|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แหล่งข่าวจากสมาคมค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ของกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังปรับปรุงแก้ไข เป็นการจำกัดขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (โมเดิร์นเทรด) มากเกินไป โดยเฉพาะการอนุมัติขยายสาขา แต่ละครั้ง แม้คณะกรรมการส่วนจังหวัดกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กจค.) จะมีอำนาจอนุมัติขยายสาขาในต่างจังหวัด แต่ก็ต้องส่งผลการพิจารณากลับมาให้คณะกรรมการกลางกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง (กกค.) อนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานาน
“น่าเปลี่ยนชื่อ พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่ง เป็น พ.ร.บ. จำกัดการขยายสาขาโมเดิร์นเทรดดีกว่า เพราะดูภาพรวมของพ.ร.บ. แล้ว แทบจะเป็นการจำกัดการขยายสาขาทั้งหมด ส่วนอำนาจของกกค. มีเยอะมาก ทำให้กังวลว่า จะมีการเรียกร้องผลประโยชน์ของคณะกรรมการได้ง่ายขึ้น เพราะการขยายสาขาแต่ละครั้ง ต้องได้รับการอนุมัติจากกกค. เท่านั้น และไม่รู้ว่า ถ้าจะขยายสาขาแต่ละครั้ง 1 ปี จะได้หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจอย่างมาก ”
นายพันธุ์เทพ สุรีสถิตย์ ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ยังมีหลายข้อที่ต้องแก้ไข เช่น การตั้งกกค. และกจค. มีสัดส่วนของหน่วยราชการมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการบล็อกโหวตได้ง่าย จึงต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ เพิ่มสัดส่วนภาคเอกชนมากขึ้น และให้ระบุหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความสมดุล
นายสมภพ อมาตยกุล ประธานคณะทำงานศึกษา วิเคราะห์ พิจารณากำหนดรูปแบบวิธีการในการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง กล่าวว่า การประชุมคณะทำงานฯครั้งที่ 2/2549 ได้ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศ เพื่อทราบถึงมาตรการกำกับดูแลส่งเสริมผู้ค้าปลีกทุกระดับ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายค้าปลีกค้าส่งให้เป็นสากล โดยได้ศึกษากฎหมายจากประเทศต่างๆ ประมาณ 7-8 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีธุรกิจค้าปลีกในไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงละเว้น และพฤติกรรมที่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบในธุรกิจค้าปลีก ซึ่งจะมีการสรุปในการประชุมครั้งหน้าวันที่ 13 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ ข้อสรุปที่ได้จะนำไปใช้ในการปรับร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งต่อไป
“เท่าที่ดูร่างกฎหมายพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ที่กรมการค้าภายในได้ปรับปรุงฉบับล่าสุดค่อนข้างจะดี มีลักษณะองค์ประกอบและวิธีปฎิบัติคล้ายต่างประเทศ แต่ต้องมาดูรายบละเอียดว่าพฤติกรรมใดบ้างที่พึงละเว้นและพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่คงไม่ต้องปรับปรุงมากเพียงแต่ให้สอดคล้องกับแนวคิดความพอเพียง วัฒนธรรมทางการค้า รัฐธรรมนูญ และระบบการค้าเสรี”
นายสมภพกล่าวว่า การแก้ไขกฎหมาย จะไม่ใช่การจำกัดสาขาของค้าปลีกต่างประเทศ แต่ทำเพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งรายใหญ่และรายย่อยอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล ซึ่งการจะเปิดสาขาจะต้องดูว่าพื้นที่มีการ่อยู่อาศัยจำนวนมาก ต้องาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมในสังคม และไม่ขัดการค้าเสรี
|
|
|
|
|