Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2537
"ประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนคุณ จากอสังหาริมทรัพย์ฯ พลิกสู่น้ำผลไม้"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนคุณ
Food and Beverage




ก่อนหน้าที่จะไปรับตำแหน่งในสยามนำโชค ซึ่งปัจจุบันคือยูนิเวสท์แลนด์นั้นสังกัดของประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนคุณ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์คือกลุ่มการค้าต่างประเทศ โดยดูแลสายงานธุรกิจวัตถุดิบอาหารสัตว์

2 ปีให้หลังจากที่ไปช่วยงานที่สยามนำโชค ประเสริฐศักดิ์กลับมานั่งทำงานที่เดิมในเดือนธันวาคม 2536 แต่ตำแหน่งที่เขาเคยนั่งนั้นได้มีการสนับสนุนคนอื่นขึ้นมาแทนตอนนี้เขาจึงมาจับสายงานใหม่

"เป็นการหาธุรกิจหรือสินค้าใหม่ ๆ จะเป็นในเชิงซื้อมาขายไปหรือต่อเนื่องไปถึงการลงทุนร่วมกัน นี่คือสิ่งที่ผมกลับมารับผิดชอบในกลุ่มการค้าฯ อยู่ ณ วันนี้" ประเสริฐศักดิ์เล่าให้ฟัง

โครงการที่เขาศึกษาอยู่เวลานี้เป็นเรื่องธุรกิจอาหารสำเร็จรูป และการเสาะหาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะมาทำเรื่องการแปรผลไม้เป็นน้ำผลไม้ 2 โครงการนี้อยู่ในขั้นศึกษาหาหุ้นส่วนที่มีเทคโนโลยี และเป็นเจ้าของยี่ห้อซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล

"สินค้าในลักษณะที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้น หากคุณต้องใช้เวลาสัก 5-10 ปีเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคนั้นบางทีคุณต้องยอมเสียเวลาตรงนี้ เพื่อที่จะหาข้อมูลและทำการตลาด" ประเสริฐศักดิ์อธิบาย และขยายความเพิ่มเติมว่า

"การสร้างโปรดักส์ขึ้นมาให้มีอิมเมจอาจจะไม่ยาก ถ้าเราใช้วิธีเอาโนว์ฮาวของเขาเข้ามาเอายี่ห้อเข้ามา แล้วก็ทุ่มการโฆษณา ก็อาจจะติดตลาดได้เพราะผู้บริโภคส่วนมากตอนนี้ก็มีประสบการณ์เห็นยี่ห้อเหล่านี้มาจากต่างประเทศ มันอาจจะง่ายอย่างนี้ แต่ถ้าเราต้องการทำยี่ห้อของเราเอง อันนี้ต้องใช้เวลา แม้ว่าเราจะมีโนว์ฮาวของเขาก็ตาม"

สินค้าประเภทนี้จะมียี่ห้อเป็นที่รู้จักในแต่ละท้องถิ่นยี่ห้อที่ขายดีในอเมริกาก็จะครองตลาดอเมริกาอยู่ ส่วนยี่ห้อที่มาในย่านเอเชียได้ก็เพราะเริ่มเป็นที่รู้จักของคนที่ไปมีประสบการณ์ในประเทศนั้น ๆ มาก่อน ซึ่งประเสริฐศักดิ์มองว่าคนรุ่นหลัง ๆ มีโอกาสได้พบเห็นยี่ห้อสินค้าเหล่านี้ในต่างประเทศมากขึ้นและจะเกิด BRAND AWARENESS หรือ BRAND LOYALTY

เขาเทียบเคียงกับเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งคนไทยจำนวนมากได้มีโอกาสไปเที่ยวฮ่องกงหรือญี่ปุ่นและเห็นยี่ห้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่นั่น ทำให้ซีพีไม่จำเป็นต้องโหมโฆษณาอย่างมาก

ในส่วนของอาหารสำเร็จรูปนั้น ต้องเป็นกิจการที่ต่อเนื่องกับการผลิตไก่ กุ้งและหมู ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารทุกประเภท จากจุดนี้จะมีการศึกษาหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการแปรรูป เป้าหมายคือให้ผู้บริโภคนำไปอุ่นแล้วรับประทานได้เลย

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ยี่ห้อและโนว์ฮาวที่จะใช้

เหตุที่เป็นเช่นนี้ประเสริฐศักดิ์มองลักษณะสากลของยี่ห้อและโนว์ฮาวสัมพันธ์กับข้อกำหนดของแกตต์ ซึ่งจะเป็นตัวที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวติคนในอีกหลายปีข้างหน้านี้ "ผมคิดว่ามันจะเป็นการเปิดทางให้สินค้าที่มีคุณภาพและมียี่ห้อดี ๆ เข้าสู่ทุกตลาดได้ง่ายขึ้น"

ประเสริฐศักดิ์มองว่าแม้เครือซีพีมีความสามารถที่จะทำยี่ห้อของตนเองขึ้นมาได้แต่ขณะที่มียี่ห้อต่าง ๆ ในตลาดค่อนข้างมากและเป็นยี่ห้อที่เกิดมานานหลายสิบปี หากซีพีมาเริ่มใหม่ ก็ต้องช้ากว่ายี่ห้ออื่น ๆ

"เรามีความพร้อมในแง่ของการผลิตอยู่แล้ว หากเอาเรื่องยี่ห้อและโนว์ฮาวเข้ามาสวมมันก็ง่ายขึ้น"

กรณีของเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการปรับปรุงจากร้านห้องแถวโชว์ห่วย มาเป็นร้านติดแอร์มีแนวคิดการจัดการแบบการตลาดยุคใหม่ การอำนวยความสะดวก บริการตนเอง ซึ่งผู้บริโภครุ่นใหม่ยอมรับได้

โครงการของประเสริฐศักดิ์ก็อยู่ในแนวของการตลาดยุคใหม่เช่นนี้

การเอาโนว์ฮาวของต่างประเทศเข้ามานั้น ต้องมีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยด้วย แต่ข้อดีคือภาพพจน์ยี่ห้อนั้นเป็นที่รู้จักในระดับสากลแล้ว

โครงการศึกษาเหล่านี้เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วจะมีการนำมาใช้หรือไม่ อยู่ที่ผู้บริหารต้องลงมาพิจารณาตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป เพราะโครงการเหล่านี้อาจจะมีผู้อื่นศึกษาอยู่เช่นกัน โอกาสที่จะได้เกิดหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์การตลาด

โครงการเรื่องน้ำผลไม้และแปรรูปอาหารเป็นโครงการของเครือซีพี ยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเท่าที่ศึกษาตอนนี้ยังจำกัดขอบข่ายพื้นที่เฉพาะเมืองไทยเป็นหลัก

อันที่จริงเครือเจริญโภคภัณฑ์มีกิจการด้านผักผลไม้แช่แข็งอยู่แล้ว ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ซีพีเอ็นพี จำกัด ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ที่เชียงใหม่เป็นกิจการส่งออกร้อยเปอร์เซนต์ มีตลาดที่ญี่ปุ่นเป็นหลักและมีที่ยุโรปด้วย

อย่างไรก็ดี กิจการส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับโครงการศึกษาของประเสริฐศักดิ์ เขากล่าวว่า "ที่ผมทำนั้นเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้เท่านั้น"

เขาให้ความสำคัญกับโนว์ฮาวค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นสไตล์การบุกเบิกผลผลิตของกลุ่มซีพีอยู่แล้วที่นำวิชาการเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาตัวสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพสูงและใช้การจัดการด้านการตลาดเข้าช่วยในการจัดจำหน่าย โดยเฉพาะการเน้นเรื่องน้ำผลไม้เข้มข้น ซึ่งตลาดผู้บริโภคจะเป็นตลาดบนราคาอาจจะสูงกว่าที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดเวลานี้

"ผมต้องใช้เทคโนโลยีสูงมากในการที่จะคั้นน้ำผลไม้เก็บเอาไว้ เพื่อเป็นสต็อคสำหรับการผลิตในฤดูที่ผลไม้นั้น ๆ ขาดแคลนเพราะผมไม่สามารถไปสู้ราคาผลไม้ในช่วงที่ราคาสูง ๆ ได้ ดังนั้นโนว์ฮาวจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก" ประเสริฐศักดิ์ย้ำ

ประเสริฐศักดิ์ทำงานกับซีพีมาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2518 ถึงวันนี้ก็เกือบ ๆ จะครบยี่สิบปีอยู่แล้ว เขาคิดว่าตัวเองเป็นคนโชคดีมากคนหนึ่งที่ซีพีให้โอกาส เสมือนหนึ่งเป็นการลงทุนในตัวของเขาการลงทุนในที่นี้คือ การให้โอกาสได้เรียนรู้งานหลายด้านของซีพี

เขากล่าวว่า "ผมถือเป็นโชคดีของผมที่ได้โอกาสเหล่านี้ซีพีโดยเฉพาะคุณธนินท์มองเรื่องบุคลากรไกลมาก ซีพีใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อเสาะแสวงหาคนที่มีความสามารถมาเสริมองค์กรให้แข็งแกร่งอยู่จนทุกวันนี้"

ในอดีตประเสริฐศักดิ์เคยร่วมกับอดีตคนซีพี คือเจริญ รุจิราโสภณ ในการบุกเบิกตลาดไข่สดซีพี ซึ่งกลายเป็นสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เป็นสิ่งจำเป็นของการจับจ่าย นี่เป็นผลงานที่เขาภาคภูมิใจมากเพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการโปรโมทมากนัก แต่สามารถทำให้ติดตลาดได้

เมื่อถูกถามถึงเป้าหมายของชีวิต ในขณะที่เพื่อน ๆ ออกไปตั้งตัวเป็นเจ้าของธุรกิจเอง แต่เขายังคงอยู่กับเครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น ประเสริฐศักดิ์อธิบายว่า "โดยพื้นฐานแล้วทุกคนอย่างร่ำรวย ผมเองก็ไม่ใช่ไม่คิด แต่การที่ผมได้เข้ามาทำงานที่นี่ ผมรู้สึกเสมือนหนึ่งได้ควักเงินเข้ามาลงทุนด้วย จึงมีความเชื่อว่าองค์กรนี้จะให้ความมั่นใจ ให้อนาคตแก่ผมได้ และโอกาสที่เขาให้ผมก็เต็มที่ เท่าที่ผมได้สัมผัสจึงมั่นใจว่าองค์กรนี้ทำธุรกิจเพื่อสังคม สิ่งที่ซีพีทำทุกวันนี้ไม่ผิดและไม่ได้เอาเปรียบใคร และสิ่งที่เขากล้าให้คือโอกาสที่เขามาร่วมลงทุนกับชีวิตของผม ดังนั้นการที่ผมทำงานอยู่กับเขาระยะหนึ่ง ผมก็มีความมั่นใจว่าผมก็ต้องขายชีวิตให้องค์กรนี้เช่นกัน"

ณ วันนี้ ยี่สิบปีหลังจากที่จบจากมหาวิทยาลัยมาทำงานด้วยเงินเดือน สามพันห้าร้อยบาท ทุกวันนี้เขาไม่ได้น้อยหน้าใครที่เป็นเถ้าแก่ในสังคมนี้เลย เขาเหลือเวลาที่จะทำงานในองค์กรนี้อีกอย่างมากก็ 15 ปี ซึ่งสิ่งที่เขากำลังตั้งใจถ่ายทอดไว้แก่องค์กรที่เขารักยิ่งแห่งนี้คือ การอยู่เบื้องหลังสร้างดารา ซึ่งหมายถึงการเป็นวิทยากรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของซีพี

นี่เป็นงานที่เขาตั้งใจทำเป็นอย่างยิ่งนอกเหนือไปจาก 2 โครงการที่ได้รับมอบหมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us