้การรับชมได้ไม่ดี หรือรับชมไม่ได้ ต้องลงทุนเป็นเงินหลายพัน บางหลังอาจจะเป็นเงินหมื่นเพื่อสร้างเสาอากาศสูง ๆ รับคลื่น

"ดิฉันคิดว่าต่อไป กรุงเทพฯ จะมีปัญหายิ่งกว่าต่างจังหวัดอีก เราจึงคิดว่าน่าจะทำตั้งแต่บัดนี้ก่อนที่ปัญหามันจะมากกว่านี้ ซึ่งงานเช่นนี้ใช่ว่าจะทำได้เลยเพียงวันสองวัน เราเตรียมงานเรื่องนี้มาประมาณหนึ่งปีแล้ว" สุรางค์ เปรมปรีด์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ททบ.7) กล่าว

ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้ช่อง 7 ได้ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยเพิ่มการแพร่ภาพสัญญาณผ่านดาวเทียมด้วยความถี่ย่าน KU BAND ซึ่งทำให้ผู้ชมทั่วประเทศไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของประเทศรับชมได้คมชัด ไม่มีสัญญาณรบกวน เพียงแต่ต้องใช้จานรับดาวเทียมแทน

ขนาดของจานรับสัญญาณที่จะใช้แทนเสาก้างปลาก็กว้างเพียง 2 ฟุต ติดตั้งง่ายไม่เกะกะ ราคา 6,900 บาท

วิธีการนี้ทำให้สัญญาณของช่อง 7 ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทยกว่า 80% มีเพิ่มเต็มร้อยในทันที ยังไม่นับประเทศที่ติดกับเราที่รับช่อง 7 ได้ชัดเจนอยู่แล้ว

สุรางค์กล่าวว่า "การดำเนินการครั้งนี้เราลงทุนไปเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท รวมค่าเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 2 ของบริษัทชินวัตรแซทเทิลไลท์ด้วยอีกประมาณ 40 ล้านบาทต่อปีซึ่งมากกว่าค่าเช่าใช้ในระบบซีแบนด์ถึง 3 เท่าตัว"

ทั้งนี้ในส่วนของชุดเครื่องรับสัญญาณที่ช่อง 7 จะนำเข้ามาจำหน่ายนี้ เป็นการว่าจ้างโรงงานในไต้หวันผลิตให้ภายใต้โลโก้ของช่อง 7 ซึ่งโรงงานนี้เป็นโรงงานที่ผลิตเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมมาเป็นนาน และปัจจุบันทำการผลิตส่งออกไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปด้วย

โดยการรับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมโดยตรง (Diredt Broadcasting System : DBS) ในระบบเคยู แบนด์นี้ ทางช่อง 7 จะจำหน่ายชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมด้วยตนเอง ซึ่งจะแต่งตั้งแทนจำหน่ายทั่วประเทศต่อไป ซึ่งคาดกันว่าคงเป็นร้านค้าเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไปที่ขายเสาก้างปลาอยู่แล้ว เพราะร้านพวกนี้มักมีทีมงานติดตั้งและรู้เทคนิคการรับสัญญาณโทรทัศน์เป็นอย่างดี

ระบบใหม่นี้ เมื่อผู้ชมทางบ้านซื้อชุดเครื่องรับมา จัดวางตามคำแนะนำไม่ว่าจะเป็นที่หน้าบ้าน เฉลียง กันสาด หน้าจั่วบ้าน หรือบริเวณพื้นที่ที่เปิดทางให้จานหันขึ้นสู้ท้องฟ้าได้ชัดเจนก็จะสามารถรับสัญญาณได้อย่างสบาย

โดยวิธีติดตั้งที่ง่ายที่สุดเพียงตัวเราหันหน้าไปทางทิศใต้ ยกแขนขึ้นสองข้าง ทางด้านขวามือคือทิศทางที่จะรับไทยคม 2 หรือรับช่อง 7 ให้เราหันจานไปทิศนี้ แล้วปรับจานเงยขึ้นมา 60 องศา เพียงเท่านี้เอง ง่ายกว่าติดตั้งเสาอากาศก้างปลามาก เพราะเราจะต้องหมุนปรับค่อนข้างใช้เวลาและต้องติดตั้งไว้สูง แต่เคยูแบนด์สามารถติดหรือวางไว้บนพื้นดินก็ได้ สิ้นพื้นที่ประมาณ 5 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น

ศรัณย์ วิรุฒมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายเทคนิควิศวกรรมและวางแผนของกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ กล่าวว่า "ขณะที่เราพัฒนาเป็นระบบใหม่ เราจะพัฒนาใช้ระบบนี้ส่งสัญญาณจากสถานีเครือข่าย หรือว่าศูนย์ข่าวต่างจังหวัดกลับมายังกรุงเทพฯ ให้สามารถรับชมกันได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่เรียกกันว่า SGN หรือ Sattelite News Gathering ซึ่งเป็นการรายงานข่าวสดผ่านดาวเทียม ที่จะเป็นจุดขายต่อไปของเรา"

หากเป็นไปได้อย่างที่ศรัณย์ว่าไว้ นั่นก็หมายความว่า ระยะเวลาอีก 10 ปี ที่กรุงเทพโทรทัศน์ฯ ได้ต่อสัญญากับกองทัพบก จะต้องเป็นระยะเวลาต่อสู้ทางการตลาดมากที่สุดอีกช่วงหนึ่ง เพราะต่อไปช่องอื่นที่เหลือจะอยู่นิ่งไม่ใช้ระบบเคยู แบนด์ไม่ได้แล้ว ทุกช่องจะต่อกรกันที่ระบบเคยู แบนด์กันต่อไป

และหากอนาคตกรุงเทพโทรทัศน์ฯ สามารถได้สัมปทานการทำเคเบิลทีวีจากกรมประชาสัมพันธ์อีก 10 ช่อง การตลาดของเคยู แบนด์ก็จะยิ่งทวีความสำคัญเป็นเท่าตัว

บุญเต็ม ธเนศวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา กล่าวทิ้งท้ายกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่ช่อง 7 ทำเช่นนี้นั้น เราไม่ได้มีเจตนาให้มีการซื้อเพิ่มหรือเปลี่ยนเครื่องรับนะครับ เราทำเพื่อสนองผู้ที่มีปัญหาการรับสัญญาณมากกว่า ถ้าคุณพอใจกับการรับสัญญาณแบบแล้ว ผมว่าก็ไม่จำเป็น ฉะนั้นขอให้เข้าใจความประสงค์ของเราด้วย"

แต่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม งานนี้ของช่อง 7 สีก็ถูกตีความว่าช่อยเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับไอบีซีของกลุ่มชินวัตร ในฐานะพันธมิตรและผู้ถือหุ้น

เพราะที่ผ่านมาไอบีซีประสบปัญหาในการเปลี่ยนเสาอากาศรับคลื่นของไอบีซีเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมไทยคม หรือระบบไดเร็กต์ทูโฮม (ดีทีเอช) เนื่องจากเมื่อเปลี่ยนเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมแล้ว การรับสัญญาณจะจับได้เพียงจุดเดียว จากแต่เดิมบ้านหนึ่งสามารถเปิดโทรทัศน์รับชมไอบีซีได้ถึง 3 ช่องพร้อมกันลูกค้าก็เลยยังไม่ยอมเปลี่ยน

แต่สำหรับผู้ที่ซื้อจานรับสัญญาณดาวเทียมของช่อง 7 สี หากต้องการรับไอบีซีในอนาคตก็อาจจะมีบริการขายตัวแปรสัญญาณ (ดีโคดเดอร์) ประกอบ ทำให้รับไอบีซีได้ เพราะจานรับสัญญาณมีลักษณะเดียวกัน

ความสำคัญอยู่ที่ว่า จะมีผู้สนใจซื้อจานรับสัญญาณดาวเทียมของช่อง 7 สีมากขนาดไหน

ถ้ามีเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือโอกาสธุรกิจสำหรับไอบีซีอย่างไม่ต้องสงสัย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us