Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 ธันวาคม 2549
ธุรกิจเหล็กปี50อนาคตสดใสบาทแข็ง-ราคาพุ่งหนุนกำไรเด่น             
 


   
search resources

Metal and Steel




กลุ่มผู้ประกอบการเหล็ก รับอานิสงส์ราคาเหล็กพุ่ง-เงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้ผลการดำเนินงานปี 2550 สดใส พบ "CITY" มีส่วนต่างให้ทำกำไรสูงสุดถึง 23.97% ขณะที่ BSBM ส่วนต่างต่ำสุดแค่ 1.52% ด้านบล.ดีบีเอสฯ แนะซื้อ TMT และ MS ราคาเป้าหมายที่ 4.36 บาท และ 1.36 บาท ตามลำดับ ส่วนบล.นครหลวงไทย ชู GSTEEL เด่น ให้ราคาที่ 1.25 บาท

หลังจากที่หลายฝ่ายได้ประเมินสถานการณ์ราคาเหล็กปี 2550 ว่า ราคาเหล็กน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ประมาณ 10% เนื่องจากความต้องการในประเทศเติบโต 10% หลังปรับลง 15% ในปี 2549 หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผู้ประกอบการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับลงและอัตราดอกเบี้ยที่นิ่งและมีแนวโน้มลดลงจะเป็นปัจจัยผลักดันการบริโภคด้วย

ขณะนี้แนวโน้มระยะยาว คาดว่าในปี 2551 ปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะเติบโตมากขึ้น จากโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและมีเม็ดเงินเข้าระบบได้จริงตั้งแต่ต้นปี

จากปริมาณความต้องการและราคาเหล็กที่จะปรับตัวเพิ่มตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป และยังมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในระยะยาว จะส่งผลดีต่อผลประกอบการของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเหล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจะช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นในกระดานปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย หลังจากที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุน เพื่อหวังผลตอบแทนจากผลประกอบการของบริษัท

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ได้ประเมินราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจเหล็ก (เฉพาะที่ประเมินจำนวน 7 บริษัท) พบว่า โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ยังให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยสูงกว่าราคาปิดบนกระดานหลักทรัพย์ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 หรือยังมีโอกาสที่นักลงทุนสามารถเข้าไปทำกำไรจากการลงทุนได้ (Up Side) โดยบริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ CITY นับเป็นบริษัทส่วนต่างสูงสุด คือมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 3.00 บาท ขณะที่ราคาปิด 2.42 บาท ส่วนต่าง 0.58 บาท หรือประมาณ 23.97% (ตารางประกอบข่าว)

อันดับสอง บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 1.37 บาท ราคาปิดที่ 1.21 บาท ส่สวนตาง 0.16 บาท หรือ 13.22% อันดับสาม บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 1.31 บาท ราคาปิด 1.16 บาท ส่วนต่าง 0.15 บาท หรือคิดเป็น 12.93%

ขณะที่บริษัทที่มีส่วนต่างต่ำสุด 3 อันดับได้แก่ บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) หรือ BSBM ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 1.34 บาท ราคาปิด 1.32 บาท ส่วนต่าง 0.02 บาท หรือคิดเป็น 1.52% อันดับสองบริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) หรือ STEEL ราคาเป้าหมาย 3.30 บาท ราคาปิด 3.06 บาท ส่วนต่าง 0.24 บาท หรือ 7.84% ขณะที่อันดับสามบริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMT ราคาเป้าหมาย 4.23 บาท ราคาปิด 3.84 บาท ส่วนต่าง 0.39 บาท หรือคิดเป็น 10.16%

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กล่าวว่า จากการที่บริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกเริ่มเจรจาเพื่อกำหนดทิศทางราคาเหล็กในปีหน้า และคาดการณ์กันว่าราคาเหล็กจะเพิ่มขึ้น 5-10% จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์ในวงการธุรกิจเหล็กในระดับโลกจากที่ก่อนหน้านี้ราคาซื้อหรือขายจะถูกกำหนดโดยอุปสงส์-อุปทานในตลาด แต่ในเรื่องดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตรายใหญ่ๆเริ่มควบคุมทิศทางราคาได้แล้ว

ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อ GSTEEL ไม่มากนัก เพราะสามารถปรับราคาขายขึ้นตามหากวัตถุดิบปรับราคาเพิ่มได้ หรือหากในอนาคตราคาปรับลดลงอาจจะต้องปรับลดราคาขายลงด้วยเช่นกัน

"ปีหน้าความต้องการใช้เหล็กในประเทศน่าจะมีอยู่อีกมาก ซึ่งเทียบจากในปีนี้ที่ยังคงต้องมีการสั่งนำเข้าอยู่ปริมาณมาก โดยบริษัทเองได้เตรียมพร้อมด้วยการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนในการขยายกำลังการผลิตในอนาคต"

บริษัทหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ได้ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มเหล็กเป็น Neutral แม้ว่าอุตสาหกรรมจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงปี 2548 ถึงไตรมาสแรกปี 2549 แต่การฟื้นตัวยังไม่มากนัก แม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้นมาก แต่อุปสงค์ในประเทศลดลง สำหรับปี 2550 คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเติบโตขึ้นประมาณ 10% และขยายตัวดีขึ้นต่อในปี 2551

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหล็กยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคาในตลาดโลก ดังนั้นเราจึงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral โดยหุ้นที่เราแนะนำซื้อลงทุน คือ TMT ราคาตามพื้นฐาน 4.36 บาท, บริษัท มิลเลนเนียม สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MS ราคาตามพื้นฐาน 1.36 บาท แนะนำถือ SSI ราคาพื้นฐาน 1.40 บาท ส่วน BSBM และ GSTEEL แนะนำ Fully Valued

บล.นครหลวงไทย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตเหล็ก เนื่องจาก GSTEEL และ SSI มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศประมาณ 80-90% และ MS มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเฉลี่ยประมาณ 20% ขณะที่มีสัดส่วนส่งออกประมาณ 5% ดังนั้นค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าของผู้ผลิตลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้

ด้านคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐาน แนะนำ ซื้อลงทุน GSTEEL เป็น TOP PICKS ในกลุ่มผู้ผลิตเหล็กแผ่น โดยมีราคาที่เหมาะสมในปี 2550 เท่ากับหุ้น 1.25 บาท และแนะนำ ซื้อ MS เป็น TOP PICKS ในกลุ่มผู้ผลิตเหล็กเส้นที่ราคาเหมาะสมหุ้น 1.37 บาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ขยายตัวดีขึ้น จะทำให้มีอุปสงค์การใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กเส้นเพื่อการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกคาดว่าจะมีความผันผวนน้อยกว่าในปี 2549 ซึ่งจะช่วยให้ผลการดำเนินงานของบริษัทขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us