|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์กรุงเทพนำร่องเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20%กลางปีหน้า แต่จะพิจารณาจากภาวะตลาดประกอบด้วยเตือนผู้ถือบัตรควรระมัดระวังการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น ขณะที่ซิตี้แบงก์ยังลังเลหวั่นไม่คุ้มค่าใช้จ่ายในการปรับระบบบัญชีด้าน"วีซ่า"ประเมินแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตปีหน้ายังไม่สดใส ตลาดบัตรเครดิตไทยเริ่มอิ่มตัว ขณะที่ปัจจัยแวดล้อม"เศรษฐกิจ-ราคาน้ำมัน"ไม่ต่างจากปีนี้ เผยการแข่งขันปีหน้าไม่เน้นปริมาณบัตร แต่จะรุกขยายยอดการใช้จ่ายบัตรเพิ่มขึ้น 20-25%
นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารจะมีการทบทวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20% ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ที่จะถึงนี้ โดยจะพิจารณาถึงภาวะตลาดและการแข่งขันในขณะนั้น โดยเฉพาะต้นทุนทางการเงินของธนาคารว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เริ่มทรงตัวและอาจจะปรับลดลง ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมา ต้นทุนทางการเงินของธนาคารได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 2.5% มาอยู่ที่ 5-6%
ทั้งนี้ จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ปรับขึ้น ผู้ถือบัตรจึงควรที่จะการใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ถือบัตรที่มีการนำบัตรไปใช้ในธุรกิจส่วนตัว ซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนการติดชิพให้กับบัตรเครดิตแทนระบบแม่เหล็ก ในส่วนของผู้ถือบัตรวีซ่า น่าจะเปลี่ยนเป็นบัตรติดชิพได้ครบในเดือนมกราคม 2550 ส่วนผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ด คาดว่าจะเปลี่ยนได้ครบภายในสิ้นปีหน้า
สำหรับในปี 2550 นั้น ธนาคารมีเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดบัตรใหม่ประมาณ 300,000 บัตร จากปีนี้ที่มียอดบัตรใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 230,000 บัตร ขณะที่คาดว่าภายในสิ้นปี 2549 ผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารน่าจะอยู่ที่ประมาณ 750,000 บัตร เพิ่มขึ้นจากต้นปีประมาณ 230,000 บัตร
นายโชคกล่าวอีกว่า การขยายฐานผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารจะทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากในปีหน้าเศรษฐกิจยังไม่น่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้มากนัก และอาจจะชะลอกว่าปีนี้ เนื่องจากเงินบาทที่ปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กระทบต่อการส่งออกของไทย รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐในปีนี้ยังไม่เท่ากับรัฐบาลก่อน ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนอาจจะไม่สูงเหมือนปีก่อน
ด้านนางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและธุรกิจบัตรเครดิต ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็น 20% เนื่องจากในส่วนของผู้ถือบัตรเดิม ทางการให้ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น 20% ได้เฉพาะสินเชื่อที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 ธันวาคม เท่านั้น ทำให้ธนาคารต้องปรับระบบบัญชีในการคิดอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าใหม่ ซึ่งอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนในการปรับระบบบัญชี จึงอาจจะไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว
'วีซ่า'ชี้ธุรกิจบัตรเครดิตปีหน้ายังไม่สดใส
นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจบัตรเครดิตในปีหน้าจะไม่ค่อยมีการเติบโตในแง่ของจำนวนบัตรมากนัก โดยปัจจุบันบัตรเครดิตทั้งระบบอยู่ที่กว่า 10 ล้านบัตรและในปีหน้าน่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11 ล้านบัตร ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากขณะนี้บัตรเครดิตเริ่มอยู่ในสภาวะที่อิ่มตัว
โดยสาเหตุที่มองว่าการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตจะมีไม่มากนัก เนื่องจากฐานเงินเดือนที่ทางธปท.กำหนดให้สามารถถือบัตรเครดิตซึ่งอยู่ที่ 15,000 บาทนั้น ใช้มานาน 5-6 ปี แล้ว ซึ่งหากเทียบจากฐานแรงงานซึ่งมีอยู่จำนวน 34 ล้านคน จะมีผู้ที่เข้ากฎเกณฑ์อยู่เพียง 5 ล้านคนเท่านั้น และหากพิจารณาจำนวนบัตรเครดิตในระบบซึ่งอยู่ที่ 10 ล้านบัตร จะเฉลี่ยถือ 2 บัตรต่อคน ถือว่าตลาดน่าจะอิ่มตัวแล้ว ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าการเติบโตน่าจะมาจากการออกบัตรให้กับผู้ที่ถือบัตรอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะมาจากผู้ถือบัตรใหม่บ้างบางส่วน เนื่องจากในช่วงสิ้นปีนี้คงจะมีบางส่วนที่มีเงินเดือนเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถทำบัตรเครดิตได้
ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้มีการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิต โดยดูจากการมีเงินฝากหรือการลงทุนตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งได้นั้น ไม่ได้เป็นการช่วยให้มีผู้ที่จะสามารถถือบัตรเครดิตได้เพิ่มขึ้นมาก แต่น่าจะมีผู้ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวเพียงหลักพันรายเท่านั้น
"ในเรื่องการให้ผู้ที่มีเงินฝากหรือที่ถือตราสารหนี้ทำบัตรเครดิตได้นั้น เดิมมีประกาศอยู่แล้ว การประกาศครั้งนี้จึงเป็นเพียงการขยายความของเดิม และส่วนใหญ่พวกที่มีเงินฝากจะเป็นพวกที่มีกิจการส่วนตัว เช่น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แต่ในอดีตจะติดขัดเรื่องของการขอบัตรเครดิต ซึ่งประกาศนี้ก็จะช่วยให้สามารถทำบัตรเครดิตได้เท่านั้น" นายสมบูรณ์ กล่าว
นายสมบูรณ์ กล่าวว่า ในส่วนของวีซ่าตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 20-25 % ซึ่งเป็นการเติบโตที่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในปีนี้ เนื่องจากมองว่าภาวะเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันโลก อัตราเงินเฟ้อ และองค์ประกอบภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามนั้น จะอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงกับในปีนี้ และน่าจะมีการแข่งขันที่ไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากผู้บริโภคยังคงอยู่ในการใช้จ่ายอย่างประหยัด
ส่วนความคืบหน้าของการติดชิปบนบัตรเครดิตนั้น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วเกือบ 1 ล้านบัตร หรือคิดเป็น 20% ของฐานบัตรเครดิตที่มีอยู่ 6 ล้านบัตร และคาดว่าจะสามารถเปลี่ยนบัตรให้เป็นแบบติดชิปได้ทั้งหมดภายในเวลา 3 ปี
|
|
|
|
|