|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สสว.เผยสถานการณ์ธุรกิจเอสเอ็มอี พบความสามารถในการทำกำไรของเอสเอ็มอีในภาคการค้าปลีก- ค้าส่งลดลงเล็กน้อย ขณะที่ภาพรวมธุรกิจสุขภาพ และสปา ยังครองยอดขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง คาดปี2550 อนาคตสดใส
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สสว. เปิดเผยว่า โครงการศึกษา วิเคราะห์ และเตือนภัยเอสเอ็มอี รายสาขา สสว. พบว่า มูลค่ายอดขายของธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีมูลค่ายอดขายในปี 2549 ลดลงประมาณ 0.13% เมื่อเทียบกับปี 2548 ในขณะที่ภาพรวมของทั้งประเทศจะมีมูลค่ายอดขายในปี 2549 ลดลง 0.77% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยังมีความสามารถในการทำยอดขายได้ดีกว่าภาพรวมของธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง
ทั้งนี้ความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง จะพบว่าค่าดัชนีมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2547 โดยในปี 2549 ค่าดัชนีความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อยู่ที่ 0.002 เท่า ซึ่งต่ำว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจการค้าส่งค้าปลีกรวมทั้งประเทศที่ทำได้ 0.006 เท่า โดยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ในปี 2550 คาดจะมียอดลงลดจากปี 2549 ประมาณ 2.73%
ทั้งนี้หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ สถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ผู้บริโภคมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการน่าจะยังมีสินค้าคงคลังคงเหลือจากปี 2549 อยู่ซึ่งเป็นต้นทุนเดิม จึงอาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทำกำไรจากการขายได้เพิ่มขึ้น แม้จะมียอดขายที่ลดลงหากไม่มีภาระหนี้สินค้างชำระ
“ภาพรวมของธุรกิจเอสเอ็มอีช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาทไทย การขาดดุลการค้า ความเชื่อมั่นในการลงทุน ตลอดจนอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด พบว่าปัจจัยทางการเมือง ข้อกฎหมายและเศรษฐกิจ เริ่มมีทิศทางในแนวบวกต่อการประกอบธุรกิจเพราะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ปัจจัยด้านสังคมและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศยังคงเป็นปัญหาต่อการดำเนินงานของกิจการในการแข่งขัน” นางจิตราภรณ์กล่าว
ส่วนยอดในธุรกิจสปา พบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีมูลค่ายอดขายในปี 2549 เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับปี 2548 ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจสปา ของทั้งประเทศในปี 2549 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.94 แสดงว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความสามารถในการทำยอดขายได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบเท่ากับภาพรวมของธุรกิจสปา ส่วนความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจสปาสามารถทำได้ถึง 0.030 สำหรับปี 2549 และดีกว่าปีก่อนหน้าที่ทำได้เพียง 0.022 เท่า โดยภาพรวมของธุรกิจสปามีความสามารถในการทำกำไรได้ถึง 0.043 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมการค้าและการบริการของประเทศไทย
|
|
|
|
|