Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 ธันวาคม 2549
นิสสันรื้อธุรกิจครั้งใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด

   
search resources

สยามนิสสัน ออโต้โมบิล, บจก.
Automotive




นายเทียรี่ เวียดิว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด เปิดเผยว่า ในการเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในไทย สิ่งแรกที่จะต้องเข้ามาดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือการปรับโครงสร้างทางธุรกิจขององค์กรใหม่ ทั้งเรื่องการตลาด ขาย และบุคลากร

"หลังจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเมื่อกว่าสองปีที่ผ่านมา และได้มีการเปิดตัวรถยนต์ 6 รุ่น แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะนิสสัน ทีด้าใหม่ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และเร็วๆ นี้ก็จะมีการเปิดตัวรุ่นที่ 7 ปิกอัพโมเดลใหม่ ฟรอนเทียร์ นาวารา ทำให้ต้องมีการปรับแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมด รวมถึงการชะลอแผนเปิดตัวรถใหม่อีก 3 รุ่นที่เหลือ หลังจากที่เคยประกาศแผนธุรกิจ จะเปิดตัวรถใหม่ 10 รุ่นในปี 2553"

ทั้งนี้ จุดอ่อนที่ทำให้การเปิดตัวรถใหม่ รวมถึงนิสสัน ทีด้า ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ทุกตัวของนิสสันมีคุณภาพ มาจากการดำเนินงานที่ผิดพลาดของฝ่ายการตลาดและขาย ตรงนี้จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไข โดยอาจจะมีการแนะนำรถยนต์นิสสัน ทีด้า ใหม่อีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรถรุ่นนี้

"รายละเอียดของแผนการตลาดใหม่ ขณะนี้คงยังบอกไม่ได้ คาดว่าจะต้นปี 2550 ทุกอย่างน่าจะเริ่มเห็นชัดเจน แต่แนวทางแผนการทำตลาดใหม่ คือ เพิ่มประสิทธิภาพฝ่ายขาย และการตลาด ให้มีความกระชับ ชัดเจน พร้อมทั้งเร่งสร้างความสัมพันธ์อันดี กับตัวแทนจำหน่าย สื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจความเป็นรถเซ็กเม้นต์ใหม่ ไม่ใช่รถเล็กอย่างที่ลูกค้าเข้าใจ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย"นายเวียดิวกล่าวและว่า

ทั้งนี้ ผลกระทบจากความผิดพลาดของตลาดในประเทศ จำเป็นจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะตามแผนการผลิตของนิสสัน ซึ่งลงทุนไปกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิต โดยจะทำให้การผลิตเพิ่มเป็น 1.3 แสนคัน จากปัจจุบันผลิต 4.6 หมื่นคันนั้น เป็นแผนรองรับตลาดทั้งในประเทศและส่งออกทั่วโลก

ดังนั้นหากตลาดในประเทศสะดุด ย่อมส่งผลต่อการส่งออกด้วย เพราะหากตัวเลขน้อยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แน่นอนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่า การแข่งขันก็เป็นไปด้วยความลำบาก นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ทำไมต้องไขตลาดในประเทศอย่างเร่งด่วน

นายเวียดิวกล่าวว่า สำหรับการส่งออกรถยนต์นิสสันจากไทย ถือว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยล่าสุดได้ส่งออกรถยนต์นิสสัน ทีด้า ทั้งแบบเก๋งซีดาน และแฮทช์แบก ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นล็อตแรกประมาณ 500 คัน จากนั้นจะทยอยส่งไปทั้งที่ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย เดือนละกว่า 1,000 คัน จนถึงสิ้นปี 2550 จะมีการส่งออกรถยนต์รุ่นนี้ประมาณ 1.7 หมื่นคัน หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออกกว่า 6 พันล้านบาท หรือประมาณ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

"ในปีหน้านิสสันจะเปิดตัวปิกอัพโมเดลใหม่ ฟรอนเทียร์ นาวารา และจะสามารถส่งออกได้ประมาณกลางปีหน้า ซึ่งปริมาณการส่งออกและจำนวนประเทศ จะมากกว่าเก๋งทีดาหลายเท่า โดยคาดว่าถึงปลายปี 2553 จะมียอดส่งออกทั้งเก๋งและปิกอัพรวมกันไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นคัน หรือมีมูลค่าส่งออกกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท"

นายเวียดิวกล่าว สำหรับแผนงานเรื่องโครงการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน (Eco Car) ขณะนี้นิสสันมีความพร้อมอยู่แล้ว เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นที่สามารถพัฒนาได้ทันที เพียงแต่ต้องรอความชัดเจน ในเรื่องของการกำหนดขนาด และอื่นๆ จากรัฐบาลให้ชัดเจนกว่านี้ก่อน

"นิสสันขอยืนยันแนวคิดที่จะไม่มีการกำหนดสเปกตายตัว แต่อยากให้มองในเรื่องของแนวคิดของโครงการว่า มีจุดประสงค์อะไร มีการกำหนดเรื่องการประหยัดน้ำมันเท่าไร และปล่อยให้ผู้ประกอบการหาสินค้าที่มีความน่าสนใจเข้ามาทำการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ น่าจะเกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมากที่สุด"

ส่วนการที่รัฐบาลไทยชุดใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยนั้น จนอาจทำให้บริษัทรถยนต์หันไปลงทุนยังประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามแทนนั้น เรื่องนี้นิสสันเห็นว่าไทยมีศักยภาพมากที่สุด ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ และทักษะการผลิตมาค่อนข้างยาวนาน ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบเป็นอย่างมาก และยังไม่มีประเทศไหนในภูมิภาคนี้ ที่จะตามทันในระยะเวลาอันใกล้นี้

อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่หากมองให้ดีถือว่ามีข้อดี ที่ผู้ประกอบการในไทย จะต้องเร่งปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการหาวิธีลดต้นทุน และทำให้กระบวนการกระชับขึ้น รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เพื่อหนีประเทศคู่แข่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us