|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รพ.กรุงเทพฯบุกหนัก ลุยธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ หนุนธุรกิจหลัก ประเดิมก่อน 38 ห้อง ก่อนลงทุนจริงอีก 100 ห้อง ย่านซอยศูนย์วิจัย หวังให้บริการครบวงจร ทั้งคนไข้และญาติคนไข้ ดึงต่างชาติไข้บริการเพิ่มดันรายได้โต 30% ตั้งเป้าใน 2ปี รับคนไข้ต่างชาติเพิ่มสัดส่วนเป็น 40-50%
นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทมีนโยบายสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงสร้างธุรกิจใหม่เข้ามาสนับสนุนธุรกิจโรงพยาบาล เนื่องจากหากบริษัทขยายเฉพาะฐานลูกค้าและบริการดูแลรักษาพยาบาลมีโอกาสเติบน้อย ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่ผู้ถือหุ้นพอใจ เพราะบริษัทกรุงเทพฯอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ล่าสุดได้ลงทุนธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไข้ และญาติคนไข้ที่มารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนไข้ต่างชาติ ที่เป็นฐานลูกค้าใหญ่ที่มีการเติบโตต่อปีค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันลูกค้าของโรงพยาบาลกรุงเทพ ซอย ศูนย์วิจัย จะอยู่ประมาณ 2.5 พันคนต่อวัน ในที่นี้ 1 ใน 3 หรือ 800-900 คนเป็นชาวต่างชาติ
เบื้องต้นได้ลงทุน 20ล้านบาท ปรับปรุงห้องคนไข้อาคาร ซี ในโรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย เป็นเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ จำนวน 38 ห้อง ได้รับการตอบรับอย่างดี โดยมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยที่ 90% ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า บริษัทมีแผนขยายการลงทุนธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์อีก 1 แห่ง จำนวน 100 ห้องขึ้นไป ในย่านโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ซึ่งอาจจะลงทุนสร้างอาคารใหม่ หรืออาจซื้ออาคารเก่ามาปรับปรุง คาดว่าจะสรุปผลได้ไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า นอกจากนั้นยังมีแนวคิดที่จะให้โรงพยาบาลในเครือของกรุงเทพทั้งหมด 17 แห่ง ทั่วประเทศใน 3 กลุ่มโรงพยาบาลหลัก ได้แก่ ร.พ.กรุงเทพ ,ร.พ.สมิติเวชและร.พ.BNH ได้เปิดให้บริการเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์
การขยายเข้าสู่ธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ บริษัทไม่ได้คาดหวังรายได้จากธุรกิจดังกล่าว แต่เชื่อว่า การให้บริการที่ครบวงจร ทั้งคนไข้ และญาติคนไข้ จะทำให้มีคนไข้กลุ่มใหม่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงมาก โดยเฉพาะจากประเทศตะวันนออกกลาง ที่มีการเติบโตต่อปีสูงที่สุด ตามด้วยญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป พม่า บังคลาเทศ และเขมร ส่วนตลาดใหม่ปีหน้า ได้แก่ การ์ต้า แอฟฟริกา เอธิโอเปีย เป็นต้น
โดยที่ผ่านมา โดยตลาดคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย มีการเติบโตปีนี้ถึง 70% และปีหน้าก็คาดว่าจะเติบโตในตัวเลขเดียวกัน ส่วนปีต่อไปอาจเติบโต 50% เพราะฐานลูกค้าเริ่มใหญ่ขึ้น โดยบริษัทมีแผนในระยะ 2 ปีนับจากนี้ไป ที่เพิ่มบริการด้านเอ็นเตอร์เทนไว้รองรับลูกค้าที่เป็นคนไข้และญาติเพิ่มขึ้น เช่น โครงการสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ,ศูนย์อาหาร และชอปปิ้งขนาดย่อม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันลูกค้าที่เป็นคนไข้ที่มาจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 32-35 % โดยตั้งเป้าภายใน 2ปี สัดส่วนลุกค้าต่างชาติจะเพิ่มเป็น 40-50%
สำหรับปีนี้ผลประกอบการยังคงเติบโตมากกว่า 30% เช่นเดียวกันปีก่อน โดยในปีก่อนเฉพาะที่ รพ.กรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย มีรายได้ กว่า 3,000 ล้านบาท และปีนี้น่าจะมีรายได้เพิ่มเป็นกว่า 5,000 ล้านบาท จากรายได้รวมของบริษัททั้งเครือที่มีรายได้ 12,000 ล้านบาท
**จับมือเครือข่ายเพิ่มบริการ**
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า บริษัทมีแผนร่วมทุนกับรัฐบาลประเทศดูไบ ในการไปเปิดโรงพยาบาลกรุงเทพที่ดูไบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนั้นแผนการในปีหน้า ที่คาดว่าจะดำเนินการคือเรื่องของการจัดแพกเกจ เมดิคัลทัวริสซึม โดยเล็งนำเสนอขายแพกเกจนี้ในอังกฤษเป็นอันดับแรก
สำหรับภาพรวมของนักท่องเที่ยวในกลุ่มที่เดินทางเข้ามาพักรักษาตัวในไทย ช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาเติบโตค่อนข้างสูง โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามารักษาตัวที่ประเทศไทยเป็นจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 10% จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาเที่ยวในไทย ในที่นี้เกือบ 50% เป็นคนไข้ที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาลกรุงเทพ
"ถึงวันนี้บอกได้ว่าไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นผลงานของภาคเอกชนเสียส่วนใหญ่ เพราะอุตสาหกรรมนี้มองว่ารัฐบาลยังไม่เข้ามาสนใจสนับสนุนเท่าที่ควร ซึ่งหากรัฐบาลต้องการให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตจากปัจจุบันแบบก้าวกระโดด สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการคือการเจรจาทำความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยเฉพาะในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ ให้ประชาชนของประเทศเขาเหล่านั้นมารักษาตัวที่ไทยโดยเบิกค้าใช้จ่ายจากรัฐสวัสดิการได้ เชื่อว่า หากปลดล็อกตรงนี้ได้ เงินตราต่างประเทศจะไหลเข้ามาสู่ธุรกิจโรงพยาบาลอีกจำนวนมาก"
|
|
|
|
|