Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 ธันวาคม 2549
"ทิสโก้"แบงก์เล็กคิดการใหญ่"เอเอซีพี"อะไรก็เบรกไม่อยู่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทิสโก้
โฮมเพจ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

   
search resources

Banking and Finance
อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต, บมจ.
ธนาคารทิสโก้




ฒิฬ"เอเอซีพี"ธุรกิจประกันชีวิตเบอร์ 3 น่าจะเป็นเพียงไม่กี่ราย ในกลุ่มนายทุนจากยุโรป ที่หันมาเอาดีในตลาดเกิดใหม่ จนพลิกจากผลประกอบการขาดทุนสะสมเรื้อรังเป็นเวลาสิบๆปี มาเป็นกำไรในชั่วเวลาไม่นาน... และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง การเติบใหญ่ของ "เอเอซีพี" ได้ เพราะในขณะที่โครงสร้างธุรกิจที่มีพันธมิตรหลายฝ่าย ทั้ง ซีพี และแบงก์กรุงศรีอยุธยา แต่เส้นทางเดิน "เอเอซีพี" ก็พร้อมเปิดกว้างสำหรับคู่ค้าหน้าใหม่ๆ..."ทิสโก้" แบงก์ขนาดเล็กคือ พันธมิตรธุรกิจรายล่าสุด ที่เปิดเส้นทางการค้ากับ "เอเอซีพี"แลกกับฐานลูกค้าร่วมแสนชีวิต ผ่านรายได้ค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในอนาคต..."ทิสโก้แบงก์" กำลังดิ้นรนสร้างรากฐานให้กับตัวเอง ขณะที่ "เอเอซีพี" ก็วิ่งเร็วจนหยุดไม่อยู่...

อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิตหรือ เอเอซีพี กลายมาเป็นพันธมิตรคู่ค้ากับ "ทิสโก้" แบงก์ขนาดเล็กที่ยึดติดอยู่กับฐานลูกค้าระดับบนมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่เมื่อ 5 เดือนก่อน ผ่านธุรกิจ "แบงแอสชัวรันส์" หรือขายประกันผ่านสาขาแบงก์ รวมถึงธุรกิจในเครือทิสโก้ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีลูกค้าในมือร่วม 1 แสนกว่าราย

ขณะที่ฐานลูกค้าของ "เอเอซีพี" ส่วนใหญ่มีทั้งตลาดระดับแมส และลูกค้ากลุ่มกลางถึงบน ในขณะที่ทิสโก้แบงก์ เกือบจะเป็นลูกค้ากลุ่มที่สูงขึ้นไปเสียมากกว่า แต่เส้นทางโคจรมาพบกันคราวนี้ กลับเป็นการเติมส่วนที่ขาดให้กับทั้งสองฝ่าย

"ทิสโก้แบงก์"นั้นต้องเผชิญกับแรงปะทะระหว่างการช่วงชิงฐานลูกค้าเงินออมในเวลาที่ดอกเบี้ยวิ่งฉิวอยู่เป็นเวลานาน พร้อมกับการเร่งขยายตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของคู่แข่งที่มีอยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกฤดูกาล

ในขณะที่ตลาดทุนก็มีเรื่องราวที่ทำให้รายได้อ่อนแรงลงเรื่อยๆ ขณะที่ธุรกิจกองทุนที่ต้องอาศัย "คอนเน็คชั่น" กำลังซื้อและความเข้าใจก็ยังไม่แพร่หลายในกลุ่มเจ้าของเงินออมมากนัก ดังนั้นการสร้างรายได้จากส่วนอื่นก็น่าจะผลักให้รายได้ของทิสโก้วิ่งเข้าหลักชัยได้ง่ายขึ้น

ที่ผ่านมา ทิสโก้ อาจจะเป็นแบงก์เล็กแห่งเดียวที่ยกระดับจากไฟแนนซ์มาเป็นแบงก์ แต่ก็ถือเป็นแบงก์ที่ไม่มีธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัยเป็นของตัวเอง ยกเว้นการมีใบอนุญาตนายหน้าหรือโบรกเกอร์ประกันชีวิตและวินาศภัย ที่เป็นหน้าร้านให้ประกันชีวิตและประกันภัยหลายๆเจ้า

แบงก์เล็กที่มีบุคลิกค่อนข้าง "เย่อหยิ่ง" ในอดีต จึงเริ่มแสวงหาช่องทางทำรายได้ให้กับตัวเองผ่านพันธมิตรธุรกิจที่ตัวเองขาดแคลน โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมที่ทุกแบงก์ต่างก็ตั้งหน้าตั้งตา ตักดวงรายได้จากสารพัดช่องทางให้ได้มากที่สุด เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการโฟกัสไปที่การปล่อยสินเชื่อเพียงอย่างเดียว

เพราะเมื่อเทียบกัน รายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อ มักจะแกว่งตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ เช่น น้ำมัน และดอกเบี้ย ตรงกันข้ามกับรายได้ค่าธรรมเนียมที่มักจะซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตทั่วๆไป ช่องทางทำรายได้ค่าธรรมเนียมจึงเปิดกว้างกว่า โดยเฉพาะธุรกิจประกันชีวิต ตลาดที่กำลังเติบใหญ่ และมีผู้เล่นมากหน้าหลายตาจากทั่วทุกมุมโลก

ในฝั่งของ "เอเอซีพี" ก็กำลังเร่งสปีด ขยายช่องทางขายใหม่ให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่เลือกว่า จะเป็นช่องทางไหน ที่จะเก็บกวาดรายได้เข้ากระเป๋าให้มากที่สุด เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการเทน้ำหนักให้กับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ซึ่ง"เอเอซีพี" ก็มีบทเรียนมาแล้ว จากเหตุการณ์วิวาทระหว่าง "กองทัพทีมขาย" ทรงอิทธิพลในอดีต กับฝ่ายบริหาร "นายฝรั่ง"เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา

เสถียร เลี้ยววาริณ หัวหน้าประกันชีวิตธนกิจ ธนาคารทิสโก้ บอกว่า ผู้บริหารทิสโก้ และเอเอซีพี ได้ร่วมกันออกแบบสินค้า โดยเจาะจงแผนคุ้มครองตลอดชีพ หรือ Value Life 91/21 จ่ายเบี้ย 21 ปี คุ้มครองถึงอายุ 91 ปี

โดยลูกค้าสามารถจ่ายเบี้ยราคาต่ำ แต่ได้รับความคุ้มครองสูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันในท้องตลาด ลูกค้าก็จะมีเงินเหลือเก็บไว้ฝากบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงในฤดูกาลดอกเบี้ยขาลง นั่นก็เท่ากับว่า ทิสโก้จะมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น พร้อมกับดึงลูกค้าเงินฝากจากค่ายอื่นมาพักไว้ที่นี่มากขึ้น

" ช่วงที่ดอกเบี้ยปรับตัวสูง หลายบริษัทมักจะขายกรมธรรม์ที่จ่ายผลตอบแทนระหว่างทางสูง มาล่อใจลูกค้า ทำให้เบี้ยราคาสูงไปด้วย ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เรามองว่า ในช่วงนี้ภาวะไม่เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ลดลง หรือเป็นภาวะที่ไม่เหมาะกับกรมธรรม์เน้นการออม"

ขณะที่เอเอซีพี นอกจากจะมีฐานลูกค้ากว้างขึ้น ก็มีโอกาสทำความคุ้นเคยกับช่องทางใหม่ๆ ในช่วงที่กำลังเข้าสู่ระยะเตรียมตัว "รีแบรนดิ้ง" ในช่วง 2 ปีนับจากนี้ ปัจจุบัน เอเอซีพี มีรายได้จากช่องทางตัวแทน 65% เป็นช่องทางแบงแอสชัวรันส์ 10%ที่เหลือเป็นช่องทางอื่น

วิล์ฟ แบล็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการ อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต บอกว่า มีโครงการจะเพิ่มพันธมิตรช่องทางแบงแอสชัวรันส์เป็น 6 ราย ดังนั้นในช่วงต้นปีตลาดก็จะขยายตัวค่อนข้างมาก มีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ ขณะที่ช่องทางตัวแทนทุกช่วงปลายปีก็จะมีรายได้ไหลเข้ามามากเป็นปกติอยู่แล้ว

" บางแบงก์อาจจะมีความสนใจแตกต่างกัน บางแห่งอาจจะสนใจสินค้าคุ้มครอง หรือเงินออม ขณะที่บางแห่งอยากได้เบี้ยราคาต่ำ การออกแบบสินค้าสำหรับช่องทางนี้จึงขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละแบงก์"

วิลฟ์ บอกว่า สำหรับทิสโก้ สินค้าตัวแรก เป็นประเภทตลอดชีพ โดยผู้บริหารแบงก์เลือกที่จะตัดผลประโยชน์ระหว่างทางที่บวกรวมไว้กับเบี้ย จนทำให้สินค้าบางตัวคิดราคาเบี้ยสูงๆ เพื่อนำไปจ่ายผลตอบแทนให้กับลูกค้า สินค้าที่ทิสโก้จำหน่ายจึงต่างจากช่องทางแบงก์อื่น

งานนี้ "เอเอซีพี" จึงได้ฐานลูกค้าทิสโก้ เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ ส่วนทิสโก้ก็กำลังเลื่อนฐานะจากแบงก์เล็ก เก็บตัว มาทำธุรกิจเชิงรุกมากขึ้น

สำหรับทิสโก้ "เอเอซีพี" จึงไม่ต่างจากคู่ค้าที่จะทำรายได้เข้ากระเป๋า ขณะที่เอเอซีพี ก็จะมีช่องทางขายเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องหยุดอยู่ที่พันธมิตรหลักเพียงไม่กี่ราย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะมีพันธมิตร และสินค้าในมือมากพอ จะแปรพักตร์จาก "มิตร" มาเป็น "ศัตรู" ได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us