Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 ธันวาคม 2549
เงินบาทแข็งค่าส่งออกเฟอร์ฯกำไรหด             
 


   
www resources

โฮมเพจ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์

   
search resources

Furniture
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์, บจก.




ค่าบาทแข็ง ส่งออกเฟอร์นิเจอร์กำไรหด อินเด็กซ์ หยุดขยายหันเน้นตลาดในประเทศ หลังปีที่ผ่านมาส่งออกถึง 50% ของรายได้ ส่งผลฉุดกำไรส่งออกลด 12% ด้านโมเดอร์นฟอร์มยอดส่งออกเพียง 4% ไม่ระคายผิว ระบุเน้นตลาดพรีเมียม ขายดีไซน์ลูกค้าไม่เกี่ยงราคา

นายกิจจา ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด เปิดเผยว่า จากภาวะเงินบาทแข็งค่า จาก 39 บาท มาอยู่ที่ 35.75 บาท ในปัจจุบัน ทำให้ตลาดส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยในส่วนของบริษัทเองได้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์มากถึง 50% ของยอดขายรวม ซึ่งการแข็งค่าดังกล่าวเป็นผลให้กำไรส่งออกลดลงประมาณ 12% อีกทั้งที่ผ่านมากำไรจากการส่งออกยังน้อยกว่าขายในประเทศมาก เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

นอกจากนี้ การส่งออกไปประเทศต่างๆต้องผ่านนายหน้าหรือพ่อค้าคนกลางในประเทศที่ส่งออกไป การขายผ่านพ่อค้าคนกลางมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย กล่าวคือ ข้อดีบริษัทไม่ต้องเข้าไปทำตลาดเอง พ่อค้าคนกลางจะมีลูกค้าในมือจำนวนมาก มียอดสั่งซื้อในแต่ละล็อตมาก ส่วนข้อเสีย เมื่อมียอดสั่งซื้อมาก ก็จะกดราคาสินค้ามาก

นายกิจจากล่าวต่อว่า ดังนั้นนโยบายต่อไปของบริษัทจะไม่เน้นขยายตลาดส่งออกในช่วงนี้ แต่จะหันมาเพิ่มตลาดในประเทศแทน แต่จะไม่ลดสัดส่วนการส่งออกแต่อย่างใด เพราะต้องรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ นอกจากนี้ยังใช้แนวทางการขยายตรงไปยังผู้ค้าหรือโชว์รูมในประเทศนั้นๆ แทนการผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อหลักเลี่ยงปัญหาการกดราคาสินค้า ซึ่งบริษัทดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่การตลาดเข้าไปเจรจากับผู้ค้าในหลายๆประเทศ และปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าประเภทเอ็กครูซีฟ โมเดิร์นเทรดประมาณ 30%

นอกจากนี้บริษัทจะต้องเร่งออกแบบและผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ให้แตกต่างจากสินค้าเดิม เพื่อให้สามารถตั้งราคาใหม่ได้ ซึ่งหากเป็นสินค้าแบบเดิมราคาขายส่งจะต้องตายตัวไม่สามารถเรียกร้องปรับขึ้นราคาได้

"เงินบาทแข็งค่าเร็วมากจนปรับตัวไม่ทัน ซึ่งหลายคนบอกว่ามีแนวโน้มจะลงไปถึง 34 บาท ถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาช่วยผู้ส่งออกคงแย่ เพราะปกติกำไรจากการส่งออกน้อยอยู่แล้ว ตอนนี้กำไรแทบไม่มีแต่ก็ต้องขายเพราะเราต้องรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ ปรับตัวให้เร็ว เพื่อให้ทันกับภาวะผันผวน" นายกิจจากล่าว

โมเดอร์นฟอร์มส่งออกแค่4%ไม่กระทบ

นายทักษะ บุษยโภคะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ "โมเดอร์นฟอร์ม" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมียอดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศเพียง 4% ของยอดขายรวม ทำให้ได้รับผลกระทบจากการแข็งตังของค่าเงินบาทน้อยมาก โดยเฉลี่ยแล้วค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นขณะนี้มีผลต่อต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 13% ซึ่งลูกค้าของบริษัทเองขณะนี้ก็มีการขอปรับคาราขายขึ้นบ้างเล็กน้อยซึ่งถือว่าเป้ฯการปรับตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นราคาสินค้าของลูกค้านั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับกลุ่มลูกค้าเนื่องจาก สินค้าของบริษัทเป็นสินค้าในตลาดพรีเมียม กลุ่มลูกค้าเองก็มีกำลังซื้อ ประกอบกับสินค้าของบริษัทยังเป็นกลุ่มสินที่มีมูลค่าเพิ่มในตัวอยู่แล้ว เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ขายดีไซน์ ไม่ได้เน้นขายกลุ่มล่างที่มีพิจารณาที่ราคาเป็นปัจจัยสำคัญ

นอกจากนี้ การแก้ปัญหาระยะยาวของบริษัทเองก็มีการวางแผน และแนวทางในการแก้ปัญหาไว้อยู่แล้ว โดยบริษัทได้มีนโยบายการซื้อขายร่องหน้า ซึ่งจะทำให้สมารถบริหารต้นทุนในการผลิต และการบริหารสต็อกสินค้าของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การแข็งค่าของเงินบาท หรือการผันผวนของค่าเงินในแต่ละช่วง ไม่ส่งผลกระทบกับต้นทุนในการผลิตของบริษัทมากนัก

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทมีการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อยู่ที่ประมาณ 15%ต่อปี ซึ่งสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อต้นทุนวัตถุดิบของมากมายนัก เนื่องจากเมื่อค่าเงินบาทแข็งตัว ผู้ผลิตวัตถุดิบเองก็มีการปรับราคาขายตามค่าเงินที่ผันผวนเช่นกัน ทำให้ประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าการแข็งคค่าของเงินบาทจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศจะถูกลง และส่งผลดีต่อผู้นำเข้าเองนั้น ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้มีความต่างจากในช่วงที่ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าเลย เนื่องจากเมือค่าเงินแข็งขึ้นราคาวัตถุดิบก็มีการปรับตัวตามไปด้วย ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบไม่ได้ แตกต่างจากช่วงปกติมากนัก

ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือกลุ่มผู้ผลิตสินค้าส่งออกในตลาดล่าง เพราะถึงแม้ว่าจะใช้วัตถุดิบในประเทศที่มีต้นทุนที่ถูก แต่เมืองส่งออกไปขายในต่างประเทศแล้ว การแข่งขันกับผู้ประกอบการในตลาดเดี่ยวกันอย่าง จน อินเดีย และเวียดนาม นั้น ยังถือว่ามีต้นทุนที่ถูกกว่า เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ลูกค้าต้องจ่ายเงินเพิ่มในการสั่งซื้อ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปรับราคาลงได้มาก เพราะจะทำให้กำไรลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการแข็งขันกับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us