|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยุคแข่งเดือดส่งผล บลจ. ขนาดกลางปรับตัวหาวิถีแห่งการอยู่รอด เน้นยุทธวิธีความถนัดเฉพาะด้าน เลี่ยงเผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดกองทุนรวมขณะเดียวกันก็ต้องลดแรงปะทะระหว่างกองทุนร่วมรุ่น หาทางเปิดตลาดใหม่ ๆ ด้วยนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายแตกต่าง ซึ่ง"ยูโอบี" หนึ่งใน บลจ.ที่เริ่มตั้งไข่ หันมาเอาดีในกองทุนรวมแบบปิด ปี2550 รุกหนักเปิดอีก 5 กองทุน ที่เน้นคุ้มครองเงินต้นอิงตราสารอนุพันธ์ หลังเห็นสิงโปร์บูม ประกาศปี2550 แม้ตอนนี้จะมีแต่นักลงทุนสถาบันเป็นส่วนใหญ่
จากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) โดยส่วนแบ่งตลาดกว่า 63.71 %เป็นของ 5 บลจ.ขนาดใหญ่ ขณะที่ บลจ.ที่เหลืออีก 13 แห่งซึ่งไม่มีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หนุนหลังกลับต้องมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่เหลืออยู่อีกเพียง 1 ใน 3 ประกอบกับปีนี้ยังจะมี บลจ.ใหม่เข้ามาเปิดดำเนินการอีก 3 แห่ง ทำให้สมรภูมินี้ยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้นเข้าไปอีก
ภาวะเช่นนี้ บลจ.ขนาดกลางจึงมีสถานภาพเหมือนโดนกระหนาบทั้งสองด้าน ไม่ต่างอะไรกับแซนวิช ด้านหนึ่งก็ต้องสร้างผลตอบแทนและความน่าสนใจเพื่อยื้อแย่งเม็ดเงินกับ บลจ.ขนาดใหญ่ ส่วนอีกด้านหนึ่งก็ต้องป้องกันเม็ดเงินไม่ให้ไหลไป บลจ.ขนาดเดียวกันหรือขนาดเล็กกว่าได้
แม้ว่าจะสามารถออกกองทุนประเภทเดียวกันกับ บลจ.ขนาดใหญ่ได้ด้วยต้นทุนที่เท่ากัน แต่ทว่าความสามารถในการระดมเงินนั้นทำได้น้อยกว่า ส่งผลต่อการเรียกเก็บค่าบริหารจัดการซึ่งปกติจะได้เป็นร้อยละของมูลค่ากองทุนน้อยตามไปด้วย
ดังนั้น บลจ.ขนาดกลางและเล็กในยุคนี้จึงต้องมีความชำนาญ ความโดดเด่นเฉพาะด้าน เป็นโพสิชันนิ่งและจุดขายที่ชัดเจน เพื่อสร้างความน่าสนใจและความแตกต่าง
ยูโอบี ถือได้ว่าเป็น บลจ.แรกๆที่ได้ปรับตัวแล้ว และได้ประกาศจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะเอาดีด้านตลาดกองทุนรวมปิด ประเภทคุ้มครองเงินต้น กล่าวคือผลตอบแทนที่จะจ่ายคืนให้ผู้ถือหน่วยเมื่อครบอายุกองทุน จะใช้ดัชนีอ้างอิงตัวหนึ่งมาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายซึ่งอาจจะเป็น ดัชนีเซ็ท 50 ดัชนีนิเกอิ 225 หรือ ดัชนีอื่นๆก็ได้ ในกรณีที่ดัชนีมีค่าลดลงกองทุนก็จะจ่ายเงินต้นเต็มจำนวนคืน แต่หากดัชนีเป็นบวกกองทุนก็จะจ่ายเงินต้นบวกด้วยผลตอบแทน
หลักการบริหารกองทุนประเภทนี้จะทำโดย แยกเงินต้นที่มีผู้นำมาลงทุนเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกประมาณ 90%จะนำไปลงทุนในพันธบัตร ซึ่งเมื่อครบดีล ส่วนนี้จะได้ดอกเบี้ยรวมเป็น 100% ถือเป็นส่วนที่ประกันเงินต้น ด้านส่วนที่ 2 อีกประมาณ10% นำไปลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ โดยมีเงื่อนไขว่าหากดัชนีอ้างอิงขึ้นจากวันเริ่มลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ แต่หากดัชนีอ้างอิงต่ำกว่า ในส่วน 10%นี้ก็จะกลายเป็น0% ซึ่งหมายถึงว่าการลงทุนในส่วนของตราสารอนุพันธ์จะไม่ได้รับเงินคืน
เพราะฉะนั้นผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยจะได้รับมีอยู่ 2 แนวทางหลังครบอายุกองทุน คือ ได้คืนเพียงเงินต้น และ ได้เงินต้นบวกผลตอบแทนจากอนุพันธ์ที่อ้างอิงดัชนี
อย่างไรก็ ในส่วนของการคำนวณผลตอบแทนให้แก่ลูกค้านั้นจะมีสูตรเฉพาะของกองทุนซึ่งผู้ลงทุนสามารถศึกษาได้จากหนังสือชี้ชวน หรือผู้จัดการกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
ความเสี่ยงของกองทุนนี้ก็คือ หากในช่วงใดมีอัตราเงินเฟ้อสูง แม้ผู้ถือหน่วยจะได้รับการจ่ายคืนเงินต้น ทว่าค่าเงินที่แท้จริงหลังหักลบกับเงินฟ้อแล้วอาจจะติดลบก็ได้
วนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี(ไทย)กล่าวว่า จะเน้นการออกกองทุนประเภทนี้เป็นหลักโดยคาดว่าในปีหน้าจะมีกองทุนที่อิงอนุพันธ์ประมาณ 5 กอง จากในครึ่งหลังของปีนี้ที่ได้เริ่มออกไปแล้ว 3 กองและกำลังอยู่ในช่วงเปิดขายอีก 1 กอง โดยเป็นกองที่อ้างอิงกับดัชนี "fin4cast" ที่บริษัทซีเมนส์ จากประเทศเยอรมันนี พัฒนาขึ้น โดยจะเชื่อมโยงและขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก
" fin4cast เป็นดัชนีที่ดีจริงๆ เจ้าหน้าที่เขาดีใจมากที่ไปค้นพบดัชนีตัวนี้เข้า ขนาดตอนที่นำมาเสนอผมเขายังตัวสั่นไม่หายเลย"
แม้กองทุนประเภทนี้จะเป็นที่นิยมมากในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะสิงคโปร์ แต่สำหรับประเทศไทยแล้วที่ผ่านมาสามารถระดมทุนได้เพียง 10-20%ของมูลค่ากองที่ 2 พันล้านบาทเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนสถาบันมากกว่ารายย่อย
"สันนิษฐานว่าคงไม่ใช่เป็นเพราะกองทุนมีรูปแบบที่ซับซ้อนหรือเข้าใจยาก แต่คงจะเป็นเพราะระยะเวลาที่ต้องถือหน่วยถึง 2 ปีมากกว่าเพราะหลายคนมองว่านานเกินไป แต่สำหรับนักลงทุนสถาบันแล้วสามารถจะแบ่งเงินมาลงในกองลักษณะนี้และถือยาวได้ เป็นการกระจายความเสี่ยง"
"เราสามารถจะออกแบบให้อายุกองทุนสั้นลงได้ แต่อัตราผลตอบแทนที่ได้ก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกันดังนั้นจึงมองว่าระยะเวลา 2 ปีถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ถ้าเปรียบเทียบจากอัตราผลตอบแทนที่จะได้กับอายุที่ต้องถือ"
กองทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่คาดว่าดัชนีน่าจะมีทิศทางที่ดีในอนาคตแต่กลัวความเสี่ยง จึงไม่กล้าลงทุนโดยตรง หากผู้ลงทุนมีความเชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจดัชนีหรือหุ้นนั้นๆจะต้องขึ้นอย่างแน่นอน คำตอบจากกองทุนนี้อาจไม่ใช่ผลตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับ
|
|
|
|
|