Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์4 ธันวาคม 2549
โล๊ะ ‘ บาร์เตอร์เทรด ’ ยุคทักษิณนักวิชาการชี้ต้องเลิกสัญญาเอาเปรียบ !             
 


   
search resources

Commercial and business




‘ การุณ ’ยืนยันการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดไม่คุ้มค่าจำเป็นต้องเลิก ส่วนสัญญาที่ลงนามไปแล้วยังมีผลจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ ขณะที่ ‘ เกียรติ สิทธีอมร ’ระบุไทยไม่มีความเป็นต้องการใช้การค้าบาร์เตอร์เทรดเพราะเป็นช่องทางให้ภาครัฐ-เอกชนสุมหัวคอร์รัปชั่น ด้าน ‘ ดร.สมภพ ’ แนะไม่ใช่แค่เลิกโครงการแต่ต้องตรวจสอบย้อนหลังทุกสัญญาบาร์เตอร์เทรดที่ไทยถูกเอาเปรียบในสมัยรัฐบาลทักษิณ

สืบเนื่องจาก “ รัฐบาลทักษิณ ” ได้มีนโยบายที่จะดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ( Mega Projects ) ซึ่งมีมูลค่าโครงการโดยรวมประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท และได้อ้างความจำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรนำเอาวิธีการดำเนินการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้า ( Barter Trade ) มาใช้ให้มากขึ้น โดยหนึ่งในข้ออ้างดังกล่าวคือช่วยลดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอันเนื่องมาจากการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และได้มีคำสั่งแต่ง “ ตั้งคณะกรรมการการค้าแบบแลกเปลี่ยน ” โดยมีรองนายกรัฐมนตรี( นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ขณะนั้น ) เป็นประธานโดยได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการการค้าแบบแลกเปลี่ยนครั้งที่ 1 / 2548 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548

ซึ่งที่ประชุมในวันนั้นได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการจัดทำรายการสินค้าที่จะนำมาแลกเปลี่ยน ให้มีการประมาณการผลผลิตสินค้าแต่ละชนิดให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการส่งออกสำหรับการเจรจาแลกเปลี่ยนสินค้านั่นคือจุดกำเนิดการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมากระทรวงพาณิชย์ในยุค ‘ รัฐบาลสุรยุทธ์ ’ ได้มีแนวคิดจะยกเลิกระบบการค้าแบบแลกเปลี่ยน ( Barter Trade ) จะส่งผลกระทบต่อสัญญาการค้าที่ลงนามได้ก่อนหน้านี้หรือไม่ อะไรคือสาเหตุหลักที่ต้องยกเลิกการค้าแบบบาร์เตอร์เทรด การยกเลิกดังกล่าวจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคู่ค้าหรือไม่

ยันการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดไม่คุ้ม!

การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การค้าแบบแลกเปลี่ยน (บาร์เตอร์เทรด ) ตอนนี้มีนโยบายจากท่านรมว.พาณิชย์ ให้ยกเลิกไปเพราะไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการค้าแบบนั้นแล้ว ความคุ้มค่าในการดำเนินการมันไม่มี ขั้นตอนที่ยุ่งยาก การส่งมอบของก็ล่าช้า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่านายหน้าที่ต้องจ่ายมันจึงไม่มีเหตุผลใดๆที่ต้องทำแบบนั้น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐ และ รัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำการค้าทั้งรูปแบบเคาน์เตอร์เทรด และบาร์เตอร์เทรดเห็นตรงกันว่า โครงการดังกล่าวไม่ตรงกับเจตนาในการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรเพราะความยุ่งยากในการดำเนินการ และยังเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ มีการล็อกสเปกโดยให้บริษัทเอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นผู้ส่งมอบสินค้าเกษตรให้กับประเทศที่ทำบาร์เตอร์เทรด หรือเคาน์เตอร์เทรดกัน

อย่างไรก็ดีการค้าขายแบบบาร์เตอร์เทรดแต่เดิมนั้นเพราะประเทศเรามีสินค้าการเกษตรเหลือเยอะ เราจำเป็นต้องระบายของออกไปไปต่างประเทศ แต่หากโครงการใดมีความจำเป็นต้องดำเนินการใช้บาร์เตอร์เทรด ก็จะขออนุมัติเป็นกรณีๆไปเพื่อระบายสินค้าเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด

“ หากยกเลิกบาร์เตอร์เทรดจะส่งผลให้ทุกโครงการที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือในส่วนที่ยังไม่ได้ทำลงนามสัญญาต้องยกเลิกไปทันที ขณะที่โครงการที่ได้ทำสัญญากันไปแล้วจะต้องดำเนินการจนกว่าเสร็จสิ้นโครงการ ” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุ

ระบุ ‘ บาร์เตอร์เทรด ’ เกษตรกรไม่ได้ประโยชน์

ขณะที่เกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าหัวใจการค้าบาร์เตอร์เทรดคืออะไร มันคือการแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ ในภาวะที่ทุนสำรองของประเทศน้อย อัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่ ทั้ง 2 ประเทศมีความต้องการสินค้าที่ตรงกัน และนำเอาสินค้าที่ดีสุดมาแลกเปลี่ยนกัน แต่ที่ผ่านมากลับไม่ใช่อย่างที่ว่ามา เพราะรัฐเป็นผู้รวบรวมสินค้าจากเกษตรกรเพียงรายเดียว ไม่มีการแข่งขัน เกิดการแทรกแซงกระบวนการค้าปกติ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกลับไม่ตกแก่เกษตร จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะคงไว้ซึ่งระบบการค้าดังกล่าว เพราะอย่าลืมว่าหัวใจของเรื่องนี้คือเกษตรกรต้องได้รับผลประโยชน์ แต่ในอดีตที่ผ่านมาไม่ใช่เลยอย่างที่เห็นกันอยู่

ขณะที่การค้าแบบเคาน์เตอร์เทรดไม่ควรจะยกเลิก เพราะยังเป็นประโยชน์แก่ภาครัฐ และภาคธุรกิจภาคเอกชนในทุกด้าน เพราะมีการกำหนดให้มีการซื้อสินค้าต่างตอบแทนกันในลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งมีข้อดีอยู่บ้างเพราะเวลาที่เราจะซื้อสินค้าต่างประเทศเขาก็ต้องสินค้าจากเรา สมมติง่ายๆ ว่าเวลาไปลงนามซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศในวงเงิน 100 ล้านแต่เวลาลงนามเราก็ขอให้ต่างประเทศคู่สัญญาซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเราด้วยในสัดส่วน 50% ของสัญญาที่ได้ลงนามเพื่อป้องการการขาดดุลการค้าได้

ล็อกสเปกเอื้อพวกพ้องหากินข้ามชาติ!

“ระบบการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดมันไม่มีประโยชน์เลย มันมีแต่ประโยชน์แต่ในทางคอนเซ็ปต์ ( concept ) แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคณะกรรมการที่ดูแลไม่สามารถทำให้เกิดกลไกที่เป็นธรรมได้ เกิดการล็อกสเปกให้บริษัทเอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นผู้ส่งมอบสินค้าเกษตรให้กับประเทศที่ทำบาร์เตอร์เทรด ทั้งความล่าช้าในการส่งสินค้าสิ่งเหล่านี้คือปัญหา ”

เกียรติยังบอกว่า การค้าแบบบาร์เตอร์เทรดที่ได้ลงนามไปแล้วนั้นค่อนข้างยากที่จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในสัญญาเดิม เพราะอาจจะกระทบความน่าเชื่อถือของประเทศได้ เว้นแต่ว่ามีเหตุที่ดีในการข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไข เช่น อาจจะพบการคอร์รัปชั่นในโครงการ

นักวิชาการหนุนยกเลิกบาร์เตอร์เทรด

ขณะที่ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าการที่กระทรวงพาณิชย์จะเสนอยกเลิกนโยบายบาร์เตอร์เทรดเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะระบบการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นระบบที่ล้าสมัยมาก ไม่มีใครทำกันแล้วที่จะเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันแบบสมัยก่อน ทำไมเราต้องเอาสินค้าไปแลกกับประเทศอื่นในเมื่อเรามีเงินสดในมือ ก็ซื้อขายแบบตรงๆกันไปเลย

“ ผมเข้าใจว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดของพรรคไทยรักไทย ที่พยายามจะสร้างภาพว่ามีการค้าขายที่ชาวบ้านจับต้องได้ คือพยายามให้ชาวบ้านเห็นว่า เป็นการค้าขายที่เอาสินค้าไปแลกมาไม่ต้องใช้เงิน และเกษตรกรยังมีส่วนช่วยประเทศ ในอีกทางหนึ่งนี่คือความฉลาดของรัฐบาลที่แล้ว ”

อย่างไรก็ตามการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดมีส่วนช่วยส่งเสริมการส่งออกได้น้อยมาก แต่รัฐบาลที่แล้วจะเน้นไปทางโปรโมทมากกว่า ขณะที่ตัวเลขส่งออกของเราปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 16 %ไม่ได้มีผลจากจากตรงนั้นเลย แต่ถ้าประเทศประสบวิกฤต หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตอนนั้นแหละถึงเหมาะที่จะทำการค้าแบบบาร์เตอร์เทรด คือมันต้องฉุกเฉินจริงๆ ส่งออกตกต่ำมากๆ ต้องระบายสินค้าของออกเราไปต่างประเทศ ประเทศต้องการกระจายสินค้านั่นแหละถึงจะเหมาะสม แต่สภาวะปัจจุบันไม่มีเหตุผลต้องทำการค้าแบบนั้น

แนะสอบย้อนหลังโครงการที่เสียเปรียบ

นอกจากนี้แล้วนักวิชาการผู้นี้ยังเสนอว่า การค้าแบบบาร์เตอร์เทรดที่ได้ลงนามไปแล้ว ไม่ว่าประเทศไทยจะลงนามสัญญากับประเทศใดก็ตามต้องนำมาทบทวนย้อนหลังไปทุกโครงการทั้งหมดไม่ว่าจะซื้ออาวุธ เครื่องจักรต่างๆ เราต้องมาดูทุกแง่ทุกมุมว่ามันมีหมกเม็ดตรงไหนหรือไม่ หากทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบเสียผลประโยชน์ก็ต้องยกเลิกไปเลย ไม่ต้องกลัวกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะคู่ค้าของเราแบบบาร์เตอร์เทรดมีไม่กี่ประเทศในลักษณะแบบนี้ เขาก็ต้องเข้าใจหากจะเปลี่ยนเป็นการซื้อขายแบบเงินสดแทน

ขณะที่เงินสำรองของประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก แล้วเราจะเอาการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดไว้ทำไมละ ยกเลิกไปเลยหันมาซื้อขายแบบเงินสด เพราะสามารถช่วยแก้ไขการคอร์รัปชั่น การจ่ายเงินใต้โต๊ะ การล็อกสเปกที่เกิดในโครงการบาร์เตอร์เทรดที่ผ่านมาได้อีกด้วย

8 โครงการล่าสุด ‘ บาร์เตอร์เทรด ’

สำหรับการค้าแบบบาร์เตอร์เทรดในสมัย “ รัฐบาลทักษิณ ” ปี 2549 ที่เป็นโครงการใหญ่ๆ 8โครงการล่าสุดได้แก่ 1.) กองทัพบกต้องการซื้อปืนใหญ่จากฝรั่งเศสมูลค่า 1,800 ล้านบาท , 2.) กระทรวงกลาโหมต้องการซื้อรถหุ้มเกราะจากแคนาดามูลค่า 7,900 ล้านบาท , 3.) กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยต้องการซื้อสินค้าเพื่อตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจากออสเตรเลียมูลค่า 3,700 ล้านบาท , 4.) การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องการซื้อหัวรถจักรจากจีนมูลค่า 1,800 ล้านบาท , 5.) โครงการซื้อรถไฟจากจีนมูลค่า 700 ล้านบาท แลกกับข้าวประมาณ 50,000 ตัน , 6.) โครงการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรไทยกับเครื่องจักรในโรงงานยาสูบ จ.เชียงใหม่ , 7.) โครงการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ ตู้คอนเทนเนอร์ของกรมศุลกากร , 8.) โครงการซื้อเครื่องบินรบซู30 จากรัสเซียคิดเป็นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 20,455 ล้านบาท) ซึ่งได้มีการหารือกันไว้ในเบื้องต้น โดยไทยเสนอแลกเปลี่ยนด้วยสินค้าไก่ กุ้ง และข้าว แต่ทางรัสเซียสนใจสินค้ากุ้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us