Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 ธันวาคม 2549
บาทไร้วี่แววอ่อน-ต้นปีหน้าแตะ35ย้ำ'ส่งออก'เร่งปรับตัวรับมือค่าเงิน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Currency Exchange Rates




ศูนย์วิจัยกสิกรฯเอาใจช่วยผู้ส่งออก แนะนอกจากการใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงแล้ว ยังต้องมีปรับโครงสร้างทางอุตสาหกรรม อาทิ การย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งที่มีต้นทุนต่ำเป็นการปรับตัวในระยะยาว คาดแนวโน้มยังไร้วี่แววอ่อนค่า ยันปลายปีนี้ได้เห็น 35.50 บาท/ดอลลาร์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2549 ไปจนถึงปี 2550 ว่า เงินบาทอาจจะยังคงได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแตะระดับ 35.0 บาทได้ภายในครึ่งแรกของปี 2550 โดยอาจจะปิดระดับ ณ ปลายปี 2550 ในช่วง 35.0-36.0 บาท/ดอลลาร์ฯ จากระดับปิด ณ สิ้นปี 2549 นี้ที่ประมาณ 35.5-36.0 บาท/ดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ จากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งจะมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่โครงสร้างรายได้และต้นทุนของแต่ละธุรกิจ

โดยผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจที่เน้นตลาดในประเทศ และมีสัดส่วนการนำเข้าสูง รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวขาออก (Outbound Tourism) ตลอดจนธุรกิจที่มีภาระหนี้ในสกุลเงินตราต่างประเทศ น่าจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากจะมีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่ลดต่ำลงเมื่อคิดเป็นเงินบาท ซึ่งธุรกิจในกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้นำเข้าสินค้าในหมวดเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีระดับสูงที่ไม่สามารถผลิตในประเทศได้ รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวขาออก ตลอดจนธุรกิจที่มีรายได้เป็นเงินบาทแต่มีภาระหนี้ในสกุลเงินตราต่างประเทศ

สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก แต่ไม่มีธุรกรรมเงินตราต่างประเทศมากนัก ก็อาจจะถือได้ว่าไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ก็อาจได้รับผลทางอ้อม หากลูกค้าของตนถูกกระทบจากค่าเงินบาท ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจในกลุ่มที่เน้นตลาดหรือผู้บริโภคในประเทศเป็นหลัก อันได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และค้าปลีก ซึ่งไม่มีโครงสร้างรายได้หรือต้นทุนที่ผูกพันโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นในกรณีที่ผู้ประกอบการมีภาระหนี้ในสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งย่อมจะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท แต่อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทอาจส่งผลบวกในทางอ้อมต่อธุรกิจในกลุ่มนี้ เช่น ผ่านอำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ถ้าหากมีการปรับลดของราคาน้ำมันที่นำเข้าเนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น หรือหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระบบลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ลดลง เป็นต้น

ในทางตรงข้าม ผู้ประกอบการที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่มีต้นทุนส่วนใหญ่เป็นเงินบาท น่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบในทางลบโดยตรงจากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากจะมีส่วนต่างจากการดำเนินธุรกิจ (Operation Margins) ในรูปของเงินบาทที่ลดต่ำลง ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้ส่งออกสินค้าในหมวดอาหารและเกษตรแปรรูป ตลอดจนธุรกิจท่องเที่ยวขาเข้า (Inbound Tourism) ที่พึ่งพิงลูกค้าชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่

และผู้ประกอบการที่มีทั้งรายได้ และต้นทุนในรูปเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ได้แก่ธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) ที่เข้ามาลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) ทั้งในไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาค โดยกระบวนการผลิตมีลักษณะของการนำเข้าสินค้าขั้นกลางหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาประกอบในไทย แล้วส่งออกต่อไปยังตลาดต่างประเทศ ตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains) ของสินค้านั้น ๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งผลกระทบสุทธิของการแข็งค่าของเงินบาทต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อาจจะมีไม่มากนัก เนื่องจากสามารถกระจายรายได้และต้นทุนของตนเฉลี่ยกันไปในหลายสกุลเงิน

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากแข็งค่าของเงินบาทนั้น นอกเหนือจากการป้องกันความเสี่ยงด้วยเครื่องมือทางการเงินต่างๆแล้ว ผู้ประกอบการยังอาจต้องพิจารณาปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยการปรับตัวในระยะสั้นนั้น ผู้ประกอบการที่มีรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินตราต่างประเทศแต่มีต้นทุนเป็นเงินบาท เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว และผู้ส่งออกสินค้าในหมวดอาหารและเกษตรแปรรูป อาจจะสามารถลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทได้ โดยการปรับแหล่งรายได้ หรือกระจายตลาดสินค้าส่งออกของตน เพื่อที่จะลดสัดส่วนรายได้ในรูปเงินสกุลดอลลาร์ฯ และหันไปเพิ่มน้ำหนักรายได้ในรูปเงินตราสกุลอื่น ๆ ที่คาดว่าจะมีค่าแข็งขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เช่น เงินในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะเงินเยน ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนผู้ส่งออกสินค้าในหมวดอาหารและเกษตรแปรรูป ยังน่าจะพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการขายในประเทศให้มากขึ้น แทนที่จะพึ่งตลาดส่งออกเป็นหลักอย่างที่ผ่านมา โดยที่ผ่านคือ ผู้ผลิตอาหารหลายรายได้พยายามจะเพิ่มสัดส่วนยอดขายในประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารของตน สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวขาเข้า (Inbound Tourism) การเพิ่มสัดส่วนยอดขายในประเทศก็คือการหันมาดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป การหันมานำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศหรือ Outsource การผลิตในบางขั้นตอนไปในต่างประเทศ แทนที่จะใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักหรือผลิตในประเทศทั้งหมด ก็อาจจะช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการลงได้

และสำหรับการปรับตัวในระยะกลางถึงระยะยาว นอกจากการกระจายแหล่งรายได้และเพิ่มน้ำหนักการขายในประเทศเพื่อที่จะลดความสำคัญของรายได้ในรูปเงินดอลลาร์ฯแล้ว จากความเป็นไปได้ที่การแข็งค่าของเงินบาทอาจจะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปอีก ทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรม อาจจะต้องพิจารณาย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังแหล่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า หรือถูกกระทบจากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯได้น้อยกว่า เช่น การย้ายฐานการผลิตสินค้าประเภทที่ใช้แรงงานมากหรือ Labor Intensive เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ฯลฯ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ทั้งนี้ ตัวอย่างที่เราเห็นมาแล้วได้แก่กรณีของญี่ปุ่น ที่ได้ย้ายฐานการผลิตของตนออกไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะไทย หลังจากที่เงินเยนได้แข็งค่าขึ้นอย่างมากหลังข้อตกลง Plaza Accord ในปี 1985   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us