Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 ธันวาคม 2549
ธปท.คุมสถาบันการเงินเข้มเชือดแบงก์BISต่ำกว่า9.5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกริก วณิกกุล
Financing




แบงก์ชาติคุมเข้มสถาบันการเงินออกเกณฑ์เพิ่มเติมด้านเงินกองทุน ระบุหากบีไอเอสต่ำกว่า 9.5% สั่งทำแผนเพิ่มทุน-ชะลอขยายสินเชื่อหรืองดโครงการที่ต้องใช้เงิน แต่ถ้าต่ำกว่า 8.5%ต้องถอดถอนบอร์ด และหากเงินกองทุนเหลือ 35%เพิกถอนใบอนุญาต หวั่นดูแล-ตรวจสอบไม่ทันการณ์ อาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนหน้า ธปท.เตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเพิ่มเติมแก่สถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) ที่ต่ำกว่า 9.5% ซึ่งธปท.จะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่เข้าไปดูแลสถาบันการเงินที่เข้าข่ายลักษณะนี้ โดยสั่งทำแผนเพิ่มทุนและพิจารณาการชะลอการขยายสินเชื่อหรืองดการดำเนินงานที่ต้องจ่ายเงินออกจากธนาคารออกไป เพื่อไม่ให้เงินกองทุนลดลงไปมากกว่านี้

ทั้งนี้ สาเหตุที่ออกหลักเกณฑ์นี้ เพราะในช่วงวิกฤตปี 40 สถาบันการเงินไทยประสบปัญหาอย่างมากและต่างชาติมองว่าธปท.อ่อนแอในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมถึงการเข้าไปช่วยเหลือหรือแทรกแซงช้าเกินไป จนส่งผลให้เงินกองทุนของสถาบันการเงินลดลงอย่างรวดเร็ว และเกิดความเสียหายถึงประชาชนที่ออมเงินด้วย ดังนั้น ธปท.จะเข้าไปดูแลสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาให้ทันท่วงทีมากขึ้น พร้อมทั้งต้องการสร้างความคุ้นเคยและรองรับพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้เร็วๆ นี้ด้วย

“ก่อนหน้านี้ที่แบงก์ชาติไม่ได้เข้าไปดูแลสถาบันการเงินจนต้องรอให้เงินกองทุนติดลบ เพราะเกิดความลังเลใจว่าตามหลักกฎหมายแล้วแบงก์ชาติควรเข้าไปดูแลหรือตามสิทธิของกฎหมายเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยึดทรัพย์จะเข้าไปดูแลหรือเป็นอำนาจใคร แต่ขณะนี้แบงก์ชาติมองว่าสถาบันการเงินที่ประสบปัญหามีผู้ที่เสียภาษีและประชาชนที่ฝากเงินมีความเสียหายด้วย และหากเข้าไปทันถ่วงทีจะทำให้เกิดความเสียหายน้อยลง อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติจะดูแลสถาบันการเงินไม่ให้เงินกองทุนลดลงอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของเงินกองทุนขั้นต่ำที่แบงก์ชาติได้กำหนดไว้ “ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าว

ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ปัจจุบันธปท.กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 8.5% แต่ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เฉลี่ยแล้วมีเงินกองทุนอยู่ที่ระดับ 14% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 เฉลี่ยที่ระดับ 10%

ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การเข้าไปดูแลสถาบันการเงินแต่ละแห่งของธปท. เมื่อเงินกองทุนลดลง จะมีขั้นตอนที่ชัดเจนเมื่อเงินกองทุนลดลงในแต่ละระดับ โดยหากเงินกองทุนลดลงถึง 60%ของเงินกองทุนขั้นต่ำที่ธปท.กำหนด คือ 8.5% ธปท.จะเข้าไปถอดถอนคณะกรรมการธนาคารและตั้งคณะกรรมการธนาคารชุดใหม่แทน แต่หากเงินกองทุนลดลงเหลือ 35% ธปท.จะเพิกถอนใบอนุญาต

อย่างไรก็ตาม การเพิกถอนใบอนุญาตของสถาบันการเงิน ก็มีขอยกเว้นหากสถาบันการเงินรายนั้นมีแนวโน้มที่แสดงให้เห็นว่าสามารถฟื้นฟูธุรกิจได้ อาทิ นำเงินทุนก้อนใหม่มาฟื้นฟูกิจการหรือธปท.มองว่าจะกระทบต่อประชาชนวงกว้างก็อาจจะชะลอการเพิกถอนใบอนุญาต ถือเป็นอำนาจของธปท.อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็ต้องรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบก่อน

“แบงก์ชาติจะเพ่งเล็งเป็นพิเศษทันทีที่เงินกองทุนของแบงก์เริ่มลดลง แต่แบงก์ชาติไม่ได้มองแค่เงินกองทุนลดลงระดับหนึ่งแล้วจะเข้าไปจัดการ แต่หากจะดำเนินการบางอย่างไปก่อน โดยอาจสั่งให้แบงก์รายนั้นนั้นเพิ่มทุน ห้ามจ่ายเงินปันผลหรือโบนัส หรือแม้กระทั่งดำเนินการบางอย่างที่ชะลอโครงการต่างๆ ไม่ให้กระทบต่อเงินกองทุนให้เสื่อมมากกว่านี้ก่อน เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและฐานะทางการเงินของเขาเอง ”นายไพบูลย์ กล่าว

ทั้งนี้ การที่ธปท.จะได้เข้าไปตรวจสอบสถาบันการเงินแต่ละแห่งก็จะมีการประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานบาร์เซิล 2 ซึ่งแต่ละด้านก็มีกรอบที่ชัดเจนไว้แล้ว ดังนั้นเงินกองทุนของแต่ละสถาบันการเงินจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินเป็นหลัก ทำให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีเงินกองทุนแตกต่างกันออกไป

“การดำเนินการของธปท.ก็มีคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ซึ่งมีทั้งคนภายในธปท.และคนนอกจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ ดูแลอยู่ด้วย ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ถือเป็นกฎหมายฉบับใหม่ก็มีการกำหนดกรอบที่ชัดเจนไว้แล้ว คงไม่ให้แบงก์ชาติใช้อำนาจตามอำเภอใจ อย่างที่หลายฝ่ายมองกัน”นายไพบูลย์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us