Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2537
"เสกขยะให้เป็นเงิน"             
 


   
search resources

แคลิฟอร์เนีย เวสท์ โซลูชั่น
เดวิด ดวง




เมื่อ 16 ปีก่อนเดวิด ดวงและญาติของเขาได้อาศัยเรือหาปลาเก่า ๆ หนีภัยสงครามออกมาทางชายฝั่งเวียดนามตอนใต้ แต่เมื่อออกเรือมาได้ราว 130 กิโลเมตร เรือก็แตก แต่ยังโชคดีที่มีเรือโซเวียตมาช่วยชีวิตไว้ และพาพวกเขาไปฟิลิปปินส์ 18 เดือนต่อมา ครอบครัวของเขาจึงข้ามไปตั้งหลักปักฐานในซานฟรานซิสโก

ดวงเป็นลูกคนโตจากพี่น้องที่มีอยู่ 7 คน เขาได้เรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วงนั้นลุงของเขาทำงานอยู่ในร้านขายบะหมี่ ส่วนแม่บุญธรรมของดวงเป็นพนักงานทำความสะอาดอาคารสำนักงาน ตกค่ำ ดวงจะเดินไปตามถนน ตื่นตะลึงกับตึกระฟ้า และแสงนีออน ขณะที่ข้างถนนก็เกลื่อนกลาดไปด้วยเศษกระดาษและขยะ

"สำหรับเราแล้วรู้สึกว่ามันน่าเสียดายมาก" ดวงเล่า พ่อของดวงมีหุ้นส่วนอยุ่ในบริษัทกระดาษและผลิตสินค้าจากของใช้แล้วในไซ่ง่อน ซึ่งตอนนี้เรียกว่าโฮจิมินห์ "เราเรียนรู้จากธุรกิจของพ่อในเวียดนามว่าขยะเป็นของมีค่า"

ค่าของมันมหาศาลมาก ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากดวงตั้งบริษัทรีไซเคิลขึ้นในทศวรรษที่ 1980 ครอบครัวของเขาได้เสกขยะให้เป็นทรัพย์สมบัติที่มีมูลค่าราว 4.3 ล้านดอลลาร์

แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ ประการแรก ดวงไม่รู้จักเครือข่ายธุรกิจรีไซเคิลในซานฟรานซิสโกเลยสักแห่ง

"แม้แต่วิธีใช้สมุดหน้าเหลือง เรายังไม่รู้เลย" ดวงพูดยิ้ม ๆ

บรรดาญาติพี่น้องดวงจะแยกย้ายกันขึ้นรถประจำทางตระเวณหาบริษัทรีไซเคิลที่รับซื้อกระดาษใช้แล้ว จนมีอยู่วันหนึ่งแม่บุญธรรมของดวงได้ไปเจอบริษัทแห่งหนึ่งชื่อ "อินดีเพนเดนท์ เปเปอร์" อันเป็นเป้าหมายที่พวกเขาต้องการจากนั้น ครอบครัวดวงจึงไปขอยืมเงินจากเพื่อนที่อยู่ในไชน่า ทาวน์มา 700 ดอลลาร์ และกู้ธนาคารมาอีก 2,000 ดอลลาร์ รวมเอามาซื้อรถแวนมือสอง

พี่น้องตระกูลดวงจะตระเวณเข้าไปย่านธุรกิจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อไปเก็บกระดาษที่ภารโรงขนออกมาไว้ข้างนอกพวกเขาจะมีรายได้จากเศษกระดาษที่รวมมาได้ในแต่ละวันราว 100-120 ดอลลาร์ กำไรที่ได้ก็เอาเข้าบริษัท ต่อมาก็ซื้อรถเพิ่มและยังได้ซื้อเครื่องอัดกระดาษที่ค่อนข้างจะมีราคาแพงเอาไว้อัดกระดาษให้เป็นตั้ง ๆ

"เพราะที่นี่คืออเมริกา เราจึงซื้อได้ทุกอย่าง โดยจ่ายเงินสดเพียงนิดหน่อย" ดวงเล่าพร้อม ๆ กับกางแขนออกทำท่าโอบเพื่อให้ดูว่านโยบายด้านการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจการเงินในสหรัฐฯ กว้างขวางแค่ไหน "ที่นี่คุณทำอย่างนั้นได้ คุณไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด"

ในปี 1982 ครอบครัวดวงได้ลงทุน 15,000 ดอลลาร์ตั้งบริษัท "อีสต์ เวสต์ รีไซคลิ่ง" ต่อมาอีกปี พวกเขาได้ลงทุนเพิ่มอีก 60,000 ดอลลาร์ แล้วเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น "โคกิโด เปเปอร์" เป็นชื่อที่เขาเล่าว่าเอามาจากชื่อโรงงานทำกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ที่พ่อของดวงมีหุ้นส่วนอยู่

โคกิโดขยายตัวอย่างรวดเร็ว และได้ย้ายสำนักงานข้ามจากอ่าวซานฟรานซิสโกไปยังโอ๊คแลนด์ในปี 1984 และต่อมาก็ได้เปิดสาขาขึ้นแถวซาน โฮเซ่ ในปี 1989 ดวงได้ขายโคกิโดในราคา 2 ล้านดอลลาร์ให้กับ "นอร์แคล เวสท์ ซิสเต็มอิงค์" บริษัทรีไซเคลในซานฟรานซิสโกที่ต้องการขยายธุรกิจของตัว

ดวงได้กลับเข้าสู่วงการรีไซเคิลอีกครั้งในปี 1992 โดยครั้งนี้เขาได้ลงทุน 2.8 ล้านดอลลาร์ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "แคลิฟอร์เนีย เวสท์ โซลูชั่น" เขายังได้ใช้เงินอีก 6 แสนดอลลาร์ซื้อรถบรรทุกมา 6 คัน และอีก 5 แสนดอลลาร์ซื้อเครื่องอัดกระดาษขนาด 200 แรงม้าซึ่งสามารถอัดกระดาษได้ชั่วโมงละ 35 ตัน

ปีที่แล้วแคลิฟอร์เนีย เวสท์ โซลูชั่นได้สัญญา 5 ปีมูลค่า 4.5 ล้านดอลลาร์จากเมืองโอ๊คแลนด์ให้เก็บกระดาษ, กระป๋องและน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วจากผู้อยู่อาศัย 33,000 หลังคาเรือน

เห็นได้ชัดว่า สัญญาฉบับนี้จะทำเงินให้กับดวงมหาศาล ข้อมูลจากแหล่งข่าวอุตสาหกรรมระบุว่า ในปี 1989 แคลิฟอร์เนียได้ออกกฎหมายให้ผู้อยู่อาศัยลดพื้นที่ใช้ทิ้งขยะลง 25% ภายในปี 1995 และลดเหลือ 50% ภายในปี 2000 ซึ่งทำให้ปริมาณขยะที่จะต้องมีการถ่ายเทออกไปรีไซเคิลสูงขึ้นเป็นจำนวนถึง 20 ล้านตัน

บรรดาบริษัทรีไซเคิลต่างหวังกันว่ารัฐบาลประธานาธิบดีบิลล์ คลินตันที่ค่อนข้างจะเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมจะผ่านกฎหมายแห่งชาติที่ช่วยขยายตลาดให้กับสินค้ารีไซเคิล ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้รับปากว่าจะเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล และจะออกมาตรการยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ใช้วัสดุรีไซเคิล และจะออกมาตรการเก็บภาษีเพื่อลดการใช้วัตถุผลิตใหม่

"ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ถึงปีละ 125,000 ดอลลาร์ "ธุรกิจสายนี้กำลังรุ่ง" ดวงคาด "รองประธานาธิบดีอัล กอร์ก็เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวยงคนหนึ่ง ซึ่งนับเป็นเรื่องดีต่อตลาดในประเทศ

นอกจากนี้ จากการที่ตลาดเอเชียยังสามารถเจาะได้ง่าย ทำให้นักธุรกิจรีไซเคิลจากแคลิฟอร์เนียอย่างดวงก้าวขึ้นมาถึงจุดสูงสุดได้ เมื่อปีที่แล้ว ดวงขายกระดาษใช้แล้วให้กับบริษัทในไต้หวัน, เกาหลี, จีน, ไทย, อินเดีย, ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ได้เงินมา 3 ล้านดอลลาร์ และตั้งเป้าว่าอีกสักสองสามปีที่จะทำให้ได้ 5 ล้านดอลลาร์ สำหรับดวงแล้ว โอกาสเหล่านี้อาจพาเขาเข้าไปทำธุรกิจกับบริษัทในบ้านเกิดได้

เมื่อปีที่แล้วอีกเช่นกันเขาได้พบกับตัวแทนจากโรงงานทำกระดาษในโฮจิมินห์ ซึ่งเขาเองได้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจชื่อ "อเมริกาเซียน เทคโนโลยี เวนเจอร์" เพื่อช่วยรัฐบาลท้องถิ่นในโฮจิมินห์และไฮฟงพัฒนารับบหมุนเวียนวัสดุใช้แล้ว เขาเล่าว่าเขามีโครงการจะเปิดสำนักงานในเวียดนามสิ้นปีนี้

สำหรับตอนนี้ ดวงพยายามรักษาบรรยากาศธุรกิจแบบครอบครัวไว้ให้เหมือนกับตอนเริ่มต้น เขายังได้นัดลูกจ้าง 43 คนของเขามาทำบาร์บีคิวกินกันที่บ้านทุกเดือน สำหรับพ่อบ้านลูกสามคนนี้ เขามองว่างานของเขาไม่ใช่แค่การทำมาหาเงิน

"ผมคิดว่าธุรกิจนี้ดีสำหรับเราในตอนนี้ และคนรุ่นต่อไป" เขากล่าวพร้อมกับเอนตัวมาข้างหน้าอย่างกระฉับกระเฉง "ไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้น ผมคิดว่าทุกคนควรจะทำเพื่อรักษาและพิทักษ์โลกของเรา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us