|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
สเวนเซ่นส์ เจ้าตลาดไอศกรีมพรีเมียม ขยายแนวรบ เดินหน้ากลยุทธ์ปกป้องแชร์ 90% ในตลาดไอศกรีมพรีเมียมมูลค่า 2 พันล้านบาท ปีหน้าเปิดศึกรอบด้าน สยายปีกต่างประเทศ เปิดแนวรุกเจาะลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด และขยายฐานตลาดไอศกรีมนำกับบ้าน
ในปี 2550 จะเป็นช่วงเวลาที่สเวนเซ่นส์ ร้านไอศกรีมพรีเมียมจากอเมริกา มีการเคลื่อนไหวในตลาดอย่างหนัก เนื่องจากต้องการขยายฐานลูกค้าเพื่อเข้าไปมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ หลังจากเข้ามาทำตลาดในไทย 20 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ยุค ซึ่งเริ่มตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ที่เปิดตัวครั้งแรกด้วยคีออสเล็กบนพื้นที่ประมาณ 30 ตารางเมตร ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว และยุคกลางช่วง 10 ปีหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนารูปแบบร้าน เปิดสาขาเพิ่มขึ้นประมาณ 50-70 สาขา และมีการขยายไลน์สินค้าไอศกรีมเพื่อสุขภาพ และเริ่มขยายช่องทางจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต และยุคปัจจุบัน ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สเวนเซนส์มีการปรับสีสัน บรรยากาศ รูปแบบร้านให้ดูทันสมัยมากขึ้น
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีมแบรนด์สเวนเซ่นส์ ช่วงระยะ 4 ปีต่อไปจนถึงปี 2553
ประการแรก เน้นขยายสาขาไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากในแถบเอเชียและอีก 10 ประเทศภูมิภาคตะวันออกกลางอาทิ ประเทศ อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ โอมาน กาตาร์ และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา และตั้งเป้าในปลายปีนี้เปิดให้บริการครบ 8 สาขา จากปัจจุบันมี 6 สาขา ซึ่งเริ่มเปิดไปตั้งแต่ต้นปีแล้วคือประเทศคูเวต ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งคาดว่าในปี 2553 จะทำให้ สเวนเซ่นส์ มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5%
การขยายสาขาต่างประเทศนั้น เป็นไปตามสิทธิการบริหารร้านไอศกรีมสเวนเซ่นส์ ในประเทศแถบตะวันออกกลาง 20 ประเทศ ที่กลุ่มไมเนอร์ได้รับเนื่องจากสเวนเซ่นส์ในประเทศไทย มีผลประกอบการดีมาก โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโต 20-25% และปีนี้เติบโต 30%
ประการที่สอง ขยายฐานลูกค้าต่างจังหวัด ซึ่งยังมีช่องว่างในการทำตลาด เพราะยังไม่มีไอศกรีมพรีเมียมแบรนด์ใดเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันกำลังซื้อในต่างจังหวัด ยังมีอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเซกเมนต์เตชัน หรือการออกแบบร้านแต่ละสาขา ให้มีคอนเซ็ปต์ตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งในเมือง ชานเมือง และต่างจังหวัด โดยจะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การดำเนินงานภายใต้ 4 แนวทาง
1. พัฒนาสินค้านวัตกรรมออกสู่ตลาดเพื่อสร้างสีสัน และเป็นทางเลือกในการบริโภคไอศกรีมให้กับลูกค้า ซึ่งจะมีการเปิดตัวไอศกรีมเมนูใหม่ตามฤดูกาล 3-4 เมนู ต่อ 2 เดือน โดยปัจจุบันมีไอศกรีมให้บริการประมาณ 32 รสชาติ และเมนูไอศกรีมซันเดย์กว่า 50 ชนิด
2. การออกแบบร้านให้มีรูปแบบทันสมัย แนวทางการพัฒนาสาขาใหม่ ภายใต้แนวคิดไลฟ์สไตล์ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ร้านไอศกรีมสเวนเซ่นส์ ย่านสยามสแควร์ เป็นสาขาที่มีการปรับคอนเซ็ปต์ใหม่นำร่อง โดยปรับรูปแบบทั้งบรรยากาศภายในร้าน และสินค้าใหม่ โดยใช้การตกแต่งร้านในประเทศอเมริกา และประเทศแถบยุโรปมาเป็นต้นแบบและปรับให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าคนไทย
3. ราคาสินค้าที่เหมาะสม โดยช่วงที่ผ่านมามีการออกเมนูไอศกรีม "ฟิฟตี้ ไนน์" ราคา 59 บาทต่อถ้วย เพื่อกระตุ้นยอดขาย
4. การบริการด้วยบุคลากรหรือพนักงานที่เข้มแข็ง และสอดคล้องกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ให้แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ร้านไอศกรีมสเวนเซ่นส์ แต่ละสาขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยตั้งเป้าในปีหน้าเปิดให้ครบ 200 สาขา ใช้งบลงทุน 200 ล้านบาทเพื่อขยายสาขาเพิ่มอีก 30 สาขาและคาดว่าภายในปี 2553 เพิ่มเป็น 250 สาขา ส่วนภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 156 สาขา จากปัจจุบัน 153 สาขา
ประการที่สาม ขยายตลาดเทคโฮม หรือไอศกรีมนำกลับบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ มีมูลค่าตลาดประมาณ 800 ล้านบาท และแนวโน้มการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะมีคู่แข่งใหม่ๆเข้ามาทำตลาดค่อนข้างมาก โดยสเวนเซ่นส์มีไอศกรีมทรัฟเฟิลเป็นสินค้าในการเจาะตลาดไอศกรีมนำกลับบ้าน ตั้งเป้ายอดขายในปีแรก 300-400 ล้านบาท จากตลาดไอศกรีมนำกลับบ้านมูลค่า 800 ล้านบาท
ประการที่สี่ เปลี่ยนโลโก้ใหม่ให้เป็นรูปแบบเดียวกับในต่างประเทศ เพิ่มรูปไอศกรีม-พื้นสีม่วงเหมือนต่างประเทศ จากเดิมที่ใช้ตัวหนังสือสเวนเซ่นส์สีแดงเท่านั้น ซึ่งการปรับโลโก้มีเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์มีความเป็นสากลและสามารถสื่อสารกับลูกค้าต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
"การขยายตลาดต่างประเทศ และการตั้งเป้าเสิร์ฟลูกค้าครบ 60 ล้านคนทั่วประเทศต่อปี จะทำให้สามารถขยายตลาดใหม่และเพิ่มการเติบโตได้ โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมียอดขายประมาณ 1.8 -1.9 พันล้านบาทเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 30%" ชุมพจน์ ตันติสุนทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัทสเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด กล่าว
ทั้งนี้ตลาดรวมไอศกรีมมูลค่า 9 พันล้านบาท ที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 5-8% ในปัจจุบัน มีผู้เล่นรายใหม่หลายแบรนด์เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นระดับพรีเมียม(Artisanal) มูลค่า 2 พันล้านบาท ตลาดไอศกรีมสะดวกซื้อ(Impulse) มูลค่า 6.3 พันล้านบาท และตลาดไอศกรีมนำกลับบ้าน มูลค่า 800 ล้านบาท
"ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการแข่งขันในตลาดพรีเมียมและตลาดอิมพัลส์ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยแต่ละแบรนด์ต่างใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายทั้งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และการจัดโปรโมชั่นราคาพิเศษ รวมทั้งพัฒนาช่องทางการขายใหม่ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วถึงที่สุด นอกจากนี้ยังมีไอศกรีมแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์การแข่งขันยิ่งดุเดือดขึ้นไปอีก"
ส่วนสภาพตลาดไอศกรีมพรีเมียมซึ่งให้บริการรูปแบบร้านนั่งรับประทาน โดยหลักๆเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 ค่ายยักษ์อย่างสเวนเซ่นส์ บาสกิ้นรอบบิ้นส์ และฮาเก้น-ดาส ขณะเดียวกันก็มีผู้เล่นหน้าใหม่หลายราย ที่พยายามเข้ามาแข่งขันในตลาดไอศกรีมพรีเมียม โดยหาช่องว่างสร้างเซกเมนต์ใหม่ๆในตลาดเช่น ไอศกรีมจากผลไม้ไทย และไอศกรีมโฮมเมด ที่มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี และมีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดรวมไอศกรีมพรีเมียม
|
|
 |
|
|