Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
งานสร้างคนของ "ทีเอ"             
 


   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.




7ปี ผ่านไปบริษัทเทเลคอมเอเชียยังคงมุ่งมั่นกับโครงการห้องเรียนเทเลคอมเอเชียอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าไม่ได้เน้นประชาสัมพันธ์ให้เป็นข่าวดังเท่ากับการขายโทรศัพท์ พีซีที ก็ตาม

ผู้บริหารของทีเอ ตั้งแต่สมัยดร.อาชว์ เตลานนท์ ขึ้นกุมบังเหียนจนกระทั่งมาถึงยุคสมัยคนหนุ่มอย่างศุภชัย เจียรวนนท์ ยังคงมีความคิดเห็น ที่ตรงกันในเรื่องการให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

เหตุผลที่ทีมบริหารของทีเอมองงานการศึกษาเพราะถือว่าเป็นงานสร้างคน ทีเอ

วางแนวคิดปรัชญาด้านการศึกษาคือ ทำอย่าวไรให้เด็กรุ่นใหม่ คิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล รักธรรมชาติ ทันสมัยแต่ยังมีจิตใจที่ดีงามแบบไทย

จากแนวคิดดังกล่าว ผู้บริหารของทีเอได้ทดลองแนวคิดรูปแบบขบวนการการเรียนรู้ของเด็กไทยบนการเรียนรู้จากของจริง สัมผัสจริง เรียนอย่างมีความสุข ทำอย่างไรให้เด็กไทย และครูไทย รู้จักเข้าใจ การเรียนรู้นอกห้องเรียน การเรียนรู้จากแหล่งความรู้ ต่างๆ และเกิดกระบวนการสร้างความคิดทัศนคติ ที่เป็นบวก

โครงการที่ทีเอผลักดัน และออกสู่สังคมมาตลอดคือ โครงการห้องเรียนเทเล

คอมเอเชีย ซึ่งประกอบไปด้วย"ห้องเรียนธรรมชาติ ""ห้องเรียนวิทยาศาตร์ " และ"ห้องเรียนวัฒนธรรม"

กิจกรรมของโครงการห้องเรียนธรรมชาติในปีที่ผ่านมาเช่น โครงการ "นักอนุรักษ์น้อย ตลุยป่าจปร." ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เชาชะโงก จังหวัดนครนายก "ปอดของคนเมือง" ที่บางกระเจ้า สมุทรปราการ "นักปักษี" ที่สวนรถไฟกรุงเทพฯมหานคร

กิจกรรมของห้องเรียนวัฒนธรรม "วัฒนธรรมข้าวกับชาวไทย" ที่ชุมชนบ้านสาคลี อำเภอเสนา จังหวัดพระนครอยุธยา "หนูน้อยนักโบราณคดี ที่บ้านคลองสระบัว จ.อยุธยา รำลึกอดีตราชธานี...ธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่กรมช่างโยธาทหารเรือ

กิจกรรมของห้องเรียนวิทยาศาตร์เช่น"ใต้สมุทร สุดอัศจรรย์ " ที่มหาวิทยาลัยบูรพา "ท่องโลกวิทยาศาสตร์" ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์ "สื่อสารไร้พรมแดน" ที่โรงเรียน วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ

จากปี2537 จนถึงปี2543 กิจกรรมการศึกษาของทีเอได้เน้นการลงด้านลึกคือ คัดเลือกร่วมมือกับโรงเรียนสังกัดต่างๆในเขตกรุงเทพ แล้วเข้าปจัดตั้งครูแกนนำ กับนักเรียนแกนนำระดับประถม

เป้าหมายปี2543 ของทีเอ ที่กำหนดในงานการศึกษาคือ การผลักดะนกลุ่มชมรมจากโรงเรีนรเกรดเอ และบี 38 โรงเรียน 40 ชมรม ของเด็กนักเรียนให้เป็นกลุ่มนักเรียนตัวอย่างการจัดการการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับพ.ร.บ.การศึกษา ขณะเดียวกะนเปิดโอก่สโรงเรียนใหม่ๆเข้าสู่วงการ รวมทั้งการสร้างงเครือข่ายครูแกนนำ

โรงเรียนในกลุ่มเป้าหมาย ที่ทีเอแนะนำจัดตั้งได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู่ของเด็กไปได้ทุกโรงเรียน โรงเรียนต่างๆมีการทำเป้าหมายแผนงานกิจกรรม ที่ไม่ยึดการเรียนเฉพาะแต่ในห้องเรียนเท่านั้น และหลายโรงเรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ ที่เป็นความโดดเด่น เช่นกรณีของโรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัด กทม.กลายเป็นกรณีตัวอย่างทำกิจกรรมเรียนรู้ของเด็กๆทั้งธรรมชาติ วิทยาศาตร์ วัฒนธรรม หลายโรงเรียนมีโครงการที่น่าสนใจเช่น การทำโครงการสำรวจนก และพันธ์ไม้ในโรงเรียน การศึกษาเรื่องตะเกียงโบราณ

บางโรงเรียนผลักดันตัวเองเข้าโปรแกรมGLOBE ที่เป็นโครงการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเป็นต้น

ทีเอ มีความคาดหวังว่าโรงเรียนเหล่านี้จะกลายมาเป็นตัวอย่าง หรือพี่เลี้ยงแก่โรงเรียน ที่กำลังปฎิรูปการเรียนรู้ ที่น่าสนใจไม่เพียงทีเอพยายามสร้างเครือข่ายโรงเรียน เครือข่ายนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนไทยปฎิรูปตัวเอง ทีเอยังผลักดันให้ครูทั้ง3ด้าน ตังชมรมเครือข่ายครูขึ้นมาในปี2543

น่าเสียดาย ที่โครงการของทีเอไม่ได้ถูกตีปี๊ปดังเหมือนงานขายพีซีที หรือขายโทรศัพท์มือถือ แต่ทีเอก็เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนถึงบทบาทภาคเอกชน ที่เข้ามาเสริมงานทางด้านการศึกษา ซึ่งองค์กรธุรกิจอื่นสามารถทำได้เช่นกัน

ในปี2544 ที่เอยังคงเล่นงานทางด้านการศึกษา โดยมีจิ๊กซอ คือ ทำอย่างไรให้เครือข่ายโรงเรียนเดิมยืนด้วยตัวเองโดยทีเอยังเป็นที่ปรึกษา ขณะเดียวกันสามารถขยายฐานกลุ่มโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยเสริมให้ชมรมครูแข็งแรงพอจะทำงานด้วยตัวเอง

ประเด็น ที่น่าสนใจ ที่เป็นกรณีศึกษาของทีเอสำหรับองค์กรธุรกิจ คือ การช่วยพัฒนางานทางด้านการศึกษา ไม่มีเพียงการให้มทุน เพื่อการศึกษาทั่วไปแต่งานการศึกษาเป็นงาน ที่ต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยมีการร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน

กลุ่มผู้บริหารของทีเอได้ยืนยันว่า การปฎิรูปการศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของหน่วยงานใด ความสำเร็จของการปฎิรูปการศึกษารัฐควรกระคุ้นจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ เพื่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยน การจัดการสอน ที่เอื้อกับเด็กไทยในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us